ปรับตัวรับNet Zero

ท่ามกลางมาตรการด้านสิ่งแวดล้อมระหว่างประเทศที่เข้มข้นขึ้นและกระแส Net Zero หรือการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ ส่งผลกระทบกับการดำเนินธุรกิจทุกภาคส่วน โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมเหล็ก ผู้เล่นทั่วโลกต้องมุ่งสู่การทำธุรกิจแบบยั่งยืน หรือ ESG ต้องตื่นตัวในการปรับปรุงเทคโนโลยี กระบวนการผลิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากยิ่งขึ้น ซึ่ง ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มีมุมมองต่อประเด็นดังกล่าวที่อาจกระทบผู้เล่นในอุตสาหกรรมเหล็กไทย

ดังนั้น ผู้ผลิตเหล็ก/ผู้ค้าเหล็กไทยที่มีการส่งออกไปยังสหภาพยุโรปและสหรัฐ อาจได้รับผลกระทบด้านราคาจากมาตรการปรับราคาคาร์บอนก่อนข้ามพรมแดน (CBAM) ที่คาดว่าจะบังคับใช้เต็มรูปแบบในปี 2569

ส่งผลให้ภาคธุรกิจเหล่านี้อาจต้องเผชิญกับต้นทุนที่สูงขึ้นจากการจัดซื้อเหล็กวัตถุดิบ/สินค้าเหล็กที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมที่มีราคาสูงกว่าเหล็กทั่วไป มาใช้ในการผลิตและส่งออกเพื่อรักษาส่วนแบ่งตลาดไว้  โดยเฉพาะในช่วงเริ่มต้นของการปรับเปลี่ยนเทคโนโลยีเพื่อผลิตเหล็กที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมยังมีต้นทุนสูงอยู่ และมีผู้ปรับเปลี่ยนจำนวนน้อย

ทั้งนี้ ผู้ส่งออกสินค้าเหล็กไปยังตลาดสหภาพยุโรปและสหรัฐ คาดว่าน่าจะได้รับผลกระทบก่อนเมื่อเทียบกับผู้เล่นอื่นๆ ในห่วงโซ่อุตสาหกรรมเหล็กไทย ซึ่งระดับผลกระทบจะมากน้อยก็คงขึ้นอยู่กับสัดส่วนการพึ่งพิงตลาดเหล่านี้เป็นสำคัญ

ดังนั้นการปรับไปสู่เป้าหมาย Net Zero ในระดับอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับการใช้เหล็ก อาจส่งผลให้ผู้เล่นในอุตสาหกรรมเหล็กไทยบางส่วนได้รับผลกระทบ โดยเฉพาะภาคธุรกิจที่มีการส่งออกไปยังบริษัทข้ามชาติขนาดใหญ่ในอุตสาหกรรมที่มีการตั้งเป้าหมายลดการปล่อย GHGs อย่างชัดเจน และมีการกำหนดให้ใช้วัตถุดิบที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมในการผลิตสินค้าขั้นปลาย อาทิ อุตสาหกรรมยานยนต์ ที่ต้องการเป็นผู้นำด้าน Net Zero ภายในปี 2573

ซึ่งจะส่งผลให้บริษัทผลิตยานยนต์ทั่วโลกมีแนวโน้มที่จะหันไปใช้เหล็ก Green steel ในการผลิตรถยนต์/ชิ้นส่วนรถยนต์เพิ่มขึ้น กระทบต่อผู้ผลิตเหล็ก/ผู้ค้าเหล็ก/ผู้ใช้เหล็กเพื่อผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ของไทยที่ต้องส่งออกให้กับบริษัทผลิตยานยนต์เหล่านี้จะต้องจัดซื้อเหล็กวัตถุดิบที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมาจำหน่ายหรือใช้ในการผลิต ก่อนที่จะสูญเสียฐานลูกค้าไป รวมถึงเพื่อเป็นการสร้างความได้เปรียบที่จะได้ฐานลูกค้าใหม่เพิ่มขึ้นด้วย ดังนั้นในระยะสั้นคาดว่าผู้เล่นในห่วงโซ่อุตสาหกรรมเหล็กไทยที่ได้รับผลกระทบ อาจนำเข้าเหล็กวัตถุดิบ/สินค้าเหล็กที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมจำนวนจำกัด เพื่อนำมาผลิตและส่งออกให้กับตลาดที่มีมาตรการทางการค้า/บริษัทข้ามชาติที่มีความต้องการใช้เท่านั้น

สำหรับในภาคอุตสาหกรรมเหล็กนั้น ปัจจุบันทั่วโลกตั้งเป้า Net Zero ด้วยการลด Carbon footprint ของการผลิตเหล็กในปัจจุบันที่ราว 1.8 tCO2/t ให้ลงมาที่ราว 0.1 tCO2/t ภายในปี 2593 ขณะที่การผลิตเหล็กในไทยเริ่มจากอุตสาหกรรมเหล็กขั้นกลางที่ใช้เทคโนโลยีเตาหลอมไฟฟ้าในการผลิตเป็นส่วนใหญ่อยู่แล้ว โดยมี Carbon footprint อยู่ที่ราว 0.4 tCO2/t4 ซึ่งเป็นระดับที่ไม่สูงมากเมื่อเทียบกับการปล่อยคาร์บอนของอุตสาหกรรมเหล็กโลกในภาพรวม

แต่เมื่อมองไปข้างหน้า อุตสาหกรรมเหล็กไทยต้องปรับตัว ถึงแม้ในปัจจุบันความเร่งด่วนในการปรับตัวของผู้เล่นในอุตสาหกรรมเหล็กไทยอาจยังมีไม่มาก และจำกัดเฉพาะกลุ่มที่อาจได้รับผลกระทบก่อน แต่ในระยะถัดไปคาดว่าการขับเคลื่อนเป้าหมาย Net Zero ในภาพรวมทั้งในประเทศและต่างประเทศจะครอบคลุมทุกภาคส่วน ทำให้ภาคธุรกิจที่เกี่ยวข้องในอุตสาหกรรมเหล็กไทยคงต้องทยอยปรับตัว เพื่อลดผลกระทบของต้นทุนส่วนเพิ่มจากราคาเหล็กวัตถุดิบ/สินค้าเหล็กที่อาจปรับฐานสูงขึ้น และการต้องจ่ายภาษีคาร์บอนทั้งในประเทศและตลาดคู่ค้า รวมถึงเพื่อลดความเสี่ยงจากการเสียโอกาสในการเข้าถึงแหล่งเงินทุน ซึ่งอาจส่งผลต่อความสามารถในการทำกำไรและความสามารถในการแข่งขันของภาคธุรกิจในระยะยาวได้.

บุญช่วย ค้ายาดี

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ความสำเร็จของแบรนด์กับการใช้Meta

ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นตลาดที่เติบโตอย่างรวดเร็ว โดยมีประชากร 700 ล้านคน และมี GDP รวมประมาณ 4 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ทำให้เป็นตลาดที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 5 ของโลก

หวยเกษียณแก้ปัญหาแก่ก่อนรวย

เมื่อวันอังคารที่ผ่านมา คณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบโครงการสลากสะสมทรัพย์เพื่อเงินออมยามเกษียณ หรือหวยเกษียณ ของกองทุนการออมแห่งชาติ ซึ่งนี่ถือเป็นโครงการที่รัฐบาลพยายามส่งเสริมการออมของประชาชนในประเทศ

เจ็บแล้วจบ

หลังการบริหารงานของรัฐบาลเศรษฐาได้เข้ามาเดินหน้ามาตรการประชานิยมลด แลก แจก แถม จัดเต็ม ตามที่สัญญากันไว้ช่วงหาเสียงเลือกตั้ง โดยเฉพาะนโยบายด้านพลังงาน ลดค่าไฟฟ้า

3แผนกรีนดันอุตฯไทยรักษ์โลก

เทรนด์รักษ์โลกยังมีมาอย่างต่อเนื่อง และตลอดปี 2567 ที่ผ่านมานี้หลายหน่วยงาน หลายบริษัทก็ยังไม่ทิ้งอุดมการณ์อันแรงกล้านี้ และยังแห่ประกาศแผนดำเนินงานเพื่อดูแลสิ่งแวดล้อมกันอย่างคึกคัก

เร่ง“ปรับ”ก่อน(ถูก)“เปลี่ยน”

ยอดขายรถยนต์ในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2567 ที่ผ่านมา หลายคนคงตกใจ เพราะหดตัวลงถึง 23.8% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และมีแนวโน้มว่าทั้งปีจะหดตัวลงอย่างรุนแรงที่สุดในรอบ 15 ปี

เปิดไม้เด็ดธุรกิจขนาดเล็กสู้ในตลาด

หากย้อนเวลาไปเมื่อหลายปีก่อน ธุรกิจที่มีทุนหนาและมีส่วนแบ่งการตลาดมาก มักจะถูกมองว่าเป็น “ปลาใหญ่” ที่ได้เปรียบเหนือคู่แข่งที่ทุนน้อยกว่าซึ่งเปรียบเหมือน “ปลาเล็ก” จนเป็นที่มาของคำว่า “ปลาใหญ่กินปลาเล็ก” หนึ่งในข้อได้เปรียบที่เห็นชัดที่สุดคือ การมี Economy of Scale หรือ การประหยัดต่อขนาด ซึ่งหมายถึง การผลิตสินค้าหรือบริการในจำนวนที่มากพอที่จะทำให้ต้นทุนการผลิตต่อหน่วยต่ำลง พูดง่ายๆ ก็คือ “ยิ่งผลิตมากขึ้น ต้นทุนการผลิตยิ่งลดลง และยิ่งคุ้มค่ามากขึ้น” โดยต้นทุนในการผลิตสินค้าหรือบริการจะแบ่งออกเป็น ต้นทุนคงที่ (fixed cost) และต้นทุนผันแปร (variable cost) ต้นทุนคงที่ คือ ต้นทุนที่ธุรกิจต้องจ่ายเป็นจำนวนคงที่ ไม่ว่าจะผลิตสินค้าหรือบริการในปริมาณเท่าใดก็ตาม เช่น ค่าเช่าพื้นที่ ค่าเครื่องจักรอุปกรณ์ ค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการ ส่วนต้นทุนผันแปร