บริหารเงินรับมือเกษียณ

ประเทศไทยกำลังเผชิญกับการก้าวสู่สังคมสูงวัย โดยการเปลี่ยนแปลงนี้เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ระบุว่า ตั้งแต่ปี 2565 ประเทศไทยก้าวเข้าสู่สังคมสูงวัยอย่างสมบูรณ์ มีจำนวนผู้สูงอายุอยู่ราวร้อยละ 20-30 และยังกลายเป็นสังคมสูงอายุระดับสุดยอดเช่นเดียวกับญี่ปุ่นที่มีประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไปร้อยละ 28 ในปี 2574

โดยสาเหตุหลักมาจากคนไทยมีอัตราการเกิดน้อย คุมกำเนิดได้ดี และอายุคนยืนยาวขึ้น กลุ่มคนที่เกิดในช่วง 2506-2526 ซึ่งมีอัตราการเกิดมากกว่า 1 ล้านคนต่อปี เรียกได้ว่าเป็นคลื่นสึนามิประชากรลูกใหญ่ที่จะส่งผลให้ภายในกว่า 20 ปีข้างหน้าผู้สูงอายุจะเพิ่มเป็นราว 21 ล้านคน อย่างไรก็ตามการก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุของประเทศไทยก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางสังคม การผลิตสินค้าและบริการเพื่อตอบสนองต่อผู้บริโภคกลุ่มดังกล่าวจึงเพิ่มสูงขึ้น โดยทั้งภาครัฐและเอกชนได้มีการเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวไปบ้างแล้ว

ดังนั้นจึงเห็นว่า ปัจจุบันมีภาคเอกชนหลากหลายธุรกิจที่ปรับตัวเพื่อรองรับสังคมสูงวัย และยังสร้างโอกาสให้กับอีกหลายๆ ธุรกิจ อย่างกลุ่มสินค้าและบริการในครัวเรือนผู้สูงวัย เช่น อาหารและเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ โดยเห็นแนวโน้มการบริโภควิตามินและอาหารเสริมเพิ่มขึ้น การก่อสร้างและซ่อมแซมที่อยู่อาศัย เพื่อส่งเสริมความปลอดภัยและลดการเกิดอุบัติเหตุ บริการสาธารณสุขและธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับด้านสุขภาพ เช่น ธุรกิจประกัน การท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ รวมไปถึงธุรกิจดูแลผู้สูงอายุ เนิร์สซิ่งโฮม, การจัดกิจกรรมสันทนาการต่างๆ, ธุรกิจความงามเพื่อการชะลอวัย ฯลฯ

นอกจากนี้ ทางด้านการเงินก็ต้องเตรียมพร้อมเช่นกัน ซึ่ง ศรพล ตุลยะเสถียร รองผู้จัดการ หัวหน้าสายงานวางแผนกลยุทธ์องค์กร และหัวหน้าสายงานพัฒนาความยั่งยืนตลาดทุน ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กล่าวว่า ประเทศไทยมีสัดส่วนประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไปร้อยละ 20 ของประชากรทั้งหมด ซึ่งข้อมูล ณ สิ้นปี 2565 ประชากรไทยอายุ 60 ปีขึ้นไป อยู่ที่ร้อยละ 19.2 ประกอบกับผลสำรวจชี้ว่าคนไทยวัยเกษียณจะมีปัญหาทางการเงิน โดยผู้สูงอายุร้อยละ 54 มีเงินออมไว้ใช้หลังเกษียณ แต่มูลค่าการออมส่วนใหญ่ต่ำกว่า 50,000 บาท ไม่พอดำรงชีพหลังเกษียณ และผู้สูงอายุส่วนใหญ่ยังพึ่งพารายได้หลักจากคนอื่นและยังคงทำงาน นอกจากนี้กลุ่มผู้สูงอายุร้อยละ 55 ยังอ่อนด้านความรู้ทางการเงิน

ดังนั้น ตลาดหลักทรัพย์ฯ เล็งเห็นถึงการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญของโครงสร้างประชากรไทย และช่องว่างด้านทักษะและความรู้ทางการเงินที่ต้องส่งเสริมและปรับปรุงให้ดีขึ้นอย่างเร่งด่วน ล่าสุดตลาดหลักทรัพย์ฯ เปิดตัวแคมเปญ “Happy Money, Happy Young Old ปูนนี้ (ก็) มีใช้” เพื่อส่งเสริมให้คนไทยโดยเฉพาะวัยแรงงานที่ใกล้เกษียณ อายุ 45-65 ปี มีความรู้พื้นฐานด้านการบริหารเงินสำหรับเกษียณ ซึ่งตลาดหลักทรัพย์ฯ มีการพัฒนาเนื้อหาและเครื่องมือที่เน้นการจัดสรรเงินออมก้อนสุดท้ายให้เหมาะสมและเพียงพอสำหรับใช้เลี้ยงดูตนเองไปตลอดชีวิต นำไปสู่การมีชีวิตหลังเกษียณอย่างมีความสุข

ศรพล ย้ำว่า แคมเปญนี้จะเป็นแหล่งเรียนรู้ที่สำคัญสำหรับทุกคนที่ต้องการเตรียมความพร้อมสำหรับอนาคต ช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของคนไทยให้มีความมั่นคงทางการเงิน และพร้อมสำหรับการใช้ชีวิตวัยเกษียณในยุคที่ประเทศไทยกำลังก้าวเข้าสู่สังคมสูงอายุอย่างสมบูรณ์

อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าจะภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน จะต้องตั้งรับกับการเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วของประชากรสูงอายุ และยังเป็นความท้าทายในการจัดสวัสดิการสังคมให้กับผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดีอย่างที่พึงได้รับ โดยสิ่งที่ภาครัฐต้องเตรียมรองรับคือ การสร้างสิ่งแวดล้อมที่อยู่อาศัยให้เหมาะสม ส่งเสริมการวางแผนการเงินและสุขภาพหลังเกษียณ สร้างความมั่นคงทางรายได้ไม่ให้เหลื่อมล้ำ เพื่อสร้างสังคมสูงวัยที่เป็นธรรมและเท่าเทียม จัดสวัสดิการถ้วนหน้า และส่งเสริมอาชีพ

ตลอดจนสร้างเสริมสุขภาวะผู้สูงอายุให้มีสุขภาพดี ดูแลและช่วยเหลือตนเองได้ ส่งเสริมให้มีการเข้าถึงเทคโนโลยีดิจิทัลมากขึ้น และส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต.

 

บุญช่วย ค้ายาดี

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ความสำเร็จของแบรนด์กับการใช้Meta

ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นตลาดที่เติบโตอย่างรวดเร็ว โดยมีประชากร 700 ล้านคน และมี GDP รวมประมาณ 4 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ทำให้เป็นตลาดที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 5 ของโลก

หวยเกษียณแก้ปัญหาแก่ก่อนรวย

เมื่อวันอังคารที่ผ่านมา คณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบโครงการสลากสะสมทรัพย์เพื่อเงินออมยามเกษียณ หรือหวยเกษียณ ของกองทุนการออมแห่งชาติ ซึ่งนี่ถือเป็นโครงการที่รัฐบาลพยายามส่งเสริมการออมของประชาชนในประเทศ

เจ็บแล้วจบ

หลังการบริหารงานของรัฐบาลเศรษฐาได้เข้ามาเดินหน้ามาตรการประชานิยมลด แลก แจก แถม จัดเต็ม ตามที่สัญญากันไว้ช่วงหาเสียงเลือกตั้ง โดยเฉพาะนโยบายด้านพลังงาน ลดค่าไฟฟ้า

3แผนกรีนดันอุตฯไทยรักษ์โลก

เทรนด์รักษ์โลกยังมีมาอย่างต่อเนื่อง และตลอดปี 2567 ที่ผ่านมานี้หลายหน่วยงาน หลายบริษัทก็ยังไม่ทิ้งอุดมการณ์อันแรงกล้านี้ และยังแห่ประกาศแผนดำเนินงานเพื่อดูแลสิ่งแวดล้อมกันอย่างคึกคัก

เร่ง“ปรับ”ก่อน(ถูก)“เปลี่ยน”

ยอดขายรถยนต์ในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2567 ที่ผ่านมา หลายคนคงตกใจ เพราะหดตัวลงถึง 23.8% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และมีแนวโน้มว่าทั้งปีจะหดตัวลงอย่างรุนแรงที่สุดในรอบ 15 ปี

เปิดไม้เด็ดธุรกิจขนาดเล็กสู้ในตลาด

หากย้อนเวลาไปเมื่อหลายปีก่อน ธุรกิจที่มีทุนหนาและมีส่วนแบ่งการตลาดมาก มักจะถูกมองว่าเป็น “ปลาใหญ่” ที่ได้เปรียบเหนือคู่แข่งที่ทุนน้อยกว่าซึ่งเปรียบเหมือน “ปลาเล็ก” จนเป็นที่มาของคำว่า “ปลาใหญ่กินปลาเล็ก” หนึ่งในข้อได้เปรียบที่เห็นชัดที่สุดคือ การมี Economy of Scale หรือ การประหยัดต่อขนาด ซึ่งหมายถึง การผลิตสินค้าหรือบริการในจำนวนที่มากพอที่จะทำให้ต้นทุนการผลิตต่อหน่วยต่ำลง พูดง่ายๆ ก็คือ “ยิ่งผลิตมากขึ้น ต้นทุนการผลิตยิ่งลดลง และยิ่งคุ้มค่ามากขึ้น” โดยต้นทุนในการผลิตสินค้าหรือบริการจะแบ่งออกเป็น ต้นทุนคงที่ (fixed cost) และต้นทุนผันแปร (variable cost) ต้นทุนคงที่ คือ ต้นทุนที่ธุรกิจต้องจ่ายเป็นจำนวนคงที่ ไม่ว่าจะผลิตสินค้าหรือบริการในปริมาณเท่าใดก็ตาม เช่น ค่าเช่าพื้นที่ ค่าเครื่องจักรอุปกรณ์ ค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการ ส่วนต้นทุนผันแปร