ขวากหนามของ "พิธา ลิ้มเจริญรัตน์" หัวหน้าพรรคก้าวไกลยิ่งนับวันยิ่งยากยิ่ง โดยเฉพาะมรสุมเรื่องหุ้นไอทีวี ที่จะทำให้ตกเก้าอี้นายกฯ ทั้งที่มีบทเรียนในอดีตจากกรณี ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ก็ไม่นำมาเป็นกรณีศึกษา
ในทางการเมืองมีความเชื่อว่า หากมีการรับรองสถานะ ส.ส. ของ นายพิธา ก็อาจจะมียื่นตรวจสอบทั้งคดีอาญา ผ่านพ.ร.บ. ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส.มาตรา 151 ซึ่งใช้เวลานาน และ เรื่องคุณสมบัติว่าขัดรัฐธรรมนูญ มาตรา 98 (3) ที่ห้ามให้ผู้สมัคร ส.ส. ,แคนดิเดตนายกฯ , หัวหน้าพรรค และ ส.ส.สมัยปี 62 ถือหุ้นสื่อฯ ผ่านช่องทางรัฐธรรมนูญมาตรา 82 ที่ให้ กกต. หรือ ส.ส.จำนวน 50 คนยื่นตรวจสอบไปที่ศาลรัฐธรรมนูญ
และหากมีการยื่นตรวจสอบ ก็ส่งผลให้ "นายพิธา" มีข้อครหาทั้งคดีอาญาและคุณสมบัติขัดรัฐธรรมนูญทันทีหรือไม่
ผลที่ตามมา อาจกระทบต่อกระบวนการเลือกนายกฯ กระบวนการทูลเกล้าฯ เพื่อโปรดเกล้าฯ แต่งนายกรัฐมนตรี โดยให้ประธานสภาผู้แทนราษฎรเป็นผู้สนองพระบรมราชโองการ
มีโอกาสสอบถาม อ.วิษณุ เครืองาม รองนายกฯฝ่ายกฎหมาย ชี้แจงเรื่องนี้ หลังถูกสื่อมวลชนสัมภาษณ์ถึงกรณีหากนักการเมืองใดถูกฟ้องร้องดำเนินคดีแล้วได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองใดจะสามารถนำรายชื่อดังกล่าวขึ้นทูลเกล้าฯได้หรือไม่ว่า เรื่องโปรดเกล้าฯเป็นพระราชอำนาจ เราก็ไม่ต้องไปสงสัยอะไรแล้ว แต่เราต้องกราบบังคมทูลขึ้นไปว่าเกิดอะไรขึ้น และผู้ที่รับผิดชอบหากมีอะไรเกิดขึ้นคือผู้รับสนองพระราชโองการ
"กรณีเสนอชื่อนายกฯก็คือประธานสภาฯ ไม่เช่นนั้นจะรับสนองทำไม การรับสนองคือการรับผิดชอบแทน เพราะสิ่งที่ทูลเกล้าฯไปต้องเป็นสิ่งที่ถูกต้องตรวจสอบเรียบร้อยแล้ว ก็ต้องรับผิดชอบอย่างนั้น ดังนั้น ประธานสภาฯก็ต้องดูแลให้ถูกต้องให้ดี ถ้าจะเบรกอะไรก็เบรกในชั้นประธานสภาฯ" อ.วิษณุ ฝากตือนไว้
ทั้งนี้กรณีที่นายพิธา ยังมีข้อครหาและ สมมุติติว่ามีการยื่นตรวจสอบคุณสมบัติตามรัฐธรรมนูญมาตรา 82 และ ศาลรัฐธรรมนูญสั่งให้หยุดปฏิบัติหน้าที่ ส.ส. ภาระหนักที่ตามมาคือ ประธานสภาฯ ทันที ซึ่งตามข่าวมีหลายชื่อที่ประสงค์เก้าอี้ประมุขฝ่ายนิติบัญญัติ อาทิ นายแพทย์ชลน่าน ศรีแก้ว หัวหน้าพรรคเพื่อไทย , นายธีรัจชัย พันธุมาศ , นายณัฐวุฒิ บัวประทุม และ นายปดิพัทธ์ สันติภาดา จากพรรคก้าวไกล จะรู้หรือไม่มีความเสี่ยงกับเผือกร้อนดังกล่าวนี้ด้วย
จึงต้องดูว่าบทบาทประธานสภาฯ ที่ทั้งพรรคเพื่อไทย และ พรรคก้าวไกล อยากได้นั้น สุดท้ายเมื่อได้รับตำแหน่ง จะกล้านำรายชื่อบุคคลที่มีปัญหา บรรจุวาระให้รัฐสภาโหวตนายกฯหรือไม่ และคำถามต่อมาสมาชิกรัฐสภาประกอบไปด้วย ส.ส. และ ส.ว. จะกล้าโหวตหรือไม่
ช่างสังสัย
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
"พาดหัวกันจนจะถูกย้าย"
ต้องยอมรับความจริง สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ถือเป็นรัฐราชการ ที่ประชาชนยุคนี้ฝากความหวังเอาไว้ถ่วงดุล อำนาจรัฐบาล โดยเฉพาะประเด็นต่างๆ ที่สังคมกังขา มิให้ทำอะไรเลยเถิดหรือสุดซอย จนประโยชน์สูงสุดไม่ได้อยู่ที่ประชาชน
กระทบไหล่แชมป์โลก
หนึ่งปีมาหน โอกาสทองของคนไทยคอรักบี้จะได้กระทบไหล่แชมป์โลก!!!
'ผมกำลังลื่น'
วันจันทร์ที่ผ่านมา ในการประชุมวุฒิสภามีวาระร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกำหนดการประมง โดยช่วงหนึ่งของการประชุมจะเห็นได้ว่ามี สว.เอาอวนดักปลาขึ้นมาประกอบการอภิปราย พร้อมปลากะตักแห้งที่เอามาเป็นตัวอย่างประกอบ
แจกสิทธิ์ 10 คนแรก
ต้องฝ่ากระแสร้อนแรงมาตั้งแต่ปลายปี 2567 สำหรับพรรครวมไทยสร้างชาติ (รทสช.) ทั้งกระแสพรรคแตก สส.ทยอยย้ายซบพรรคอื่น กระแสข่าวหัวหน้าพรรคถูกเขี่ยพ้นเก้าอี้รัฐมนตรี
ออร่าจับมาก
ในบรรดาเสนาบดีหน้าใหม่ หรือทายาททางการเมืองที่โดดเด่น นาทีนี้หลายคนยกให้ รมต.ดีดา-ซาบีดา ไทยเศรษฐ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ลูกสาวในไส้ ชาดา ไทยเศรษฐ์ สส.อุทัยธานี พรรคภูมิใจไทย
“ไม่ต้องรอมติพรรค”
“ คนท้องถิ่น...คนศรีสะเกษ... “คนบ้านเดียวกัน” ถือสโลแกนหาเสียงของ “นายกฯส้มเกลี้ยง” วิชิต ไตรสรณกุล ผู้สมัครนายก อบจ.ศรีสะเกษ ในนามกลุ่ม “คนท้องถิ่น” และยังเป็นคุณพ่อของ “เลขาฯกวาง” ไตรศุลี ไตรสรณกุล เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย