คงต้องยอมรับว่า ในปัจจุบันโลกธุรกิจมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วและเกิดการเปลี่ยนแปลงอยู่บ่อยครั้ง มีสิ่งใหม่ที่น่าสนใจเข้ามาตลอดเวลา นับเป็นความท้าทายต่อเจ้าของกิจการที่จะต้องปรับตัวให้ทันต่อสถานการณ์เหล่านั้น ทั้งยังต้องมองเห็นเทรนด์ที่มีแนวโน้มจะเกิดขึ้น เพื่อไม่ให้พลาดโอกาสทางธุรกิจ อย่าง PwC ก็มีรายงานผลสำรวจ Asia Pacific Workforce Hopes and Fears Survey ประจำปี 2566 พบ 39% เชื่อว่าองค์กรที่ตนทำงานอยู่จะไม่สามารถอยู่รอดได้มากกว่า 10 ปีหากยังยึดติดกับการทำธุรกิจในรูปแบบเดิม เปรียบได้กับ 53% ของซีอีโอในภูมิภาคที่มีความคิดเห็นเช่นเดียวกันนี้ในรายงานผลสำรวจซีอีโอประจำปี 2566 ซึ่งถือเป็นการยืนยันว่าผู้นำธุรกิจจะต้องเร่งสร้างการเปลี่ยนแปลงในระยะยาวเพื่อแก้ไขปัญหาด้านบุคลากร
นายเรย์มอนด์ ชาว ประธาน PwC ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก และสาธารณรัฐประชาชนจีน กล่าวว่า โลกแห่งความเป็นจริงใหม่สอนเราทุกคนว่า การเปลี่ยนแปลงนั้นเกิดขึ้นตลอดเวลา ขณะที่การแข่งขันยังคงทวีความรุนแรง ความเสี่ยงจากการหยุดชะงักก็ยังคงอยู่ และความคาดหวังของสังคมก็เพิ่มสูงขึ้น จึงท้าทายความสามารถในการอยู่รอดของทุกธุรกิจ ซึ่งหากองค์กรต่างๆ ต้องการที่จะเติบโตอย่างแท้จริงในสภาพแวดล้อมที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง ก็จะต้องปรับตัวอย่างรวดเร็ว ซึ่งถือเป็นเรื่องที่น่ายินดีที่ผู้นำธุรกิจและพนักงานในภูมิภาคนี้ต่างมีวิสัยทัศน์ร่วมกัน แม้ไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดที่เหมือนกัน แต่หัวใจสำคัญย่อมอยู่ที่บุคลากรเสมอ เราจึงต้องร่วมมือกันสร้างวิธีการใหม่ๆ ที่เชื่อมโยงถึงกันและกัน เพื่อสร้างความไว้วางใจและส่งมอบผลลัพธ์ที่ยั่งยืน
โดยพนักงานในภูมิภาคนี้มีแนวโน้มที่จะลาออกจากงานมากกว่าปีที่แล้ว ซึ่งเมื่อมองย้อนกลับไปถือเป็นช่วงเวลาที่ทุกคนคิดว่า "การลาออกครั้งใหญ่" ได้เดินทางมาถึงจุดสูงสุด รายงานพบว่า ประมาณ 30% ของผู้ตอบแบบสำรวจกล่าวว่ามีแนวโน้มที่จะเปลี่ยนงานในอีก 12 เดือนข้างหน้า เพิ่มขึ้น 10% จากปี 2565 โดยจำนวนผู้ที่ต้องการลาออกนั้นสูงขึ้นในกลุ่มคนรุ่นใหม่ พนักงานระดับอาวุโส และพนักงานที่ทำงานในองค์กรขนาดใหญ่ นอกจากนี้ ประมาณ 40% ยังมีแนวโน้มที่จะขอขึ้นเงินเดือนหรือเลื่อนตำแหน่งภายในระยะเวลาเดียวกัน
แน่นอนว่าจากภูมิทัศน์ที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลาได้พิสูจน์ให้เห็นว่า ทักษะของแรงงานจะได้รับผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญในอนาคต อย่างไรก็ดีพนักงานที่ตอบแบบสำรวจอาจมีความคิดเห็นที่แตกต่างออกไป โดยมีเพียง 44% ที่เชื่อว่าทักษะที่จำเป็นสำหรับการทำงานจะมีการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญภายในอีก 5 ปีข้างหน้า และมีเพียง 48% เท่านั้นที่เข้าใจอย่างชัดเจนว่าจะเปลี่ยนไปอย่างไร ซึ่งหากพนักงานไม่เตรียมตัวหรือเข้าใจว่าข้อกำหนดในการทำงานนั้นอาจเปลี่ยนไป พวกเขาก็จะไม่สามารถเตรียมตัวเพื่อรับมือกับอนาคตได้อย่างเพียงพอ
สำหรับประเทศไทย ข้อมูลจากรายงานพบว่า 79% ของกำลังแรงงานไทยที่ตอบแบบสำรวจมีความพึงพอใจมากหรือปานกลางกับงานของตน ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยของเอเชียแปซิฟิกที่ 57% อย่างไรก็ดีบุคลากรเหล่านี้ยังคงมีความต้องการจะเปลี่ยนงานมากขึ้นเช่นกัน โดย 30% กล่าวว่าต้องการเปลี่ยนนายจ้าง เพิ่มขึ้นจาก 13% ในปีก่อน ขณะที่ 70% เชื่อว่าทักษะในการทำงานของพวกเขาจะเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญในอีก 5 ปีข้างหน้า ซึ่งถือเป็นเป็นตัวเลขที่สูงที่สุดในภูมิภาค และ 77% มองว่าทักษะด้านดิจิทัลจะมีความสำคัญต่ออาชีพของพวกเขาเป็นอย่างมาก
แม้ว่าแรงงานไทยจะพึงพอใจกับงานที่ทำอยู่ แต่ก็ยังคงต้องเผชิญกับกระแสการลาออกครั้งใหญ่ต่อไป และดูเหมือนว่าจะมีแนวโน้มที่รุนแรงขึ้นด้วย เพราะพนักงานส่วนมากต้องการงานที่เพิ่มรายได้ให้กับตัวเองเพื่อรับมือกับค่าครองชีพที่สูงขึ้นในทุกๆ ปี ด้วยเหตุนี้ นายจ้างจะต้องวางกลยุทธ์และยุทธวิธีต่างๆ ในการรักษาทาเลนต์อย่างเข้มข้นและต่อเนื่อง โดยเน้นการสร้างสมดุลระหว่างงานและชีวิตส่วนตัว ให้โอกาสในการเรียนรู้และการแสดงความสามารถ ยกระดับทักษะด้านดิจิทัล และสิ่งที่สำคัญที่สุดคือ การเชื่อมโยงเป้าหมายส่วนตัวของพนักงานกับเป้าหมายขององค์กร โดยองค์กรจะต้องแสดงค่านิยมหลักที่ชัดเจนในเรื่องนี้ เพราะนี่จะเป็นรากฐานในการดึงดูดทาเลนต์ในระยะยาว.
รุ่งนภา สารพิน
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
แห่ส่งเสริมนวัตกรรมพลิกโลก
เทคโนโลยีอินเตอร์เน็ต ออฟ ติงส์ หรือ IoT(ไอโอที) เป็นหนึ่งในเทคโนโลยีสำคัญในยุคสมัยนี้ที่เข้ามาเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของคนในยุคปัจจุบันเป็นอย่างมาก เพราะเป็นนวัตกรรมที่ทำให้การสื่อสารระหว่างมนุษย์และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ไร้รอยต่อยิ่งขึ้น
OCAแก้วิกฤตพลังงานไทย
ปัจจุบันปริมาณสำรองก๊าซของไทยลดลงอย่างต่อเนื่องจนเข้าขั้นวิกฤต ส่งผลให้ต้องนำเข้าก๊าซ LNG ในราคาที่ผันผวนเพิ่มมากขึ้น มีผลกระทบต่อค่าไฟฟ้าที่สูงขึ้นของประชาชนและรายได้งบประมาณของรัฐลดลง
แอ่วเหนือ...คนละครึ่งบูมเศรษฐกิจ
จากสถานการณ์อุทกภัยในช่วงที่ผ่านมา ได้ส่งผลกระทบต่อการท่องเที่ยวในหลายพื้นที่ของภาคเหนือ โดยเฉพาะในจังหวัดเชียงรายและเชียงใหม่ ทั้งในแง่ของการคมนาคม เดินทางเข้าสู่พื้นที่และความเสียหายต่อแหล่งท่องเที่ยว
ซึมยาวถึงกลางปีหน้า
ข้อมูลจากสถาบันยานยนต์จะพบว่า ในปี 2566 ตลาดยานยนต์ในไทยมีมูลค่ารวมกว่า 3 ล้านล้านบาท หรือคิดเป็น 18% ของ GDP ประเทศ และจากการส่งเสริมอุตสาหกรรมยานยนต์ของภาครัฐที่มีมาอย่างต่อเนื่อง ทำให้ประเทศไทยเป็นฐานการผลิตรถยนต์อันดับ 10 ของโลก อันดับ 5 ของเอเชีย และอันดับ 1 ของอาเซียน
ความท้าทายเศรษฐกิจโลก2025
ดูเหมือนว่าในปีหน้า 2568 การค้าโลกและเศรษฐกิจไทยยังคงต้องเผชิญกับความท้าทายและโอกาส โดย finbiz by ttb ฉายภาพเศรษฐกิจภาพใหญ่ และเจาะความเคลื่อนไหวของเศรษฐกิจจีนที่ส่งผลต่อการค้าโลกและการค้าของไทยไว้ได้อย่างน่าสนใจ
ศก.รัฐบาลมาดามแพจะรอดไหม?
ผลสำรวจความคิดเห็นของนิด้าโพล เมื่อ 2 วันก่อนนี้ มีการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนในหัวข้อ “รัฐบาลนายกฯ อุ๊งอิ๊ง ไปไหวไหม” พบว่ามีคนเชื่อว่ารัฐนาวาของ มาดามแพ จะยืนหยัดจนครบเทอมเพียงแค่ 41% เท่านั้น โดยมองเรื่องจุดชี้เป็นชี้ตาย ปัญหาปากท้อง จะเป็นตัวชี้ขาดว่ารัฐบาลจะอยู่รอดหรือไม่รอด