สัญญาณเตือนภัย: หนี้ครัวเรือนพุ่ง ยอดส่งออกติดลบต่อเนื่อง 8 เดือน

อาจจะดูเหมือนไม่ได้เกี่ยวโยงอะไรกัน แต่เมื่อ “หนี้ครัวเรือน” พุ่งไปที่ 90.6% ของ GDP ขณะที่ยอดส่งออกติดลบต่อเนื่องมา 8 เดือน

นั่นคือ “สัญญาณเตือนภัย” เศรษฐกิจที่รัฐบาลใหม่จะต้องลงมือแก้ไขให้ได้ตรงจุด, ทันการณ์และยั่งยืน

ขณะที่คนไทยกำลังรอการตั้งรัฐบาลใหม่หลังการเลือกตั้ง ปัญหาเหล่านี้ยังรอคอยการแก้ไขอย่างเร่งด่วน

การเมืองต้องโปร่งใส, ตอบโจทย์, และตรงเป้าจึงจะสามารถนำไปสู่การแก้ปัญหาที่ฝังรากสังคมไทยมายาวนาน

และหนึ่งในปัญหาหนักอกอย่างยิ่งสำหรับผู้บริหารประเทศคือ “หนี้ครัวเรือน” ที่ยังไม่มีสูตรแก้ไขอย่างถาวรและยั่งยืน

ขณะเดียวกัน คำมั่นสัญญาของพรรคการเมืองในช่วงหาเสียงล้วนเป็นเรื่อง “ประชานิยม” ระยะสั้นเพื่อสร้างคะแนนเสียงให้กับตน

แต่น้อยพรรคจะมีนโยบายที่แน่ชัด และ “กล้าหาญ” เพียงพอที่จะยอมรับความจริงและพร้อมที่จะใช้มาตรการระยะกลางและระยะยาวที่แม้จะ “ยาก” และต้อง “เจ็บปวด” แต่ก็จำเป็นเพื่อการยิงให้ตรงเป้าและนำพาประเทศไปสู่

เส้นทางที่ยั่งยืนและตอบสนองความต้องการของคนทุกกลุ่ม

โดยเฉพาะกลุ่มคนที่มีชีวิตอยู่กับหนี้สินที่มีจำนวนเพิ่มขึ้นทุกวัน

ล่าสุด เมื่อปลายสัปดาห์ที่ผ่านมา ธนาคารแห่งประเทศไทยรายงานว่าได้มีการปรับปรุงข้อมูลสถิติ ‘หนี้สินครัวเรือน’ ใหม่เพื่อสะท้อนถึงภาพจริงของปัญหานี้

โดยให้ครอบคลุมหนี้ 4 กลุ่ม ‘หนี้ กยศ.-หนี้ประกอบธุรกิจ-หนี้การเคหะแห่งชาติ-หนี้พิโกไฟแนนซ์’

ผลจากการปรับปรุงข้อมูลสถิติครั้งนี้ดันให้ยอดหนี้ครัวเรือนไตรมาส 1/66 พุ่งแตะเกือบ 16 ล้านล้าน คิดเป็น 90.6% ต่อจีดีพี

คุณสักกะภพ พันธ์ยานุกูล ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายเศรษฐกิจมหภาค ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ธปท.ได้ทำการปรับปรุงสถิติเงินให้กู้ยืมแก่ภาคครัวเรือน (หนี้สินครัวเรือน) ใหม่ ให้มีความครอบคลุมมากขึ้น

เป้าหมายของการปรับปรุงแก้ไขครั้งนี้ก็เพื่อทำให้ข้อมูลดังกล่าวมีความน่าเชื่อถือ มีคุณภาพ มีความถี่ของการจัดเก็บข้อมูลที่สม่ำเสมอ และไม่ล่าช้าเกินไป

ทั้งนี้ การเผยแพร่ข้อมูลสถิติเงินให้กู้ยืมแก่ภาคครัวเรือนใหม่ จะเริ่มตั้งแต่ข้อมูลในไตรมาส 1/2566 เป็นต้นไป  

รายละเอียดเรื่องนี้มีความน่าสนใจเพราะเป็นการเจาะลึกลงไปถึงรากแก่นของคำว่า “หนี้ครัวเรือน” ให้เห็นภาพชัดเจนขึ้น

โดยหวังว่าเมื่อวิเคราะห์และแยกแยะปัญหานี้ให้ลึกซึ้งและครอบคลุมแล้ว การหาสูตรเพื่อแก้ปัญหาก็จะได้ตรงเป้าและมีความชัดเจนมากขึ้น

คำอธิบายของ ธปท. ครั้งนี้บอกว่าการปรับปรุงข้อมูลสถิติเงินให้กู้ยืมแก่ภาคครัวเรือนใหม่ จะมีการเพิ่มเติมข้อมูลให้ครอบคลุมกลุ่มหนี้ใน 4 กลุ่ม ยอดหนี้รวม 7.7 แสนล้านบาท ได้แก่

1.กลุ่มหนี้กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) ซึ่งมียอดหนี้ 4.83 แสนล้านบาท

2.กลุ่มหนี้สหกรณ์อื่นๆ ที่ไม่ใช่สหกรณ์ออมทรัพย์ เช่น สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน และสหกรณ์ที่เกี่ยวกับการประกอบอาชีพ      อาทิ สหกรณ์การเกษตร เป็นต้น ซึ่งมียอดหนี้ 2.65 แสนล้านบาท จากเดิมที่เก็บสถิติเฉพาะหนี้สหกรณ์ออมทรัพย์เท่านั้น

3.กลุ่มหนี้ที่เกี่ยวกับการเคหะแห่งชาติ ซึ่งมียอดหนี้ 1.1 หมื่นล้านบาท และ

4.กลุ่มหนี้พิโกไฟแนนซ์ ซึ่งมียอดหนี้ 6,000 ล้านบาท

คุณสักกะภพชี้แจงว่า

“ชุดข้อมูลที่เราได้มาใหม่นั้น เราได้รับมาย้อนหลังไปถึงปี 2555 ดังนั้น การปรับปรุงข้อมูล (สถิติเงินให้กู้ยืมแก่ภาคครัวเรือนชุดใหม่) จะอัพเดตย้อนหลังไปจนถึงปี 2555 และเราจะเริ่มเผยแพร่ตัวเลขตั้งแต่ไตรมาส 1/2566 เป็นต้นไป ทั้งนี้ ข้อมูลชุดนี้จะมีความครอบคลุมมากกว่าประเทศส่วนใหญ่ ทั้งในมิติผู้ให้กู้และเครื่องมือทางการเงินต่างๆ เพราะในหลายประเทศนั้น ข้อมูลหนี้ครัวเรือนของเขา จะไม่รวมหนี้ถึงเพื่อการประกอบอาชีพและหนี้เพื่อการศึกษา”

คุณสักกะภพ ระบุด้วยว่า การปรับปรุงสถิติเงินให้กู้ยืมแก่ภาคครัวเรือนใหม่หรือข้อมูล 'หนี้สินครัวเรือน' ในครั้งนี้ จะทำให้หนี้สินครัวเรือนของไทย ณ ไตรมาส 1/2566 มีจำนวน 15.96 ล้านล้านบาท หรือเกือบ 16 ล้านล้านบาท และคิดเป็น 90.6% ต่อจีดีพี

เมื่อเทียบกับข้อมูลหนี้สินครัวเรือนก่อนปรับปรุง ซึ่ง ณ ไตรมาส 1/2566 หนี้สินครัวเรือนมีจำนวน 15.2 ล้านบาท หรือคิดเป็น 86.3% ต่อจีดีพี หรือเพิ่มจากข้อมูลก่อนปรับปรุงคิดเป็น 4.3% ต่อจีดีพี

คุณสักกะภพบอกด้วยว่าภายหลังการปรับปรุงข้อมูลแล้ว โครงการหนี้ครัวเรือนจำแนกตามวัตถุประสงค์ไม่ได้เปลี่ยนแปลงไปจากข้อมูลก่อนปรับปรุงแต่อย่างใด

โดยหลังปรับปรุงข้อมูล หนี้เพื่อซื้ออสังหาริมทรัพย์จะมีสัดส่วนคิดเป็น 34% ของหนี้ทั้งหมด ,

หนี้เพื่ออุปโภคบริโภคส่วนบุคคลมีสัดส่วน 27% ,

หนี้เพื่อการประกอบการอาชีพมีสัดส่วน 18% ,

หนี้ซื้อหรือเช่าซื้อรถยนต์และจักรยานยนต์มีสัดส่วน 11% ,

หนี้เพื่อการศึกษามีสัดส่วน 4%

และหนี้อื่นๆมีสัดส่วน 6%

เจ้าหน้าที่ ธปท. อธิบายว่า

“ปัญหาเรื่องหนี้ครัวเรือน เรามีกังวลในภาพรวมอยู่แล้ว แต่การปรับในครั้งนี้ อย่างที่เรียนไปมันไม่ใช่หนี้ใหม่ โดยหนี้ส่วนใหญ่ยังคงเป็นหนี้เพื่อการประกอบธุรกิจ และหนี้เพื่อการศึกษา ซึ่งเราไม่ได้กังวลกับหนี้ในส่วนนี้มากนัก...

คุณสักกะภพย้ำว่าสิ่งที่เราทำในวันนี้ เป็นการทำให้ข้อมูลครบถ้วน และครอบคลุม ซึ่งหน่วยงานต่างๆสามารถใช้ข้อมูลชุดนี้ไปใช้ในการทำนโยบายเพื่อดูแลหนี้ครัวเรือนได้ต่อไป

แม้ว่าแบ็งก์ชาติจะบอกว่าตัวเลขหนี้ครัวเรือนที่เปลี่ยนไปไม่ได้แปลว่าสถานการณ์เลวร้ายลงกว่าเดิม

เพราะ “ไม่ใช่หนี้ใหม่”

ส่วนใหญ่ยังเป็นหนี้เพื่อประกอบธุรกิจและหนี้เพื่อการศึกษา “ซึ่งเราไม่ได้กังวลกับหนี้ส่วนนี้มากนัก”

แต่ก็ยอมรับว่า “ปัญหาหนี้ครัวเรือน เรามีความกังวลในภาพรวมอยู่แล้ว...”

เอกชนรายงานว่าการส่งออกที่ติดลบต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 8 แล้วนั้นกำลังจะส่งผลให้อัตราการผลิตเหลือเพียง 60%

หลายบริษัทกำลังพูดถึงการลดคน, ลดค่าใช้จ่ายอย่างน่ากังวลขณะที่ประเทศต้องการกระตุ้นให้เศรษฐกิจฟื้นคืนจากความเสื่อมทรุดของโรคระบาดโควิด

เมื่อหนี้สินเพิ่มขึ้นอย่างไม่หยุดยั้ง แต่รายได้ของประชาชนกำลังหดหาย นั่นคือการซ้ำเติมที่จะกลายเป็นวิกฤตรอบใหม่ที่กำลังคุกคามคนไทย

สำหรับรัฐบาลใหม่ (ไม่ว่าใครจะเป็นนายกฯ) นี่คือความท้าทายที่สำคัญยิ่ง

เพราะนี่คือปัญหาที่เซาะกร่อนความมั่นคงของชีวิตของคนไทยชนชั้นกลางและระดับรากหญ้าที่รอการแก้ไขอย่างจริงจังจากนักการเมืองที่กำลังต่อสู้เพื่อให้ได้ “อำนาจรัฐ” มารับใช้ประชาชน

บทพิสูจน์รอคอยผู้ต้องการอำนาจบริหารประเทศอยู่ตรงหน้านี้แล้ว!

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ประเทศเดียวในโลก ‘นายกฯทับซ้อน’ มหันตภัยปี 2568

นายสุทธิชัย หยุ่น สื่อมวลชนอาวุโส โพสต์เฟซบุ๊กว่าสำนักวิจัยต่าง ๆ กำลังวิเคราะห์เพื่อพยากรณ์ว่าประเทศไทยจะต้องเผชิญกับความท้าทายสาหัสอะไรบ้างใน

บิ๊กเซอร์ไพรส์ 'สุทธิชัย หยุ่น' เล่นซีรีส์ 'The White Lotus ซีซั่น 3'

เรียกว่าสร้างความเซอร์ไพรส์อย่างต่อเนื่อง สำหรับซีรีส์ The White Lotus ซีซั่น 3 ซึ่งจะสตรีมผ่าน Max ในวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2025 เพราะนอกจากจะมี ลิซ่า-ลลิษา มโนบาล หรือ ลิซ่า BLACKPINK ไอดอลเกาหลีสัญชาติไทย ที่กระโดดลงมาชิมลางงานแสดงเป็นครั้งแรก ในบทของ มุก สาวพนักงานโรงแรม

ถามแสกหน้า 'ทักษิณ' จะพลิกเศรษฐกิจไทยยังไง ทุกซอกมุมในสังคมยังเต็มไปด้วยทุจริตโกงกิน

นายสุทธิชัย หยุ่น นักวิเคราะห์ข่าวและผู้ดำเนินรายการข่าวชื่อดัง โพสต์เฟซบุ๊ก ถึงกรณีนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ว่า “เขาจะพลิกประเทศไทยให้เศรษฐกิจล้ำโลกได้หรือ

เขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดนที่กลายเป็น ที่ซ่องสุมของอาชญากรรมข้ามชาติ

เมื่อวานเขียนถึงรายงานในสำนักข่าวชายขอบที่สำนักจะได้รับความสนใจของรัฐบาลไทยว่าด้วยกิจกรรมอาชญากรรมข้ามชาติในบริเวณ “เขตเศรษฐกิจพิเศษ” ที่สามเหลี่ยมทองคำ