บันทึกหน้า 4

นพ.อำพล จินดาวัฒนะ สมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) โพสต์เฟซบุ๊กเรื่อง “พร้อมโหวตนายกฯ” ยืนยัน โหวตให้คนที่พรรคการเมืองรวมเสียงเกินกึ่งหนึ่งในสภาผู้แทนฯ เสนอชื่อ เพื่อให้เข้าไปเป็นรัฐบาลเสียงข้างมากบริหารประเทศต่อไป ใช้เหตุผลเดียวกันกับที่เคยใช้ตอนโหวตเลือก นรม. (พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา) เมื่อปี 62 จะกลับกลิ้งเป็นอย่างอื่นไม่ได้ ประวัติศาสตร์จะจารึกและบันทึกไว้

"...ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา มีความพยายามเสนอแก้ไขหน้าที่และอำนาจนี้ หรือที่เรียกว่า “ปิดสวิตช์ส.ว.” ด้วยมองว่า ส.ว.ไม่ควรมีหน้าที่และอำนาจเลือก นรม. เพราะไม่เป็นไปตามหลักประชาธิปไตยที่แท้จริง ควรเป็นหน้าที่และอำนาจของ ส.ส. ที่มาจากการเลือกตั้งโดยตรงเท่านั้น ซึ่งผมเห็นด้วย

ดังนั้น ทุกครั้งที่มีการขอแก้ไข ผมจึงโหวตเห็นด้วยให้ปิดสวิตช์ ส.ว. แต่เสียง ส.ว. เห็นด้วยไม่ถึง 1 ใน 3  (ไม่ถึง 84 เสียง) คือเสียง ส.ว.ส่วนใหญ่ยังไม่ต้องการให้ปิดสวิตช์ มาตรา 272 จึงยังคงอยู่มาจนถึงทุกวันนี้ (=สวิตช์ยังเปิดอยู่) ถ้าจะอ้างปิดสวิตช์ตอนนี้ ก็จะเท่ากับอ้างเพื่อไม่ทำหน้าที่ และกลายเป็นการขัดขาคนที่ถูกเสนอชื่อเป็น นรม. ..."

ตรรกะใช้ได้ ดูดีทีเดียว แต่สิ่งที่ นพ.อำพล พลาดคือ ยังคงยืนหยัดเป็นสมาชิกวุฒิสภารับเงินเดือนจากภาษีประชาชนต่อไป เพราะการปิดสวิตช์ ส.ว. มองในแง่อุดมการณ์คือเป็นเรื่องใหญ่ เนื่องจาก ส.ว.มีอำนาจและใช้อำนาจไม่ถูกต้องเนื่องจากรัฐธรรมนูญกำหนดให้เป็นเช่นนั้น ฉะนั้นหาก นพ.อำพลมีอุดมการณ์จริง ปฏิเสธรัฐธรรมนูญที่ไม่เป็นประชาธิปไตย ไม่สะท้อนความต้องการของประชาชน ก็ควรลาออกจาก ส.ว.เสีย แล้วไปเคลื่อนไหวเรื่องนี้ให้เต็มตัว จะดูสง่างามกว่าการมาทำตัวหล่อกว่าคนอื่นในยามที่บ้านเมืองคับขัน ...๐

นายสังศิต พิริยะรังสรรค์ ส.ว.และประธานคณะกรรมาธิการการแก้ปัญหาความยากจนและลดความเหลื่อมล้ำวุฒิสภา โพสต์เฟซบุ๊กระบุว่า  จุดยืนของผมในการเลือกนายกรัฐมนตรีในวันที่ 13 กรกฎาคม 2566 ณ สัปปายะสถาน อันแปลว่า  "สถานที่ประกอบกรรมดี” ผมจะน้อมนำคำกล่าวของสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ประยุทธ์ ปยุตฺโต) มาเป็นหลักในการลงคะแนนเสียง เพื่อเลือกนายกรัฐมนตรีคนใหม่

ต่างจาก ส.ว.อีกคนคือ "นพ.อำพล จินดาวัฒนะ" ค่อนข้างเยอะ อาจารย์สังศิตยกเทศนาธรรมของสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ที่กล่าวไว้ว่า “จะใช้ท่าทีวางเฉยต่อคน เพื่อรักษาธรรม ไม่เห็นแก่คน-แต่เห็นแก่ธรรม วางตัวเป็นกลางต่อคน ไม่ขวนขวายช่วยคน เชียร์คน เพื่อที่จะได้ไม่ก้าวก่ายแทรกแซงธรรม หรือเพื่อให้เป็นไปตามธรรม" ธรรม ในความหมายนี้คือหลักการ หรือจะเปรียบเป็นรัฐธรรมนูญ หรือกฎหมายก็ได้ หากยึดมั่นในหลักการให้ถูกต้อง เรื่องคนไม่ต้องไปเชียร์ให้เสียหลักการ ความคิดของอาจารย์สังศิตอาจจะตีความยากสักหน่อย แต่ที่ชัดๆ คือ อย่าเชียร์คนจนไปแทรกแซงธรรม ...๐

8 พรรคร่วมรัฐบาลจับเข่าคุยความคืบหน้าล็อบบี้ ส.ว. "ชัยธวัช ตุลาธน" เลขาธิการพรรคก้าวไกล ประสานงานมายังพรรคร่วม นัดหมายหารือวันที่ 11 ก.ค. เวลา 09.30 น. ที่รัฐสภา เพื่อเตรียมความพร้อมเกี่ยวกับการโหวตนายกฯ วันที่ 13 ก.ค. แต่สิ่งที่อีก 7 พรรคอยากรู้คือ ความชัดเจนจากพรรคก้าวไกล ถึงจำนวนเสียง ส.ว. ที่จะสนับสนุน "พิธา ลิ้มเจริญรัตน์" เป็นนายกฯ เนื่องจากที่ผ่านมาแกนนำพรรคก้าวไกลยืนยันมาโดยตลอดว่าได้เสียง ส.ว.เพียงพอ แต่สิ่งที่ ส.ว.บางส่วนสื่อสารออกมากลับเป็นอีกอย่าง

ที่สำคัญ 7 พรรคต้องการความชัดเจนจากทางพรรคก้าวไกลว่า ในวันที่ 13 ก.ค. จะต้องโหวตเลือกกันกี่ครั้ง ในกรณีที่โหวตนายพิธารอบแรกไม่ผ่าน ถ้า ส.ว.ไม่ยกมือโหวตให้ หรือยกมือโหวตให้เพียงบางส่วน พรรคก้าวไกลจะดำเนินการอย่างไรต่อ นอกจากนี้จะได้มีการสอบถามถึงข้อเสนอที่ว่าจะให้โหวตนายพิธาไปเรื่อยๆ จนกว่า ส.ว.จะหมดวาระการดำรงตำแหน่งช่วงเดือน พ.ค.67 นั้น เป็นความจริงหรือไม่...

การตั้งคำถามลักษณะนี้ ตีความเป็นอย่างอื่นไม่ได้ นอกจาก 7 พรรคเริ่มรู้แล้วว่า นายพิธาจะไม่ได้รับเสียงสนับสนุนจาก ส.ว. ตามจำนวนที่ต้องการ และการโหวตชื่อนายพิธาซ้ำๆ กันหลายครั้ง จะทำให้ทั้ง 8 พรรคหมดความน่าเชื่อถือทางการเมือง จึงค่อนข้างชัดว่า 7 พรรคที่เหลือเริ่มจะคิดเรื่องการตั้งรัฐบาลในแนวทางใหม่ คือเปลี่ยนเป็นให้พรรคเพื่อไทยเป็นแกนนำ ...๐

"พี่มาร์ค-อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ" มาแรงแซงทางโค้ง กับการเลือกหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์คนใหม่ ตลอดทั้งวันที่ 9 กรกฎาคม มีการพูดถึงกันมากว่ารีเทิร์นแน่นอน แต่พรรคประชาธิปัตย์ยังคงมีกรรมบางกรรมที่ยังชดใช้กันไม่เสร็จ เลือกหัวหน้าพรรคไม่ได้เพราะองค์ประชุมล่ม องค์ประชุมก็คือคน คนที่มีขาเดินไปเดินมาได้ เมื่อองค์ประชุมไม่ครบ ก็เท่ากับว่ามีคนไม่อยากให้ครบ สาเหตุก็คงมาจากเรื่องเดิมๆ นั่นคือความขัดแย้งในพรรค สุดท้ายต้องนัดวันประชุมใหม่เป็น 12 ก.ค. ใครจะได้เป็นหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ต่อจาก "จุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์" ...๐

 

"นายชื่น ประชา"

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

บันทึกหน้า 4

22 พ.ย. ลุ้น ผลการประชุมตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ จะ “รับ-ไม่รับ” คำร้องของ “ธีรยุทธ สุวรรณเกษร” ให้ “ทักษิณ ชินวัตร” และ “พรรคเพื่อไทย” หยุดพฤติการณ์ล้มล้างการปกครอง จาก 6 กรณี ดังนี้ หนึ่ง “ทักษิณ” ไม่ยอมติดคุกแม้แต่วันเดียว

บันทึกหน้า 4

ต้องเรียกว่า “พุธพิพากษา” ของแท้ โดยเฉพาะศาลอาญาที่ได้อ่านคำพิพากษาคดีที่พนักงานอัยการฝ่ายคดีอาญา 5 และมารดาผู้เสียชีวิตร่วมกันเป็นโจทก์ฟ้อง “สรารัตน์ รังสิวุฒาภรณ์” หรือ “แอม ไซยาไนด์” อายุ 36 ปี

บันทึกหน้า 4

ควันหลงการหาเสียงเลือกตั้งนายก อบจ.อุดรธานี ที่ นายทักษิณ ชินวัตร ในฐานะผู้ช่วยหาเสียง นายศราวุธ เพชรพนมพร ผู้สมัครนายก อบจ. สังกัดพรรคเพื่อไทย (พท.)

บันทึกหน้า 4

สมรภูมิเลือกตั้งนายก อบจ.อุดรธานี ในวันที่ 24 พ.ย. ไม่เพียงแค่ชัยชนะของพรรคเพื่อไทยและพรรคประชาชนในสนามท้องถิ่นเท่านั้น แต่ยังเป็นการหยั่งกระแสของทั้งสองฝ่ายในเวทีใหญ่ทางการเมืองอีกด้วย โดยเฉพาะทัพแดงนั้นแพ้ไม่ได้

บันทึกหน้า 4

บันทึกในวันครึ้มฟ้าครึ้มฝนจากผลกระทบปลายๆแถวพายุหม่านยี่ เสียงฟ้าร้องฟ้าคะนองอาจจะไม่มี แต่เสียงอื้ออึง "ทักษิณ" กลับมาแล้ว

บันทึกหน้า 4

เสือกทุกเรื่อง! ตำแหน่งใหม่ที่ "นายใหญ่" เพื่อไทย ศาสดาเสื้อแดง ภูมิใจสถาปนาตัวเองกลางวงปราศรัยใหญ่เมืองอุดร หวังเฉไฉปัดข้อหาเจ้าของพรรคและครอบงำลูกสาว