หากเศรษฐกิจจีนชะลอตัว ไทยต้องตั้งรับอย่างไร?

เมื่อวานเราเห็นหลายปัจจัยที่อาจทำให้เศรษฐกิจจีนปีนี้และปีหน้าชะลอตัว

นายกฯหลี่ เฉียงเพิ่งแสดงความมั่นใจว่ารัฐบาลจีนจะสามารถทำตามเป้าที่โต 5% ได้ แต่นักวิเคราะห์บางสำนักก็มองว่าอาจจะมี “ลมปะทะ” จากข้างหน้าที่ทำให้การบรรลุเป้าหมายนี้ค่อนข้างจะท้าทาย

คำถามต่อมาก็คือว่าเมื่อเราเห็นสัญญาณอย่างนี้แล้ว ประเทศไทยควรจะต้องเตรียมการตั้งรับอย่างไรจึงจะไม่ได้รับผลกระทบหนักหน่วงเกินกว่าที่เราจะรับได้

บทวิเคราะห์ของ KKP Research ที่ผมนำมาเล่าให้ฟังต่อเมื่อวานนี้มีบทสรุปที่เป็นข้อเสนอสำหรับประเทศไทยที่น่าสนใจ

และน่าจะเป็นประโยชน์สำหรับคนทุกวงการที่มีส่วนเกี่ยวโยงกับเศรษฐกิจจีน (ซึ่งก็คือเกือบทุกวงการนั่นแหละ)

แนวทางของข้อเสนอแนะของสำนักวิจัย KKP Research แนะนำด้วยสาระอย่างนี้ว่า

การเติบโตที่ชะลอตัวลงของเศรษฐกิจจีนอาจส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยได้ค่อนข้างมาก จากการที่เศรษฐกิจไทยพึ่งพาจีนในสัดส่วนที่สูง

โดยในระยะสั้น ปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญในช่วงครึ่งหลังของปี คือ ภาคการท่องเที่ยวซึ่งแม้ว่าจำนวนนักท่องเที่ยวจากจีนจะทยอยกลับเข้ามา แต่ยังฟื้นตัวได้ช้ากว่าที่คาดและยังอยู่ในระดับต่ำ

กว่าช่วงปี 2019 อยู่ค่อนข้างมาก

ไม่เพียงแต่ประเทศไทยเท่านั้นแต่เราเห็นการฟื้นตัวของนักท่องเที่ยวจีนค่อนข้างช้าในหลายประเทศที่เป็นปลายทางสำคัญของนักท่องเที่ยวจีน

สะท้อนความไม่มั่นใจในการเดินทางหรือปัญหาอุปสรรคอื่นที่ทำให้นักท่องเที่ยวจีนออกนอกประเทศน้อยกว่าที่คาด

KKP Research ยังคงประเมินว่าจำนวนนักท่องเที่ยว

จากจีนจะยังเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้ภาคการท่องเที่ยวไทยฟื้นตัวในช่วงครึ่งหลังของปีนี้

แต่หากสถานการณ์ภายในเศรษฐกิจจีนชะลอตัวต่อเนื่อง อาจเพิ่มความเสี่ยงที่จำนวนนักท่องเที่ยวจีนในปีนี้อาจต่ำกว่าที่เราประเมินไว้ที่ 5 ล้านคน

สำหรับภาคการส่งออกของไทย ในปัจจุบันเริ่มเห็นผลกระทบของการชะลอตัวของจีนมาสู่ไทย แม้ว่าการส่งออกจากไทยไปจีนจะฟื้นตัวได้ดีเมื่อเทียบกับปีที่แล้ว แต่สินค้าส่งออกไปจีนที่ฟื้นตัวได้ดีมีเพียงแค่กลุ่มผลไม้เป็นหลัก

สะท้อนการฟื้นตัวของจีนที่กระจุกอยู่แค่ในภาคอุปโภคบริโภค ในขณะที่การส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมของไทยยังคงซบเซาตามการชะลอตัวของภาคการลงทุนและส่งออกของจีน

ผลกระทบต่อไทยจะไม่ได้จำกัดอยู่เพียงแค่ผลลบต่อเศรษฐกิจในระยะสั้นเท่านั้น แต่จะสร้างความท้าทายในระยะยาวอีกด้วย หากเศรษฐกิจจีนไม่ได้เติบโตในระดับสูงเหมือนเดิม หรือมีโครงสร้างทางเศรษฐกิจที่เปลี่ยนไป

ในบทวิเคราะห์ “KKP Insight: ธุรกิจและนักลงทุนไทยจะเป็นอย่างไรเมื่อจีนดำเนินนโยบาย Common Prosperity”หรือ “เฟื่องฟูไปด้วยกัน”

KKP Research ได้วิเคราะห์ถึงผลกระทบระยะยาวต่อธุรกิจไทยเมื่อเศรษฐกิจจีนกำลังจะชะลอตัวลง โดยธุรกิจที่จะได้รับผลกระทบในระดับสูง คือ

กลุ่มธุรกิจไทยที่พึ่งพาภาคการลงทุนและภาคการส่งออกของจีนในสัดส่วนสูง ได้แก่

กลุ่มอุตสาหกรรมเหล็ก เครื่องจักรกล อุปกรณ์การคมนาคม และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ในขณะที่กลุ่มธุรกิจที่อาจได้รับผลกระทบในสัดส่วนที่น้อยกว่าคือกลุ่มที่พึ่งพาภาคการบริโภคสินค้าและบริการของจีนได้แก่ภาคการเกษตร ผลิตภัณฑ์อาหารและการค้าปลีกและค้าส่งเป็นต้น

นั่นคือแนวทางที่สมควรที่คนไทยทุกภาคส่วนทั้งรัฐและเอกชนจะนำไปพิจารณาวางมาตรการตั้งรับให้ดี

อีกด้านหนึ่งของความสัมพันธ์กับจีนนั้น ผมอ่านเจอคำให้สัมภาษณ์ของหาน จื้อเฉียง เอกอัครราชทูตจีนประจำประเทศไทยที่เตือนว่าจะทั้งไทยและจีนต้องต้องระมัดระวังกลุ่มที่มีเจตนาซ่อนเร้น ใช้เรื่อง “ทุนสีเทา” เพื่อทำลายความสัมพันธ์จีน-ไทย

ในวันครบรอบ 48 ปีแห่งการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างจีนและไทย เอกอัครราชทูตหาน จื้อเฉียงได้ให้สัมภาษณ์กับเดลินิวส์เกี่ยวกับนโยบายการค้าและการลงทุนของจีนต่อไทย

โดยทูตหานบอกว่าเมื่อเร็วๆ นี้มีรายงานมากมายเกี่ยวกับทุนสีเทาในสื่อของไทย

“สิ่งที่ผมอยากจะบอกก็คือ จีนกำหนดให้พลเมืองและบริษัทจีนในต่างประเทศปฏิบัติตามกฎหมายและขนบธรรมเนียมของประเทศปลายทางอย่างเคร่งครัด ให้ประกอบธุรกิจที่ถูกกฎหมาย และตอบแทนสังคมอย่างจริงจัง และพวกเขาก็ทำเช่นนั้นจริง มีบริษัทจีนในไทยจำนวนมากกระตือรือร้นกับการทำกิจการเพื่อสาธารณะประโยชน์พร้อมๆ กับการพัฒนาธุรกิจของพวกเขา ซึ่งความพยายามและคุณประโยชน์ที่พวกเขาได้ทำเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในท้องถิ่นนั้นเป็นที่ประจักษ์

ท่านทูตหานบอกด้วยว่า “มีชาวจีนจำนวนมากได้รับความเดือดร้อนจากกิจกรรมที่ผิดกฎหมาย เช่น การพนันออนไลน์และแก๊งคอลเซ็นเตอร์ เป็นต้น”

ท่านบอกว่าฝ่ายจีนสนับสนุนให้ฝ่ายไทยดำเนินการปราบปรามกิจกรรมที่ผิดกฎหมายอย่างเต็มที่

“และในความเป็นจริง หน่วยงานบังคับใช้กฎหมายของจีนและไทยได้ร่วมมืออย่างใกล้ชิดในการปราบปรามแก๊งอาชญากรรมข้ามชาติอยู่แล้ว และได้ประสบผลสำเร็จอย่างมาก...”

ท่านทูตจีนเสริมว่า:

“สิ่งที่ผมต้องการเน้นย้ำคือ ชาวจีนที่ประกอบธุรกิจผิดกฎหมายและกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับอาชญากรรมในประเทศไทยนั้นมีจำนวนน้อยมาก เราควรแยกแยะคนเหล่านี้ออกจากพลเมืองจีนและบริษัทจีนในประเทศไทย...”

เพราะบางกลุ่มที่มีเจตนาซ่อนเร้น ใช้เครือข่ายการสื่อสารเพื่อทำลายภาพพจน์ของประเทศจีน สร้างความขัดแย้ง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความแตกแยกระหว่างจีนกับไทย ซึ่งทั้งไทยและจีนต้องระมัดระวังอย่างมาก

นี่เป็นอีกแง่มุมหนึ่งของความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจของไทยกับจีนที่ต้องจับตาดูและตามให้ทันกับความสลับซับซ้อนของกิจกรรมต่าง ๆ เช่นกัน

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ประเทศเดียวในโลก ‘นายกฯทับซ้อน’ มหันตภัยปี 2568

นายสุทธิชัย หยุ่น สื่อมวลชนอาวุโส โพสต์เฟซบุ๊กว่าสำนักวิจัยต่าง ๆ กำลังวิเคราะห์เพื่อพยากรณ์ว่าประเทศไทยจะต้องเผชิญกับความท้าทายสาหัสอะไรบ้างใน

บิ๊กเซอร์ไพรส์ 'สุทธิชัย หยุ่น' เล่นซีรีส์ 'The White Lotus ซีซั่น 3'

เรียกว่าสร้างความเซอร์ไพรส์อย่างต่อเนื่อง สำหรับซีรีส์ The White Lotus ซีซั่น 3 ซึ่งจะสตรีมผ่าน Max ในวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2025 เพราะนอกจากจะมี ลิซ่า-ลลิษา มโนบาล หรือ ลิซ่า BLACKPINK ไอดอลเกาหลีสัญชาติไทย ที่กระโดดลงมาชิมลางงานแสดงเป็นครั้งแรก ในบทของ มุก สาวพนักงานโรงแรม

ถามแสกหน้า 'ทักษิณ' จะพลิกเศรษฐกิจไทยยังไง ทุกซอกมุมในสังคมยังเต็มไปด้วยทุจริตโกงกิน

นายสุทธิชัย หยุ่น นักวิเคราะห์ข่าวและผู้ดำเนินรายการข่าวชื่อดัง โพสต์เฟซบุ๊ก ถึงกรณีนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ว่า “เขาจะพลิกประเทศไทยให้เศรษฐกิจล้ำโลกได้หรือ

เขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดนที่กลายเป็น ที่ซ่องสุมของอาชญากรรมข้ามชาติ

เมื่อวานเขียนถึงรายงานในสำนักข่าวชายขอบที่สำนักจะได้รับความสนใจของรัฐบาลไทยว่าด้วยกิจกรรมอาชญากรรมข้ามชาติในบริเวณ “เขตเศรษฐกิจพิเศษ” ที่สามเหลี่ยมทองคำ