แนะปัจจัยที่ธุรกิจครอบครัวต้องทบทวน

หากจะพูดถึงเรื่องความสามารถด้านต่างๆ ที่เกี่ยวกับดิจิทัล นับว่ามีส่วนสำคัญอย่างมากต่อธุรกิจ แต่ในขณะเดียวกันข้อมูลจาก PwC เปิดผลสำรวจฉบับล่าสุด พบมีเพียง 1 ใน 4 หรือ 25% ของธุรกิจครอบครัวไทยที่มีความสามารถด้านดิจิทัลที่แข็งแกร่ง เรียกได้ว่าต่ำกว่าทั่วโลกที่ 42% ขณะที่มากกว่า 70% มีแต่สมาชิกในครอบครัวเท่านั้นที่นั่งเป็นบอร์ดบริษัท มากกว่าเกือบสองเท่าของทั่วโลก สะท้อนให้เห็นถึงความจำเป็นที่ธุรกิจครอบครัวจะต้องทบทวนการดำเนินการในด้านต่างๆ เพื่อสร้างความไว้วางใจกับกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ซึ่งจะเป็นกุญแจสำคัญในการสืบทอดมรดกและขับเคลื่อนการเติบโตอย่างยั่งยืน

สำหรับ รายงานผลสำรวจธุรกิจครอบครัวทั่วโลก ครั้งที่ 11 ฉบับประเทศไทย ซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของรายงานผลสำรวจธุรกิจครอบครัวทั่วโลกของ PwC ได้รวบรวมความคิดเห็นของผู้บริหารกว่า 2,000 รายเกี่ยวกับประเด็นต่างๆ

ที่มีความสำคัญต่อการดำเนินธุรกิจ โดยในจำนวนนี้มีผู้ตอบแบบสำรวจจากประเทศไทยจำนวน 44 ราย พบว่า ธุรกิจครอบครัวไทยมีผลประกอบการที่ดีในช่วงปีที่ผ่านมาถึงแม้ว่าจะต้องเผชิญกับความท้าทายต่างๆ โดย 59% ของผู้ตอบแบบสำรวจมียอดขายเติบโต ขณะที่เพียง 14% มียอดขายลดลง เปรียบเทียบกับผลการสำรวจในปี 2564 ที่ 39% มียอดขายเติบโต และ 31% มียอดขายลดลง

นอกจากนี้ 68% ของผู้ตอบแบบสำรวจยังคาดหวังว่ายอดขายจะเติบโตอย่างต่อเนื่องในอีกสองปีข้างหน้า ต่ำกว่าทั่วโลกเพียงเล็กน้อยที่ 77% โดยภารกิจที่ธุรกิจครอบครัวไทยให้ความสำคัญมากที่สุดสามอันดับแรก ได้แก่ การขยายสู่ตลาดหรือกลุ่มลูกค้าใหม่ 64% การเพิ่มความจงรักภักดีของลูกค้า 48% และการแนะนำสินค้าและบริการใหม่ๆ 48%

ธุรกิจครอบครัวไทยส่วนใหญ่ยังไม่ได้ดำเนินการที่จำเป็นในการสร้างความไว้วางใจกับกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่สำคัญสามกลุ่ม ได้แก่ ลูกค้า พนักงาน และสมาชิกในครอบครัว ซึ่งรวมถึงการผนวกแนวคิดด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาลเข้ากับกลยุทธ์ทางธุรกิจ ความมุ่งมั่นที่ชัดเจนในเรื่องความหลากหลาย ความเท่าเทียม และการมีส่วนร่วมและการเปลี่ยนแปลงองค์กรสู่ดิจิทัล เป็นต้น

นายไพบูล ตันกูล หัวหน้ากลุ่มลูกค้าธุรกิจครอบครัวและหุ้นส่วนสายงานตรวจสอบบัญชี บริษัท PwC ประเทศไทย กล่าวว่า ธุรกิจครอบครัวมีความเสี่ยงอย่างมากที่จะสูญเสียความไว้วางใจหากยังดำเนินธุรกิจในรูปแบบเดิมๆ เพราะพฤติกรรมและความคาดหวังของผู้มีส่วนได้เสียในเรื่องต่างๆ ได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นการให้ความสำคัญกับ ESG การสนับสนุนความแตกต่างหลากหลายและความเท่าเทียม รวมไปจนถึงคุณค่าและเป้าหมายขององค์กรที่ต้องสอดคล้องกับคุณค่าส่วนบุคคลและสังคมส่วนรวมด้วย

รายงานระบุว่า 72% ของธุรกิจครอบครัวไทยไม่มีการสื่อสารเป้าประสงค์ขององค์กรต่อสาธารณะ นับว่าสูงกว่าทั่วโลกที่ 59% ขณะที่ 95% ไม่มีการสื่อสารกลยุทธ์ ESG ที่ชัดเจน ซึ่งสูงกว่าทั่วโลกที่ 85% และ 82% ไม่มีคำแถลงถึงความมุ่งมั่นในการส่งเสริมแนวคิดด้าน DEI สูงกว่าทั่วโลกที่ 79%

ผลจากการสำรวจยังแสดงให้เห็นว่า ธุรกิจครอบครัวไทยให้ความสำคัญกับการเปลี่ยนแปลงองค์กรสู่ดิจิทัลในระดับต่ำ โดยมีผู้ตอบแบบสำรวจเพียง 25% เท่านั้นที่กล่าวว่าตนมีความสามารถด้านดิจิทัลที่แข็งแกร่ง ต่ำกว่าทั่วโลกที่ 42% และมีเพียง 27% ที่มองการปรับปรุงความสามารถด้านดิจิทัลเป็นภารกิจอันดับต้นๆ ขององค์กร ต่ำกว่าทั่วโลกเช่นกันที่ 44%

เมื่อพิจารณาถึงการจัดการกับความขัดแย้งภายในครอบครัว พบว่า ธุรกิจครอบครัวไทยเกือบครึ่ง หรือ 49% เลือกที่จะจัดการกับความขัดแย้งกันเอง โดยมีเพียง 18% เท่านั้นที่ประยุกต์ใช้กลไกการแก้ปัญหาความขัดแย้งเพื่อแก้ไขข้อพิพาท เช่น ธรรมนูญครอบครัว ข้อตกลงผู้ถือหุ้น หรือแม้กระทั่งพินัยกรรม

ยิ่งไปกว่านั้น ธุรกิจครอบครัวไทยยังขาดความไว้วางใจในสมาชิกครอบครัวบางกลุ่ม โดยผู้นำรุ่นใหม่ (NextGens) ได้รับความไว้วางใจต่ำกว่าสมาชิกกลุ่มอื่นๆ ที่ 20% เปรียบเทียบกับทั่วโลกที่ 43% นอกจากนี้ ความหลากหลายของคณะกรรมการบริษัทก็อยู่ในระดับต่ำ โดยผู้ตอบแบบสำรวจมากถึง 71% กล่าวว่า มีสมาชิกในครอบครัวเท่านั้นที่เข้าร่วมในคณะกรรมการบริษัท คิดเป็นสองเท่าของธุรกิจครอบครัวทั่วโลกที่ 36% ส่วนการให้อำนาจการตัดสินใจกับพนักงาน ผลสำรวจพบว่า ธุรกิจครอบครัวไทยไม่ถึงครึ่ง หรือ 47% มีกระบวนการภายในเพื่อให้พนักงานได้อุทธรณ์ หรือตั้งคำถามเกี่ยวกับการตัดสินใจของฝ่ายบริหารได้ ต่ำกว่าทั่วโลกที่ 57%

อย่างไรก็ดี การเปิดกว้างและยอมรับความแตกต่างหลากหลาย จะเป็นอีกวิธีหนึ่งในการสร้างความไว้วางใจและนำความยั่งยืนมาสู่กิจการ เพราะจะช่วยให้ธุรกิจครอบครัวเห็นมุมมองที่แตกต่าง และสามารถดึงดูดและรักษาคนเก่งไว้กับองค์กรได้.

 

รุ่งนภา สารพิน

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ความสำเร็จของแบรนด์กับการใช้Meta

ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นตลาดที่เติบโตอย่างรวดเร็ว โดยมีประชากร 700 ล้านคน และมี GDP รวมประมาณ 4 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ทำให้เป็นตลาดที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 5 ของโลก

หวยเกษียณแก้ปัญหาแก่ก่อนรวย

เมื่อวันอังคารที่ผ่านมา คณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบโครงการสลากสะสมทรัพย์เพื่อเงินออมยามเกษียณ หรือหวยเกษียณ ของกองทุนการออมแห่งชาติ ซึ่งนี่ถือเป็นโครงการที่รัฐบาลพยายามส่งเสริมการออมของประชาชนในประเทศ

เจ็บแล้วจบ

หลังการบริหารงานของรัฐบาลเศรษฐาได้เข้ามาเดินหน้ามาตรการประชานิยมลด แลก แจก แถม จัดเต็ม ตามที่สัญญากันไว้ช่วงหาเสียงเลือกตั้ง โดยเฉพาะนโยบายด้านพลังงาน ลดค่าไฟฟ้า

3แผนกรีนดันอุตฯไทยรักษ์โลก

เทรนด์รักษ์โลกยังมีมาอย่างต่อเนื่อง และตลอดปี 2567 ที่ผ่านมานี้หลายหน่วยงาน หลายบริษัทก็ยังไม่ทิ้งอุดมการณ์อันแรงกล้านี้ และยังแห่ประกาศแผนดำเนินงานเพื่อดูแลสิ่งแวดล้อมกันอย่างคึกคัก

เร่ง“ปรับ”ก่อน(ถูก)“เปลี่ยน”

ยอดขายรถยนต์ในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2567 ที่ผ่านมา หลายคนคงตกใจ เพราะหดตัวลงถึง 23.8% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และมีแนวโน้มว่าทั้งปีจะหดตัวลงอย่างรุนแรงที่สุดในรอบ 15 ปี

เปิดไม้เด็ดธุรกิจขนาดเล็กสู้ในตลาด

หากย้อนเวลาไปเมื่อหลายปีก่อน ธุรกิจที่มีทุนหนาและมีส่วนแบ่งการตลาดมาก มักจะถูกมองว่าเป็น “ปลาใหญ่” ที่ได้เปรียบเหนือคู่แข่งที่ทุนน้อยกว่าซึ่งเปรียบเหมือน “ปลาเล็ก” จนเป็นที่มาของคำว่า “ปลาใหญ่กินปลาเล็ก” หนึ่งในข้อได้เปรียบที่เห็นชัดที่สุดคือ การมี Economy of Scale หรือ การประหยัดต่อขนาด ซึ่งหมายถึง การผลิตสินค้าหรือบริการในจำนวนที่มากพอที่จะทำให้ต้นทุนการผลิตต่อหน่วยต่ำลง พูดง่ายๆ ก็คือ “ยิ่งผลิตมากขึ้น ต้นทุนการผลิตยิ่งลดลง และยิ่งคุ้มค่ามากขึ้น” โดยต้นทุนในการผลิตสินค้าหรือบริการจะแบ่งออกเป็น ต้นทุนคงที่ (fixed cost) และต้นทุนผันแปร (variable cost) ต้นทุนคงที่ คือ ต้นทุนที่ธุรกิจต้องจ่ายเป็นจำนวนคงที่ ไม่ว่าจะผลิตสินค้าหรือบริการในปริมาณเท่าใดก็ตาม เช่น ค่าเช่าพื้นที่ ค่าเครื่องจักรอุปกรณ์ ค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการ ส่วนต้นทุนผันแปร