การเมืองก็เรื่องใหญ่ แผ่นดินไหวก็สำคัญมาก เมื่อสองวันก่อนเกิดเหตุแผ่นดินไหว คนกรุงเทพฯที่อาศัยและททำงานอยู่บนตึกสูงต่างรับรู้ได้ถึงแรงสั่นสะเทือน
ล่าสุด “ดร.เอ้” สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ ประธานคณะทำงานนโยบาย กทม. พรรคประชาธิปัตย์ อดีตอธิการบดีสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง โพสต์เฟสบุ๊คแสดงความคิดเห็นเรื่องนี้ไว้อย่างน่าสนใจ ผู้ที่เกี่ยวข้องควรกระตือรือร้นควรใส่ใจก่อนจะเกิดความสูญเสียขึ้นในเมืองหลวง
“พี่เอ้” บอกว่า เกิดแผ่นดินไหว จุดศูนย์กลางนอกชายฝั่งของเมียนมา แรงสั่นสะเทือนรู้สึกถึงกรุงเทพ นี่ขนาดเพียง 6.0 ถ้าเป็น 7 หรือ 8 อาจเกิดความเสียหายรุนแรงได้ และอันตรายมากกว่าที่คิด
เพราะเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่อันดามัน ขนาด 8.9 ในปี 2547 และ ที่เชียงราย ขนาด 6.3 ปี 2557 สร้างความเสียหายรุนแรง และมีคนไทยเสียชีวิต พิสูจน์ว่าแผ่นดินไหวเป็น "อันตรายจริง" และกรุงเทพได้รับผลกระทบแน่นอน
ตึกเก่าในกรุงเทพ ก่อนกฎหมายการออกแบบป้องกันแผ่นดินไหวออกมา ต้องได้รับการตรวจและประเมินความปลอดภัย อย่าคิดว่าไม่เป็นไร ไม่จริงครับ มีความเสี่ยงแน่นอน
ผมขอแนะนำ เรื่องที่ต้องทำ 4 เรื่อง 1.ตรวจสอบอาคารที่มีความเสี่ยง เร่งตรวจสอบ ประเมินความเสี่ยงของอาคารเก่า ที่มีอายุมากกว่า 20-30 ปี โดยเฉพาะอาคารตึกแถวสูง 4-5 ชั้น ที่โครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก หรือปูนเก่า ที่มีจำนวนไม่น้อยในกรุงเทพ ควรระบุเป็น "สีเขียว คือ ปลอดภัย" "สีเหลือง คือ ปลอดภัย แต่ต้องปรับปรุงเล็กน้อย" และ "สีแดง คือ อาจไม่ปลอดภัย ต้องรีบปรับปรุงใหญ่"
2.ระบบเตือนภัย ทันทีหลังแผ่นดินไหว แม้จะมีสถานีวัดแผ่นดินไหวมากมายทั่วโลก และรู้ทันทีเมื่อเกิดแผ่นดินไหว แต่คนกรุงเทพ มารู้ตัวจากแรงสั่นสะเทือน หรือ จากสำนักข่าว อาจช้าไป และทำอะไรไม่ถูก
3.เจอภัยธรรมชาติ ทำอย่างไร เด็กไทยต้องเรียนรู้ น้ำท่วม แผ่นดินไหว ไฟไหม้ อาคารถล่ม และอุบัติเหตุอื่น ๆ โรงเรียนต้องสอนและฝึกปฏิบัติ การเอาชีวิตรอด และช่วยเหลือชีวิตผู้อื่น มั่วไม่ได้
4.บุคคลากรด้านต้านภัยพิบัติ จำเป็น"ทั้งผู้เชี่ยวชาญ ทั้งวิศวกร ทั้งเจ้าหน้าที่กู้ภัย ทั้งนักอบรม ด้านการต้านภัยพิบัติของไทย น้อยมากจริงๆ แสดงถึงความ "ไม่ให้ความสำคัญ" กับด้านนี้เท่าที่ควรเป็น
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
"พาดหัวกันจนจะถูกย้าย"
ต้องยอมรับความจริง สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ถือเป็นรัฐราชการ ที่ประชาชนยุคนี้ฝากความหวังเอาไว้ถ่วงดุล อำนาจรัฐบาล โดยเฉพาะประเด็นต่างๆ ที่สังคมกังขา มิให้ทำอะไรเลยเถิดหรือสุดซอย จนประโยชน์สูงสุดไม่ได้อยู่ที่ประชาชน
กระทบไหล่แชมป์โลก
หนึ่งปีมาหน โอกาสทองของคนไทยคอรักบี้จะได้กระทบไหล่แชมป์โลก!!!
'ผมกำลังลื่น'
วันจันทร์ที่ผ่านมา ในการประชุมวุฒิสภามีวาระร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกำหนดการประมง โดยช่วงหนึ่งของการประชุมจะเห็นได้ว่ามี สว.เอาอวนดักปลาขึ้นมาประกอบการอภิปราย พร้อมปลากะตักแห้งที่เอามาเป็นตัวอย่างประกอบ
แจกสิทธิ์ 10 คนแรก
ต้องฝ่ากระแสร้อนแรงมาตั้งแต่ปลายปี 2567 สำหรับพรรครวมไทยสร้างชาติ (รทสช.) ทั้งกระแสพรรคแตก สส.ทยอยย้ายซบพรรคอื่น กระแสข่าวหัวหน้าพรรคถูกเขี่ยพ้นเก้าอี้รัฐมนตรี
ออร่าจับมาก
ในบรรดาเสนาบดีหน้าใหม่ หรือทายาททางการเมืองที่โดดเด่น นาทีนี้หลายคนยกให้ รมต.ดีดา-ซาบีดา ไทยเศรษฐ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ลูกสาวในไส้ ชาดา ไทยเศรษฐ์ สส.อุทัยธานี พรรคภูมิใจไทย
“ไม่ต้องรอมติพรรค”
“ คนท้องถิ่น...คนศรีสะเกษ... “คนบ้านเดียวกัน” ถือสโลแกนหาเสียงของ “นายกฯส้มเกลี้ยง” วิชิต ไตรสรณกุล ผู้สมัครนายก อบจ.ศรีสะเกษ ในนามกลุ่ม “คนท้องถิ่น” และยังเป็นคุณพ่อของ “เลขาฯกวาง” ไตรศุลี ไตรสรณกุล เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย