ข้อเรียกร้องเพื่อแรงงาน

วันที่ 1 พ.ค.ของทุกปีถือได้ว่าเป็นวันแรงงานแห่งชาติ ที่หลายคนอาจจะยังไม่ทราบดีว่ามีไว้เพื่ออะไร นอกจากได้รับผลดีเนื่องจากเป็นวันหยุด แต่วันแรงงานแห่งชาตินั้นมีผลมาจากการเคลื่อนไหวของสหภาพแรงงาน เพื่อเฉลิมฉลองผลงานทางเศรษฐกิจและสังคมของผู้ใช้แรงงาน ทำให้เห็นว่าแรงงานนั้นมีความสำคัญในด้านอุตสาหกรรม เกษตรกรรม และเศรษฐกิจ ซึ่งไม่ใช่เฉลิมฉลองแค่เพียงประเทศไทยเท่านั้น ต่างประเทศยังยึดถือวันที่ 1 พ.ค.นั้นว่าเป็นวันแรงงานเช่นเดียวกัน

โดยในประเทศไทยนั้นก็ได้มีกฎหมายไว้รองรับในกรณีนายจ้างไม่อาจหยุดงานได้ ให้นายจ้างตกลงกับลูกจ้างว่าจะให้หยุดชดเชยวันอื่นแทนหรือจะจ่ายค่าทำงานในวันหยุดให้กับลูกจ้าง แต่หากนายจ้างไม่ปฏิบัติให้ถูกต้องตามกฎหมาย

จะมีโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน ปรับไม่เกิน 1 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ซึ่งด้วยวันนี้เอง หลายหน่วยงานจึงจำเป็นต้องตระหนักถึงความสำคัญของลูกจ้างหรือแรงงานของตัวเองให้มากขึ้น

โดย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เองก็ได้เห็นว่าแรงงานถือเป็นส่วนที่มีความสำคัญที่สุดในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและภาคการผลิตของไทย ส.อ.ท.จึงได้มีการสำรวจความเห็น FTI Poll ครั้งที่ 28 ในเดือน เม.ย.2566 ภายใต้หัวข้อ “มุมมองของภาคอุตสาหกรรมต่อการจ้างงานและการปรับตัวของแรงงานในอนาคต” โดยผลสำรวจพบว่า ผู้บริหาร ส.อ.ท.ส่วนใหญ่มองว่า อัตราการจ้างงานในปัจจุบันได้กลับเข้าสู่ภาวะปกติก่อนโควิด-19 แล้ว และคาดว่าในปีนี้การจ้างงานจะยังมีแนวโน้มคงที่ต่อไป

โดยผู้บริหาร ส.อ.ท.ได้เสนอให้ภาครัฐเร่งสนับสนุนและส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาประสิทธิภาพแรงงาน โดยเฉพาะการสนับสนุนระบบการจ่ายค่าจ้างแรงงานตามทักษะฝีมือ และการยกระดับมาตรฐานฝีมือแรงงานให้ได้มาตรฐานสากล รวมทั้งการขยายสิทธิประโยชน์การลดหย่อนภาษีค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมแรงงานเพื่อ Upskill/Reskill เป็นลดหย่อนภาษีได้ 250% เท่ากับการอบรมทักษะขั้นสูงที่ได้รับการรับรองจาก สอวช. เพื่อจูงใจภาคเอกชนให้ส่งบุคลากรเข้ารับการฝึกอบรมให้มากขึ้นเพื่อพัฒนาฝีมือแรงงานในทุกด้าน

นอกจากนี้ หากพิจารณาจากทักษะที่เป็นที่ต้องการของภาคอุตสาหกรรม 3 อันดับแรก พบว่า อันดับ 1 เป็นทักษะทางวิศวกรรม อันดับ 2 เป็นทักษะทางดิจิทัล และอันดับ 3 เป็นทักษะทางการวิเคราะห์ข้อมูล จากการสำรวจผู้บริหาร ส.อ.ท. ได้มีผลสรุปการสำรวจดังนี้ 1.ภาคอุตสาหกรรมมีอัตราการจ้างงานในปัจจุบันเมื่อเทียบกับช่วงก่อนโควิด-19 อยู่ในระดับใด อันดับที่ 1 เท่าเดิม 48.6%, อันดับที่ 2 เพิ่มขึ้น 10-20% เป็น 24.8% และอันดับที่ 3 ลดลง 10-20% เป็น 19.3%

2.ปัจจัยใดส่งผลกระทบต่อการจ้างงานของภาคอุตสาหกรรมในอนาคต อันดับที่ 1 ภาวะเศรษฐกิจที่ผันผวนและชะลอตัว 59.6%, อันดับที่ 2 ความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีการผลิต เช่น ระบบ Automation 48.2% การใช้ Robotics และ AI และอันดับที่ 3 การเกิด Digital Disruption ที่มีผลกระทบต่อรูปแบบการดำเนินธุรกิจ 45.4% 3.ภาคอุตสาหกรรมมีการปรับตัวในเรื่องการจ้างแรงงานในปัจจุบันอย่างไร อันดับที่ 1 ให้ความสำคัญกับการ Upskill/Reskill และสร้าง New Skill 67.0% เพื่อพัฒนาทักษะฝีมือแรงงานรองรับธุรกิจใหม่, อันดับที่ 2 เริ่มมีการใช้เครื่องจักรและเทคโนโลยีมาช่วยในกระบวนการผลิตทดแทน 65.6% การใช้แรงงาน และอันดับที่ 3 รูปแบบการจ้างงานและการบริหารจัดการแรงงานมีความยืดหยุ่นมากขึ้น 55.5% เช่น การใช้ Outsource เป็นต้น

4.ภาครัฐควรสนับสนุนและส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาประสิทธิภาพแรงงานในเรื่องใด อันดับที่ 1 สนับสนุนระบบการจ่ายค่าจ้างแรงงานตามทักษะฝีมือ (Pay by Skill) 69.3% และการยกระดับมาตรฐานฝีมือแรงงานให้ได้มาตรฐานสากล, อันดับที่ 2 ขยายสิทธิประโยชน์การลดหย่อนภาษีค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมแรงงาน 65.6% เพื่อ Upskill/Reskill เป็นลดหย่อนภาษีได้ 250% และอันดับที่ 3 พัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอนให้ตรงกับความต้องการของตลาดแรงงาน 60.1% และแก้ไขปัญหา Skill Mismatch

เชื่อว่าภาวะเศรษฐกิจที่มีความผันผวนและชะลอตัว ยังคงเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อทิศทางการจ้างงานของภาคอุตสาหกรรมในอนาคต ซึ่งการที่ออกมาสำรวจข้อเรียกร้องครั้งนี้ก็จะสามารถเป็นหนึ่งในกระบอกเสียงให้กับแรงงานได้ โดยเฉพาะด้านการบริหารจัดการแรงงานและการจ้างงาน เพื่อแก้ไขปัญหาขาดแคลนแรงงานและปัญหาประสิทธิภาพแรงงาน.

ณัฐวัฒน์ หาญกล้า

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ความสำเร็จของแบรนด์กับการใช้Meta

ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นตลาดที่เติบโตอย่างรวดเร็ว โดยมีประชากร 700 ล้านคน และมี GDP รวมประมาณ 4 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ทำให้เป็นตลาดที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 5 ของโลก

หวยเกษียณแก้ปัญหาแก่ก่อนรวย

เมื่อวันอังคารที่ผ่านมา คณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบโครงการสลากสะสมทรัพย์เพื่อเงินออมยามเกษียณ หรือหวยเกษียณ ของกองทุนการออมแห่งชาติ ซึ่งนี่ถือเป็นโครงการที่รัฐบาลพยายามส่งเสริมการออมของประชาชนในประเทศ

เจ็บแล้วจบ

หลังการบริหารงานของรัฐบาลเศรษฐาได้เข้ามาเดินหน้ามาตรการประชานิยมลด แลก แจก แถม จัดเต็ม ตามที่สัญญากันไว้ช่วงหาเสียงเลือกตั้ง โดยเฉพาะนโยบายด้านพลังงาน ลดค่าไฟฟ้า

3แผนกรีนดันอุตฯไทยรักษ์โลก

เทรนด์รักษ์โลกยังมีมาอย่างต่อเนื่อง และตลอดปี 2567 ที่ผ่านมานี้หลายหน่วยงาน หลายบริษัทก็ยังไม่ทิ้งอุดมการณ์อันแรงกล้านี้ และยังแห่ประกาศแผนดำเนินงานเพื่อดูแลสิ่งแวดล้อมกันอย่างคึกคัก

เร่ง“ปรับ”ก่อน(ถูก)“เปลี่ยน”

ยอดขายรถยนต์ในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2567 ที่ผ่านมา หลายคนคงตกใจ เพราะหดตัวลงถึง 23.8% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และมีแนวโน้มว่าทั้งปีจะหดตัวลงอย่างรุนแรงที่สุดในรอบ 15 ปี

เปิดไม้เด็ดธุรกิจขนาดเล็กสู้ในตลาด

หากย้อนเวลาไปเมื่อหลายปีก่อน ธุรกิจที่มีทุนหนาและมีส่วนแบ่งการตลาดมาก มักจะถูกมองว่าเป็น “ปลาใหญ่” ที่ได้เปรียบเหนือคู่แข่งที่ทุนน้อยกว่าซึ่งเปรียบเหมือน “ปลาเล็ก” จนเป็นที่มาของคำว่า “ปลาใหญ่กินปลาเล็ก” หนึ่งในข้อได้เปรียบที่เห็นชัดที่สุดคือ การมี Economy of Scale หรือ การประหยัดต่อขนาด ซึ่งหมายถึง การผลิตสินค้าหรือบริการในจำนวนที่มากพอที่จะทำให้ต้นทุนการผลิตต่อหน่วยต่ำลง พูดง่ายๆ ก็คือ “ยิ่งผลิตมากขึ้น ต้นทุนการผลิตยิ่งลดลง และยิ่งคุ้มค่ามากขึ้น” โดยต้นทุนในการผลิตสินค้าหรือบริการจะแบ่งออกเป็น ต้นทุนคงที่ (fixed cost) และต้นทุนผันแปร (variable cost) ต้นทุนคงที่ คือ ต้นทุนที่ธุรกิจต้องจ่ายเป็นจำนวนคงที่ ไม่ว่าจะผลิตสินค้าหรือบริการในปริมาณเท่าใดก็ตาม เช่น ค่าเช่าพื้นที่ ค่าเครื่องจักรอุปกรณ์ ค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการ ส่วนต้นทุนผันแปร