จับตาM&Aเริ่มฟื้นตัวครึ่งปีหลัง

ดูเหมือนว่าปริมาณและมูลค่าการควบรวมกิจการของไทยน่าจะเริ่มฟื้นตัวได้ในช่วงครึ่งหลังของปี 66 หลังจากที่ธุรกิจส่วนใหญ่กลับมาปัดฝุ่นแผนการควบรวมกิจการจากที่ภาวะเศรษฐกิจ เงินเฟ้อ และปัญหาภูมิรัฐศาสตร์ ชะลอการทำดีลตั้งแต่ไตรมาสที่ 4 ของปี 65 ก็นับว่าเป็นไปในทิศทางที่สอดคล้องกับแนวโน้มเชิงบวกทั่วโลก โดยซีอีโอถึง 60% ที่ถูกสำรวจยังคงรุกแผนควบรวมกิจการในปีนี้ แม้จะมีปัจจัยแวดล้อมที่กดดันการดำเนินธุรกิจ

โดยในเรื่องนี้ นางสาวฉันทนุช โชติกพนิช หุ้นส่วนและหัวหน้าสายงานดีลส์ บริษัท PwC ประเทศไทย ระบุว่า ตลาดการควบรวมกิจการของไทยมีแนวโน้มที่จะกลับมาฟื้นตัวอีกครั้งในช่วงครึ่งหลังของปี 2566 หลังปริมาณและมูลค่าการควบรวมเห็นการชะลอตัวในปีที่ผ่านมา เปรียบเทียบกับปี 2564 เนื่องจากปัจจัยเศรษฐกิจมหภาค เงินเฟ้อและอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้น และผลกระทบจากปัญหาภูมิรัฐศาสตร์ ส่งผลให้กิจกรรมการทำดีลโดยรวมต้องหยุดชะงัก อย่างไรก็ดี เชื่อว่ากิจกรรมการควบรวมในปีนี้จะไม่สูงเท่ากับในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19 เมื่อปี 2564

สำหรับปริมาณและมูลค่าการควบรวมกิจการของไทยนั้นปรับตัวลดลงตั้งแต่ช่วงไตรมาสที่ 4 ของปีที่แล้วต่อเนื่องมาจนถึงต้นปีนี้ โดยนักลงทุนส่วนใหญ่ชะลอแผนการควบรวมเพื่อรอดูสถานการณ์ให้ปัจจัยหลายๆ อย่างมีเสถียรภาพมากขึ้น ซึ่งเวลานี้สัญญาณของการฟื้นตัวเริ่มชัดเจนขึ้น โดยฝั่งผู้ซื้อและผู้ขายของดีลหลายๆ ดีลกลับมาเตรียมตัวกันใหม่อีกครั้ง 

ทั้งนี้ จากรายงาน Global M&A Industry Trends: 2023 Outlook ของ PwC ที่คาดว่ากิจกรรมการควบรวมกิจการทั่วโลกน่าจะฟื้นตัวได้ในช่วงครึ่งหลังของปีนี้ หลังจากนักลงทุนและผู้บริหารปรับสมดุลระหว่างความเสี่ยงระยะสั้นและกลยุทธ์การเปลี่ยนแปลงทางธุรกิจในระยะยาว โดยซีอีโอมากกว่าครึ่ง 60% ที่ถูกสำรวจ กล่าวว่า ไม่มีแผนที่จะชะลอการควบรวมกิจการในปีนี้แต่อย่างใด แม้จะมีปัจจัยเชิงลบที่กดดันการดำเนินธุรกิจก็ตาม

ขณะที่ปริมาณและมูลค่าการควบรวมกิจการทั่วโลกในปี 2565 รายงานระบุว่า ปรับตัวลดลง 17% และ 37% จากปี 2564 ที่ปริมาณการควบรวมแตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ ด้วยจำนวนดีลมากกว่า 65,000 ดีล (คิดเป็นมูลค่า 5,268 พันล้านสหรัฐ) เนื่องจากได้รับผลกระทบจากความผันผวนของเศรษฐกิจมหภาค รวมไปถึงความกังวลเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจถดถอย อัตราดอกเบี้ยสูง การประเมินมูลค่าหุ้นที่ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ ความตึงเครียดทางภูมิรัฐศาสตร์ เช่น สงครามในยูเครน และการหยุดชะงักของห่วงโซ่อุปทาน เป็นต้น 

ซึ่งเช่นเดียวกับปริมาณและมูลค่าการควบรวมกิจการในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ที่ปรับตัวลดลง 23% และ 33% ในช่วงระหว่างปี 2564-2565 นำโดยสาธารณรัฐประชาชนจีน ที่มีปริมาณและมูลค่ากิจกรรมการควบรวมปรับตัวลดลงมากที่สุดที่ 46% และ 35% ตามลำดับ สืบเนื่องมาจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 และอุปสงค์ของการส่งออกที่ลดลง ด้วยเหตุนี้ บริษัทต่างๆ ที่ต้องการขยายตลาดเข้าสู่เอเชีย จึงมองหาโอกาสการลงทุนในตลาดอื่นๆ แทน ไม่ว่าจะเป็นอินเดีย ญี่ปุ่น และกลุ่มประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

รายงานระบุว่า ในปี 2565 ปริมาณการควบรวมกิจการในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกมีจำนวนทั้งสิ้น 16,238 ดีล (เปรียบเทียบกับ 21,166 ดีลในปี 2564) ขณะที่มูลค่าการควบรวมอยู่ที่ 826 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (เปรียบเทียบกับ 1,233 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2564) นอกจากนี้ รายงานของ PwC ยังระบุถึงกลุ่มอุตสาหกรรมหลักที่มีโอกาสจะเห็นกิจกรรมการควบรวมในปีนี้ ประกอบไปด้วย 1.อุตสาหกรรมเทคโนโลยี สื่อ และโทรคมนาคม 2.อุตสาหกรรมการผลิตเชิงอุตสาหกรรมและยานยนต์ 3.อุตสาหกรรมบริการทางการเงิน 4.อุตสาหกรรมพลังงาน สาธารณูปโภค และทรัพยากร 5.อุตสาหกรรมตลาดผู้บริโภค 6.อุตสาหกรรมสุขภาพ

อย่างไรก็ดี ธุรกิจที่มีความสนใจต้องการซื้อหรือขายกิจการผ่านการควบรวม ปีนี้ถือเป็นช่วงเวลาที่ดีในการเตรียมความพร้อมหลังจากที่หลายๆ ธุรกิจได้ปรับเปลี่ยนรูปแบบการปฏิบัติงาน ปรับโครงสร้าง ลดต้นทุน และเพิ่มประสิทธิภาพในด้านต่างๆ ที่ดำเนินการไปในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19 ซึ่งความสามารถที่แท้จริงของกิจการจะถูกสะท้อนออกมาในงบการเงิน และช่วยให้ธุรกิจสามารถประเมินศักยภาพของตัวเองเปรียบเทียบกับช่วงก่อนเกิดการแพร่ระบาด.

 

รุ่งนภา สารพิน 

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ความสำเร็จของแบรนด์กับการใช้Meta

ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นตลาดที่เติบโตอย่างรวดเร็ว โดยมีประชากร 700 ล้านคน และมี GDP รวมประมาณ 4 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ทำให้เป็นตลาดที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 5 ของโลก

หวยเกษียณแก้ปัญหาแก่ก่อนรวย

เมื่อวันอังคารที่ผ่านมา คณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบโครงการสลากสะสมทรัพย์เพื่อเงินออมยามเกษียณ หรือหวยเกษียณ ของกองทุนการออมแห่งชาติ ซึ่งนี่ถือเป็นโครงการที่รัฐบาลพยายามส่งเสริมการออมของประชาชนในประเทศ

เจ็บแล้วจบ

หลังการบริหารงานของรัฐบาลเศรษฐาได้เข้ามาเดินหน้ามาตรการประชานิยมลด แลก แจก แถม จัดเต็ม ตามที่สัญญากันไว้ช่วงหาเสียงเลือกตั้ง โดยเฉพาะนโยบายด้านพลังงาน ลดค่าไฟฟ้า

3แผนกรีนดันอุตฯไทยรักษ์โลก

เทรนด์รักษ์โลกยังมีมาอย่างต่อเนื่อง และตลอดปี 2567 ที่ผ่านมานี้หลายหน่วยงาน หลายบริษัทก็ยังไม่ทิ้งอุดมการณ์อันแรงกล้านี้ และยังแห่ประกาศแผนดำเนินงานเพื่อดูแลสิ่งแวดล้อมกันอย่างคึกคัก

เร่ง“ปรับ”ก่อน(ถูก)“เปลี่ยน”

ยอดขายรถยนต์ในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2567 ที่ผ่านมา หลายคนคงตกใจ เพราะหดตัวลงถึง 23.8% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และมีแนวโน้มว่าทั้งปีจะหดตัวลงอย่างรุนแรงที่สุดในรอบ 15 ปี

เปิดไม้เด็ดธุรกิจขนาดเล็กสู้ในตลาด

หากย้อนเวลาไปเมื่อหลายปีก่อน ธุรกิจที่มีทุนหนาและมีส่วนแบ่งการตลาดมาก มักจะถูกมองว่าเป็น “ปลาใหญ่” ที่ได้เปรียบเหนือคู่แข่งที่ทุนน้อยกว่าซึ่งเปรียบเหมือน “ปลาเล็ก” จนเป็นที่มาของคำว่า “ปลาใหญ่กินปลาเล็ก” หนึ่งในข้อได้เปรียบที่เห็นชัดที่สุดคือ การมี Economy of Scale หรือ การประหยัดต่อขนาด ซึ่งหมายถึง การผลิตสินค้าหรือบริการในจำนวนที่มากพอที่จะทำให้ต้นทุนการผลิตต่อหน่วยต่ำลง พูดง่ายๆ ก็คือ “ยิ่งผลิตมากขึ้น ต้นทุนการผลิตยิ่งลดลง และยิ่งคุ้มค่ามากขึ้น” โดยต้นทุนในการผลิตสินค้าหรือบริการจะแบ่งออกเป็น ต้นทุนคงที่ (fixed cost) และต้นทุนผันแปร (variable cost) ต้นทุนคงที่ คือ ต้นทุนที่ธุรกิจต้องจ่ายเป็นจำนวนคงที่ ไม่ว่าจะผลิตสินค้าหรือบริการในปริมาณเท่าใดก็ตาม เช่น ค่าเช่าพื้นที่ ค่าเครื่องจักรอุปกรณ์ ค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการ ส่วนต้นทุนผันแปร