โรงงานสีเขียว

กระทรวงอุตสาหกรรมมีนโยบายส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการให้มีความเข้มแข็ง สามารถแข่งขันได้ รวมทั้งส่งเสริมให้การประกอบกิจการต้องเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมตามแนวทางอุตสาหกรรมสีเขียวเพื่อเปลี่ยนผ่านอุตสาหกรรมไทยสู่อุตสาหกรรม 4.0 สอดรับกับโมเดลเศรษฐกิจใหม่ของรัฐบาล หรือ BCG Model ที่เป็นรูปแบบการพัฒนาเศรษฐกิจแบบองค์รวม 3 มิติไปพร้อมกัน ประกอบด้วย เศรษฐกิจชีวภาพ (Bio Economy) เศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) และเศรษฐกิจสีเขียว (Green Economy) ซึ่งเป็นการพัฒนาเศรษฐกิจที่ไม่ได้มุ่งเน้นเพียงการพัฒนาเศรษฐกิจเท่านั้น แต่ต้องพัฒนาควบคู่ไปกับการพัฒนาสังคมและการรักษาสิ่งแวดล้อมได้อย่างสมดุลเกิดความมั่นคงและยั่งยืนไปพร้อมกัน

ซึ่ง รมว.อุตสาหกรรม สุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ ระบุว่า กระทรวงอุตสาหกรรมมุ่งมั่นผลักดันโรงงานสู่การเป็นอุตสาหกรรมสีเขียว ตั้งเป้าทุกแห่งภายในปี 2568 โดยในปี 2565 มีเป้าหมายที่ 60%, ปี 2566 เป้าหมาย 80%, ปี 2567 เป้าหมาย 90% และเป็น 100% ในปี 2568 ซึ่งเป็นไปตามแผนปฏิบัติการด้านการส่งเสริมและพัฒนาสถานประกอบการสู่อุตสาหกรรมสีเขียว 2564-2580 เน้นเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการ ส่งเสริมและกำกับดูแลคุณภาพสิ่งแวดล้อมของสถานประกอบการ

ล่าสุด วีริศ อัมระปาล ผู้ว่าการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) จับมือกับสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) พัฒนามาตรฐานโรงงานอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ ส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรมเชิงนิเวศสนองตอบการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยมุ่งส่งเสริมให้โรงงานอุตสาหกรรมมีการปล่อยของเสียเป็นศูนย์หรือมีของเสียเกิดน้อยที่สุด ใช้วัตถุดิบและพลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ มีระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมที่ดีและได้มาตรฐาน รวมถึงดำเนินกิจกรรมที่น่าเชื่อถือ เกื้อกูลกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหรือสังคมโดยรอบ

โดย กนอ.สนับสนุนที่ปรึกษาเข้าให้คำแนะนำกับโรงงานอุตสาหกรรมที่ตั้งอยู่ในนิคมอุตสาหกรรมในการดำเนินงานตามมาตรฐานโรงงานอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ และยังส่งเสริมการบริหารจัดการทรัพยากร เพื่อให้เกิดเศรษฐกิจหมุนเวียน ลดการเกิดของเสีย และหมุนเวียนทรัพยากรเหลือใช้มาใช้เป็นวัตถุดิบ เพื่อสร้างผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ นอกจากนี้ส่งเสริมการสร้างเครือข่ายโรงงานอุตสาหกรรมลดก๊าซเรือนกระจก

โดยมีเป้าหมายในปี 2565 กนอ.จะทบทวนเกณฑ์การประเมินประสิทธิภาพเชิงนิเวศเศรษฐกิจ โดยปริมาณก๊าซเรือนกระจกจะพิจารณาอ้างอิงตามแนวทางการประเมินคาร์บอนฟุตปริ้นต์ขององค์กร ซึ่งจะนำมาปรับใช้กับนิคมอุตสาหกรรมร่วมดำเนินงานด้วย และจะดำเนินนโยบายผลักดันสถานประกอบการสู่อุตสาหกรรมสีเขียวให้เป็นไปตามเป้าที่กระทรวงอุตสาหกรรมกำหนดไว้

พร้อมทั้งเตรียมผลักดันนิคมอุตสาหกรรมหนองแค จ.สระบุรี ให้เป็นนิคมอุตสาหกรรมต้นแบบ เนื่องจากมีความพร้อมและปรับตัวตามกระแสการเปลี่ยนแปลงด้านสิ่งแวดล้อมหลายด้าน ทั้งในด้านการดำเนินตามแนวคิดเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ และนิคมอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ 4.0 โดยได้รับการรับรองเป็นเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ  ในระดับเวิลด์คลาส อีกทั้งเป็นนิคมอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ 4.0 ด้านน้ำและพลังงานที่มีโซลาร์ฟาร์มลอยน้ำในการผลิตและส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทน  นอกจากนี้ยังมีความร่วมมือกับพันธมิตรที่เป็นเอกชนรายใหญ่พัฒนาโครงการต่างๆ และยังปรับตัวให้สอดคล้องกับชุมชนโดยรอบ

และล่าสุด กรมโรงงานอุตสาหกรรม ก็เดินหน้าขับเคลื่อนภาคอุตสาหกรรมให้เป็นไปตามแผนปฏิบัติการด้านการส่งเสริมและพัฒนาสถานประกอบการสู่อุตสาหกรรมสีเขียว โดยจับมือกับ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดยโปรแกรม ITAP สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) การยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคอุตสาหกรรมด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อส่งเสริมการผลิตในภาคอุตสาหกรรมส่งออกสินค้าไปยังตลาดโลก

การดำเนินการของกรมโรงงานอุตสาหกรรม ถือว่าเป็นเรื่องดีที่ช่วยเพิ่มศักยภาพการแข่งขันให้กับผู้ประกอบการ แต่ก็อย่าเมินเฉยกับปัญหากากอุตสาหกรรมที่อยู่ใต้พรมที่นับวันกองยิ่งใหญ่ขึ้นทุกๆ วัน.      

บุญช่วย ค้ายาดี

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ความสำเร็จของแบรนด์กับการใช้Meta

ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นตลาดที่เติบโตอย่างรวดเร็ว โดยมีประชากร 700 ล้านคน และมี GDP รวมประมาณ 4 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ทำให้เป็นตลาดที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 5 ของโลก

หวยเกษียณแก้ปัญหาแก่ก่อนรวย

เมื่อวันอังคารที่ผ่านมา คณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบโครงการสลากสะสมทรัพย์เพื่อเงินออมยามเกษียณ หรือหวยเกษียณ ของกองทุนการออมแห่งชาติ ซึ่งนี่ถือเป็นโครงการที่รัฐบาลพยายามส่งเสริมการออมของประชาชนในประเทศ

เจ็บแล้วจบ

หลังการบริหารงานของรัฐบาลเศรษฐาได้เข้ามาเดินหน้ามาตรการประชานิยมลด แลก แจก แถม จัดเต็ม ตามที่สัญญากันไว้ช่วงหาเสียงเลือกตั้ง โดยเฉพาะนโยบายด้านพลังงาน ลดค่าไฟฟ้า

3แผนกรีนดันอุตฯไทยรักษ์โลก

เทรนด์รักษ์โลกยังมีมาอย่างต่อเนื่อง และตลอดปี 2567 ที่ผ่านมานี้หลายหน่วยงาน หลายบริษัทก็ยังไม่ทิ้งอุดมการณ์อันแรงกล้านี้ และยังแห่ประกาศแผนดำเนินงานเพื่อดูแลสิ่งแวดล้อมกันอย่างคึกคัก

เร่ง“ปรับ”ก่อน(ถูก)“เปลี่ยน”

ยอดขายรถยนต์ในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2567 ที่ผ่านมา หลายคนคงตกใจ เพราะหดตัวลงถึง 23.8% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และมีแนวโน้มว่าทั้งปีจะหดตัวลงอย่างรุนแรงที่สุดในรอบ 15 ปี

เปิดไม้เด็ดธุรกิจขนาดเล็กสู้ในตลาด

หากย้อนเวลาไปเมื่อหลายปีก่อน ธุรกิจที่มีทุนหนาและมีส่วนแบ่งการตลาดมาก มักจะถูกมองว่าเป็น “ปลาใหญ่” ที่ได้เปรียบเหนือคู่แข่งที่ทุนน้อยกว่าซึ่งเปรียบเหมือน “ปลาเล็ก” จนเป็นที่มาของคำว่า “ปลาใหญ่กินปลาเล็ก” หนึ่งในข้อได้เปรียบที่เห็นชัดที่สุดคือ การมี Economy of Scale หรือ การประหยัดต่อขนาด ซึ่งหมายถึง การผลิตสินค้าหรือบริการในจำนวนที่มากพอที่จะทำให้ต้นทุนการผลิตต่อหน่วยต่ำลง พูดง่ายๆ ก็คือ “ยิ่งผลิตมากขึ้น ต้นทุนการผลิตยิ่งลดลง และยิ่งคุ้มค่ามากขึ้น” โดยต้นทุนในการผลิตสินค้าหรือบริการจะแบ่งออกเป็น ต้นทุนคงที่ (fixed cost) และต้นทุนผันแปร (variable cost) ต้นทุนคงที่ คือ ต้นทุนที่ธุรกิจต้องจ่ายเป็นจำนวนคงที่ ไม่ว่าจะผลิตสินค้าหรือบริการในปริมาณเท่าใดก็ตาม เช่น ค่าเช่าพื้นที่ ค่าเครื่องจักรอุปกรณ์ ค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการ ส่วนต้นทุนผันแปร