เปลี่ยนประเทศด้วยมาตรฐานน้ำมัน

เข้าปี 2566 มาเกือบครึ่งปีแล้ว ในปีนี้มีการดำเนินงานต่างๆ ของประเทศเกิดขึ้นมากมาย และเมื่อเร็วๆ นี้ก็คงหนีไม่พ้นการเลือกตั้งที่จะเข้ามากำหนดทิศทางของประเทศในอนาคต แต่หากไปดูรายละเอียดของการทำงานเบื้องหลัง ซึ่งมีอยู่หลายเรื่องที่ไม่ว่าจะเปลี่ยนรัฐบาลหรือไม่ก็ยังคงต้องดำเนินต่อไป เพราะมีข้อกำหนดไว้อย่างชัดเจน หนึ่งในนั้นคือเรื่องการเปลี่ยนคุณภาพในน้ำมันเติมรถยนต์ในประเทศ ที่จะขยับมาตรฐานขึ้นไปจากปัจจุบันอยู่ที่ EURO4 (ยูโร 4) ขึ้นไปเป็น EURO5 (ยูโร 5) และ 6 ต่อไป เนื่องจากการปรับปรุงประสิทธิภาพมาตรฐานน้ำมันนั้น จะเป็นส่วนสำคัญที่ช่วยลดประเด็นเรื่องมลภาวะของประเทศไปได้

แต่หากใครยังไม่รู้ว่ามาตรฐานน้ำมันยูโรระดับต่างๆ นั้นคืออะไร กรมธุรกิจพลังงานได้ทำสรุปข้อมูลมาตรฐานไอเสียรถยนต์ไว้ดังนี้ คําว่า ยูโร มาจากคําว่า ยุโรป ซึ่งในที่นี้หมายถึงกลุ่มประเทศในทวีปยุโรป โดยกลุ่มประเทศเหล่านี้ได้มีการวางกฎระเบียบต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันและแก้ไขปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม สําหรับในด้านการใช้เชื้อเพลิงในภาคการขนส่ง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งที่มีการปล่อยมลพิษให้กับสิ่งแวดล้อม ได้เริ่มมีการควบคุมการปล่อยมลพิษจากยานพาหนะอย่างเป็นระบบตั้งแต่ปี ค.ศ.1992 (พ.ศ.2535) โดยได้มีการกําหนดมาตรฐานไอเสียสําหรับยานพาหนะควบคู่กับมาตรฐานของเชื้อเพลิง เพื่อให้ยานพาหนะที่ผลิตจําหน่ายออกมาปลดปล่อยไอเสียได้ไม่เกินเกณฑ์มาตรฐานที่กําหนด

ผลจากการกําหนดมาตรฐานดังกล่าว ก่อให้เกิดการพัฒนา ปรับปรุง เปลี่ยนแปลงทั้งในด้านเทคโนโลยียานพาหนะเพื่อให้สามารถควบคุมการปลดปล่อยมลพิษให้ไม่เกินเกณฑ์มาตรฐาน และในด้านน้ำมันเชื้อเพลิง ซึ่งได้แก่ น้ำมันเบนซินและดีเซล ก็ได้มีการพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตเพื่อลดองค์ประกอบที่ก่อให้เกิดมลพิษให้น้อยลงไปด้วย มาตรฐานไอเสียและมาตรฐานน้ำมันเชื้อเพลิงที่ได้กําหนดไว้นั้น มีการพัฒนาให้มีความเข้มงวดมากขึ้นเป็นระยะๆ เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพสิ่งแวดล้อมและปริมาณมลพิษที่ถูกปลดปล่อยออกมาตามปริมาณการใช้เชื้อเพลิง จึงเรียกชื่อมาตรฐานเหล่านี้ตามลําดับของการกำหนดออกมาบังคับใช้ ซึ่งปัจจุบันอยู่ที่ระดับ 6 แต่ในประเทศไทยอยู่ที่ระดับ 4

โดยแผนการดำเนินงานที่ชัดเจนของประเทศไทยนั้น จะมีการบังคับใช้มาตรฐานยูโร 5 เริ่ม 1 ม.ค.2567 และยูโร 6 เริ่ม 1 ม.ค.2569 ควบคุมสารมลพิษจากรถยนต์ขนาดเล็ก รถกระบะ รถบัส และรถบรรทุก ทั้งที่ใช้เครื่องยนต์เบนซินและดีเซล ต้องเป็นไปตามมาตรฐาน ยกระดับการแก้ปัญหามลพิษทางอากาศ โดยเฉพาะฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 และคุ้มครองความปลอดภัยประชาชน ด้วยเหตุนี้เองจึงมีหลายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะต้องเร่งปรับตัวและดำเนินงานให้ตรงตามแผนที่ได้ประกาศมา

ซึ่งหนึ่งในหน่วยงานที่มีแผนการดำเนินงานอย่างชัดเจน และมีความกระตือรือร้นในการทำงาน ได้แก่ สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) โดยนายบรรจง สุกรีฑา เลขาธิการ สมอ. ได้จัดทำแผนการบังคับใช้มาตรฐานเพื่อให้ผู้ผลิตรถยนต์เตรียมความพร้อมและวางแผนการผลิตรถยนต์ตามกรอบเวลาที่กำหนดได้ ซึ่งจะสอดคล้องกับการพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์ทั่วโลกที่ได้มีการพัฒนาเครื่องยนต์ให้ปล่อยมลพิษออกมาน้อยที่สุด โดยปัจจุบันสหภาพยุโรปได้ประกาศบังคับใช้มาตรฐานยูโร 6 แล้ว ในเรื่องดังกล่าว สมอ.ได้จัดประชุมผู้ประกอบการอุตสาหกรรมยานยนต์ เมื่อวันที่ 12 พ.ค.2566 ที่ผ่านมา

เพื่อประชุมชี้แจงแผนการบังคับใช้มาตรฐานยูโร 5 และยูโร 6 แก่ผู้ประกอบการกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ของไทย นำโดยนายกสมาคมอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย และบริษัทผู้ผลิตรถยนต์ชั้นนำของไทย จำนวน 25 ราย อาทิ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด, บริษัท นิสสัน มอเตอร์ (ประเทศไทย) จำกัด, บริษัท มิตซูบิชิ มอเตอร์ส ประเทศไทย จำกัด, บริษัท เมอร์เซเดส-เบนซ์ ประเทศไทย จำกัด, บริษัท วอลโล่ คาร์ (ประเทศไทย) จำกัด, บริษัท บีเอ็มดับเบิลยู (ประเทศไทย) จำกัด และบริษัท ตรีเพชรอีซูซุเซลส์ จำกัด เป็นต้น

แน่นอนว่าการหารือร่วมกันเป็นหนึ่งในส่วนสำคัญของการดำเนินงาน เพื่อให้ทุกฝ่ายเดินหน้าไปในแนวทางเดียวกัน และสามารถตอบสนองกับเป้าหมายใหม่ๆ ที่จะนำประเทศไปสู่ความสมบูรณ์แบบได้. 

 

ณัฐวัฒน์ หาญกล้า

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ความสำเร็จของแบรนด์กับการใช้Meta

ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นตลาดที่เติบโตอย่างรวดเร็ว โดยมีประชากร 700 ล้านคน และมี GDP รวมประมาณ 4 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ทำให้เป็นตลาดที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 5 ของโลก

หวยเกษียณแก้ปัญหาแก่ก่อนรวย

เมื่อวันอังคารที่ผ่านมา คณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบโครงการสลากสะสมทรัพย์เพื่อเงินออมยามเกษียณ หรือหวยเกษียณ ของกองทุนการออมแห่งชาติ ซึ่งนี่ถือเป็นโครงการที่รัฐบาลพยายามส่งเสริมการออมของประชาชนในประเทศ

เจ็บแล้วจบ

หลังการบริหารงานของรัฐบาลเศรษฐาได้เข้ามาเดินหน้ามาตรการประชานิยมลด แลก แจก แถม จัดเต็ม ตามที่สัญญากันไว้ช่วงหาเสียงเลือกตั้ง โดยเฉพาะนโยบายด้านพลังงาน ลดค่าไฟฟ้า

3แผนกรีนดันอุตฯไทยรักษ์โลก

เทรนด์รักษ์โลกยังมีมาอย่างต่อเนื่อง และตลอดปี 2567 ที่ผ่านมานี้หลายหน่วยงาน หลายบริษัทก็ยังไม่ทิ้งอุดมการณ์อันแรงกล้านี้ และยังแห่ประกาศแผนดำเนินงานเพื่อดูแลสิ่งแวดล้อมกันอย่างคึกคัก

เร่ง“ปรับ”ก่อน(ถูก)“เปลี่ยน”

ยอดขายรถยนต์ในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2567 ที่ผ่านมา หลายคนคงตกใจ เพราะหดตัวลงถึง 23.8% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และมีแนวโน้มว่าทั้งปีจะหดตัวลงอย่างรุนแรงที่สุดในรอบ 15 ปี

เปิดไม้เด็ดธุรกิจขนาดเล็กสู้ในตลาด

หากย้อนเวลาไปเมื่อหลายปีก่อน ธุรกิจที่มีทุนหนาและมีส่วนแบ่งการตลาดมาก มักจะถูกมองว่าเป็น “ปลาใหญ่” ที่ได้เปรียบเหนือคู่แข่งที่ทุนน้อยกว่าซึ่งเปรียบเหมือน “ปลาเล็ก” จนเป็นที่มาของคำว่า “ปลาใหญ่กินปลาเล็ก” หนึ่งในข้อได้เปรียบที่เห็นชัดที่สุดคือ การมี Economy of Scale หรือ การประหยัดต่อขนาด ซึ่งหมายถึง การผลิตสินค้าหรือบริการในจำนวนที่มากพอที่จะทำให้ต้นทุนการผลิตต่อหน่วยต่ำลง พูดง่ายๆ ก็คือ “ยิ่งผลิตมากขึ้น ต้นทุนการผลิตยิ่งลดลง และยิ่งคุ้มค่ามากขึ้น” โดยต้นทุนในการผลิตสินค้าหรือบริการจะแบ่งออกเป็น ต้นทุนคงที่ (fixed cost) และต้นทุนผันแปร (variable cost) ต้นทุนคงที่ คือ ต้นทุนที่ธุรกิจต้องจ่ายเป็นจำนวนคงที่ ไม่ว่าจะผลิตสินค้าหรือบริการในปริมาณเท่าใดก็ตาม เช่น ค่าเช่าพื้นที่ ค่าเครื่องจักรอุปกรณ์ ค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการ ส่วนต้นทุนผันแปร