อย่าเพิ่งตกใจ อย่าเพิ่งมึนงง อย่าเพิ่งสับสนว่าตำแหน่ง "ประธานคณะกรรมการข้าราชการตำรวจ" หรือ "ประธาน ก.ตร." มีการเปลี่ยนแปลงจาก "โดยตำแหน่ง" มาเป็น "คัดเลือก"
แบบที่ "ตำรวจ" บางส่วนพยายามเรียกร้องเพื่อให้ "ประธาน ก.ตร." ปราศจากการเมือง
เพราะตาม พ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2565 ฉบับใหม่ล่าสุด ที่ราชกิจจานุเบกษาเล่มที่ 139 ตอนที่ 64 ลงวันที่ 16 ตุลาคม 2565 ประกาศเอาไว้ ในหมวด คณะกรรมการข้าราชการตำรวจ ก็ยังระบุให้
"นายกรัฐมนตรี" เป็น "ประธานกรรมการข้าราชการตำรวจ" เหมือนเดิม
ทว่าที่จั่วหัว "เลือกประธาน ก.ตร." ก็เพราะมีการเลือกประธาน ก.ตร.จริงๆ เพียงแต่ไม่ใช่การเลือกประธาน ก.ตร.แบบทางตรง แต่เป็นการเลือกตั้ง ประธาน ก.ตร. แบบทางอ้อม
อ้อมยังไง???
ก็อ้อมมาจากการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร หรือ ส.ส. ที่กำลังจะเกิดขึ้นในวันที่ 14 พฤษภาคม 2566 หรือวันอาทิตย์นี้
คือเมื่อพรรคการเมืองใดได้ ส.ส.เกินกว่า 25 คน ก็มีสิทธิตามกฎหมายที่จะเสนอชื่อแคนดิเดตนายกรัฐมนตรีของพรรคให้ ส.ส.และ ส.ว.ในสภายกมือโหวตให้ดำรงตำแหน่ง
"นายกรัฐมนตรี" คนที่ 30
นั่นก็หมายถึงว่า หาก "ตำรวจ" กว่า 2 แสนนาย อยากได้ใครมาเป็น ประธาน ก.ตร. ก็ให้ออกไปใช้สิทธิ์เลือกตั้งทั่วประเทศ ตามที่ตนเองมีภูมิลำเนา เลือกพรรคการเมืองที่สนับสนุนคนคนนั้นเป็นแคนดิเดตนายกรัฐมนตรี ให้ได้รับการเลือกตั้งเป็น ส.ส.
เมื่อได้ นายกรัฐมนตรีแล้ว นั่นก็เหมือนเลือก "ประธาน ก.ตร." ไปในตัว
ต้องไม่ลืมว่าตามกฎ ตามระเบียบ ตาม พ.ร.บ.ตำรวจฉบับใหม่นี้ ก.ตร.มีส่วนสำคัญในการบริหารงานของ "ตำรวจ" อย่างมาก เพราะมีหน้าที่และอำนาจมากมาย
ทั้งการกำหนดมาตรฐานการบริหารงานบุคคลของข้าราชการตำรวจให้เป็นไปตามระบบคุณธรรม จัดระบบราชการตำรวจ ตลอดทั้งนโยบายและมาตรฐานการอบรมและพัฒนาข้าราชการตำรวจ
ที่สำคัญมีอำนาจในการพิจารณาให้ความเห็นชอบการคัดเลือกข้าราชการตำรวจ เพื่อดำเนินการแต่งตั้งผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผบ.ตร.) ตามที่นายกรัฐมนตรีเสนอ และกำกับดูแลการแต่งตั้งและโยกย้ายข้าราชการตำรวจของผู้บังคับบัญชาทุกขั้นตอนให้เป็นไปตาม พ.ร.บ.ตำรวจและกฎ ก.ตร.โดยเคร่งครัด
หากได้ ประธาน ก.ตร.ที่เข้าใจตำรวจ รักตำรวจ มีความเที่ยงธรรมต่อตำรวจ การกำกับดูแลสำนักงานตำรวจแห่งชาติก็จะดีตามไปด้วย
ดังนั้นแล้วในวันอาทิตย์ที่ 14 พฤษภาคม 2566 หาก "ตำรวจ" รายใดยังไม่ได้ไปใช้สิทธิเลือกตั้งล่วงหน้า ก็ออกไปใช้สิทธิ์กันเยอะๆ
เพื่อให้ได้ "นายกรัฐมนตรี" อย่างที่ต้องการ และนั่นหมายถึงก็จะได้ "ประธาน ก.ตร." อย่างที่ต้องการไปด้วย
จะได้ไม่ต้องมาเสียใจภายหลัง.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
อำลาสีกากี
หากเป็นไปตามวาระปกติเหมือนทุกๆ ปี ตำรวจที่มีอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ และพ้นจากราชการเมื่อสิ้นปีงบประมาณ พ.ศ.2568 จะต้องโบกมืออำลา ถอดเครื่องแบบ "ผู้พิทักษ์สันติราษฎร์" ใช้ชีวิตข้าราชการตำรวจ
สอดไส้วาระ เม.ย.
รวดเร็วปานกามนิตหนุ่ม โปรเจกต์ป้ายแดง "กรมปทุมวัน" เออร์ลีรีไทร์ ระดับ "นายพล" หรือโครงการปรับเปลี่ยนกำลังพลของ ตร. วาระกลางปี 1 เม.ย. ซึ่งเป็นครั้งแรก จากปกติที่มีวาระแค่ 1 ต.ค.เท่านั้น
เออร์ลีรีไทร์สะดุด!
เอ๊ะยังไง! ผบ.ต่าย-พล.ต.อ.กิตติ์รัฐ พันธุ์เพ็ชร์ แม่ทัพใหญ่สีกากี ทิ้งคำพูดปริศนาเอาไว้ ในระหว่างเป็นประธาน เปิดโครงการอาหารกลางวันสำหรับข้าราชการตำรวจในหน่วยงาน
ขอตำแหน่งไม่ของาน
ก็มีดรามาเล็กๆ พอเป็นกระสาย พอเป็นสีสัน กับการแต่งตั้ง "นายพัน" สีกากี ตำแหน่ง รองผู้บังคับการ (รองผบก.) ถึง สารวัตร (สว.) วาระประจำปี 2567 ที่เพิ่งประกาศคำสั่งออกมาทันตามเงื่อนไข ทันตามคำสั่ง ผบ.ต่าย-พล.ต.อ.กิตติ์รัฐ พันธุ์เพ็ชร์ ผบ.ตร.
โบนัสสีกากี
ต้องเรียกว่าได้กันแบบจุกๆ มติคณะกรรมการข้าราชการตำรวจ หรือ ก.ตร. ครั้งที่ 2/2568 มี ผบ.ต่าย-พล.ต.อ.กิตติ์รัฐ พันธุ์เพ็ชร์ แม่ทัพใหญ่สีกากี นั่งหัวโต๊ะประธาน ก.ตร. แทนนายกฯ อิ๊งค์-แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 27 ก.พ.ที่ผ่านมา
พิสูจน์ '15กฎเหล็ก'
หากทุกอย่างเป็นไปตามเดดไลน์แต่งตั้ง "นายพันสีกากี" ที่ ผบ.ต่าย-พล.ต.อ.กิตติ์รัฐ พันธุ์เพ็ชร แม่ทัพใหญ่สีกากี มีบันทึกสั่งการให้แต่ละกองบัญชาการ จัดทำบัญชีแต่งตั้งตำรวจ ระดับ รองผู้บังคับการ (รองผบก.) ถึง สารวัตร(-สว.) วาระประจำปี 2567