การเมืองไม่กระทบท่องเที่ยว

จากสถานการณ์ที่ไม่แน่นอนของการเมืองในประเทศไทยขณะนี้ ทำให้หลายฝ่ายมีความกังวลว่าจะกระทบต่อภาค “การท่องเที่ยว” ที่เป็นฟันเฟืองสำคัญซึ่งจะช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจ พร้อมกับสร้างรายได้ให้ประเทศที่มีตัวเลขมหาศาล แน่นอนว่าหากเกิดการชุมนุมประท้วง สิ่งที่ตามมาอาจส่งผลกระทบต่อภาคการท่องเที่ยวอย่างแน่นอน ซึ่งจะทำให้ความเชื่อมั่นที่มีจากนักท่องเที่ยวลดลงด้วยเช่นกัน

มาดูข้อมูลจากการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) แจ้งว่า 6 เดือนแรกปี 2566 มีนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้าไทยแล้วประมาณ 12.87 ล้านคน ส่วนจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติตลอดทั้งปีจะสามารถเพิ่มขึ้นไปถึง 30 ล้านคนได้หรือไม่

เบื้องต้น ททท.ได้ประเมินบรรยากาศการท่องเที่ยวและดูยอดจองล่วงหน้าร่วมกับภาคเอกชน เชื่อว่าจากนี้ต่อไปถึงสิ้นปีจะมีนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้าไทยไม่ต่ำกว่าเดือนละ 2 ล้านคน และหากไตรมาสสุดท้ายของปีมีจำนวนนักท่องเที่ยว 3 ล้านคนต่อไปเป้าหมาย 30 ล้านคนคงอยู่ไม่ไกล

ขณะเดียวกันก็ต้องมาดูว่าตลอดทั้งปีจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติน่าจะไม่น้อยกว่า 25 ล้านคน แต่จะถึง 30 ล้านคนหรือไม่ต้องดูเดือน ต.ค.2566 เพราะเป็นช่วงวันชาติของจีน และเป็นช่วงเริ่มต้นฤดูหนาวสำหรับนักท่องเที่ยวตะวันตก แต่ที่ผ่านมาตลอด 6 เดือน จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติมีพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไป คือ เดินทางเที่ยวไทยโดยมีวันพักเพิ่มขึ้น จึงเชื่อว่ารายได้โดยรวมจะเพิ่มขึ้น และสามารถพยุงเศรษฐกิจในช่วงที่การส่งออกปีนี้ติดลบ

รายงานข่าวจากกองเศรษฐกิจการท่องเที่ยวและกีฬา กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ระบุว่า ครึ่งปีแรกของปี 2566 (ม.ค.-มิ.ย.) มีนักท่องเที่ยวต่างชาติกลับเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทยประมาณ 63.5% เทียบก่อนการระบาดของโควิด-19 และนักท่องเที่ยวต่างชาติ เพิ่มขึ้นกว่า 5 เท่าเมื่อเทียบช่วงเดียวกันของปีก่อน โดย 5 อันดับแรกของนักท่องเที่ยวต่างชาติได้แก่ มาเลเซีย จีน อินเดีย เกาหลีใต้ และเวียดนาม คิดเป็น 48.6% ของนักท่องเที่ยวต่างชาติทั้งหมด

ในส่วนของกองเศรษฐกิจการท่องเที่ยวและกีฬายังคงเป้าหมายนักท่องเที่ยวต่างชาติที่ 27.39 ล้านคน คาดการณ์ว่าเดือน ก.ค.2566 จะมีนักท่องเที่ยวต่างชาติ 2.29 ล้านคน จากปัจจัยต่างๆ ที่ยังคงสัญญาณที่ดีต่อการเติบโตของนักท่องเที่ยว บรรยากาศการท่องเที่ยวโลกยังคงได้รับแรงกดดันจากสถานการณ์ทางเศรษฐกิจ และสถานการณ์ความขัดแย้งเชิงภูมิรัฐศาสตร์ในบริเวณพื้นที่ทะเลจีนใต้ ตลอดจนความไม่แน่นอนของการสู้รบระหว่างรัสเซียและยูเครน ที่อาจจะยกระดับความรุนแรงขึ้น

สำหรับแนวโน้มสถานการณ์ท่องเที่ยวตลาดต่างประเทศ ปี 2567 ยังคงฟื้นตัวดีต่อเนื่อง หลังวิกฤตโควิด-19 คลี่คลาย โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากเศรษฐกิจโลกขยายตัว เงินเฟ้อโลกปรับตัวลดลง การฟื้นตัวของการเดินทางทางอากาศที่สมาคมการขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศ (ไออาต้า) คาดว่าจะฟื้นตัว 94% เมื่อเทียบกับปี 2562 กิจกรรมกระตุ้นการเดินทางที่จะเกิดขึ้น เช่น ททท.ต่อสัญญาคู่มือมิชลิน ไกด์ ประเทศไทย อีก 5 ปีถึงปี 2569 ไทยจะเป็นเจ้าภาพโมโตจีพีต่อเนื่องถึงปี 2568 อีกทั้งยังมีแผนจะเปิดสำนักงาน ททท.ต่างประเทศแห่งใหม่ ที่กรุงริยาด ประเทศซาอุดีอาระเบีย

รวมถึงการเปิดให้บริการโครงสร้างพื้นฐานรองรับการท่องเที่ยวในปีหน้า อาทิ สะพานมิตรภาพไทย-ลาวแห่งที่ 5 “บึงกาฬ-บอลิคำไซ” การเปิดรันเวย์ 3 สนามบินสุวรรณภูมิ การยกระดับสนามบินนครศรีธรรมราชให้เป็นสนามบินนานาชาติ การเปิดให้บริการอาคารผู้โดยสารหลังใหม่ และการขยายหลุมจอดสนามบินกระบี่ รองรับชาร์เตอร์ไฟลต์ได้เพิ่มขึ้น

อย่างไรก็ตาม ต้องยอมรับว่าปัจจัยที่จะกระทบกับความเชื่อมั่นกับเศรษฐกิจของไทยนั้น ถือว่าสถานการณ์ทางการเมืองเป็นหนึ่งในปัจจัยภายในหลักๆ นอกเหนือจากปัจจัยภายนอกอย่างความไม่แน่นอนของวิกฤตรัสเซีย-ยูเครน ที่อาจส่งผลต่อความผันผวนของเศรษฐกิจโลก ราคาพลังงาน ซึ่งสิ่งเหล่านี้คงต้องจับตาอย่างใกล้ชิดโดยเฉพาะปัจจัยภายนอกที่อาจจะส่งผลกระทบกับการท่องเที่ยวของไทยได้.   

 

กัลยา ยืนยง

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เร่งเครื่องดึงนักท่องเที่ยว

จากสถานการณ์การท่องเที่ยวไทยในปัจจุบัน กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาได้ให้ข้อมูลพบว่า ประเทศไทยมีจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติสะสมในช่วงเกือบ 7 เดือนเต็ม ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.-28 ก.ค.2567 ทั้งสิ้น 20,335,107 คน

ต้องเร่งแก้ปัญหาปากท้อง

หลังจากนายกรัฐมนตรีหญิง แพรทองธาร ชินวัตร รับตำแหน่งอย่างชัดเจน ทำให้ภาคเอกชนต่างก็ดีใจ เพราะไม่ทำให้ประเทศเป็นสุญญากาศในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ และสิ่งแรกที่ภาคเอกชนอย่าง

แนะเจาะใจผู้บริโภคด้วย‘ความยั่งยืน’

คงต้องยอมรับว่าประเด็นเรื่องสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืนได้รับความสนใจมากขึ้นทั้งจากผู้บริโภค ภาคเอกชน และภาครัฐ ส่งผลให้ผู้ประกอบการในภาคธุรกิจจำเป็นต้องมีการปรับตัว

รัฐบาลงัดทุกทางพยุงตลาดหุ้น

หลังจากปล่อยให้ตลาดหุ้นซึมมาอย่างช้านาน จนปัจจุบันอยู่ต่ำกว่า 1,300 จุด เรียกได้ว่าสำหรับนักลงทุนถือเป็นความเจ็บปวด เพราะดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาไม่ได้ไปไหน

ดันอุตฯไทยไปอวกาศ

แน่นอนว่าในยุคที่โลกต้องก้าวหน้าไปสู่อุตสาหกรรมที่ทันสมัยมากขึ้น และต่อไปไม่ได้มองแค่ในประเทศหรือในโลกแล้ว แต่มองไปถึงนอกโลกเลยด้วยซ้ำ เพราะจะเป็นหนึ่งในกลไกในการพัฒนาอุตสาหกรรมภาคพื้นที่มีความแข็งแกร่งส่งผ่านไปยังอุตสาหกรรมอวกาศได้

แบงก์มอง ASEAN ยังมาเหนือ

ยังคงมีอีกหลายประเด็นที่ต้องจับตามองกันอย่างต่อเนื่อง ทั้งในสถานการณ์โลกและภายในประเทศ ที่จะส่งผลต่อเศรษฐกิจและการค้า โดยมุมมองของ อมรเทพ จาวะลา ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสำนักวิจัย ธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย ระบุว่า