เมื่อจีน-ซาอุฯขยับเข้าใกล้กัน ตะวันตกก็เริ่มระแวงหวั่นไหว

แม้ตะวันตกจะมองด้วยความระแวงคลางแคลงปนด้วยความรู้สึกอิจฉาริษยา แต่ซาอุดีอาระเบียและจีนก็เดินหน้ากระชับความสัมพันธ์อย่างคึกคักอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน

เจ้าหน้าที่ระดับนำของทั้งสองประเทศต่างให้คำมั่นว่าจะทำงานร่วมกันในด้านความมั่นคงทางอาหาร วิทยาศาสตร์ พลังงาน และการลงทุน

โดยไม่สนใจเสียงเตือนหรือความพยายามจะยุแหย่จากตะวันตก

รัฐมนตรีของซาอุดีอาระเบียที่รับผิดชอบด้านการต่างประเทศ พลังงาน การลงทุน และการเกษตร ให้คำมั่นว่าจะกระชับความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับจีนในระหว่างการประชุมเป็นเวลา 2 วันที่เพิ่งเสร็จสิ้นเมื่อเร็ว ๆ นี้

หู ชุนหัว (ขวา) รองประธานการประชุมที่ปรึกษาทางการเมืองแห่งประชาชนจีน (CPPCC) กับคาลิด อัล-ฟาลีห์ รัฐมนตรีกระทรวงการลงทุนของซาอุดีอาระเบียที่งานกาล่าดินเนอร์สำหรับการประชุมธุรกิจอาหรับ-จีน (ACBCครั้งที่ 10 ที่กรุงริยาด ประเทศซาอุดีอาระเบีย เมื่อวันที่ 11 มิถุนายน 2566

เป็นส่วนหนึ่งของการประชุมธุรกิจอาหรับ-จีน (ACBC) ครั้งที่ 10 มีผู้แทนมากกว่า 3,500 คนจาก 23 สัญชาติ

การกระชับความผูกพันครั้งนี้ครอบคลุมหลากหลายมิติ

ซาอุดิอาระเบียและจีนจะทำงานร่วมกันในด้านความมั่นคงทาง

เปิดทางให้ประเทศผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่ที่สุดของโลกกับลูกค้าอันดับหนึ่งเข้าสู่อ้อมกอดที่แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น

ถือเป็นการเปิดศักราชใหม่ของความสัมพันธ์ทวิภาคีของสองประเทศที่ทำท่าจะพลิกโฉมประวัติศาสตร์กันเลยทีเดียว

“เราจะมีโอกาสที่ดีในการบรรลุความพอเพียง (ด้านอาหาร) สำหรับทั้งสองประเทศ” รัฐมนตรีกระทรวงสิ่งแวดล้อม น้ำ และการเกษตรของซาอุดีอาระเบีย Abdulrahman Abdulmohsen A. Al-Fadley กล่าวระหว่างการอภิปรายซึ่งดำเนินรายการโดย The Post at the 10th Arab- China Business Conference (ACBC) ที่กรุงริยาด

“เราควรได้รับประโยชน์จากวิทยาศาสตร์ด้วย” รัฐมนตรีเสริม “ทุกวันนี้ เรามีเทคโนโลยีใหม่ๆ ดังนั้นทั้งสองประเทศควรร่วมมือกันเพื่อลดต้นทุนของกันและกัน”

ก่อนหน้านี้ รัฐมนตรีซาอุฯที่ดูแลการลงทุนและพลังงาน คาลิด อัล ฟาลีห์ ตั้งความหวังว่าจะได้เห็นข้อตกลงการค้าเสรีที่กำลังจะเกิดขึ้นระหว่างจีนและสมาชิกสภาความร่วมมืออ่าวอาหรับ (GCC)

เพื่อช่วยให้ภูมิภาคนี้กระจายความหลากหลายทางเศรษฐกิจจากเดิมต้องพึ่งพาเชื้อเพลิงฟอสซิลเป็นหลัก

ซาอุฯเน้นส่งเสริมอุตสาหกรรมส่งออก จึงเร่งเจรจาข้อตกลงการค้าเสรี ซึ่งหมายความว่าจะต้องหาทางสร้างอุตสาหกรรมเกิดใหม่อย่างจริงจัง

Al-Falih ประกาศในที่ประชุมต่อหน้ารองประธานของการประชุมและที่ปรึกษาทางการเมืองแห่งประชาชนจีน (CPPCC) Hu Chunhua

นัยสำคัญคือจีนเป็นคู่ค้ารายใหญ่ที่สุดสำหรับกลุ่มประเทศอาหรับ

โดยปริมาณการค้าอยู่ที่ 430,000 ล้านเหรียญสหรัฐในปี 2565

เจ้าชายไฟซาล บิน ฟาร์ฮาน รัฐมนตรีต่างประเทศซาอุดีอาระเบียกล่าวตอนเริ่มการประชุมว่าแค่ซาอุดิอาระเบียเพียงประเทศเดียวก็ทำปริมาณได้ถึงหนึ่งในสี่แล้ว

โดยการค้าทวิภาคีเพิ่มขึ้นร้อยละ 30 ในปีที่แล้ว เป็น 106,100 ล้านเหรียญสหรัฐ

ไม่ต้องแปลกใจว่าความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดยิ่งขึ้นระหว่างจีนและตะวันออกกลางได้สร้างความกังวลในกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. และเมืองหลวงของยุโรปที่เริ่มจะต้องหวั่นไหวกับการปรับเปลี่ยนท่าทีของประเทศใหญ่ ๆ ในภูมิภาคนั้น

แต่ซาอุฯไม่แคร์ต่อแรงกดดดันจากตะวันตกมากนัก

รัฐมนตรีกระทรวงน้ำมันของซาอุดีอาระเบียย้ำว่าเขาจะ "เพิกเฉย" ต่อข้อสงสัยของตะวันตกเกี่ยวกับความสัมพันธ์ที่อบอุ่นขึ้นระหว่างทั้งสองประเทศ

“ผมไม่สนใจต่อปฏิกิริยาของอเมริกาและยุโรปเพราะ … ในฐานะนักธุรกิจ คุณไปในที่ที่มีโอกาส” เจ้าชายอับดุลอาซิซ บิน ซัลมาน รัฐมนตรีกระทรวงพลังงานของซาอุดีอาระเบียกล่าว “เราจะไม่ยอมให้ถูกกดดันให้ต้องเลือกไปทางใดทางหนึ่ง”

จากเดิมเป็นเพียงการแลกเปลี่ยนถ้อยคำที่เป็นมิตรมากขึ้นกว่าเดิม วันนี้กลายเป็นสิ่งที่จับต้องได้

เพราะกำลังเกิดความร่วมมือที่เป็นรูปธรรมในรูปของบริษัทร่วมทุนระหว่างสหรัฐและจีน

เช่น การสร้างโรงงานในซาอุดีอาระเบียที่สามารถใช้แบคทีเรียเพื่อเปลี่ยนก๊าซมีเทนเป็นอาหารสัตว์ได้ 5 เท่าของกำลังการผลิตต่อปีของโรงงานต้นแบบในฉงชิ่งของจีน

ขณะที่นักวิทยาศาสตร์มองหาแนวทางทางจุลชีววิทยาเพื่อรับประกันความมั่นคงทางอาหาร

Pierre Casamatta กรรมการผู้จัดการของ Calysseo ซึ่งเป็นบริษัทร่วมทุนระหว่าง Calysta ในแคลิฟอร์เนียและจีนกำลังดำเนินแผนเพื่อสร้างถังหมักในเมืองอุตสาหกรรม Al Jubail ของซาอุดิอาระเบีย

โดยมีกำลังการผลิต 100,000 ตันสำหรับสัตว์ภายในปี 2570

จีนต้องการโปรตีนที่ผลิตในท้องถิ่นเพื่อการเกษตรที่ยั่งยืน … และจีนก็มีโครงการสำคัญในซาอุดิอาระเบียในรูปของการสร้างโรงงานขนาดใหญ่

จีนและซาอุดีอาระเบียเป็นผู้นำเข้าอาหารสัตว์จำนวนมาก

ทั้งสองประเทศได้รับผลกระทบจากวิกฤตอาหารโลกที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ

และภาวะช็อกของอุปทานที่เกิดจากสงครามของรัสเซียในยูเครนอันเป็นผู้ส่งออกธัญพืชรายใหญ่ของโลก

Calysseo ใช้เทคโนโลยีของ Calysta ผู้ถือหุ้นในสหรัฐฯ เพื่อผลิตอาหารสัตว์โดยใช้ส่วนผสมโปรตีน "ใหม่" ซึ่งจะยั่งยืนกว่าอาหารทั่วไปโดยไม่ต้องใช้สัตว์หรือพืช

Abdullah Al-Bader ซีอีโอของบริษัท Al-Marai กล่าวว่า ธรรมชาติของความมั่นคงทางอาหารที่เป็นสากลนั้นเน้นย้ำถึงวิธีการที่โลกจำเป็นต้องร่วมมือกันเพื่อแก้ไขปัญหานี้ในภาพรวมของโลกาภิวัตน์

อีกด้านหนึ่งคือข้อสรุปที่ทำให้ซาอุดิอาระเบียได้ลงนามในข้อตกลงมูลค่า 5.6 พันล้านดอลลาร์กับบริษัทจีนแห่งหนึ่งเพื่อผลิตรถยนต์ไฟฟ้า

บันทึกความเข้าใจที่ลงนามระหว่างซาอุฯกับฮิวแมน ฮอไรซันส์ ผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้าและขับเคลื่อนอัตโนมัติเกี่ยวกับการพัฒนา การผลิต และการขายยานพาหนะคิดเป็นมูลค่ามากกว่าครึ่งหนึ่งของเงินลงทุน 1 หมื่นล้านดอลลาร์

ตัวแทนทั้งสองฝ่ายลงนามในวันแรกของการประชุมทางธุรกิจครั้งใหญ่ที่จัดขึ้นใน เมืองหลวง ริยาดกันเลยทีเดียว

แน่นอนว่าเมื่อทั้งสองประเทศจับมือกันแน่นแฟ้นมากขึ้นทางด้านการค้าและการลงทุนก็ย่อมหมายถึงการขยับเข้าใกล้กันทางการเมืองและความมั่นคง

นี่คือโจทย์ใหญ่ที่ตะวันตกจะต้องประเมินความสัมพันธ์กับตะวันออกลางใหม่อย่างรีบด่วน

เพราะเกมกำลังเปลี่ยนไปอย่างรุนแรงเมื่อปักกิ่งเดินเกมระหว่างประเทศด้วยการเอาเศรษฐกิจนำการเมือง

ขณะที่ตะวันตกเน้นการเมืองก่อนเศรษฐกิจ

สูตรของใครจะประสบความสำเร็จมากกว่ากัน ไม่ช้าก็จะได้คำตอบ.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ประเทศเดียวในโลก ‘นายกฯทับซ้อน’ มหันตภัยปี 2568

นายสุทธิชัย หยุ่น สื่อมวลชนอาวุโส โพสต์เฟซบุ๊กว่าสำนักวิจัยต่าง ๆ กำลังวิเคราะห์เพื่อพยากรณ์ว่าประเทศไทยจะต้องเผชิญกับความท้าทายสาหัสอะไรบ้างใน

บิ๊กเซอร์ไพรส์ 'สุทธิชัย หยุ่น' เล่นซีรีส์ 'The White Lotus ซีซั่น 3'

เรียกว่าสร้างความเซอร์ไพรส์อย่างต่อเนื่อง สำหรับซีรีส์ The White Lotus ซีซั่น 3 ซึ่งจะสตรีมผ่าน Max ในวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2025 เพราะนอกจากจะมี ลิซ่า-ลลิษา มโนบาล หรือ ลิซ่า BLACKPINK ไอดอลเกาหลีสัญชาติไทย ที่กระโดดลงมาชิมลางงานแสดงเป็นครั้งแรก ในบทของ มุก สาวพนักงานโรงแรม

ถามแสกหน้า 'ทักษิณ' จะพลิกเศรษฐกิจไทยยังไง ทุกซอกมุมในสังคมยังเต็มไปด้วยทุจริตโกงกิน

นายสุทธิชัย หยุ่น นักวิเคราะห์ข่าวและผู้ดำเนินรายการข่าวชื่อดัง โพสต์เฟซบุ๊ก ถึงกรณีนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ว่า “เขาจะพลิกประเทศไทยให้เศรษฐกิจล้ำโลกได้หรือ

เขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดนที่กลายเป็น ที่ซ่องสุมของอาชญากรรมข้ามชาติ

เมื่อวานเขียนถึงรายงานในสำนักข่าวชายขอบที่สำนักจะได้รับความสนใจของรัฐบาลไทยว่าด้วยกิจกรรมอาชญากรรมข้ามชาติในบริเวณ “เขตเศรษฐกิจพิเศษ” ที่สามเหลี่ยมทองคำ