บันทึกหน้า 4

ไทยโพสต์ อิสรภาพแห่งความคิด @ประชาชื่น 46 นับถอยหลังการโหวตเลือกนายกฯ ในวันที่ 13 ก.ค. แม้คนก้าวไกลเชื่อว่าจะได้เสียงเพียงพอเกิน 376 เสียง ดันพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ เป็นนายกฯ แต่ข้อเท็จจริงเป็นอย่างไร เดี๋ยวคงรู้กัน โดยมีคำเตือนจากนายจตุพร พรหมพันธุ์ วิทยากรคณะหลอมรวมประชาชน ถ้าพรรคก้าวไกลมั่นใจได้ ส.ว.สนับสนุนครบ 65 เสียงแล้ว ยิ่งไม่ควรต้องจัดชุมนุมส่งสัญญาณอารมณ์ถึงเหตุการณ์โหวต 13 ก.ค. เพราะจะทำให้เกิดผู้ไม่หวังดีเข้าแทรกแซง ปั่นป่วนจนมีความคั่งแค้นและเกิดความเสียหายทางการเมือง 

 “ส่วนเสียง ส.ส. มีแน่นอน 311 เสียง แต่ถ้ามั่นใจรวบรวม ส.ว.ได้จริงเกิน 65 เสียงแล้ว ก็ไม่จำเป็นต้องไปสุ่มเสี่ยงอะไรกับการชุมนุม (เมื่อ 9 ก.ค.) หากมีใครสักคนชูป้ายเรื่อง 112 หรือเรื่องอื่นแล้ว มันจะลากให้กลายเป็นอีกสถานการณ์หนึ่งทันที”

๐ นอกจากนี้ยังมีประเด็นคู่ขนาน หลัง กกต. เตรียมประชุมเรื่องคุณสมบัติของนายพิธาขัดรธน. มาตรา 98 (3) ห้ามถือหุ้นสื่อหรือไม่ หากผลมาเป็นลบ และส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญ ที่จะนัดประชุมกันวันที่ 12 ก.ค. หากสมมุติสั่งยุติปฏิบัติหน้าที่ ส.ส. ก็จะส่งผลในการโหวตแคนดิเดตนายกฯ ทันที แม้กฎหมายจะไม่ได้ห้าม แต่ถามว่า ประธานรัฐสภาจะกล้าให้มีการโหวตหรือไม่ รวมทั้งสมาชิกรัฐสภา ประกอบไปด้วย ส.ส. และ ส.ว. จะกล้าโหวตคนที่มีมลทินหรือไม่ ที่สุ่มเสี่ยงระคายเคืองต่อเบื้องพระยุคลบาท  

โดยนายเสรี สุวรรณภานนท์ วุฒิสภา ให้ความเห็นเรื่องนี้ว่า การที่ กกต.ยื่นศาลรัฐธรรมนูญถือเป็นแนวทางที่สร้างความชัดเจน ช่วยแก้ปัญหาความเห็นต่างๆ กกต.จึงเป็นทางออก เมื่อสอบสวนไต่สวนชัดเจนแล้วสามารถสรุปเสนอต่อศาลรัฐธรรมนูญได้ก็เป็นแนวทางที่จบปัญหา ถ้าทำเสร็จจริงก็ควรส่งไป

ไม่ใช่เรื่องการสกัดหรือไม่สกัด ถ้าใช้คำนั้นเหมือนตั้งใจไม่ให้นายพิธาเป็นนายกฯ แต่เป็นเรื่องของบทบัญญัติรัฐธรรมนูญที่กำหนดให้นายกฯ ต้องมีคุณสมบัติ และไม่มีลักษณะต้องห้าม โดยกำหนดอยู่ในรัฐธรรมนูญมาตรา 272 ที่ให้ ส.ส. และ ส.ว. โหวตเลือกนายกฯ ส่วนมาตรา 159 ส.ส. และ ส.ว. ต้องเลือกบุคคลที่มีคุณสมบัติไม่มีลักษณะต้องห้าม คือห้ามถือหุ้นสื่อ ซึ่งเป็นคุณสมบัติที่ผิดในตัวเองอยู่แล้ว แต่การส่งศาลรัฐธรรมนูญก็เพื่อหาข้อยุติให้ชัดเจน เพราะการถือหุ้นคือเหตุ ส่วนผลคือรอศาลตัดสิน แต่ขัดรัฐธรรมนูญหรือไม่นั้น เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นแล้ว ดังนั้น ส.ส. และ ส.ว. ต้องทำตามบทบัญญัติในมาตรา 159 ให้ชัดเจน

 “ผมเป็นห่วง 8 พรรคที่เซ็นเอ็มโอยู ว่าจะกล้าตัดสินใจเลือกคนที่คุณสมบัติไม่ครบถ้วนตามรัฐธรรมนูญหรือไม่ หากเลือกคนขัดรัฐธรรมนูญ คนขาดคุณสมบัติ ทั้งหมดจะเหมือนปลาในข้องเดียวกัน จะมีปัญหากับพรรคเหล่านั้นได้ จึงอยากฝากไปพิจารณาบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญเหล่านี้ด้วย การที่แต่ละพรรคจะโหวตนายพิธา ดูรัฐธรรมนูญมาตรา 159 หรือยัง ว่าต้องไม่มีลักษณะต้องห้าม แต่ละพรรคท่านต้องไปดู มิเช่นนั้นจะกลายเป็นท่านทำขัดรัฐธรรมนูญเอง จะกลายเป็นท่านล้มล้างการปกครองหรือไม่ เพราะขัดมาตรา 159 ซึ่งจะไปไกล ถูกตีความอีกเยอะ สุดท้ายจะทำร้ายตัวคุณเอง อาจจะไปไกลถึงถูกยุบพรรค”

๐ ขณะที่นายชัยธวัช ตุลาธน เลขาธิการพรรคก้าวไกล บอกว่า พรรคก้าวไกลได้ส่งหนังสือด่วนไปยัง กกต. เพื่อคัดค้านการที่คณะกรรมการการเลือกตั้งจะส่งเรื่องไปยังศาลรัฐธรรมนูญ เพื่อให้วินิจฉัยกรณีหุ้นสื่อของพิธา เนื่องจากเป็นการกระทำที่ผิดขั้นตอน ที่ระเบียบ กกต.ระบุไว้เอง มีความเร่งรัดเกินกว่าเหตุ จนน่าสงสัยในเจตนาของ กกต. ว่ากระทำโดยความเป็นกลางหรือไม่

"ในวันที่ 13 กรกฎาคมนี้ อีกเพียง 4 วัน ก็จะถึงการโหวตนายกรัฐมนตรี การที่จู่ๆ กกต.จะเร่งรัด ทำข้ามขั้นตอน ส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยทันที อาจทำให้สังคมตั้งคำถามได้ว่า องค์กรอิสระทำหน้าที่อย่างไม่เป็นกลาง มีเป้าประสงค์ทางการเมืองหรือไม่ ผมเชื่อว่าประชาชนเฝ้ารอการโหวตนายกรัฐมนตรีกันทั้งประเทศ จึงไม่ควรมีการกระทำใดๆ ที่จะขัดขวางการตั้งรัฐบาลตามครรลองประชาธิปไตย" 

ส่วนท่าที กกต.จะเป็นอย่างไร และศาลรัฐธรรมนูญจะวินิจฉัยให้หยุดปฏิบัติหน้าที่ ส.ส.หรือไม่ และรัฐสภาจะกล้าโหวตหรือไม่ และจะมีการปลุกม็อบมาล่าแม่มดหรือไม่ การเมืองร้อนๆ ในสัปดาห์นี้อีกไม่นานคงรู้กัน. 

 

ช่างสงสัย

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

บันทึกหน้า 4

ถึงกับว้าว! "อิ๊งค์" ทอล์กโชว์ อลังการงานสร้าง เวทีใหญ่สวยงาม จัดเต็มแสงสีเสียง ยกเว้นเรื่องเดียว "สาระ" เนื้อหาผลงาน 90 วัน รัฐบาลแพทองธาร

อ่อนกว่าวัย

ไม่น่าเชื่อในวันที่ 13 ม.ค. 2568 รัฐมนตรี 17 สมัย อย่าง “สมศักดิ์ เทพสุทิน” รมว.สาธารณสุข จะมีอายุครบ 70 ปี เนื่องจากรูปร่างหน้าตาดูอ่อนกว่าวัยมาก เหมือนกับคนอายุประมาณ 50 ปีเศษเท่านั้น

บันทึกหน้า 4

ต้องเรียกว่าตีปี๊บกันอย่างยิ่งกับการแถลงผลงาน 90 วัน พร้อมสานฝันอนาคตในธีม “2568 โอกาสไทย ทำได้จริง” ที่ “แพทองธาร ชินวัตร” นายกรัฐมนตรีจะเป็นคีย์แมนหลัก โดยถ่ายทอดสดผ่านสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย (เอ็นบีที) ในวันพฤหัสบดีที่ 12 ธ.ค.นี้

บันทึกหน้า 4

วันอังคารที่ 10 ธันวาคม ตรงกับ วันรัฐธรรมนูญ เป็นวันหยุดราชการ การประชุม ครม.จึงเลื่อนไปเป็นวันพุธ หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อวันที่ 24 มิ.ย.2475 ถึงปัจจุบัน มีรัฐธรรมนูญแล้ว 20 ฉบับ มีรัฐประหารถึง 13 ครั้ง

บันทึกหน้า 4

” จับตาว่า ม็อบจะจุดติดหรือไม่ หลัง สนธิ ลิ้มทองกุล อดีตแกนนำพันธมิตรฯ ยื่นหนังสือถึงนายกฯ จำนวน 6 ข้อ เพื่อยกเลิกเอ็มโอยู 44 รวมถึงยังยื่นข้อเรียกร้องดังกล่าวต่อสมาชิกรัฐสภา

บันทึกหน้า 4

พรุ่งนี้ 10 ธ.ค. วันรัฐธรรมนูญ บันทึกให้ระลึกรู้ว่า ประเทศไทยได้ประกาศใช้รัฐธรรมนูญมาแล้ว 20 ฉบับ ฉบับปัจจุบันคือรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ป