ก่อนตาย..
“เพทาย ถนอมจิตร” นักแต่งเพลงเจ้าของผลงาน “ตบให้ตาย” และ “พี่ไทยก็เมา” ที่โด่งดัง ได้เขียนหนังสือไว้เล่มหนึ่งชื่อ.. “พ่อเลวสอนลูก”..
อ่านแล้วก็ให้รู้สึกทึ่งในการเล่าเรื่องชีวิตตัวเองในด้านที่หมิ่นเหม่ต่อ “ความเลว” ที่เชื่อว่าพ่อบางคนคงไม่กล้าจะบันทึกไว้ให้ลูกหลานอ่าน
และที่หยิบยกเอาหนังสือ “พ่อเลวสอนลูก” มาเกริ่นก็ไม่ได้มีอะไรเป็นพิเศษ แค่บังเอิญเห็นที่คุณอนุพงศ์ พันธชยางกูร อดีตจำเลยในคดีปล้นปืนกองพันทหารพัฒนาที่ 4 เมื่อปี 2547 โพสต์..
“ตกใจมาหลายวันแล้ว!!! กับข่าวเยาวชน ที่ ม.อ.ปัตตานี มองในฐานะพ่อคนหนึ่ง #แบบพ่อโง่ๆ ว่า เป็นพ่อ ทำไม??? ทำร้าย ลูก ได้ถึงขนาดนั้น
ที่ส่งให้ลูกเรียนสูงๆ เพราะรักลูก ใช่มั้ย??? คุกอ่ะไม่น่าอยู่หรอก #ทำไมถึงอยากให้ลูกไปอยู่??? #รักลูกประสาอะไรกัน กรูเคยอยู่มาแล้ว คุกพิเศษกรุงเทพ 2 รอบ”
ก็เลยให้นึกถึงนักแต่งเพลงผู้ล่วงลับท่านนี้ขึ้นมา ก็เท่านั้นแหละ!
อ้อ..ส่วนคนนี้ไม่ได้พูดเรื่องพ่อ แต่อยากให้คนเป็นพ่อเป็นแม่เป็นผู้หลัก-ผู้ใหญ่ได้อ่าน ซึ่งผมนั้นอ่านแล้วก็ต้องขอ “ขอบคุณ” ด้วยความจริงใจ กับทุกตัวอักษร ที่ถูกใจ-ตรงใจนัก!
ผมหมายถึง หม่อมหลวงณัฏฐกรณ์ เทวกุล หรือ "คุณปลื้ม" ที่ได้โพสต์ข้อความ.. 1.ในด้านสิทธิเสรีภาพ สิทธิเสรีภาพก็ยังอยู่ใต้กฎหมาย คุณมีสิทธิเสรีภาพ ภายใต้ที่กฎหมายกำหนด
นี่เรียกว่าสังคมที่มีกฎระเบียบ ในกรณีนี้สถาบันการศึกษาก็มีกฎของสถาบัน อยู่ในโรงเรียนก็ต้องมีกฎระเบียบของสถานการศึกษานั้นๆ
2.เราจะสอนให้เด็กรุ่นต่อไปไม่เคารพกฎไปเรื่อยๆ หรือ? อย่างนี้ถ้าอนาคตมีคนไม่พอใจจะเปลี่ยนกฎอะไรก็ให้ไม่ต้องปฏิบัติตามกฎนั้นเลยง่ายง่าย
ทั้งที่โดยส่วนรวมผู้อื่นก็ยังยินดีปฏิบัติตามกฎนั้นอยู่? มันเเฟร์ต่อผู้อื่นซึ่งร่วมศึกษาในสถาบันนั้นนั้นไหม?
คนส่วนใหญ่มีเหตุผลและเคารพกติกา โรงเรียนไม่ต้องกังวลกับนักการเมืองหรือสื่อหรือพิธีกรหรือเอ็นจีโอที่เก็บแต้มเข้าตนเองด้วยการให้ท้ายเด็กหรอกครับ
ทำในสิ่งที่เหมาะสมเเล้วสังคมจะเห็นเองว่าใครผิดใครถูก การเรียนเป็นโอกาสที่พิเศษ เป็น Privilege ของเด็กที่ได้เรียนในโรงเรียนเอกชนที่มีคุณภาพที่มีชื่อเสียง
นักเรียนผู้นั้นควรตระหนักถึงสิทธิพิเศษตรงนี้ การทำสีผมหรือเเต่งตัวอะไรยังไงก็ได้ไม่ใช่สิทธิ ไม่เคยเป็นสิทธิ มันเเค่เป็นสิ่งที่คุณอยากทำตามอำเภอใจเท่านั้น
รณรงค์ให้เด็กปฏิบัติตามกฎระเบียบสถานการศึกษาจะดีกว่า ไม่ใช่วันวันเอาเเต่ให้ท้ายนักเรียนเพื่อให้ตนเองดูเหมือนเป็นคนที่เชียร์เรื่องสิทธิเสรีภาพ
โรงเรียนจำนวนมากในโลก ถ้าเป็นเอกชน ต้องจ่ายเงิน ก็มียูนิฟอร์ม และให้ความสำคัญกับการปลูกฝังค่านิยมการเคารพกติกาตั้งแต่เล็กๆ เลย เน้นความรับผิดชอบต่อตนเองและผู้อื่นมาก
ไม่ใช่เอาเเต่ให้ท่องเรื่องสิทธิของตนเองตามที่ตอนนี้มีการเชื่อกัน เรียนโรงเรียนมัธยมประจำในยุโรป/สหรัฐฯ เขามีกฎแม้แต่เรื่องกรอบเวลาในการใช้อุปกรณ์สื่อสารหรือเรื่องอื่นๆ โซนเอเชียก็เช่นกัน
การปฏิบัติตามกฎที่ไม่ได้เป็นภัยต่อสวัสดิภาพของนักเรียนคือการฝึกการควบคุมตนเอง เป็นทักษะชีวิตที่สำคัญมาก
อีกครั้ง: ถ้ารักรุ่นต่อไปจริงจริง ไม่ใช่รักเพื่อให้ตนเองดูเหมือนว่าเป็นฮีโร่ของฝ่ายประชาธิปไตยก็ควรที่จะสอนให้เขาปฏิบัติตามกฎ ส่วนใครอยากให้ท้ายเด็กไปเรื่อยๆ ก็เชิญ..
เเล้ววันหนึ่งก็จะเข้าใจเองว่าผลต่อตัวเด็กผู้นั้นเเละผลต่อสังคมจะเป็นเช่นไร”
ครับ..การเมืองอาจมีความคิด-เห็นต่างกันอยู่บ้าง แต่กับกรณีของเด็กที่ชื่อ “หยก” ผมมองว่าคุณปลื้มได้พูดแทนความรู้สึกตัวเองจนหมดจด
เรา..คนเป็นพ่อ เป็นแม่ เป็นผู้ใหญ่อย่าหงอให้เด็กจนล้นไป และเลิกทำให้ตัวเองดูเป็น “ฮีโร่”..
คอยให้ท้ายเด็กทำผิดกันเสียที!.
สันต์ สะตอแมน
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ถาม-ตอบเงิน220ล้าน
ห้วงนี้คนหนังไทยคึกคักเป็นพิเศษ นี่..ก็มาจากการที่สำนักงานส่งเสริมวัฒนธรรมสร้างสรรค์ (THACCA) ร่วมกับ กระทรวงวัฒนธรรม และคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมด้านภาพยนตร์ ละคร และซีรีส์
“กาสิโน”ไม่ใช่คำตอบสุดท้าย
“..ตนคิดว่าหากควบคุมให้ดี ก็จะเป็นประโยชน์กับประเทศ”
ใครจะเข้าเส้นชัยก่อนกัน?
“มึงไปโค่นล้มมหาเถรสมาคมไม่ได้หรอก เขาอยู่ยงคงกระพันด้วยตำแหน่งหน้าที่และอำนาจ มันทุเรศทุรัง..”
ขึ้นอยู่กับ“กรรม”แต่ละคน!
84 วันฝันร้าย! สุดท้าย คดีดิไอคอนกรุ๊ป อัยการฝ่ายคดีพิเศษมีความเห็นสั่งไม่ฟ้อง “บอสแซม” คุณยุรนันทร์ ภมรมนตรี กับ “บอสมิน” คุณพีชญา วัฒนามนตรี ทุกข้อหา..
อหังการ-ขี้โม้เป็นนิสัย
เกิดอะไรขึ้น? เพื่อนคนหนึ่งถามผมหลังเห็นข้อความที่ “เสก โลโซ” โพสต์.. “ประกาศจากพี่เสก โลโซ เรื่องลิขสิทธิ์เพลงที่นักดนตรีประจำสามารถนำเพลงไปร้องได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าลิขสิทธิ์
เก็บเชือกไว้ใช้เองเถอะ
“เส้นกูใหญ่.. ใครก็ทำกูไม่ได้ ใครก็เอากูไม่ลง เพราะกูใหญ่ ใหญ่ยิ่งกว่านายพล ใหญ่กว่านายกรัฐมนตรี ใหญ่กว่า... ใหญ่กว่าทั้งหมด กูแบ็กดี