เมื่อวานเขียนถึงนายกฯหลี่ เฉียงของจีนที่ยืนยันว่าเศรษฐกิจของจีนน่าจะโตได้ร้อยละ 5 ในปีนี้แม้ว่าเขาพูดไว้ตอนรับตำแหน่งเมื่อเดือนมีนาคมว่า “เป็นภารกิจที่ท้าทาย”
แต่นักวิเคราะห์หลายสำนักก็มองว่าความท้าทายมีอยู่จริงสำหรับเศรษฐกิจอันดับสองของโลก
ด้วยเหตุผลหลายประการที่คนไทยควรจะต้องติดตามอย่างใกล้ชิด
สำนักวิจัยของไทย KKP Research ก็ประเมินว่ามีปัจจัยหลายข้อที่อาจจะทำให้การเติบโตทางเศรษฐกิจของจีนต้องไม่ต้องชะลอตัวลง
ปัจจัยระยะสั้น คือ ประชากรจีนยังมีความ
กังวลเกี่ยวกับโควิดและยังไม่มั่นใจในทิศทางเศรษฐกิจ สะท้อนผ่านความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่ยังอยู่ในระดับต่ำ
ตามมาด้วยปัญหาในภาคอสังหาริมทรัพย์ และการฟื้นตัวที่ค่อนข้างกระจุกตัวอยู่เพียงในบางภาคเศรษฐกิจ
รวมไปถึงปัญหาเชิงโครงสร้างอีกหลายด้านที่ฉุดการเติบโตของจีนในระยะยาว
KKP Research ประเมินว่าในภาพรวมเศรษฐกิจจีนในปีนี้และในระยะต่อไปกำลังเผชิญความท้าทายอย่างมาก และการเติบโตของเศรษฐกิจจีนจะไม่ได้เติบโตได้อย่างแข็งแกร่งเหมือนทศวรรษที่ผ่านมา
เครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจรายเดือนในแต่ละด้านของจีนสะท้อนให้เห็นว่าการฟื้นตัวของจีนยังซบเซาและกระจุกอยู่แค่ใน
การบริโภคบริการเท่านั้น (Service consumption)
ซึ่งส่วนหนึ่งเกิดจากภาคเศรษฐกิจอื่น ๆ ทยอยฟื้นตัวไปแล้ว
ในช่วงก่อนหน้า ขณะที่ภาคการผลิตของจีนยังได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวในช่วงที่ผ่านมา ดังนี้
1) ยอดค้าปลีก (Retail sales) แม้ว่าตัวเลขยอดค้าปลีกจะปรับตัวสูงขึ้นกว่า 12% ในเดือนพฤษภาคมเมื่อเทียบกับ
ปีที่ผ่านมา แต่อัตราการเติบโตที่สูงมาจากผลของฐานในปีที่แล้วที่ต่ำลงไปมากจากผลกระทบการปิดเมือง หาก
พิจารณาอัตราการเติบโตของยอดค้าปลีกเทียบกับสองปีก่อนที่ยังไม่กลับมาปิดเมืองอีกรอบ (ปี 2021) จะพบว่า
มีอัตราการเติบโตอยู่ที่ประมาณ 2.6% ต่อปีเท่านั้น
ซึ่งสะท้อนว่าภาคการบริโภคในส่วนของสินค้าไม่ได้ฟื้นตัวได้
ดีมากเมื่อเทียบกับระดับปกติในอดีต
นอกจากนี้ข้อมูลยอดค้าปลีกยังสะท้อนว่า แนวโน้มการบริโภคสินค้าได้ทยอยฟื้นตัวกลับเข้าสู่แนวโน้มการเติบโตแบบปกติแล้ว ทำให้ผลจากอุปสงค์ที่อั้นไว้ (Pent-up demand) จะมีบทบาทลดลงในช่วงหลังจากนี้
2) การผลิตในภาคอุตสาหกรรม (Industrial Production) ตัวเลขภาคการผลิตจีนในเดือนพฤษภาคมเติบโตเพียง3.5% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า จากฐานในปีที่แล้วที่ต่ำเช่นเดียวกัน
หากเทียบกับสองปีก่อนอัตราการเติบโตของการผลิตชะลอตัวเหลือเพียง 2.1% ต่อปี สะท้อนถึงการฟื้นตัวที่ไม่ได้แข็งแกร่งอย่างที่คาดของเศรษฐกิจในประเทศ รวมถึงการชะลอตัวของภาคการค้าโลก
3) ดัชนีการลงทุน (Fixed Asset Investment) ตัวเลขการลงทุนในสินทรัพย์ถาวรเริ่มชะลอตัวแม้เทียบกับฐานที่ต่ำ
ในปีที่แล้วทั้งการลงทุนในภาคอุตสาหกรรมและโครงสร้างพื้นฐาน ส่วนการลงทุนในภาคอสังหาริมทรัพย์ยังหด
ตัวต่อเนื่องมาตั้งแต่ปีที่แล้ว
4) เครื่องชี้ภาคการบริการ ภาคบริการเป็นภาคเศรษฐกิจเดียวของจีนที่มีการฟื้นตัวอย่างชัดเจน
โดยดัชนี PMI (Purchasing Manager Index) ในภาคการบริการมีแนวโน้มขยายตัวสวนทางการดัชนีภาคการผลิตที่เริ่มชะลอตัวลง
เครื่องชี้วัดภาคบริการอื่น ๆ สะท้อนภาพการฟื้นตัวคล้ายกัน เช่น จำนวนการบินภายในประเทศที่กลับมาอยู่ในระดับปกติในขณะที่จำนวนการบินต่างประเทศทยอยฟื้นตัวต่อเนื่อง
การฟื้นตัวที่แผ่วบางของจีนไม่ได้เกิดจากเฉพาะปัจจัยชั่วคราวในระยะสั้น แต่สะท้อนความเปราะบางเชิงโครงสร้างที่สะสมมานานและเริ่มส่งผลต่อเศรษฐกิจ
แม้ว่าความกังวลต่อสถานการณ์โควิดของคนจีนอาจเป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้เศรษฐกิจฟื้นตัวได้ช้า ซึ่งน่าจะมีทิศทางดีขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปี
แต่เมื่อพิจารณาตัวเลขกิจกรรมทางเศรษฐกิจในประเทศของจีนที่สะท้อนจาก mobility indicators จะพบว่าความกังวลเรื่องโควิดไม่ใช่ประเด็นหลักอีกต่อไป
เพราะ ทั้งตัวเลขปริมาณการใช้รถไฟใต้ดิน หรือตัวเลขของจำนวนไฟล์ทบินภายในประเทศได้กลับมาสู่ระดับปกติแล้ว
KKP Research ประเมินว่าปัจจัยเชิงโครงสร้างที่สร้างแรงกดดันต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจจีน มีดังนี้
1) ความเสี่ยงในภาคอสังหาริมทรัพย์ภาคอสังหาริมทรัพย์ในจีนกำลังประสบปัญหาจากความเสี่ยงที่โครงการ
อสังหาริมทรัพย์หลายแห่งไม่สามารถดำเนินการก่อสร้างจนเสร็จสิ้นได้ เนื่องจากบริษัทพัฒนา
อสังหาริมทรัพย์จำนวนมากกำลังเผชิญปัญหาด้านสภาพคล่องและปัญหาการล้มละลายไม่สามารถชำระหนี้สินได้
ปัญหานี้เริ่มปะทุขึ้นตั้งแต่ปี 2015 เป็นต้นมา โดยมีสาเหตุมาจากผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์ในจีนมีการใช้รายรับจากยอด pre-sale หรือยอดขายก่อนที่โคงการจะสร้างเสร็จ จากโครงการใหม่มาใช้จ่ายในโปรเจ็กต์อสังหาริมทรัพย์อื่นๆ
ดังนั้น เมื่อยอด pre-sale ในจีนมีทิศทางที่ชะลอตัวลงจากปัญเศรษฐกิจในประเทศ จึงส่งผลให้โครงการอสังหาฯ ที่กำลังสร้างอยู่จำเป็นต้องหยุดชะงักลง กระทบต่อความสามารถในการดำเนินงานและการชำระหนี้ของผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์
2) ความเชื่อมั่นผู้บริโภคสั่นคลอน KKP Research ประเมินว่าความเสี่ยงในภาคอสังหาริมทรัพย์เป็นหนึ่งใน
ปัจจัยสำคัญที่บั่นทอนความเชื่อมั่นของครัวเรือน โดยเฉพาะในบรรดาผู้ผ่อนบ้านในโครงการที่มีความเสี่ยงไม่ส่งมอบตามสัญญา
โดยตัวเลขสำคัญที่สะท้อนแนวโน้มนี้ คือ อัตราการออมในภาคครัวเรือนที่มีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ชี้ให้เห็นว่าครัวเรือนมีการลดสัดส่วนของการบริโภคและเพิ่ม
สัดส่วนของการออมมากขึ้น ในปัจจุบันเราเริ่มเห็นยอดขายและราคาของอสังหาริมทรัพย์หดตัวมากขึ้นอีกซึ่งจะเพิ่มความเสี่ยงต่อทั้ง
1) ผู้ประกอบการที่อาจเผชิญภาวะขาดสภาพคล่องเพิ่มเติมจากยอดขายที่หดตัว
2) ภาคธนาคารพาณิชย์ที่มีสินเชื่อที่เกี่ยวข้องกับภาคอสังหาริมทรัพย์สูง และ
3) ภาคครัวเรือนที่มีสินทรัพย์ส่วนมากอยู่ในอสังหาริมทรัพย์
เมื่อเห็นภาพของเศรษฐกิจจีนที่เผชิญกับปัจจัยท้าทายมากมายหลายด้านเช่นนี้ ประเทศไทยควรจะต้องเตรียมตั้งรับอย่างไร
พรุ่งนี้อ่านข้อเสนอของ KKP Research น่าสนใจครับ คนในทุกวงการควรจะต้องอ่านและต่อยอดจากบทสรุปของแต่ละภาคส่วนเพื่อจะได้ลดแรงกระแทกและหาทางออกด้านอื่นไว้ด้วย.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
มีแม้วไม่มีเรา! วัดใจจุดยืน 'พรรคส้ม' หลังทักษิณขีดเส้นแบ่งข้างทุกเวทีแล้ว
นายสุทธิชัย หยุ่น สื่อมวลชนอาวุโส โพสต์เฟซบุ๊กว่า "พรรคส้มกล้าไหม? มีแม้วไม่มีเรา!
ประเทศเดียวในโลก ‘นายกฯทับซ้อน’ มหันตภัยปี 2568
นายสุทธิชัย หยุ่น สื่อมวลชนอาวุโส โพสต์เฟซบุ๊กว่าสำนักวิจัยต่าง ๆ กำลังวิเคราะห์เพื่อพยากรณ์ว่าประเทศไทยจะต้องเผชิญกับความท้าทายสาหัสอะไรบ้างใน
‘หยุ่น’ ฟันเปรี้ยงรอดยาก! ชั้น 14 ดิ้นอย่างไรก็ไม่หลุด
นายสุทธิชัย หยุ่น สื่อมวลชนอาวุโส โพสต์เฟซบุ๊กว่า เรื่องชั้น 14 จะดิ้นอย่างไรก็หลุดยาก จึงเห็นการเฉไฉ, ตีหน้าตาย
บิ๊กเซอร์ไพรส์ 'สุทธิชัย หยุ่น' เล่นซีรีส์ 'The White Lotus ซีซั่น 3'
เรียกว่าสร้างความเซอร์ไพรส์อย่างต่อเนื่อง สำหรับซีรีส์ The White Lotus ซีซั่น 3 ซึ่งจะสตรีมผ่าน Max ในวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2025 เพราะนอกจากจะมี ลิซ่า-ลลิษา มโนบาล หรือ ลิซ่า BLACKPINK ไอดอลเกาหลีสัญชาติไทย ที่กระโดดลงมาชิมลางงานแสดงเป็นครั้งแรก ในบทของ มุก สาวพนักงานโรงแรม
ถามแสกหน้า 'ทักษิณ' จะพลิกเศรษฐกิจไทยยังไง ทุกซอกมุมในสังคมยังเต็มไปด้วยทุจริตโกงกิน
นายสุทธิชัย หยุ่น นักวิเคราะห์ข่าวและผู้ดำเนินรายการข่าวชื่อดัง โพสต์เฟซบุ๊ก ถึงกรณีนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ว่า “เขาจะพลิกประเทศไทยให้เศรษฐกิจล้ำโลกได้หรือ
เขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดนที่กลายเป็น ที่ซ่องสุมของอาชญากรรมข้ามชาติ
เมื่อวานเขียนถึงรายงานในสำนักข่าวชายขอบที่สำนักจะได้รับความสนใจของรัฐบาลไทยว่าด้วยกิจกรรมอาชญากรรมข้ามชาติในบริเวณ “เขตเศรษฐกิจพิเศษ” ที่สามเหลี่ยมทองคำ