ไทยโพสต์ "อิสรภาพแห่งความคิด" เงื่อนไขสู้สุดความสามารถของพรรคก้าวไกลและพรรคเพื่อไทย จะยังเสนอชื่อนายกฯ พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ แคนดิเดตนายกฯ รอบ 2 ได้หรือเปล่านั้น หลังวันหยุดสุดสัปดาห์ต่างฝ่ายต่างส่งสัญญาณไปคนละทิศคนละทาง
โดยพิธาปล่อยคลิป หากเดินไม่ผ่านสองสมรภูมิ คือโหวตนายกฯ ในวันที่ 19 ก.ค.นี้ และยื่นแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 272 เพื่อตัดอำนาจ ส.ว.เลือกนายกฯ ไม่สำเร็จ ว่าจะหลีกให้พรรคเพื่อไทยเป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาล โดยที่ตัวเองจะขอเกาะร่วมเป็นรัฐบาลไปด้วย ดังเช่นข้าวต้มมัด
เล่นเอาพรรคเพื่อไทยออกอาการงงกับเงื่อนไขฝ่ายเดียวที่ผุดออกมา โดยภูมิธรรม เวชยชัย รองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย ออกมาชี้แจงโดยสรุปว่า แถลงการณ์พิธาเป็นแถลงการณ์ก้าวไกล พรรคอื่นไม่ได้ร่วมรับรู้ และรู้สึกมึนที่ได้ฟัง,
จำนวนเสียงในสภาที่โหวตให้พิธายังไม่ชัดเจนหรือยังไม่สุดทางอีกหรือ ได้ ส.ว. 13 เสียง จะเอาที่เหลือมาจากไหน, การโหวตวันที่ 19 ก.ค. สำคัญ และต้อง “คุยกัน” ก่อนว่าจะเอายังไง, ขณะนี้ต้องดูสถานการณ์จริง และคิดว่าทำอย่างไรให้ตั้งรัฐบาลได้ ไม่ใช่ไปคิดเรื่องการแสดงเชิงสัญลักษณ์อย่างแก้รัฐธรรมนูญมาตรา 272, แก้ ม.272 ไม่อยู่ในเอ็มโอยู และเป็นไปไม่ได้ เพราะ รธน.กำหนดให้มีเสียงฝ่ายค้านด้วย 20% เมื่อยังไม่มีรัฐบาลจึงยังไม่มีฝ่ายค้าน และการตั้งรัฐบาลให้สำเร็จโดยเร็วคือเป้าหมาย เพราะสำคัญกับประชาชนและภาคธุรกิจ
เมื่อฟังโจทย์หินอย่างนี้ ก็ต้องดูว่าในช่วงเย็นวันที่ 17 ก.ค. ที่ 8 พรรคร่วมรัฐบาลจะคุยกันว่าจะมีทางออกอย่างไร แต่ดูสัญญาณที่ออกมา เพื่อไทยคงอยากจูงมือพรรคก้าวไกลไปอำเภอ จดทะเบียนหย่าเพื่อสลายขั้วเดิม และจัดตั้งรัฐบาลใหม่ เพราะรู้ดีว่าหากยังมีพรรคก้าวไกล ที่ไม่ลดละแก้มาตรา 112 ก็ยากจะได้รับความร่วมมือจาก ส.ว.
แต่ก่อนจะไปถึงการจะเสนอชื่อนายพิธาในรอบ 2 หรือไม่ ยังมีเงื่อนไขข้อกฎหมายที่ยังเถียงไม่จบ และเชื่อว่าจะมีการหารือกันในวิป 3 ฝ่ายในวันที่ 18 ก.ค. ว่าจะเสนอชื่อนายพิธาซ้ำได้หรือไม่ พร้อมยกข้อบังคับการประชุมรัฐสภา พ.ศ.2563 ข้อ 41 เพราะมองว่า การเลือกนายกฯ ถือเป็นญัตติ และพิจารณาให้ความเห็นชอบพิธาได้ตกไปแล้ว จะนำกลับมาพิจารณาใหม่อีกไม่ได้ในสมัยประชุมนี้ เว้นแต่มีสถานการณ์เปลี่ยนไป หรือหากจะนำมาพิจารณาต้องมีเหตุเปลี่ยนแปลงตามรัฐธรรมนูญมาตรา 272 วรรคสองเท่านั้น
โดยรัฐธรรมนูญมาตรา 272 วรรคสอง บัญญัติว่า "หากมีกรณีที่ไม่อาจแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีจากผู้มีชื่ออยู่ในบัญชีรายชื่อที่พรรคการเมืองแจ้งไว้ตามมาตรา 88 ไม่ว่าด้วยเหตุใด และสมาชิกของทั้งสองสภารวมกันจำนวนไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภาเข้าชื่อเสนอต่อประธานรัฐสภา ขอให้สภามีมติยกเว้นเพื่อไม่ต้องเสนอชื่อนายกรัฐมนตรีจากผู้มีชื่ออยู่ในบัญชีรายชื่อที่พรรคการเมืองแจ้งไว้ตามมาตรา 88
ในกรณีเช่นนี้ ให้ประธานรัฐสภาจัดให้มีการประชุมร่วมกันของรัฐสภาโดยพลัน และในกรณีที่รัฐสภามีมติด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสองในสามของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภาให้ยกเว้นได้ ให้ดำเนินการตามวรรคหนึ่งต่อไป โดยจะเสนอชื่อผู้อยู่ในบัญชีรายชื่อที่พรรคการเมืองแจ้งไว้ตามมาตรา 88 หรือไม่ก็ได้
จากหลักการสำคัญดังกล่าว หากโหวตครั้งแรกแล้วไม่สามารถได้บุคคลเป็นนายกรัฐมนตรีไม่ว่าด้วยเหตุใด ประธานรัฐสภาไม่มีอำนาจที่จะเปิดให้มีการลงคะแนนใหม่เองได้ ต้องให้สมาชิกรัฐสภารวมกันไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งเข้าชื่อเสนอต่อประธานรัฐสภาตามมาตรา 272 วรรคสอง เท่านั้น ประธานรัฐสภาจึงจะจัดให้การประชุมตามญัตติที่สมาชิกรัฐสภาเสนอได้ ดังนั้น ประธานรัฐสภา วันมูหะมัดนอร์ มะทา จึงไม่มีอำนาจเปิดให้มีการโหวตในรอบสองได้โดยพลการ
นอกจากนี้ หากในระหว่างนี้ยังมีตัวแปร และต้องจับตาดูว่าในวันที่ 19 ก.ค. ศาลรัฐธรรมนูญจะมีคำวินิจฉัยให้นายพิธาหยุดปฏิบัติหน้าที่ ส.ส.ด้วยหรือไม่ และหากศาลรัฐธรรมนูญสั่งให้หยุดปฏิบัติหน้าที่ ส.ส. ที่เกี่ยวพันกับคุณสมบัตินายกฯ ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 101 (6) ประกอบมาตรา 98 (3) และมาตรา 89 วรรคหนึ่ง (2) และต้องไม่มีคุณสมบัติต้องห้าม ตามมาตรา 160 จึงยิ่งเป็นกรณีที่ไม่สมควรอย่างยิ่งที่จะรัฐสภาจะเสนอชื่อ และลงมติให้นายพิธา เพราะบัดนั้นได้กลายสภาพเป็นบุคคลที่มีมลทินไปแล้วใช่หรือไม่.
ช่างสงสัย
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
บันทึกหน้า 4
ถึงกับว้าว! "อิ๊งค์" ทอล์กโชว์ อลังการงานสร้าง เวทีใหญ่สวยงาม จัดเต็มแสงสีเสียง ยกเว้นเรื่องเดียว "สาระ" เนื้อหาผลงาน 90 วัน รัฐบาลแพทองธาร
อ่อนกว่าวัย
ไม่น่าเชื่อในวันที่ 13 ม.ค. 2568 รัฐมนตรี 17 สมัย อย่าง “สมศักดิ์ เทพสุทิน” รมว.สาธารณสุข จะมีอายุครบ 70 ปี เนื่องจากรูปร่างหน้าตาดูอ่อนกว่าวัยมาก เหมือนกับคนอายุประมาณ 50 ปีเศษเท่านั้น
บันทึกหน้า 4
ต้องเรียกว่าตีปี๊บกันอย่างยิ่งกับการแถลงผลงาน 90 วัน พร้อมสานฝันอนาคตในธีม “2568 โอกาสไทย ทำได้จริง” ที่ “แพทองธาร ชินวัตร” นายกรัฐมนตรีจะเป็นคีย์แมนหลัก โดยถ่ายทอดสดผ่านสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย (เอ็นบีที) ในวันพฤหัสบดีที่ 12 ธ.ค.นี้
บันทึกหน้า 4
วันอังคารที่ 10 ธันวาคม ตรงกับ วันรัฐธรรมนูญ เป็นวันหยุดราชการ การประชุม ครม.จึงเลื่อนไปเป็นวันพุธ หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อวันที่ 24 มิ.ย.2475 ถึงปัจจุบัน มีรัฐธรรมนูญแล้ว 20 ฉบับ มีรัฐประหารถึง 13 ครั้ง
บันทึกหน้า 4
” จับตาว่า ม็อบจะจุดติดหรือไม่ หลัง สนธิ ลิ้มทองกุล อดีตแกนนำพันธมิตรฯ ยื่นหนังสือถึงนายกฯ จำนวน 6 ข้อ เพื่อยกเลิกเอ็มโอยู 44 รวมถึงยังยื่นข้อเรียกร้องดังกล่าวต่อสมาชิกรัฐสภา
บันทึกหน้า 4
พรุ่งนี้ 10 ธ.ค. วันรัฐธรรมนูญ บันทึกให้ระลึกรู้ว่า ประเทศไทยได้ประกาศใช้รัฐธรรมนูญมาแล้ว 20 ฉบับ ฉบับปัจจุบันคือรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ป