หากจีนอยากจะให้เงินสกุลหยวนมีความเป็นสากลเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ก่อนที่จะสามารถ “ทดแทน” เงินดอลลาร์ในตลาดการเงินโลกได้ คงจะต้องมีการวางแผนขยับทีละก้าว
เริ่มด้วยการให้มีกิจกรรมเศรษฐกิจในเวทีโลกที่สะท้อนถึงส่วนแบ่ง 18% ของจีดีพีของตนในตลาดโลก
ในบรรดาตัวแปรหลักที่ใช้วัดว่าเงินหยวนเป็นสกุลเงินระหว่างประเทศหรือไม่นั้น สัดส่วน 12.28 เปอร์เซ็นต์ในตะกร้าสิทธิพิเศษถอนเงิน (special drawing rights) ของ IMF
นั่นคือมาตรวัดใกล้เคียงที่สุดเมื่อเทียบกับ 2.29 เปอร์เซ็นต์สำหรับการชำระเงินระหว่างประเทศ
หรือเท่ากับ 4.72 เปอร์เซ็นต์ของการเงินเพื่อการค้าของโลก
และ 2.69 เปอร์เซ็นต์ของเงินสำรองของธนาคารกลาง
ณ จุดนี้จำนวนประเทศที่สนับสนุนให้จีนเล่นบทบาทถ่วงดุลระบบการเงินที่นำโดยสหรัฐฯ อาจจะมีเพิ่มขึ้น
เหตุที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะหลายประเทศเริ่มสั่งสมความไม่พอใจต่อปัญหาวิกฤตเพดานหนี้ที่เกิดขึ้นซ้ำๆ จนเกิดความไม่ไว้เนื้อเชื่อใจในระบบสหรัฐฯ มากขึ้น
หรือการที่อีกหลายประเทศมีความอึดอัดกับนโยบายกีดกันการค้าประเทศอื่นเพื่อปกป้องผลประโยชน์ของตัวเอง (protectionism)
นั่นอาจทำให้มีประเทศที่พร้อมจะหันเหออกจากเงินดอลลาร์มากขึ้น
แต่อย่าได้คิดว่าการผละจากสหรัฐฯ จะเกิดขึ้นในระดับใหญ่มาก...หรือเกิดขึ้นได้ทันที
จีนได้แสดงให้เห็นชัดขึ้นตลอดเวลาว่า มีความคืบหน้าในการใช้เงินสกุลหยวนซื้อขายสินค้าระหว่างกันกับประเทศกำลังพัฒนาอื่นๆ
อย่างน้อยก็ 8 ประเทศที่ได้แสดงความพร้อมที่จะยอมรับเงินหยวนสำหรับการซื้อขายน้ำมัน, ก๊าซ และโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์
ประเทศที่ว่านี้รวมถึงรัสเซีย, บราซิล, อาร์เจนตินา, ซาอุดีอาระเบีย และไทย
และจะเกิดแรงกระตุ้นมากขึ้นอีกภายใต้ข้อตกลงทางการค้าที่สำคัญและการมีส่วนร่วมของจีนใน BRICS กลุ่มที่ประกอบด้วย บราซิล, รัสเซีย, อินเดีย และแอฟริกาใต้
ขณะเดียวกันต้องไม่ลืมว่า หากจีนเพิ่มความเป็นสากลของเงินหยวน ปักกิ่งก็จะลดการเก็บเงินสำรองเป็นดอลลาร์สหรัฐฯ ในเวลาเดียวกันเช่นกัน
ต้องไม่ลืมว่าปักกิ่งยังเป็นหัวหอกในโครงการก่อสร้างในต่างประเทศ เช่น ถนน ทางรถไฟ และสนามบิน ภายใต้โครงการ Belt and Road Initiative ที่ดำเนินมาเป็นเวลา 10 ปี
เท่ากับเป็นการผลักดันให้การค้าและการลงทุนเป็นไปอย่างราบรื่น
อีกทั้งยังเร่งการไหลเวียนของเงินหยวนไปยังกว่า 60 ประเทศในเอเชีย แอฟริกา ตะวันออกและภาคกลางของยุโรป และอเมริกาใต้
ผู้เฝ้าสังเกตการณ์ความเคลื่อนไหวของจีนด้านนี้ ยืนยันว่าจีนต้องการกระจายความเสี่ยงอย่างแน่นอน
และถ้าเกาะติดกิจกรรมของจีนในทุกๆ ด้านก็จะเห็นว่า จีนกำลังเดินไปในทิศทางนี้อย่างมั่นคงและรอจังหวะ ไม่ทำอะไรผลีผลาม
นั่นหมายความว่า จีนอาจพิจารณาเพิ่มสัดส่วนของสินทรัพย์สกุลเงินยูโร หรือเยนญี่ปุ่นในการถือครองอัตราแลกเปลี่ยน ในขณะที่พันธบัตรลักษณะที่เรียกว่า “auction rate bonds” ซึ่งหมายถึงตราสารหนี้ที่มีอัตราดอกเบี้ยที่ปรับขึ้นลงได้ ก็อาจถูกนำมาใช้ทดแทนพันธบัตรกระทรวงการคลังของสหรัฐฯ ที่จีนถืออยู่เป็นจำนวนไม่น้อยในขณะนี้
นั่นหมายความว่า สำหรับจีนแล้วการจะซื้อพันธบัตรสหรัฐฯ มากน้อยเพียงใดนั้นจะปรับขึ้นลงตามการเปลี่ยนแปลงของภูมิรัฐศาสตร์และรูปแบบเศรษฐกิจและการค้าได้
หรือพูดอีกอย่างก็คือ การเมืองและความมั่นคงอาจจะกลายเป็นปัจจัยในการกำหนดทิศทางเศรษฐกิจในเวทีระหว่างประเทศของจีนอย่างปฏิเสธไม่ได้
ขึ้นอยู่กับความน่าสนใจของพันธบัตรรัฐบาลอื่นๆ ที่สามารถแทนที่หนี้สหรัฐฯ ในตลาดการเงินระหว่างประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพสำหรับจีนมากน้อยเพียงใดด้วย
จีนเป็นผู้ถือพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ มากเป็นอันดับสองรองจากญี่ปุ่น
พูดง่ายๆ คือจีนเป็นเจ้าหนี้อันดับสองของสหรัฐฯ รองจากญี่ปุ่น
ดังนั้นการจะทำหรือไม่อะไรทั้งจากมุมมองของปักกิ่งและวอชิงตันจึงต้องพิจารณาประเด็นนี้เสมอ แม้จะไม่ค่อยเป็นข่าวเท่าใดนักก็ตาม
ตัวเลขล่าสุดชี้ว่า จีนถือครองตราสารหนี้สหรัฐฯ มูลค่า 869.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในเดือนมีนาคม เพิ่มขึ้นจาก 848.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในเดือนกุมภาพันธ์
โดยพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ คิดเป็นสัดส่วนประมาณ 27% ของทุนสำรองเงินตราต่างประเทศของจีน
เดือนมีนาคมถือเป็นครั้งแรกที่จีนเพิ่มการถือครองหนี้ของสหรัฐฯ หลังจากลดหนี้ 7 เดือน ซึ่งทำให้ความเสี่ยงลดลงสู่ระดับต่ำสุดในรอบเกือบ 13 ปี
การลงทุนของจีนในตราสารหนี้สหรัฐฯ ถึงจุดสูงสุดในปี 2557 และลดลงอย่างช้าๆ นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
ไม่ต้องสงสัยว่าผู้เชี่ยวชาญหลายสำนักเชื่อว่า “ระบบสกุลเงินหลายขั้ว” จะเกิดขึ้นในอนาคต
แต่จะต้องใช้เวลาอีกนานเท่าไหร่ นั่นเป็นประเด็นที่ยังอยู่ในขั้นตอนการถกแถลงกันในหลายๆ วงการ
แต่ประเด็นที่จะถูกนำมาพิจารณาในการประเมินสถานการณ์การเงินและเศรษฐกิจนั้น หนีไม่พ้นว่าจะต้องมีเรื่องภูมิรัฐศาสตร์และการเผชิญหน้าระหว่างสองยักษ์ใหญ่ในทุกเวทีของโลก
ปัจจัยไม่แน่นอนมีมากขึ้นตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็นสงครามยูเครน ความขัดแย้งในทะเลจีนใต้ ความบาดหมางเรื่องไต้หวัน หรือแม้แต่ความตึงเครียดระหว่างเกาหลีเหนือกับสหรัฐฯ และญี่ปุ่นกับเกาหลีใต้
ดังนั้น เราจะได้ยินคำกล่าวจากนักวิเคราะห์เสมอในภาวะที่ทุกอย่างตกอยู่ในความผันผวนปรวนแปรว่า
มุมมองและแนววิเคราะห์อาจเปลี่ยนแปลงได้เสมอ
ทั้งนี้ทั้งนั้นอยู่ที่ระดับความเชื่อมั่นในสถาบันต่างๆ ของสหรัฐฯ จะปรับเปลี่ยนไปอย่งไร
หรือจะมีการประกาศมาตรการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจระหว่างค่ายการเมืองต่างๆ ในระดับโลกหรือไม่
และสหรัฐฯ จะเข้าสู่ภาวะที่นโยบายการค้าปกป้องตนเองทำให้กีดกันการค้าคนอื่นมากขึ้นหรือไม่
สรุปว่าสูตรตายตัวไม่มี...เพราะไม่มีปัจจัยไหนที่นิ่งได้นานอีกต่อไป!
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
มีแม้วไม่มีเรา! วัดใจจุดยืน 'พรรคส้ม' หลังทักษิณขีดเส้นแบ่งข้างทุกเวทีแล้ว
นายสุทธิชัย หยุ่น สื่อมวลชนอาวุโส โพสต์เฟซบุ๊กว่า "พรรคส้มกล้าไหม? มีแม้วไม่มีเรา!
ประเทศเดียวในโลก ‘นายกฯทับซ้อน’ มหันตภัยปี 2568
นายสุทธิชัย หยุ่น สื่อมวลชนอาวุโส โพสต์เฟซบุ๊กว่าสำนักวิจัยต่าง ๆ กำลังวิเคราะห์เพื่อพยากรณ์ว่าประเทศไทยจะต้องเผชิญกับความท้าทายสาหัสอะไรบ้างใน
‘หยุ่น’ ฟันเปรี้ยงรอดยาก! ชั้น 14 ดิ้นอย่างไรก็ไม่หลุด
นายสุทธิชัย หยุ่น สื่อมวลชนอาวุโส โพสต์เฟซบุ๊กว่า เรื่องชั้น 14 จะดิ้นอย่างไรก็หลุดยาก จึงเห็นการเฉไฉ, ตีหน้าตาย
บิ๊กเซอร์ไพรส์ 'สุทธิชัย หยุ่น' เล่นซีรีส์ 'The White Lotus ซีซั่น 3'
เรียกว่าสร้างความเซอร์ไพรส์อย่างต่อเนื่อง สำหรับซีรีส์ The White Lotus ซีซั่น 3 ซึ่งจะสตรีมผ่าน Max ในวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2025 เพราะนอกจากจะมี ลิซ่า-ลลิษา มโนบาล หรือ ลิซ่า BLACKPINK ไอดอลเกาหลีสัญชาติไทย ที่กระโดดลงมาชิมลางงานแสดงเป็นครั้งแรก ในบทของ มุก สาวพนักงานโรงแรม
ถามแสกหน้า 'ทักษิณ' จะพลิกเศรษฐกิจไทยยังไง ทุกซอกมุมในสังคมยังเต็มไปด้วยทุจริตโกงกิน
นายสุทธิชัย หยุ่น นักวิเคราะห์ข่าวและผู้ดำเนินรายการข่าวชื่อดัง โพสต์เฟซบุ๊ก ถึงกรณีนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ว่า “เขาจะพลิกประเทศไทยให้เศรษฐกิจล้ำโลกได้หรือ
เขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดนที่กลายเป็น ที่ซ่องสุมของอาชญากรรมข้ามชาติ
เมื่อวานเขียนถึงรายงานในสำนักข่าวชายขอบที่สำนักจะได้รับความสนใจของรัฐบาลไทยว่าด้วยกิจกรรมอาชญากรรมข้ามชาติในบริเวณ “เขตเศรษฐกิจพิเศษ” ที่สามเหลี่ยมทองคำ