'รัฐบาลใหม่'กับการใช้จ่ายงบ

การเลือกตั้งปี 2566 ใกล้เข้ามาทุกขณะ พรรคการเมืองต่างขับเคี่ยวหาเสียงผ่านนโยบายต่างๆ ซึ่งมีการประเมินว่ากว่า กกต.จะประกาศผลการเลือกตั้ง คัดเลือกนายกรัฐมนตรี จนกระทั่งมีการจัดตั้งคณะรัฐมนตรี (ครม.) และ ครม.ชุดใหม่ถวายสัตย์ปฏิญาณ ก็น่าจะราวๆ เดือน ส.ค.2566 แน่นอนว่าจะมีผลต่อการบริหารจัดการงบประมาณปีงบประมาณ 2567 อย่างแน่นอน

นั่นเพราะการจัดทำงบประมาณปี 2567 นั้นอยู่ในช่วงเลือกตั้ง ทำให้ขั้นตอนทางกฎหมายต่างๆ ต้องหยุดเอาไว้ก่อน เพื่อรอรัฐบาลใหม่ที่จะเข้ามาหลังจากการเลือกตั้งได้มีการทบทวนรายละเอียดร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) งบประมาณรายจ่ายก่อนที่จะเดินหน้าตามขั้นตอนของกฎหมาย แม้ว่าขณะนี้ที่ประชุม ครม.จะเห็นชอบร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปี 2567 เป็นที่เรียบร้อยแล้วก็ตาม

และตามขั้นตอนปกติจะต้องเสนอร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายดังกล่าวเข้าสู่การพิจารณาของรัฐสภา

เฉลิมพล เพ็ญสูตร ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ ระบุว่า การจัดทำงบประมาณจะล่าช้าไปจากปกติ จากเดิมที่ พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีจะประกาศใช้ประมาณเดือน ก.ย.-ต.ค. แต่เมื่อมีการเลือกตั้งใหม่รัฐบาลที่เข้ามาจะมีขั้นตอนการทบทวนรายละเอียดงบประมาณในต่างๆ ซึ่งสำนักงบประมาณคาดว่าจะมีความล่าช้าออกไป แต่จะอยู่ในกรอบระยะเวลา 3-6 เดือน โดยกรณีล่าช้าที่สุด คาดว่า พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายปี 2567 จะประกาศใช้ได้ไม่เกินไตรมาส 1/2567 หรือไม่เกินเดือน มี.ค.2567

โดยสำนักงบประมาณเตรียมประกาศเกณฑ์ในการใช้งบประมาณไปพลางก่อน และเสนอปฏิทินงบประมาณใหม่ให้กับรัฐบาลใหม่ได้รับทราบหลังจากที่รัฐบาลใหม่แล้ว ส่วนการจัดทำงบประมาณปี 2568 ก็จะทำควบคู่กันไปในช่วงที่รัฐบาลใหม่มีการทบทวนงบประมาณปี 2567 ซึ่งเหมือนกับในปี 2562 ที่มีการเลือกตั้ง การจัดทำงบประมาณในปีงบประมาณต่อไปก็ต้องทำควบคู่ไปด้วย เพื่อไม่ให้เกิดความล่าช้า

ขณะที่ ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ Economic Intelligence Center (EIC) ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB) ประเมินว่า การเลือกตั้งและการเปลี่ยนผ่านรัฐบาลจะไม่ส่งผลกระทบด้านลบต่อเศรษฐกิจไทยใน 3 ไตรมาสแรกของปีนี้ เนื่องจาก พ.ร.บ.งบประมาณปี 2566 จะครอบคลุมการเบิกจ่ายงบประมาณของภาครัฐจนถึงสิ้นไตรมาส 3/2566 และทำให้หน่วยงานภาครัฐดำเนินการตามนโยบายและโครงการต่างๆ ที่มีกำหนดไว้แล้วได้เป็นปกติ อีกทั้งยังมีการเร่งการเบิกจ่ายงบประมาณและนำเรื่องเข้ากระบวนการพิจารณาก่อนการยุบสภา นอกจากนี้ เศรษฐกิจไทยจะยังได้รับแรงสนับสนุนจากเม็ดเงินในช่วงหาเสียงเลือกตั้งอีกด้วย

สำหรับผลกระทบด้านลบจะเริ่มเห็นชัดเจนขึ้นใน “ไตรมาส 4/2566” จากความไม่แน่นอนของระยะเวลาในการพิจารณาอนุมัติ พ.ร.บ.งบประมาณปี 2567 ส่งผลให้มีเม็ดเงินสนับสนุนเศรษฐกิจจากภาครัฐเพิ่มเติมได้ไม่มากนัก อีกทั้งนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาลใหม่จะมีผลกระทบสู่เศรษฐกิจตั้งแต่ปี 2567 โดยเศรษฐกิจไทยในปีหน้าจะต้องเผชิญความไม่แน่นอนสูงจากการจัดตั้งรัฐบาลใหม่

โดยหากการเลือกตั้งและการจัดตั้งรัฐบาลเป็นไปได้อย่างราบรื่น จะส่งผลให้มีนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจและเม็ดเงินงบประมาณของภาครัฐเข้ามาสนับสนุนเศรษฐกิจปี 2567 ได้อย่างเต็มที่ แต่ในทางตรงกันข้าม หากการเลือกตั้งและจัดตั้งรัฐบาลไม่สามารถเป็นไปอย่างราบรื่น อาจส่งผลให้รัฐบาลที่ไม่มีอำนาจเต็มต้องปฏิบัติหน้าที่นานเกินสมควร อีกทั้งประกาศใช้ พ.ร.บ.งบประมาณประจำปีงบประมาณ 2567 ได้อย่างล่าช้ามากจนส่งผลเสียต่อเศรษฐกิจ

อย่างไรก็ดี SCB EIC ประเมินว่า ไม่มีฉากทัศน์การจัดตั้งรัฐบาลที่มีโอกาสเกิดขึ้นสูงเกิน 50% แตกต่างจากบริบทการเลือกตั้งในปี 2562 ที่ฝ่ายอนุรักษนิยมมีโอกาสจัดตั้งรัฐบาลอย่างชัดเจน เนื่องจากได้รับคะแนนความนิยมจากประชาชนสูง และยังได้รับแรงสนับสนุนจากสมาชิกวุฒิสภาอย่างท่วมท้น แต่การเลือกตั้งครั้งนี้ ประเมินว่าฉากทัศน์กรณีฝ่ายเสรีนิยมจัดตั้งรัฐบาล กรณีรัฐบาลผสมสองฝ่าย และกรณีรัฐบาลอนุรักษนิยมเสียงข้างน้อย ทั้ง 3 ฉากทัศน์นี้มีโอกาสเกิดขึ้นในระดับปานกลางใกล้เคียงกันมาก สำหรับอีก 2 ฉากทัศน์กรณีฝ่ายอนุรักษนิยมจัดตั้งรัฐบาล และกรณีนายกรัฐมนตรีนอกบัญชีรายชื่อมีโอกาสเกิดขึ้นอยู่บ้าง.

 

ครองขวัญ รอดหมวน

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เร่งเครื่องดึงนักท่องเที่ยว

จากสถานการณ์การท่องเที่ยวไทยในปัจจุบัน กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาได้ให้ข้อมูลพบว่า ประเทศไทยมีจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติสะสมในช่วงเกือบ 7 เดือนเต็ม ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.-28 ก.ค.2567 ทั้งสิ้น 20,335,107 คน

ต้องเร่งแก้ปัญหาปากท้อง

หลังจากนายกรัฐมนตรีหญิง แพรทองธาร ชินวัตร รับตำแหน่งอย่างชัดเจน ทำให้ภาคเอกชนต่างก็ดีใจ เพราะไม่ทำให้ประเทศเป็นสุญญากาศในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ และสิ่งแรกที่ภาคเอกชนอย่าง

แนะเจาะใจผู้บริโภคด้วย‘ความยั่งยืน’

คงต้องยอมรับว่าประเด็นเรื่องสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืนได้รับความสนใจมากขึ้นทั้งจากผู้บริโภค ภาคเอกชน และภาครัฐ ส่งผลให้ผู้ประกอบการในภาคธุรกิจจำเป็นต้องมีการปรับตัว

รัฐบาลงัดทุกทางพยุงตลาดหุ้น

หลังจากปล่อยให้ตลาดหุ้นซึมมาอย่างช้านาน จนปัจจุบันอยู่ต่ำกว่า 1,300 จุด เรียกได้ว่าสำหรับนักลงทุนถือเป็นความเจ็บปวด เพราะดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาไม่ได้ไปไหน

ดันอุตฯไทยไปอวกาศ

แน่นอนว่าในยุคที่โลกต้องก้าวหน้าไปสู่อุตสาหกรรมที่ทันสมัยมากขึ้น และต่อไปไม่ได้มองแค่ในประเทศหรือในโลกแล้ว แต่มองไปถึงนอกโลกเลยด้วยซ้ำ เพราะจะเป็นหนึ่งในกลไกในการพัฒนาอุตสาหกรรมภาคพื้นที่มีความแข็งแกร่งส่งผ่านไปยังอุตสาหกรรมอวกาศได้

แบงก์มอง ASEAN ยังมาเหนือ

ยังคงมีอีกหลายประเด็นที่ต้องจับตามองกันอย่างต่อเนื่อง ทั้งในสถานการณ์โลกและภายในประเทศ ที่จะส่งผลต่อเศรษฐกิจและการค้า โดยมุมมองของ อมรเทพ จาวะลา ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสำนักวิจัย ธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย ระบุว่า