มะกันกำลังสูญเสีย อิทธิพลในอาเซียนให้จีน

ระหว่างจีนกับสหรัฐฯ ใครถูกมองในแง่บวกและลบในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ผลสำรวจที่น่าสนใจบอกว่าสหรัฐฯ กำลังเสียเปรียบจีนในอาเซียน

ชัดเจนว่าในช่วงห้าปีที่ผ่านมา ปักกิ่งได้นำแนวทางทางการทหารและการทูตที่  “รุกหนัก” มากขึ้นในภูมิภาคนี้ และส่วนอื่นๆ ของโลก

นั่นรวมถึงการเพิ่มกำลังทหารในทะเลจีนใต้

บางครั้งก็ใช้เรือประมงหรือแม้กองกำลังทหารเพื่อป้องกันไม่ให้เรือประมงจากประเทศต่างๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ปฏิบัติการในน่านน้ำภูมิภาค 

อีกด้านหนึ่งคือความขึงขังจริงจังต่อกรณีไต้หวันมากขึ้นเรื่อยๆ

และนักการทูตจีนก็ใช้ลีลาท่าทีและภาษาที่ดุดันต่อตะวันตกอย่างตรงไปตรงมามากขึ้นเช่นกัน

จนได้สมญาว่าเป็นการทูตแบบ "นักรบหมาป่า"

แต่ท่าทีเหล่านั้นไม่ได้ทำให้คนในอาเซียนรู้สึกทางลบต่อปักกิ่งมากนัก

เพราะจากงานศึกษาใหม่โดยสถาบันวิจัย Lowy Institute ของออสเตรเลียนั้น ผลปรากฏว่าอิทธิพลของจีนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เพิ่มสูงขึ้นในช่วงห้าปีที่ผ่านมาด้วยซ้ำไป

ไม่เพียงแต่เท่านั้น อิทธิพลที่เพิ่มขึ้นของจีนส่วนใหญ่นั้นมีส่วนไปลดทอนบารมีของสหรัฐฯ

หรือพูดง่ายๆ คือวอชิงตันกำลังแพ้ปักกิ่งในความนิยมชมชอบของคนในแถบนี้

รายงานของ Lowy Institute หัวข้อ “Asia Power Snapshot: China and the United States in Southeast Asia” ใช้ตัวชี้วัดหลายตัวในการจัดอันดับอิทธิพลในภูมิภาคของทั้งสองประเทศในสี่ประเภท ได้แก่ ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ

เครือข่ายด้านความมั่นคง

อิทธิพลทางการทูต

และอิทธิพลทางวัฒนธรรม

ได้ข้อสรุปว่า สหรัฐฯ “สูญเสียอิทธิพลต่อจีนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ตลอด 5 ปีที่ผ่านมาในทั้ง 4 ช่วงเวลา”

ในลักษณะคล้ายกันนี้ การศึกษาเมื่อเร็วๆ นี้โดยสถาบัน ISEAS Yusof-Ishak ในสิงคโปร์ ก็พบว่าผู้ตอบแบบสำรวจส่วนใหญ่พบว่าจีนเป็นอำนาจทางยุทธศาสตร์ทางเศรษฐกิจและการเมืองที่โดดเด่นที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

จากตัวชี้วัดของรายงาน Lowy จาก 10 ประเทศในอาเซียนนี้ สหรัฐฯ เป็นมหาอำนาจที่มีอิทธิพลมากที่สุดในสองประเทศเท่านั้น : ฟิลิปปินส์ ซึ่งเป็นพันธมิตรสนธิสัญญาของสหรัฐฯ และสิงคโปร์ ซึ่งเป็นพันธมิตรที่แข็งกร้าวของสหรัฐฯ

วอชิงตันก็ยังรั้งอันดับต้นๆ อยู่ ในประเทศไทยซึ่งเป็นอีกหนึ่งพันธมิตรสนธิสัญญาของสหรัฐฯ

ขณะนี้จีนมีอิทธิพลมากขึ้นในไทยจากการสำรวจความคิดเห็นของ ISEAS

แสดงให้เห็นว่าผู้ตอบแบบสอบถามในทุกประเทศของอาเซียนคิดว่าจีนเป็นมหาอำนาจทางเศรษฐกิจที่มีอิทธิพลมากที่สุดในภูมิภาคนี้

ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ในอาเซียนคิดว่าจีนกำลังใช้อิทธิพลทางการเมืองและยุทธศาสตร์มากที่สุดในภูมิภาคนี้เช่นกัน

ในทางตรงกันข้าม ในการศึกษาของ Lowy Institute เมื่อปี 2561 สหรัฐฯ เป็นประเทศที่มีอิทธิพลมากที่สุดในสามประเทศในภูมิภาค

ส่วนวอชิงตันและปักกิ่งมีผลออกมาพอๆ กันในประเทศไทย

หลายประเทศในอาเซียน เช่น เวียดนาม มาเลเซีย และอินโดนีเซีย แสดงความหวาดกลัวอย่างชัดเจนต่อปฏิบัติการทางทหารที่คึกคักมากขึ้นของจีน

แต่การศึกษาของ Lowy ก็พบว่าสหรัฐฯ ยังคงเป็นมหาอำนาจทางทหารที่โดดเด่นสำหรับหลายประเทศรัฐในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

อินโดนีเซียและเวียดนามเลือกที่จะร่วมมือทางทหารอย่างใกล้ชิดกับสหรัฐฯ  ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา

แต่ก็มีความระมัดระวังที่จะไม่สร้างความเป็นศัตรูกับปักกิ่ง

ฟิลิปปินส์ ซึ่งในฐานะพันธมิตรตามสนธิสัญญาของสหรัฐฯ เต็มใจที่จะเข้าร่วมกับวอชิงตันอย่างเปิดเผยมากขึ้น

โดยได้อนุญาตให้เพนตากอนเข้าถึงฐานทัพใหม่ๆ หลายแห่งในประเทศที่จะมีความสำคัญอย่างยิ่งในกรณีของสงครามเหนือไต้หวัน

จีนประสบความสำเร็จในการสร้างอิทธิพลด้านเศรษฐกิจขนาดใหญ่ในภูมิภาคนี้

ส่วนหนึ่งเป็นเพราะอาเซียนรู้สึกว่าไม่มีทางเลือกอื่นนอกจากเข้าข้างปักกิ่งมากขึ้น

รายงานของ Lowy ระบุว่า ในปี 2022 “สหรัฐฯ ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจอ่อนแอกว่าจีนในทุกประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้”

นอกเหนือจากการค้าและการลงทุนแล้ว ปักกิ่งยังก้าวขึ้นเป็นผู้ให้กู้ที่พึ่งสุดท้ายเมื่อประเทศต่างๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และส่วนอื่นๆ ของโลก

แต่ก่อน สหรัฐฯ เคยช่วยจัดระเบียบการช่วยเหลือทางเศรษฐกิจครั้งใหญ่ของประเทศต่างๆ ตั้งแต่ไทยไปจนถึงอินโดนีเซีย

แต่ไม่กี่ปีที่ผ่านมา วอชิงตันลดบทบาทส่วนนี้ลงอย่างเห็นได้ชัด

แม้แต่มาเลเซีย ที่มีนายกรัฐมนตรีอันวาร์ อิบราฮิม ซึ่งเป็นผู้สนับสนุนประชาธิปไตยที่มีประสบการณ์ มีความสัมพันธ์อันยาวนานกับสหรัฐฯ ก็ยังหันไปหาปักกิ่งและออกห่างจากวอชิงตันมากขึ้นเรื่อยๆ

เหตุเพราะความช่วยเหลือและการลงทุนที่เพิ่มขึ้นอย่างมากในประเทศนั้น

นอกจากนี้ ไทยและมาเลเซียก็เดินหน้าเหมือนอีกหลายประเทศในการซื้ออาวุธจากจีนมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง

เป็นการบ่งชี้ว่าการเติบโตทางทหารและเศรษฐกิจของจีนกำลังดำเนินไปควบคู่กัน

รายงานนี้แสดงให้เห็นว่า สหรัฐฯ สูญเสียอิทธิพลในมาเลเซียระหว่างปี 2018-2022 มากกว่าประเทศอื่นๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา ปักกิ่งยังคงใช้ประโยชน์จากการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจของภูมิภาค เข้าร่วมข้อตกลงการค้าระดับภูมิภาคขนาดใหญ่ และพัฒนาบางส่วนของตนเอง

เป็นช่วงเวลาเดียวกันที่วอชิงตันถอนตัวจากข้อตกลงการค้าที่เกี่ยวข้องกับประเทศต่างๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น Trans-Pacific Partnership

และยังถอนตัวจากความพยายามบูรณาการทางเศรษฐกิจของภูมิภาคโดยรวมมากขึ้น

ประธานาธิบดีโจ ไบเดน ได้เสนอกรอบเศรษฐกิจอินโด-แปซิฟิก หรือ IPEF ที่ค่อนข้างจะมีรายละเอียดคลุมเครือสำหรับภูมิภาคนี้แทน

แต่ IPEF ไม่ได้เสนอให้ประเทศอื่นเข้าถึงตลาดของสหรัฐฯ มากขึ้นกว่าเดิม

ด้วยเหตุนี้ หลายๆ คนในอาเซียนจึงมองว่าแผนของสหรัฐฯ นี้ไม่ตอบโจทย์และไม่จริงจัง

โดยเฉพาะเมื่อเทียบกับข้อตกลงการค้าภายในภูมิภาคที่มีผลผูกพันอย่างชัดเจนกับจีน

ยิ่งกว่านั้นยังมีความกลัวว่าลัทธิกีดกันทางการค้าของสหรัฐฯ จะสร้างความเสียหายต่ออุตสาหกรรมที่สำคัญของเกาหลีและญี่ปุ่น

รายงานนี้สรุปว่า สหรัฐฯ มีทางเลือกคืออาจดำเนินแนวทางปัจจุบันต่อไป และสูญเสียอิทธิพลต่อไป

หรืออาจคิดใหม่ว่ามีปรับปรุงนโยบายให้มีส่วนร่วมเพิ่มขึ้นอย่างไรกับภูมิภาคนี้

แต่หากอเมริกาเพียง “รักษาสภาพที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน” ก็คงจะเป็นการก้าวถอยหลังดังที่รายงานของโลวีและไอซีเอเอสแสดงให้เห็น

เพราะแนวโน้มชี้ว่าเพื่อนสนิทของวอชิงตันในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กำลังห่างเหินกันมากขึ้น

และเป็นทิศทางที่ไม่เอื้อต่อการที่หลายประเทศในย่านนี้ต้องการเห็นการ “ถ่วงดุลแห่งอำนาจ” ของสองมหาอำนาจในย่านนี้.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ประเทศเดียวในโลก ‘นายกฯทับซ้อน’ มหันตภัยปี 2568

นายสุทธิชัย หยุ่น สื่อมวลชนอาวุโส โพสต์เฟซบุ๊กว่าสำนักวิจัยต่าง ๆ กำลังวิเคราะห์เพื่อพยากรณ์ว่าประเทศไทยจะต้องเผชิญกับความท้าทายสาหัสอะไรบ้างใน

บิ๊กเซอร์ไพรส์ 'สุทธิชัย หยุ่น' เล่นซีรีส์ 'The White Lotus ซีซั่น 3'

เรียกว่าสร้างความเซอร์ไพรส์อย่างต่อเนื่อง สำหรับซีรีส์ The White Lotus ซีซั่น 3 ซึ่งจะสตรีมผ่าน Max ในวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2025 เพราะนอกจากจะมี ลิซ่า-ลลิษา มโนบาล หรือ ลิซ่า BLACKPINK ไอดอลเกาหลีสัญชาติไทย ที่กระโดดลงมาชิมลางงานแสดงเป็นครั้งแรก ในบทของ มุก สาวพนักงานโรงแรม

ถามแสกหน้า 'ทักษิณ' จะพลิกเศรษฐกิจไทยยังไง ทุกซอกมุมในสังคมยังเต็มไปด้วยทุจริตโกงกิน

นายสุทธิชัย หยุ่น นักวิเคราะห์ข่าวและผู้ดำเนินรายการข่าวชื่อดัง โพสต์เฟซบุ๊ก ถึงกรณีนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ว่า “เขาจะพลิกประเทศไทยให้เศรษฐกิจล้ำโลกได้หรือ

เขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดนที่กลายเป็น ที่ซ่องสุมของอาชญากรรมข้ามชาติ

เมื่อวานเขียนถึงรายงานในสำนักข่าวชายขอบที่สำนักจะได้รับความสนใจของรัฐบาลไทยว่าด้วยกิจกรรมอาชญากรรมข้ามชาติในบริเวณ “เขตเศรษฐกิจพิเศษ” ที่สามเหลี่ยมทองคำ