หรือ F-16 มะกันจะนัดเจอ Su-35 ของรัสเซียเหนือน่านฟ้ายูเครน?

ฉากทัศน์ที่น่ากลัวในสงครามยูเครนคือการเผชิญหน้าระหว่างเครื่องบินรบ F-16 ของสหรัฐฯ กับ Su-35 ของรัสเซีย

แต่เมื่อมีเสียงฮึ่มๆ มาจากทั้งสองฝ่ายก็ย่อมสร้างความน่ากังวลสำหรับทั้งโลก

สหรัฐฯ บอกว่าได้เปิดไฟเขียวให้พันธมิตรส่งเครื่องบินรบ F-16 ไปให้ยูเครน

ทันใดนั้นรัสเซียก็โต้ทันทีว่า “อย่าเล่นกับไฟ”

เพราะหากทั้งสองฝ่ายเปิด “ศึกเวหา” เสริมจากที่ปะทะกันทางบก และอาจจะเพิ่มทางทะเลในเร็ววัน ก็จะทำให้สถานการณ์สู้รบขยายวงไปถึงจุดที่ยากแก่การควบคุม

ผู้เชี่ยวชาญด้านสงครามกลางอากาศบอกว่า หากเปรียบมวยระหว่างเครื่องบินรบของสองมหาอำนาจแล้วก็มีความสูสีคู่คี่กันอย่างยิ่ง

หากเป็นเช่นนั้น ในภาษาสงครามย่อมแปลว่าการทำลายล้างต่อกันและกันจะหนักหน่วงและรุนแรงเป็นแน่แท้

Lockheed Martin F-16 Fighting Falcon เป็นเครื่องบินรบแถวหน้าของกองทัพอากาศสหรัฐฯ และพันธมิตรมานานหลายทศวรรษ

ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา เครื่องบินรุ่นนี้ได้พัฒนาจากเครื่องบินขับไล่ที่มีพิสัยการมองเห็นที่มีน้ำหนักเบา มาเป็นเครื่องบินรบหลายบทบาทที่มีศักยภาพซึ่งบินได้หลากหลายภารกิจ

ตั้งแต่การป้องปรามข้าศึกทางอากาศไปจนการสร้างความเหนือชั้นในสงครามกลางหาว

แม้ว่าจะมีการใช้งานมาตั้งแต่ปี 1980 แต่ "Viper" ยังคงพัฒนาต่อไป และจะยังคงประจำการในกองทัพอากาศสหรัฐฯ และกองทัพอื่นๆ ต่อไปอีกหลายทศวรรษ

ขณะที่ F-16 ยังคงเป็นเครื่องบินรบที่มีศักยภาพสูง

แต่เครื่องบินรัสเซียรุ่นล่าสุดอย่าง Sukhoi Su-35 ก็มีคุณสมบัติเทียบทันหรือเหนือกว่า Viper ในบางด้านเช่นกัน

Su-35 มีความคล้ายคลึงกับ Boeing F-15 Eagle มากกว่า

แต่รัสเซียก็ขายรุ่นนี้ไปทั่วโลกมากกว่า MiG-29 Fulcrum

Su-35 ถือเป็นรุ่นที่มีความสามารถมากที่สุดที่สร้างขึ้นจนถึงปัจจุบัน

นักบินที่เคยทำการรบบอกว่า Su-35 เป็นภัยคุกคามที่น่าเกรงขามอย่างยิ่งต่อเครื่องบินรบตะวันตกทุกลำที่ยกเว้น F-22 Raptor F-35

ที่สำคัญคือนักบินต้องใช้การล่องหน เซ็นเซอร์ และระบบเครือข่ายให้เป็นประโยชน์เพื่อสร้างความได้เปรียบกลางอากาศ

ความแตกต่างอาจจะอยู่ที่การวางกลยุทธ์และความเข้มข้นของการฝึกอบรม

F-16 ไม่มีเรดาร์ขนาดใหญ่ที่สแกนด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ (AESA) ที่ได้รับการอัปเกรดล่าสุดของ F-15C

กองทัพอากาศสหรัฐฯ ตระหนักประเด็นนี้ จึงปรับปรุงฝูงบิน F-16 ใหม่อย่างเร่งด่วนด้วยเรดาร์รุ่นใหม่

ประมาณต้นปีนี้ สำนักข่าวสปุตนิกและยูเรเซียนไทม์ส รายงานว่า กลาโหมรัสเซียได้เผยแพร่วิดีโอการต่อสู้ของการใช้ Su-35 Jet โดยบอกว่าเป็นเครื่องบินขับไล่ที่มีความก้าวหน้ามากที่สุดเป็นอันดับสองของรัสเซีย รองจาก Su-57 ซึ่งเป็นรุ่นเจเนอเรชันที่ 5

ถ้อยแถลงของกระทรวงกลาโหมคุยถึงคุณสมบัติพิเศษของเครื่องบินรบรุ่นนี้ว่า

 “ลูกเรือของเครื่องบินรบอเนกประสงค์ Su-35S ทำการลาดตระเวนทางอากาศ รวมทั้งสนับสนุนเครื่องบินจู่โจมและเฮลิคอปเตอร์การบินกองทัพบก ในขณะที่ทำการโจมตีสิ่งอำนวยความสะดวกทางทหารและยุทโธปกรณ์ของกองทัพยูเครน ลูกเรือของ Su-35S ระบุเป้าหมายทางอากาศภายในเที่ยวบินใดเที่ยวบินหนึ่ง ระบุว่าเป็นเครื่องบินข้าศึก และทำลายมันด้วยขีปนาวุธ”

Sukhoi SU-35S สามารถบรรทุกเชื้อเพลิงได้ 11.5 ตัน

จุดเด่นคือเป็นเครื่องบินรบหลายบทบาทติดตั้งระบบการบินขั้นสูง

และมีความสามารถในการค้นหาและติดตามด้วยอินฟราเรด

มันสามารถบรรทุกระเบิดหรือฝักด้วยจรวด ติดตั้งปืนใหญ่ GSh-301 ขนาด 30 มม. พร้อมกระสุน 150 นัด

Su-35 มีเครื่องส่งสัญญาณรบกวนขั้นสูง สามารถลดประสิทธิภาพของเรดาร์ศัตรูได้

ราคาของเครื่องบินขับไล่ Su-35 อยู่ที่ประมาณ 43 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือเกือบ 1,500 ล้านบาท

แต่รัสเซียไม่ได้พึ่งพาเฉพาะเครื่องบนรบราคาแพงที่เต็มไปด้วยเทคโนโลยีล่าสุด

สงครามเข้าสู่ปีที่สอง ยุทธวิธีในสมรภูมิยูเครนกำหนดว่าการใช้โดรนจะเป็นยุทธวิธีที่สำคัญกว่าสงครามครั้งก่อนๆ ที่เคยมีมา

เพราะโดรนใช้ได้คล่องตัวกว่า ต้นทุนต่ำกว่า และไม่ต้องมีนักบินประจำการ ลดความเสี่ยงเรื่องบาดเจ็บและเสียชีวิตได้อย่างมีนัยสำคัญ

ในการสู้รบระหว่างรัสเซียและยูเครน โดรนกำลังถูกนำมาใช้ในทุกขั้นตอนของการต่อสู้

ทั้งสองฝ่ายใช้กองกำลังโดรนขนาดใหญ่

โดยมีภารกิจเพื่อการป้องกันภัยทางอากาศ และระบบรบกวนในแต่ละด้าน

เป็นสงครามที่ต่อสู้กันในระยะไกล

ศัตรูมักจะอยู่ห่างออกไปหลายกิโลเมตร และไม่มีอะไรลดช่องว่างได้ดีกว่าไปกว่าโดรน

ทำให้รัสเซียและยูเครนสามารถมองเห็น และโจมตีซึ่งกันและกันได้โดยไม่ต้องมาประชิดติดตัว

สหรัฐอเมริกาได้จัดหา Switchblades หลายร้อยชิ้นให้กับยูเครน

ซึ่งออกแบบมาเพื่อโจมตีทหารหรือยานเกราะกลุ่มเล็กๆ

เพราะหากเป็นขนาดกะทัดรัดก็จะช่วยให้ซ่อนตัวได้ง่ายขึ้น

ฝั่งรัสเซียใช้โดรนแบบ Shahed-136 ซึ่งมีขนาดใหญ่กว่าและมีเสียงดังกว่ามาก

แต่จุดแข็งคือแค่โจมตีเพียงครั้งเดียวสามารถทำลายสิ่งก่อสร้างได้

ส่วนโดรนยี่ห้อ Bayraktar TB2 พัฒนาและผลิตโดย Baykar บริษัทด้านการป้องกันของตุรกี

รุ่นนี้มีขนาดเท่ากับเครื่องบินขนาดเล็กและติดตั้งขีปนาวุธนำวิถีด้วยเลเซอร์

โดรนรุ่นนี้สามารถทำการลาดตระเวนและโจมตีเป้าหมายได้

จึงกลายเป็นส่วนสำคัญของคลังแสงของยูเครนในการต่อต้านกองกำลังรัสเซีย

ส่วนโดรนเชิงพาณิชย์ราคาไม่แพงอย่าง Matrice 300 ก็ปรับมาใช้ในสงครามครั้งนี้

เพราะมันสามารถเพิ่มทัศนวิสัยในสนามรบได้ไม่น้อย

การผลิตในช่วงสงครามยูเครนจัดทำโดยอาสาสมัครหรือด้วยเงินบริจาคจากผู้มีจิตศรัทธา

ยูเครนยังใช้โดรนเพื่อโจมตีเป้าหมายที่ห่างไกลจากการต่อสู้ เช่นที่คาบสมุทรไครเมีย ซึ่งรัสเซียผนวกอย่างผิดกฎหมายในปี 2014

และในเขตชายแดนเบลโกรอดของรัสเซีย

แหล่งข่าวที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ยอมให้รายละเอียดของปฏิบัติการไม่เปิดเผย แต่ไม่ยอมให้บอกชื่อและสังกัด

โดยไม่ระบุว่าใช้โดรนประเภทไหนในการเจาะลึกเข้าไปในเป้าหมายที่อยู่ในดินแดนของรัสเซีย

ส่วนรัสเซียก็ใช้กองกำลังโดรนโจมตีโครงสร้างพื้นฐานพลเรือนที่สำคัญของยูเครนซ้ำแล้วซ้ำเล่า

เป็นการใช้โดรนแทนขีปนาวุธแม้จะแม่นยำ แต่ก็มีค่าใช้จ่ายที่สูงกว่ามาก

ประสบการณ์ของสงครามยูเครนถึงวันนี้จึงสรุปได้ว่าโดรนมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อความสำเร็จในสนามรบ

แต่หากมีการส่งเครื่องบินรบของทั้งสองฝ่ายขึ้นปะทะกันกลางอากาศเมื่อไหร่ รูปแบบและความร้อนแรงของสงครามจะเปลี่ยนโฉมไปทันที!.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ประเทศเดียวในโลก ‘นายกฯทับซ้อน’ มหันตภัยปี 2568

นายสุทธิชัย หยุ่น สื่อมวลชนอาวุโส โพสต์เฟซบุ๊กว่าสำนักวิจัยต่าง ๆ กำลังวิเคราะห์เพื่อพยากรณ์ว่าประเทศไทยจะต้องเผชิญกับความท้าทายสาหัสอะไรบ้างใน

บิ๊กเซอร์ไพรส์ 'สุทธิชัย หยุ่น' เล่นซีรีส์ 'The White Lotus ซีซั่น 3'

เรียกว่าสร้างความเซอร์ไพรส์อย่างต่อเนื่อง สำหรับซีรีส์ The White Lotus ซีซั่น 3 ซึ่งจะสตรีมผ่าน Max ในวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2025 เพราะนอกจากจะมี ลิซ่า-ลลิษา มโนบาล หรือ ลิซ่า BLACKPINK ไอดอลเกาหลีสัญชาติไทย ที่กระโดดลงมาชิมลางงานแสดงเป็นครั้งแรก ในบทของ มุก สาวพนักงานโรงแรม

ถามแสกหน้า 'ทักษิณ' จะพลิกเศรษฐกิจไทยยังไง ทุกซอกมุมในสังคมยังเต็มไปด้วยทุจริตโกงกิน

นายสุทธิชัย หยุ่น นักวิเคราะห์ข่าวและผู้ดำเนินรายการข่าวชื่อดัง โพสต์เฟซบุ๊ก ถึงกรณีนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ว่า “เขาจะพลิกประเทศไทยให้เศรษฐกิจล้ำโลกได้หรือ

เขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดนที่กลายเป็น ที่ซ่องสุมของอาชญากรรมข้ามชาติ

เมื่อวานเขียนถึงรายงานในสำนักข่าวชายขอบที่สำนักจะได้รับความสนใจของรัฐบาลไทยว่าด้วยกิจกรรมอาชญากรรมข้ามชาติในบริเวณ “เขตเศรษฐกิจพิเศษ” ที่สามเหลี่ยมทองคำ