ท่องเที่ยว ‘พระเอก’ เศรษฐกิจไทย

สถานการณ์ทางเศรษฐกิจไทยในเวลานี้ถือว่าอยู่ในช่วงเริ่มฟื้นตัว นับตั้งแต่การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 แม้ว่าในขณะนี้ไทยยังต้องเจอกับปัญหารุมเร้าที่ทำให้มีความเสี่ยงอยู่บ้าง ทั้งในเรื่องของการเมืองที่ยังไม่มีความแน่นอนในเรื่องของการจัดตั้งรัฐบาล ซึ่งย่อมส่งผลกระทบต่อการใช้เบิกจ่ายงบประมาณที่จะต้องอัดลงระบบเศรษฐกิจที่อาจจะล่าช้า รวมถึงเรื่องของเศรษฐกิจโลกที่มีปัญหารุมเร้ามากจนส่งผลต่อภาคการส่งออก

โดยมีการคาดการณ์จากหลายสำนักที่ประเมินว่า เศรษฐกิจไทยจะมีการเติบโตอยู่ในช่วง 2-3.5% ซึ่งพระเอกหลักในปีนี้คงหนีไม่พ้นการท่องเที่ยว

ล่าสุด นายยุทธศักดิ์ สุภสร ผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ระบุว่า จากการประเมินดีมานด์ของการท่องเที่ยวปี 66 เชื่อว่าภาคท่องเที่ยวจะสามารถพยุงเศรษฐกิจในภาพรวมของประเทศได้ และคาดทั้งปีมีลุ้นนักท่องเที่ยวต่างชาติแตะ 30 ล้านคน หรือหากลดลงมาเชื่อว่าไม่ต่ำกว่าเป้าหมายที่วางไว้ 25 ล้านคน

ขณะที่นักท่องเที่ยวชาวไทยเที่ยวไทยจะมีตัวเลขอยู่ที่ 117-135 ล้านคน/ครั้ง โดยภาคท่องเที่ยวจะสร้างรายได้ให้ประเทศ 80% ของรายได้ท่องเที่ยวในปี 62 (ช่วงก่อนโควิด) หรือมีรายได้ประมาณ 2.38 ล้านล้านบาท

พร้อมกันนี้ตัวเลขช่วง  6 เดือนแรกปี 66 มีนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้าไทยแล้วประมาณ 12.87 ล้านคน ส่วนจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติตลอดทั้งปีจะสามารถเพิ่มขึ้นไปถึง 30 ล้านคนได้หรือไม่ เบื้องต้น ททท.ได้ประเมินบรรยากาศการท่องเที่ยวและดูยอดจองล่วงหน้าร่วมกับภาคเอกชนเชื่อว่าจากนี้ต่อไปถึงสิ้นปีจะมีนักท่องเที่ยวต่างชาติจะเดินทางเข้าไทยได้ไม่ต่ำกว่าเดือนละ 2 ล้านคน และหากไตรมาสสุดท้ายของปีมีจำนวนนักท่องเที่ยว 3 ล้านคนต่อไป เป้าหมาย 30 ล้านคนคงอยู่ไม่ไกล

ด้านข้อมูลจากกองเศรษฐกิจการท่องเที่ยวและกีฬา กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ระบุว่า ครึ่งปีแรกของปี 66 (ม.ค.-มิ.ย.) มีนักท่องเที่ยวต่างชาติกลับเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทยประมาณ 63.5% เทียบก่อนการระบาดของโควิด-19 และนักท่องเที่ยวต่างชาติเพิ่มขึ้นกว่า 5 เท่า เมื่อเทียบช่วงเดียวกันของปีก่อน โดย 5 อันดับแรกของนักท่องเที่ยวต่างชาติ ได้แก่ มาเลเซีย จีน อินเดีย เกาหลีใต้และเวียดนาม คิดเป็น 48.6% ของนักท่องเที่ยวต่างชาติทั้งหมด

อย่างไรก็ดี แม้ว่าภาพรวมการท่องเที่ยวดูมีการเติบโตที่สดใส  แต่ก็ยังมีความเหลื่อมล้ำที่เกิดขึ้นในอุตสาหกรรม เช่นเดียวกัน  โดยจากข้อมูลของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้เปิดเผยผลสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบการที่พักแรมประจำเดือน มิ.ย.2566 (Hotel business operator Sentiment Index) จากผู้ประกอบการที่พักแรม 120 แห่ง ระหว่างวันที่ 9-23 มิ.ย.2566 ซึ่งจัดทำร่วมกันสมาคมโรงแรมไทย พบว่าอัตราการเข้าพักโดยเฉลี่ยอยู่ที่ 46%

ลดลงต่อเนื่องจากเดือนก่อนตามการเข้าสู่ช่วงโลว์ซีซั่น (low season) ทำให้สัดส่วนลูกค้านักท่องเที่ยวต่างชาติปรับลดลง ซึ่งสัดส่วนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่ลดลงนั้น โดยส่วนใหญ่เป็นลูกค้าเอเชีย ตะวันออกกลาง และจีน ขณะที่สัดส่วนนักท่องเที่ยวไทยเพิ่มขึ้น ส่วนคาดการณ์อัตราการเข้าพักในเดือน ก.ค.2566 นั้น เฉลี่ยอยู่ที่ 46% ผู้ประกอบการในธุรกิจโรงแรมยังต้องการให้ภาครัฐออกมาตรการช่วยเหลือ โดยกว่า 73% ต้องการให้ลดค่าสาธารณูปโภค และ 61% สนับสนุนมาตรการทางภาษี

สอดรับกับข้อมูลของนายอดิษฐ์ ชัยรัตนานนท์ เลขาธิการสมาคมไทยธุรกิจการท่องเที่ยว (แอตต้า) ที่ระบุว่า ประเด็นสำคัญในขณะนี้คือปัญหาด้านซัพพลาย โรงแรมขนาดใหญ่ 4-5 ดาวจะมีอัตราเข้าพักสูงมาก ลูกค้าที่มาหลังโควิดส่วนใหญ่มักที่จะใช้บริการโรงแรมที่เป็นอินเตอร์เนชันแนลแบรนด์ แต่ส่วนที่เป็นโลคัล แบรนด์ท้องถิ่น ช่วงนี้เป็นช่วงที่กำลังจะฟื้นตัว ยังต้องการความช่วยเหลืออยู่มาก ตรงนี้ก็จะต้องดูแลเป็นพิเศษ โดยเฉพาะการขาดแคลนเรื่องแรงงาน ที่หายไปจากระบบ และแรงงานที่กลับเข้ามาในระบบก็ถูกผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดใหญ่ดึงตัวไปโดยมีการจ้างที่แพงขึ้น ทำให้ผู้ประกอบการขนาดเล็กมีปัญหาแรงงานในตอนนี้

ทั้งนี้หากมีการบริหารจัดการที่ดี เชื่อว่าท่องเที่ยวจะกลายเป็นพระเอกตัวจริงของเศรษฐกิจไทยไปอีกนาน.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เร่งเครื่องดึงนักท่องเที่ยว

จากสถานการณ์การท่องเที่ยวไทยในปัจจุบัน กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาได้ให้ข้อมูลพบว่า ประเทศไทยมีจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติสะสมในช่วงเกือบ 7 เดือนเต็ม ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.-28 ก.ค.2567 ทั้งสิ้น 20,335,107 คน

ต้องเร่งแก้ปัญหาปากท้อง

หลังจากนายกรัฐมนตรีหญิง แพรทองธาร ชินวัตร รับตำแหน่งอย่างชัดเจน ทำให้ภาคเอกชนต่างก็ดีใจ เพราะไม่ทำให้ประเทศเป็นสุญญากาศในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ และสิ่งแรกที่ภาคเอกชนอย่าง

แนะเจาะใจผู้บริโภคด้วย‘ความยั่งยืน’

คงต้องยอมรับว่าประเด็นเรื่องสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืนได้รับความสนใจมากขึ้นทั้งจากผู้บริโภค ภาคเอกชน และภาครัฐ ส่งผลให้ผู้ประกอบการในภาคธุรกิจจำเป็นต้องมีการปรับตัว

รัฐบาลงัดทุกทางพยุงตลาดหุ้น

หลังจากปล่อยให้ตลาดหุ้นซึมมาอย่างช้านาน จนปัจจุบันอยู่ต่ำกว่า 1,300 จุด เรียกได้ว่าสำหรับนักลงทุนถือเป็นความเจ็บปวด เพราะดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาไม่ได้ไปไหน

ดันอุตฯไทยไปอวกาศ

แน่นอนว่าในยุคที่โลกต้องก้าวหน้าไปสู่อุตสาหกรรมที่ทันสมัยมากขึ้น และต่อไปไม่ได้มองแค่ในประเทศหรือในโลกแล้ว แต่มองไปถึงนอกโลกเลยด้วยซ้ำ เพราะจะเป็นหนึ่งในกลไกในการพัฒนาอุตสาหกรรมภาคพื้นที่มีความแข็งแกร่งส่งผ่านไปยังอุตสาหกรรมอวกาศได้

แบงก์มอง ASEAN ยังมาเหนือ

ยังคงมีอีกหลายประเด็นที่ต้องจับตามองกันอย่างต่อเนื่อง ทั้งในสถานการณ์โลกและภายในประเทศ ที่จะส่งผลต่อเศรษฐกิจและการค้า โดยมุมมองของ อมรเทพ จาวะลา ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสำนักวิจัย ธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย ระบุว่า