ร่วมมือดันอุตฯไทยเข้มแข็ง

ความร่วมมือระหว่างประเทศนั้นเกิดขึ้นได้บ่อยครั้ง ยิ่งประเทศไทยที่ถือว่ามีคู่ค้าอยู่ทั่วโลกแล้วนั้น การพัฒนาความสัมพันธ์ต่างๆ จึงเป็นไปได้ง่ายและเห็นโอกาสความร่วมมือที่หลากหลาย ซึ่งที่ผ่านมามีทั้งในรูปแบบภาครัฐกับภาครัฐ ภาครัฐกับเอกชน และเอกชนร่วมกับเอกชนกันเอง ซึ่งส่งผลให้เกิดการพัฒนาและสนับสนุนกันจนสามารถผลักดันเศรษฐกิจได้อยู่หลายครั้ง

และครั้งล่าสุดนี้ก็เกิดขึ้นจากการที่ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เข้าร่วมคณะเดินทางเยือนซาอุดีอาระเบียกับนายดอน ปรมัตถ์วินัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศ พร้อมด้วยคณะภาครัฐและภาคเอกชน ระหว่างวันที่ 6-10 มิ.ย.2566 เพื่อจะเดินทางไปขับเคลื่อนความร่วมมือทวิภาคี และส่งเสริมการเจรจาการค้าและการลงทุนระหว่างภาคเอกชนของทั้งสองประเทศ ในการเร่งผลักดันการค้า การลงทุน

เนื่องจากปัจจุบันซาอุดีอาระเบียต้องการดึงนักลงทุนจากทั่วโลกและนักลงทุนจากไทยไปร่วมโครงการ Saudi Vision 2030 โดยตั้งเป้าหมายจะนำพาซาอุดีอาระเบียไปสู่อนาคตใหม่ทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคม กับนโยบายในการสร้างเมืองใหม่ที่มีชื่อว่า “นีอุม” NEOM (Saudi Arabia Smart City) อีกทั้งซาอุฯ ยังเป็นประเทศที่มีศักยภาพหลายด้าน ทั้งการเป็นศูนย์กลางและเป็นผู้นำของกลุ่มคาบสมุทรอ่าวอาหรับ (GCC) ขนาดเศรษฐกิจใหญ่กว่าไทย มีประชากร 35 ล้านคน คาดว่าจะเพิ่มเป็น 50 ล้านคนในปี 2030 (พ.ศ.2573) และยังสามารถเชื่อมโยงตะวันออกกลางและแอฟริกาเหนือ

โดยการเดินทางครั้งนี้ได้เข้าเยี่ยมชมศูนย์วิทยากรและเทคโนโลยีของซาอุดีอาระเบีย (KACST) ซึ่งมีการแสดงนวัตกรรมของสินค้าอุตสาหกรรม เช่น Carbon Fiber อุตสาหกรรม 4.0 และอุตสาหกรรม Semi-Conductor ในอนาคต เป็นต้น โดยฝ่ายซาอุฯ มีความยินดีที่จะให้ใช้ศูนย์บ่มเพาะผู้ประกอบการของซาอุฯ หากสตาร์ทอัปทั้งสองประเทศตกลงที่จะร่วมกันเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนการทำงานร่วมกัน และหากผู้ประกอบการทั้ง 2 ฝ่ายเกิดการร่วมทุนกันต่อเนื่อง หน่วยงานดังกล่าวพร้อมให้การสนับสนุนธุรกิจเงินร่วมลงทุนให้อีกด้วย

นายชาติชาย พานิชชีวะ รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) พร้อมด้วยนายนาวา จันทนสุรคน กรรมบริหาร ส.อ.ท. ร่วมคณะเดินทางเยือนซาอุดีอาระเบียในฐานะผู้แทนภาคอุตสาหกรรมไทย กล่าวว่า ในครั้งนี้ถือว่าประสบความสำเร็จเป็นอย่างมากในการผลักดันการค้า การลงทุนร่วมกัน ระหว่างประเทศไทยและซาอุดีอาระเบีย พร้อมขยายความร่วมมือและการลงทุนในด้านต่างๆ อาทิ อุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์

จากมูลค่าการส่งออกของกระทรวงพาณิชย์ พบว่า สินค้ารถยนต์ อุปกรณ์และชิ้นส่วนประกอบรถยนต์เป็น 1 ในสินค้า 15 อันดับแรกของไทยที่ส่งออกไปซาอุดีอาระเบีย ซึ่งมีมูลค่ากว่า 214.7 ล้านเหรียญสหรัฐ และจากการที่ประเทศซาอุดีอาระเบียได้ยกเลิกกฎหมายและอนุญาตให้ผู้หญิงชาวซาอุดีอาระเบียสามารถขับรถยนต์ได้ สนับสนุนให้ความต้องการใช้รถยนต์เติบโต จึงเป็นโอกาสของอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ของไทยในการขยายตลาดในซาอุฯ มากขึ้น โดยเฉพาะสาขาชิ้นส่วนยานยนต์ซึ่งไทยมีความเชี่ยวชาญ และจะช่วยผลักดันให้ซาอุดีอาระเบียเป็นส่วนหนึ่งในห่วงโซ่อุปทานของการผลิตในระดับโลก

อุตสาหกรรมวัสดุก่อสร้างที่บริษัท เอสซีจี อินเตอร์เนชั่นแนล คอร์ปอเรชั่น จำกัด มีนโยบายขยายการลงทุน โดยมุ่งขยายธุรกิจและพัฒนาระบบนิเวศด้านการก่อสร้างไปสู่การขยายห่วงโซ่อุปทานในด้านอื่นๆ ทั้งธุรกิจปูนซีเมนต์ ผลิตภัณฑ์วัสดุก่อสร้าง ธุรกิจบรรจุภัณฑ์ และ PVC เป็นต้น เพื่อต้องการสร้างเครือข่ายระหว่างประเทศ จึงมีแผนการจัดตั้งสำนักงาน ณ เมืองริยาดภายในเดือน ก.ย.ปี 2566 นอกจากนี้สินค้าอื่นๆ ที่ยังมีโอกาสเติบโต เช่น เหล็ก ไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ ได้รับประโยชน์จากการลงทุนขนาดใหญ่ของซาอุฯ ในการสร้างเมืองและขยายเมืองเพื่อให้สอดรับกับแผน Saudi Vision 2030

และอีกหนึ่งอุตสาหกรรมที่ได้ประโยชน์ก็คือ อุตสาหกรรมปุ๋ยและเคมีภัณฑ์ เนื่องจากประเทศซาอุดีอาระเบียเป็นหนึ่งในผู้ส่งออกปุ๋ยเคมีอันดับที่ 6 ของโลก และในช่วงเกิดสงครามรัสเซีย-ยูเครนที่ผ่านมา ประเทศไทยได้นำเข้าปุ๋ยและเคมีภัณฑ์จากซาอุฯ และมีแนวโน้มนำเข้าในจำนวนมากขึ้นด้วย

แน่นอนว่า การร่วมมือกันครั้งนี้เป็นสเกลที่ใหญ่และเพียงพอที่จะสนับสนุนการพัฒนาอุตสาหกรรมร่วมกันได้ ซึ่งผลประโยชน์ก็จะกระจายไปยังกลุ่มต่างๆ จนสร้างความเข้มแข็งให้กับภาคอุตสาหกรรมไทยได้.

 

ณัฐวัฒน์ หาญกล้า

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ความสำเร็จของแบรนด์กับการใช้Meta

ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นตลาดที่เติบโตอย่างรวดเร็ว โดยมีประชากร 700 ล้านคน และมี GDP รวมประมาณ 4 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ทำให้เป็นตลาดที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 5 ของโลก

หวยเกษียณแก้ปัญหาแก่ก่อนรวย

เมื่อวันอังคารที่ผ่านมา คณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบโครงการสลากสะสมทรัพย์เพื่อเงินออมยามเกษียณ หรือหวยเกษียณ ของกองทุนการออมแห่งชาติ ซึ่งนี่ถือเป็นโครงการที่รัฐบาลพยายามส่งเสริมการออมของประชาชนในประเทศ

เจ็บแล้วจบ

หลังการบริหารงานของรัฐบาลเศรษฐาได้เข้ามาเดินหน้ามาตรการประชานิยมลด แลก แจก แถม จัดเต็ม ตามที่สัญญากันไว้ช่วงหาเสียงเลือกตั้ง โดยเฉพาะนโยบายด้านพลังงาน ลดค่าไฟฟ้า

3แผนกรีนดันอุตฯไทยรักษ์โลก

เทรนด์รักษ์โลกยังมีมาอย่างต่อเนื่อง และตลอดปี 2567 ที่ผ่านมานี้หลายหน่วยงาน หลายบริษัทก็ยังไม่ทิ้งอุดมการณ์อันแรงกล้านี้ และยังแห่ประกาศแผนดำเนินงานเพื่อดูแลสิ่งแวดล้อมกันอย่างคึกคัก

เร่ง“ปรับ”ก่อน(ถูก)“เปลี่ยน”

ยอดขายรถยนต์ในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2567 ที่ผ่านมา หลายคนคงตกใจ เพราะหดตัวลงถึง 23.8% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และมีแนวโน้มว่าทั้งปีจะหดตัวลงอย่างรุนแรงที่สุดในรอบ 15 ปี

เปิดไม้เด็ดธุรกิจขนาดเล็กสู้ในตลาด

หากย้อนเวลาไปเมื่อหลายปีก่อน ธุรกิจที่มีทุนหนาและมีส่วนแบ่งการตลาดมาก มักจะถูกมองว่าเป็น “ปลาใหญ่” ที่ได้เปรียบเหนือคู่แข่งที่ทุนน้อยกว่าซึ่งเปรียบเหมือน “ปลาเล็ก” จนเป็นที่มาของคำว่า “ปลาใหญ่กินปลาเล็ก” หนึ่งในข้อได้เปรียบที่เห็นชัดที่สุดคือ การมี Economy of Scale หรือ การประหยัดต่อขนาด ซึ่งหมายถึง การผลิตสินค้าหรือบริการในจำนวนที่มากพอที่จะทำให้ต้นทุนการผลิตต่อหน่วยต่ำลง พูดง่ายๆ ก็คือ “ยิ่งผลิตมากขึ้น ต้นทุนการผลิตยิ่งลดลง และยิ่งคุ้มค่ามากขึ้น” โดยต้นทุนในการผลิตสินค้าหรือบริการจะแบ่งออกเป็น ต้นทุนคงที่ (fixed cost) และต้นทุนผันแปร (variable cost) ต้นทุนคงที่ คือ ต้นทุนที่ธุรกิจต้องจ่ายเป็นจำนวนคงที่ ไม่ว่าจะผลิตสินค้าหรือบริการในปริมาณเท่าใดก็ตาม เช่น ค่าเช่าพื้นที่ ค่าเครื่องจักรอุปกรณ์ ค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการ ส่วนต้นทุนผันแปร