บันทึกหน้า 4

 ไทยโพสต์ ขับเคลื่อน "อิสรภาพแห่งความคิด" การโหมโรงจัดตั้งรัฐบาลล่วงหน้าโดย 8 พรรค จำนวน 312 เสียง ลงเอ็มโอยูผลักดันให้   "นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์" เป็นนายกฯ จะราบรื่นหรือถูกเทหรือไม่ ยังเป็นสิ่งที่คอการเมืองติดตามและเอาใจช่วย แม้จะมีคำยืนยันจากหัวหน้าพรรคเพื่อไทยก็ตาม แต่ยังไม่ค่อยเชื่อ เนื่องจากเงื่อนไขอุปสรรคของนายพิธามีมาก โดยเฉพาะปมหุ้นสื่อ ไอทีวี ที่นอกจากคุณสมบัติส่วนตัว คือ ส.ส. และ แคนดิเดตนายกฯ แล้ว ยังมองข้ามช็อตไปถึงขาดคุณสมบัติการเป็นหัวหน้าและสมาชิกพรรคก้าวไกล และอาจลามกระทบไปถึงการรับรอง ส.ส.เขตและบัญชีรายชื่อของพรรคส้มในการเลือกตั้งด้วย ส่งผลเลือกตั้งใหม่เฉพาะเขตของพรรคก้าวไกล หรือโมฆะทั้งหมด

๐ ในส่วนของปมเรื่องสถานะหัวหน้าพรรคการเมืองนั้น มีการถกเถียงในมุมกฎหมายหลายแง่ อย่างเช่นอดีตเลขาฯ กกต. อย่าง พ.ต.อ.จรุงวิทย์ ภุมมา ส.ว. ให้ความเห็นแย้งว่า พ.ร.ป.พรรคการเมืองไม่ได้ห้ามหัวหน้าพรรคให้เป็นเจ้าของหรือผู้ถือหุ้นสื่อ ตามมาตรา 16, 24, 9 ดังนั้น จึงตีความได้ว่า การลงนามในฐานะหัวหน้าพรรคก้าวไกล ไม่กระทบว่าที่ ส.ส.คนอื่นๆ ในพรรคก้าวไกลใช่หรือไม่ 

แต่ก็ถูกแย้งโดย อ.คมสัน โพธิ์คง อดีตส.ส.ร. 50 ตั้งข้อสังเกตว่า กฎหมายดังกล่าวใช้บังคับกับพรรคการเมืองอื่นๆ ทั่วไป แต่ไม่ใช่กับพรรคก้าวไกล เพราะไปกำหนดข้อบังคับพรรคของตัวเองในเรื่องคุณสมบัติของสมาชิกพรรคในข้อ 12 (6) ให้มีความเข้มข้นกว่ามาตรฐานกลาง โดยระบุว่า "เป็นบุคคลต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญ" หรือยึดรัฐธรรมนูญทั้งมาตรา 98 มาใส่ทั้งหมด ฉะนั้นความเห็นของ "พ.ต.อ.จรุงวิทย์" จึงไม่อาจนำมาเป็นตัวอย่างเทียบเคียงได้

รวมทั้งหากดูเจตนารมณ์ของ พ.ร.ป.พรรคการเมืองในมาตรา 28 และ 29 ประกอบ ก็อนุญาตเฉพาะให้สมาชิกพรรคบริหารจัดการพรรคเท่านั้น ไม่อนุญาตให้คนนอกหรือผู้ไม่ได้เป็นสมาชิกพรรคเข้าไปสั่งการครอบงำพรรคแต่อย่างใด และข้อบังคับพรรคก้าวไกลที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เรื่องการเปลี่ยนแปลงข้อบังคับพรรค และคณะกรรมการบริหารพรรคก้าวไกล ลงวันที่ 20 ส.ค.2563 ก็พบว่า พ.ต.อ.จรุงวิทย์ อดีตเลขาฯ กกต. ในฐานะนายทะเบียนพรรคการเมือง เป็นผู้ลงนามรับรองประกาศ เมื่อวันที่ 23 มิ.ย.2563 นั่นเอง 

สรุปงานนี้คงเป็นหน้าที่ของ กกต.ต้องพิจารณาคำร้องของนายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ ทั้งนี้ หากพบก่อนประกาศรับรอง ส.ส. ก็เป็นอำนาจของ กกต.สั่งให้ระงับ และสั่งเลือกตั้งใหม่ได้ ตาม พ.ร.ป.พรรคการเมืองมาตรา 132 แต่หากรับรองผล ส.ส.ไปก่อนแล้ว กกต.ก็ส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 82 ต่อไป ว่าจะผิดส่วนตัวหรือโยงทั้งพรรคใช่หรือไม่

๐ อีกมุมที่น่าเป็นห่วงบรรดาด้อมส้มในกลเกมการเมืองครั้งนี้ โดยนายจตุพร พรหมพันธุ์ วิทยากรคณะหลอมรวมประชาชน เฟซบุ๊กไลฟ์ประเทศไทยต้องมาก่อน ตอน “เร่งเกม?” โดยประเมินสถานการณ์ตั้งรัฐบาลที่ตีบตัน ไร้ทางออก แต่มีหนทางเดียวคือ พรรคเพื่อไทยนำ 141 เสียง ย้ายขั้วไปตั้งรัฐบาลกับฝ่าย 188 เสียง เพื่อแลกให้เจ้าของพรรคได้กลับบ้าน แต่พรรคเพื่อไทยต้องสูญเสียครั้งใหญ่ กลายเป็นพรรคตระบัดสัตย์ ทรยศประชาชน ส่อแนวโน้มถูกต่อต้านอย่างรุนแรง 

สอดรับกับความไม่ชัดเจนของนายภูมิธรรม เวชยชัย รองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย ให้สัมภาษณ์รายการ "ชั่วโมงข่าวเสาร์-อาทิตย์" ทางไทยพีบีเอส วันที่ 4 ม.ย. เมื่อถูกถามว่าหากสุดท้ายการจับมือกับพรรคก้าวไกลถึงทางตันเพราะ ส.ว.ไม่เอาด้วย โดยตอบว่า "การสลับขั้วถือเป็นแนวทางหนึ่งในการแก้ปัญหา แม้จะเป็นแนวทางที่ลำบาก เพราะประชาชนอยากเห็นการเปลี่ยนแปลง ดังนั้น ต้องหาทางออก และต้องคิดอย่างรอบคอบเมื่อสถานการณ์เดินไปถึงทางตัน ทั้ง 8 พรรค คงต้องหารือกัน จะไปต่อยังไง ถ้าจะปล่อยมือหมายความว่าไม่มีหนทางแล้ว ทุกฝ่ายเห็นว่าจะเลือกทางเดินที่ต่างกันคงเกิดขึ้นก็อาจเป็นได้ แต่เรายังไม่อยากให้ถึงจุดนั้น"

ตัดภาพมาชมนายหิมาลัย ผิวพรรณ ผู้ประสานงานพรรครวมไทยสร้างชาติ เผยแพร่คลิปวิดีโอผ่าน facebook ส่วนตัว โดยช่วงหนึ่งกล่าวถึงพรรคการเมืองเสียงข้างน้อยในระบอบประชาธิปไตยตั้งรัฐบาลได้หรือไม่ ซึ่ง "เสธ.หิ" กล่าวว่า "ในระบอบประชาธิปไตย พรรคที่ได้คะแนนเสียงน้อย แต่สามารถรวมเสียงได้มาก ก็มีสิทธิจัดตั้งรัฐบาลได้ ในต่างประเทศก็มี ของไทยในอดีตก็มี สมัยหม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช ได้ ส.ส. 18 เสียง ก็ยังเคยเป็นนายกรัฐมนตรีมาแล้ว ไม่ใช่เรื่องผิดอะไร" อ่านมาถึงตรงนี้ ทำไม คนใน รทสช.และบรรดาลุงๆ ถึงยังไม่ยอมแพ้.

 

ช่างสงสัย

 

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

บันทึกหน้า 4

เมื่อช่วงค่ำวันจันทร์ นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี กล่าวในงาน Dinner Talk Chat with Tony : Bull Rally of Thai Capital Market เหมือนกับการแถลงนโยบายรัฐบาลอีกครั้งของพ่อนายกฯ และยิ่งบดบังบทบาทของ บุตรสาว อุ๊งอิ๊ง-น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกฯ

บันทึกหน้า 4

ปมร้อนเรื่องกฎหมายกาสิโน สุดท้าย ครม.ก็มีมติเห็นชอบ หลังคณะกรรมการกฤษฎีกาตั้งข้อ สังเกต 6 ประเด็น

บันทึกหน้า 4

วันนี้ขอบันทึกเริ่มต้นด้วยสุภาษิตไทย "รำไม่ดีโทษปี่โทษกลอง" เพราะนายกฯ แพทองธาร ชินวัตร โอดครวญกับเด็กๆ ว่า "ถูกบูลลี่" เรื่องการแต่งตัว และวันต่อมาก็พูดในระหว่างหาเสียง อบจ.ที่นครพนมว่า.. ไม่อยากพูดอะไรมาก เพราะมีนักร้องคอยจับผิด

บันทึกหน้า 4

"นายหัวชวน" ออกโรงตวัดใบมีดโกนกรีดปาก "นายใหญ่" เจ้าของตำแหน่ง สทร. "คุณทักษิณบอกว่าเขาคือนักการเมืองรุ่นใหม่ แต่ผมเป็นนักการเมืองรุ่นเก่าที่ไม่โกง ไม่ซื้อเสียง

“ไม่ต้องรอมติพรรค”

“ คนท้องถิ่น...คนศรีสะเกษ... “คนบ้านเดียวกัน” ถือสโลแกนหาเสียงของ “นายกฯส้มเกลี้ยง” วิชิต ไตรสรณกุล ผู้สมัครนายก อบจ.ศรีสะเกษ ในนามกลุ่ม “คนท้องถิ่น” และยังเป็นคุณพ่อของ “เลขาฯกวาง” ไตรศุลี ไตรสรณกุล เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย

บันทึกหน้า 4

ต้องยกนิ้วให้ “โทนี่ วู้ดซัม” เสียจริงๆ เพราะขยับปากแต่ละทีนอกจากสร้างความฮือฮาให้สังคมแล้ว ยัง สร้างภาระให้กับลูกสาวอย่าง “แพทองธาร ชินวัตร” นายกรัฐมนตรีอีกด้วย โดยล่าสุดก็ในการไปหาเสียงให้ “สลักจฤฎดิ์ ติยะไพรัช” ศรีภรรยา “ยงยุทธ ติยะไพรัช” ที่จะลงชิงเก้าอี้นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด หรือ อบจ.เชียงราย เมื่อวันที่ 5 ม.ค.นั่นแล ...๐