เริ่มต้นไปแล้วสำหรับการลงคะแนนเสียงล่วงหน้า โดยครั้งนี้ถือเป็นจุดเปลี่ยนครั้งสำคัญ ทางการเมืองของประเทศไทย ซึ่งจะชี้วัดอนาคตของประเทศเลยทีเดียว โดยในวันที่ 14 พ.ค.2566 จึงอยากขอชวนเชิญผู้อ่านทุกคนไปเลือกตั้งกันเยอะๆ อย่านอนหลับทับสิทธิ์กัน เพื่อที่ทุกคนจะสะท้อนเจตนารมณ์ของตัวเองผ่านบัตรเลือกตั้ง ชอบพรรค ชอบคน ชอบนโยบายของพรรคไหน ก็ไปกา ยืนยันเจตจำนงของตัวเองกันเยอะๆ
แต่ก่อนที่จะลงคะแนนควรศึกษานโยบายของแต่ละพรรคให้ถี่ถ้วน รอบคอบ ว่ามันสามารถทำได้จริงอย่างที่กล่าวอ้างหรือไม่ แล้วการที่จะแจกนู่นนี่นั่น พวกเขามีเงินมารองรับ หรือมีแหล่งที่มาของเงินจริงหรือไม่ ซึ่งทั้งหมด ท่านผู้อ่านควรจำเป็นต้องสังเคราะห์ออกมาให้ดี 'คิด วิเคราะห์ แยกแยะ' ยังเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่ง
ทั้งนี้ผู้เขียนมีโอกาสได้นั่งฟังดีเบตของบรรดาตัวแทนพรรคในเรื่องเกี่ยวกับนโยบายเศรษฐกิจ ซึ่งจัดโดยสมาคมผู้สื่อข่าวเศรษฐกิจร่วมกับมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เมื่อสัปดาห์ก่อน และก็ได้เห็นทางศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ที่สำรวจ ความเห็นกลุ่มตัวอย่าง 2,112 ราย ระหว่างวันที่ 24-29 เมษายน 2566 ในหัวข้อ ความคาดหวังเกี่ยวกับนโยบายเศรษฐกิจของพรรคการเมือง และความต้องการให้รัฐบาลชุดใหม่ดำเนินการอย่างเร่งด่วนคือ ลดค่าครองชีพ-เพิ่มสวัสดิการ-เพิ่มค่าแรงขั้นต่ำ
รศ.ดร.ธนวรรธน์ พลวิชัย อธิการบดีและประธานที่ปรึกษาศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจของมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดผลสรุปโพลนโยบายเศรษฐกิจ โดยระบุว่า ประชาชนมีการตั้งคำถามถึงนักการเมือง 5 คำถาม ได้แก่ 1.นโยบายเศรษฐกิจที่นำเสนอนั้นเอาเงินมาจากไหน 2.นโยบายนี้จะทำได้เมื่อใด 3.ทำแล้วเกิดประโยชน์อะไรกับประชาชนและประเทศ 4.นโยบายต่างๆ จะมีผลต่อหนี้สาธารณะของประเทศหรือไม่ 5.จะมีการรายงานผลของนโยบายต่อประชาชนเป็นระยะหรือไม่
โดยจากการรวบรวมนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจที่พรรคการเมืองเสนอ พบว่านโยบายเหล่านี้ประชาชนให้ความสำคัญ ไม่ว่าจะเป็นนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจ อย่างการแจกเงิน หรือนโยบายแรงงาน ที่โฟกัสไปที่การปรับขึ้นค่าจ้าง หรือนโยบายทางด้านลดค่าครองชีพ เช่น การลดค่าไฟฟ้า ค่าน้ำมัน ค่าแก๊สหุงต้ม รวมถึงการแก้ไขปัญหาหนี้สิน
นี่คือความต้องการที่ประชาชนต้องการมากๆ ให้รัฐบาลชุดใหม่เข้ามาจัดการในทันที ซึ่งทางหอการค้าได้รวบรวมนโยบายที่ต้องการให้รัฐบาลชุดใหม่ดำเนินการอย่างเร่งด่วน ประกอบไปด้วย 10 ข้อ
1.ลดค่าครองชีพของประชาชนให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม
2.เพิ่มเติมสวัสดิการในด้านต่างๆ ให้กับประชาชน (สวัสดิการด้านการรักษาพยาบาล และเบี้ยผู้สูงอายุ)
3.เพิ่มค่าแรงขั้นต่ำ และพัฒนาทักษะฝีมือแรงงาน
4.แก้ไขปัญหาความยากจน/ปัญหาหนี้สิน และลดความเหลื่อมล้ำในสังคมไทย
5.สร้างโอกาสทางธุรกิจให้กับผู้ประกอบการ
6.ปรับปรุงกฎหมาย/กฎระเบียบให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน
7.พัฒนาภาคเกษตรกรรม และแก้ไขปัญหาที่ดิน
8.เร่งฟื้นฟูและกระตุ้นเศรษฐกิจให้กลับเข้าสู่ภาวะปกติ
9.ลดข้อจำกัดและเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงแหล่งเงินทุนของผู้ประกอบกิจการ
10.ปรับปรุงระบบการศึกษาให้สามารถเข้าถึงได้ง่าย สอดคล้องกับโลกยุคใหม่
นี่คือความต้องการที่ประชาชนอยากให้รัฐบาลเข้ามาแก้ปัญหา ซึ่งผู้อ่านต้องมองหาพรรคการเมืองที่จะมาช่วยแก้ปัญหาเหล่านี้อย่างจริงจัง และก่อนเข้าคูหา ศึกษาให้รอบคอบก่อน... กา.
ลลิตเทพ ทรัพย์เมือง
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ปี68สินเชื่อระบบแบงก์ไทยหืดจับ
ปี 2568 ยังเป็นอีกปีที่ต้องจับตากับทิศทางของเศรษฐกิจไทย เพราะยังมีปัจจัยหลายอย่าง ทั้งบวกและลบ ที่จะเข้ามามีผลกับภาคเศรษฐกิจ โดยเฉพาะสถานการณ์กดดันจากปัญหาหนี้ครัวเรือน
แผนดัน ‘เกษตรครบวงจร’
อุตสาหกรรมเกษตร เป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมหลักของประเทศไทย และที่ผ่านมาเศรษฐกิจถูกขับเคลื่อนไปได้ด้วยสินค้าเกษตร แต่ก็มีบางช่วงที่ติดขัดและไม่สามารถเดินหน้าต่อได้ จากปัจจัยกระทบต่างๆ
เคาต์ดาวน์ปลอดภัยส่งท้ายปี
เทศกาลส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ 2568 เป็นช่วงเวลาแห่งความสุข เป็นวาระแห่งการเริ่มต้นใหม่ที่เปี่ยมไปด้วยพลังและความหวัง โดยในปีนี้สถานที่จัดงาน Countdown ทั่วประเทศไทยหลายหน่วยงานได้เตรียมกิจกรรมไว้ให้ทุกคนได้ร่วมสนุกและสัมผัสความงดงาม
แชร์มุมมอง‘อินฟลูเอนเซอร์’ในตลาดอาเซียน
การตลาดอินฟลูเอนเซอร์ถือได้ว่าเป็นกลยุทธ์สำคัญในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มายาวนาน แต่กลยุทธ์การทำการตลาดของแต่ละแบรนด์นั้นล้วนแตกต่างกันไป ล่าสุด วีโร่ ได้เปิดตัวเอกสารไวต์เปเปอร์ฉบับใหม่ในหัวข้อ “ผลกระทบ
ของขวัญรัฐบาล
อีกไม่ถึง 2 สัปดาห์ก็จะเข้าสู่ช่วงส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่แล้ว ก็เป็นธรรมเนียมของรัฐบาลและ ครม.ที่จะมีมาตรการเป็นของขวัญมอบให้กับประชาชน ซึ่งการประชุม ครม.ล่าสุดเริ่มมีการเคาะมาตรการต่างๆ ออกมาช่วยเหลือประชาชนกันแล้ว
ยกระดับธุรกิจไทยแข่งขันเวทีโลก
ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย หรือ EXIM BANK คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจไทยปี 2568 มีแนวโน้มขยายตัวที่ 3% ด้วยแรงขับเคลื่อนจากอุปสงค์ในประเทศที่ฟื้นตัวต่อเนื่องจากการใช้จ่ายภาครัฐ