พัฒนาอาชีพสร้างผู้ประกอบการยั่งยืน

แน่นอนว่าการพัฒนาภาคอุตสาหกรรม อาชีพ รวมถึงภาคการผลิตนั้นผ่านการอุดหนุนเรื่องเงิน เรื่องภาษีนั้นเป็นเรื่องที่จะเห็นผลดีได้ทันที แต่ในมุมของการพัฒนาหรืออุดหนุนนั้นเรื่องที่ไม่ใช่ตัวเงินก็สำคัญ อย่างเช่น การพัฒนาฝีมือ หรือการพัฒนาองค์ความรู้เพื่อต่อยอดให้กลายเป็นอาชีพอย่างยั่งยืน ซึ่งในบางกรณีการจะดีกว่าสนับสนุนเป็นตัวเงินด้วยซ้ำ เนื่องจากหากมองในมุมภาคการผลิตที่มาจากชุมชน เป็นชาวบ้านที่มีวัตถุดิบแต่ยังขาดความเข้าใจและเข้าถึงการพัฒนา การให้เงินก็อาจจะไม่ตอบโจทย์

การสอนให้ใช้วัตถุดิบ หรือเครื่องไม้เครื่องมือที่มีอยู่ในชุมชนให้เกิดประโยชน์นั้นเป็นเรื่องที่สำคัญมากที่สุด ซึ่งการดำเนินงานดังกล่าวตรงกับแนวคิดและนโยบายของรัฐบาลที่ให้ความสำคัญกับการกระจายรายได้สู่ชุมชน

เนื่องจากปัญหาการกระจุกตัวของแหล่งงานใหญ่ที่มีเพียงไม่กี่จุดในประเทศ ทำให้ชุมชนหลายแห่งเกิดปัญหาการว่างงาน ขาดแหล่งรายได้ ส่งผลให้การหมุนเวียนของเม็ดเงินที่จะพัฒนาเศรษฐกิจกระจายไม่ทั่วถึง

และกระทรวงอุตสาหกรรม ภายใต้การบริหารงานของนายณัฐพล รังสิตพล ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรมเล็งเห็นถึงความสำคัญดังกล่าว จึงมุ่งมั่นที่จะทำงานสู่ความสำเร็จ 4 มิติ ประกอบด้วย ความสำเร็จทางธุรกิจ การดูแลสังคม การรักษาสิ่งแวดล้อม และการกระจายรายได้สู่ชุมชน เพื่อให้ภาคอุตสาหกรรมมีการปรับตัวเข้าสู่วิถีใหม่ได้อย่างสมดุลและยั่งยืน โดยเฉพาะการกระจายรายได้ให้กับประชาชนให้มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของชุมชนและเศรษฐกิจฐานรากอย่างเป็นระบบ และจากนโยบายนี้ได้มีการดำเนินงานอย่างเป็นรูปธรรม โดยกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) หรือดีพร้อม

ได้ดำเนินงานสร้างความแข็งแกร่งให้กับเศรษฐกิจด้วยการชี้ช่องทางในการประกอบอาชีพ และผลักดันองค์ความรู้ที่สามารถสร้างรายได้ให้กับคนในชุมชนทั้งในด้านทักษะพื้นฐานการผลิต การบริการ การใช้ความคิดสร้างสรรค์ ตลอดจนเกิดผลิตภัณฑ์และงานบริการที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตในแต่ละพื้นที่ ผ่าน “โครงการนักส่งเสริมอาชีพดีพร้อม” ซึ่งเป็นหนึ่งในกลไก “ดีพร้อม 4 โต” คือ โตได้ (Start) ที่ช่วยให้ประชาชนมีโอกาสเริ่มต้นธุรกิจและเติบโตเป็นผู้ประกอบการใหม่ในชุมชน โดยการเพิ่มศักยภาพและต่อยอดทางธุรกิจด้วยการนำเทคโนโลยีใหม่ๆ มาผสมผสานกับทรัพยากร ภูมิปัญญา และวัฒนธรรมพื้นถิ่น เพื่อสร้างงาน สร้างอาชีพ และสร้างรายได้ให้ครอบครัว

รวมถึงนำความรู้ที่ได้ไปประกอบเป็นอาชีพได้จริงและสามารถถ่ายทอดทักษะในการเป็นผู้ให้บริการด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์ เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มได้อย่างเหมาะสมให้กับคนในชุมชนและการเริ่มต้นประกอบธุรกิจในเบื้องต้นได้อีกด้วย นอกจากนี้ยังเป็นเส้นทางการสร้างผู้ประกอบการรายใหม่ ก่อให้เกิดทั้งการจ้างงาน ตอบโจทย์ผู้บริโภคและบริบททางเศรษฐกิจในปัจจุบันซึ่งมีความต้องการและพฤติกรรมการจับจ่ายใช้สอยเปลี่ยนแปลงไป

โดยนายใบน้อย สุวรรณชาตรี อธิบดีกรมฯ กล่าวว่า ดีพร้อมได้ดำเนินงานโครงการนักส่งเสริมอาชีพดีพร้อม ตั้งแต่เดือน ม.ค.-มิ.ย.ที่ผ่านมา โดยได้มีการพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมตามประเภทธุรกิจแบ่งออกเป็น 5 ประเภท ได้แก่ 1.อาหารและเครื่องดื่ม 2.สมุนไพร 3.ผ้าและเครื่องแต่งกาย 4.ของใช้ของตกแต่ง และ 5.การบริการ ซึ่งมีผู้สนใจเข้าร่วมโครงการนักส่งเสริมอาชีพดีพร้อม รวมทั้งสิ้นกว่า 16,000 ราย และสามารถกระตุ้นมูลค่าทางเศรษฐกิจกว่า 500 ล้านบาท

เห็นได้ชัดว่าบางครั้งการสนับสนุนเงินลงไปในภาคอุตสาหกรรมหรือการผลิตนั้น อาจจะไม่ได้สร้างผลตอบแทนที่ยั่งยืนเทียบเท่ากับการที่เข้าไปต่อยอดและส่งเสริมการพัฒนาอาชีพในชุมชน ซึ่งจากการทำงานครั้งนี้จะทำให้ผู้ที่เข้าร่วมอบรมสามารถนำทักษะที่ได้รับไปต่อยอดได้จริงกว่า 90% อาทิ การทำแซนด์วิชสไตล์เกาหลี น้ำเต้าหู้และปาท่องโก๋ ผ้ามัดย้อม ยาหม่องสมุนไพร ศิลปะการร้อยกำไลจากหินมงคล

นอกจากนี้ยังสามารถถ่ายทอดองค์ความรู้ต่างๆ ให้กับคนในชุมชนกว่า 85% ของผู้เข้าร่วม ตลอดจนสร้างทักษะให้นักส่งเสริมอาชีพดีพร้อมเป็นผู้ให้บริการ (SP) จำนวน 329 ราย หรือคิดเป็น 2.11% ซึ่งคาดว่าผู้ให้บริการจะส่งต่อองค์ความรู้และเป็นแรงขับเคลื่อนให้เกิดผู้ประกอบการใหม่ได้กว่า 7,000 ราย.

ณัฐวัฒน์ หาญกล้า

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ความสำเร็จของแบรนด์กับการใช้Meta

ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นตลาดที่เติบโตอย่างรวดเร็ว โดยมีประชากร 700 ล้านคน และมี GDP รวมประมาณ 4 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ทำให้เป็นตลาดที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 5 ของโลก

หวยเกษียณแก้ปัญหาแก่ก่อนรวย

เมื่อวันอังคารที่ผ่านมา คณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบโครงการสลากสะสมทรัพย์เพื่อเงินออมยามเกษียณ หรือหวยเกษียณ ของกองทุนการออมแห่งชาติ ซึ่งนี่ถือเป็นโครงการที่รัฐบาลพยายามส่งเสริมการออมของประชาชนในประเทศ

เจ็บแล้วจบ

หลังการบริหารงานของรัฐบาลเศรษฐาได้เข้ามาเดินหน้ามาตรการประชานิยมลด แลก แจก แถม จัดเต็ม ตามที่สัญญากันไว้ช่วงหาเสียงเลือกตั้ง โดยเฉพาะนโยบายด้านพลังงาน ลดค่าไฟฟ้า

3แผนกรีนดันอุตฯไทยรักษ์โลก

เทรนด์รักษ์โลกยังมีมาอย่างต่อเนื่อง และตลอดปี 2567 ที่ผ่านมานี้หลายหน่วยงาน หลายบริษัทก็ยังไม่ทิ้งอุดมการณ์อันแรงกล้านี้ และยังแห่ประกาศแผนดำเนินงานเพื่อดูแลสิ่งแวดล้อมกันอย่างคึกคัก

เร่ง“ปรับ”ก่อน(ถูก)“เปลี่ยน”

ยอดขายรถยนต์ในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2567 ที่ผ่านมา หลายคนคงตกใจ เพราะหดตัวลงถึง 23.8% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และมีแนวโน้มว่าทั้งปีจะหดตัวลงอย่างรุนแรงที่สุดในรอบ 15 ปี

เปิดไม้เด็ดธุรกิจขนาดเล็กสู้ในตลาด

หากย้อนเวลาไปเมื่อหลายปีก่อน ธุรกิจที่มีทุนหนาและมีส่วนแบ่งการตลาดมาก มักจะถูกมองว่าเป็น “ปลาใหญ่” ที่ได้เปรียบเหนือคู่แข่งที่ทุนน้อยกว่าซึ่งเปรียบเหมือน “ปลาเล็ก” จนเป็นที่มาของคำว่า “ปลาใหญ่กินปลาเล็ก” หนึ่งในข้อได้เปรียบที่เห็นชัดที่สุดคือ การมี Economy of Scale หรือ การประหยัดต่อขนาด ซึ่งหมายถึง การผลิตสินค้าหรือบริการในจำนวนที่มากพอที่จะทำให้ต้นทุนการผลิตต่อหน่วยต่ำลง พูดง่ายๆ ก็คือ “ยิ่งผลิตมากขึ้น ต้นทุนการผลิตยิ่งลดลง และยิ่งคุ้มค่ามากขึ้น” โดยต้นทุนในการผลิตสินค้าหรือบริการจะแบ่งออกเป็น ต้นทุนคงที่ (fixed cost) และต้นทุนผันแปร (variable cost) ต้นทุนคงที่ คือ ต้นทุนที่ธุรกิจต้องจ่ายเป็นจำนวนคงที่ ไม่ว่าจะผลิตสินค้าหรือบริการในปริมาณเท่าใดก็ตาม เช่น ค่าเช่าพื้นที่ ค่าเครื่องจักรอุปกรณ์ ค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการ ส่วนต้นทุนผันแปร