50ปีปิดช่องว่างรายได้ระหว่างเพศ

แม้สถานการณ์ทั่วโลกจะกลับคืนสู่ภาวะปกติหลังการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 แต่สถานที่ทำงาน ยังคงเป็นสถานที่ที่ขาดความเท่าเทียมสำหรับผู้หญิงทั่วโลก เห็นได้จาก PwC ได้เปิดเผยถึงผลการวิเคราะห์ดัชนีผู้หญิงในสถานที่ทำงาน และดัชนีการให้อำนาจในการตัดสินใจทั่วโลก โดยดัชนีผู้หญิงในสถานที่ทำงานของ PwC แสดงให้เห็นว่า แม้การมีส่วนร่วมของแรงงานหญิงในกลุ่มประเทศองค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา จำนวน 33 ประเทศ ปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อยในปี 2564 แต่ความก้าวหน้าด้านความเท่าเทียมทางเพศยังคงมีการพัฒนาในระดับที่ช้าเกินไป

ขณะเดียวกัน บทวิเคราะห์แสดงให้เห็นว่ายังคงมีผลประโยชน์มหาศาลที่รออยู่จากการปิดช่องว่างรายได้ระหว่างเพศ

โดยการเพิ่มอัตราค่าจ้างเฉลี่ยของผู้หญิงให้ทัดเทียมกับผู้ชายในกลุ่มประเทศ OECD จะสามารถช่วยเพิ่มรายได้ให้กับผู้หญิงได้มากกว่า 2 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปี (หรือราว 68 ล้านล้านบาทต่อปี) แต่เมื่อพิจารณาถึงช่องว่างรายได้ระหว่างเพศของกลุ่มประเทศ OECD ที่ 14% ในปี 2564 และอัตราความก้าวหน้าของความเท่าเทียมทางรายได้ระหว่างเพศชายและเพศหญิงในอดีต พบว่า จะต้องใช้เวลามากกว่า 50 ปีถึงจะปิดช่องว่างรายได้ระหว่างเพศสำหรับกลุ่มประเทศนี้ได้

ทั้งนี้ ดัชนีผู้หญิงในสถานที่ทำงานแสดงให้เห็นถึงอัตราการว่างงานของผู้หญิงที่ปรับตัวลดลงเล็กน้อยจาก 6.7% มาที่ 6.4% ในปี 2564 อย่างไรก็ดี การปรับตัวดีขึ้นที่คล้ายคลึงกันยังเห็นได้อย่างชัดเจนจากอัตราการมีส่วนร่วมของแรงงานเพศชายและอัตราการจ้างงาน ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าระดับการจ้างงานเป็นผลพวงจากปัจจัยทางเศรษฐกิจมหภาค และการฟื้นตัวของตลาดแรงงานโดยทั่วไป มากกว่าความก้าวหน้าที่นำไปสู่ความเท่าเทียมทางเพศ

นางสาวลาริส สตีโลว์ นักเศรษฐศาสตร์อาวุโส PwC ประเทศสหราชอาณาจักร และผู้เขียนบทวิเคราะห์ดัชนีผู้หญิงในสถานที่ทำงาน กล่าวว่า ผู้หญิงอายุ 20 ปีที่เข้าสู่ตลาดแรงงานในวันนี้ จะไม่เห็นความเท่าเทียมของค่าจ้างในช่วงชีวิตการทำงานของเธอ ในอัตราปัจจุบันที่ช่องว่างรายได้ระหว่างเพศกำลังถูกปิดลง จะต้องใช้เวลามากกว่าครึ่งศตวรรษในการเดินหน้าไปสู่ความเท่าเทียมของรายได้ระหว่างเพศ ซึ่งหากการฟื้นตัวจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ได้สอนอะไรเราก็คงเป็นเรื่องที่เราไม่สามารถพึ่งพาการเติบโตทางเศรษฐกิจได้เพียงอย่างเดียวเพื่อสร้างความเท่าเทียมทางเพศ เว้นแต่เราต้องการรออีก 50 ปีหรือมากกว่านั้น

หากถามว่าทำไมการให้อำนาจในการตัดสินใจจึงมีความสำคัญ? ผลสำรวจพบว่าผู้หญิงที่ได้รับคะแนนการให้อำนาจในการตัดสินใจในสถานที่ทำงานสูงที่สุด มีแนวโน้มที่จะขอขึ้นเงินเดือนคิดเป็น 55% และขอเลื่อนตำแหน่งมากกว่า 52% เปรียบเทียบกับคะแนน 31% (ช่องว่าง 24 คะแนน) และ 26% (ช่องว่าง 26 คะแนน) ของผู้หญิงโดยรวมตามลำดับ

จากข้อมูลของดัชนีการให้อำนาจในการตัดสินใจทั่วโลกของ PwC ผู้หญิงทำงานที่ได้รับอำนาจมากที่สุดอยู่ในกลุ่มเทคโนโลยี สื่อ และโทรคมนาคม ที่ถูกขับเคลื่อน โดยเฉพาะในกลุ่มอุตสาหกรรมเทคโนโลยี ซึ่งผู้หญิงได้รับอำนาจในการตัดสินใจมากกว่าผู้ชายเล็กน้อย สำหรับผู้หญิงที่ทำงานในกลุ่มธุรกิจบริการทางการเงิน และพลังงาน สาธารณูปโภค และทรัพยากร ถือเป็นกลุ่มที่สองและกลุ่มที่สามรองลงมา แต่ผู้ชายได้รับอำนาจในการตัดสินใจมากกว่าผู้หญิงอย่างมีนัยสำคัญในกลุ่มธุรกิจบริการทางการเงิน

ภิรตา ภักดีสัตยพงศ์ หุ้นส่วนสายงานที่ปรึกษา PwC ประเทศไทย กล่าวเสริมว่า ปัจจุบันเราเห็นความเท่าเทียมทางเพศในภาคเอกชนของไทยมีการปรับตัวที่ดีขึ้นเรื่อยๆ โดยบริษัทขนาดใหญ่มีสัดส่วนของซีอีโอ หรือผู้บริหารที่เป็นผู้หญิงมากขึ้นไม่แพ้ประเทศอื่นๆ ในภูมิภาค รวมทั้งบางองค์กรมีการจัดทำ KPI ในการจ้างงาน หรือการเลื่อนตำแหน่งให้มีสัดส่วนที่สมดุลระหว่างผู้หญิงและผู้ชายมากขึ้น ซึ่งภาคธุรกิจที่เห็นการเปลี่ยนแปลงมากที่สุดอยู่ในกลุ่มธุรกิจบริการทางการเงิน ไอที บริการ ขณะที่กลุ่มพลังงาน และขนส่งยังคงมีสัดส่วนของแรงงานชายเยอะอยู่ เพราะอัตราของนักศึกษาจบใหม่ในสาขานี้ส่วนมากเป็นผู้ชาย สำหรับภาครัฐยังถือว่ามีช่องว่างอยู่ เพราะผู้นำองค์กรหรือสถาบันส่วนใหญ่ยังคงเป็นผู้ชาย

อย่างไรก็ดี ผู้บริหารไทยส่วนใหญ่ยังคงต้องปรับมุมมองเรื่องประโยชน์ในการเพิ่มบทบาทของผู้หญิงภายในองค์กร และยอมรับความแตกต่างทางเพศอย่างจริงจังตั้งแต่กระบวนการรับคน ต้องยกเลิก stereotype เดิมๆ ว่า ถ้ารับเจ้าหน้าที่ฝ่ายไอทีหรือวิศวกรจะต้องเป็นผู้ชาย ขณะที่เอชอาร์ต้องเป็นผู้หญิง รวมไปถึงการวางแผน executive pipeline ให้มีความหลากหลายขึ้นเพื่อลดช่องว่างทางเพศ และเปิดโอกาสให้ผู้หญิงได้มีโอกาสเติบโตในสายอาชีพเทียบเท่ากับผู้ชาย.

 

รุ่งนภา สารพิน

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เร่งเครื่องดึงนักท่องเที่ยว

จากสถานการณ์การท่องเที่ยวไทยในปัจจุบัน กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาได้ให้ข้อมูลพบว่า ประเทศไทยมีจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติสะสมในช่วงเกือบ 7 เดือนเต็ม ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.-28 ก.ค.2567 ทั้งสิ้น 20,335,107 คน

ต้องเร่งแก้ปัญหาปากท้อง

หลังจากนายกรัฐมนตรีหญิง แพรทองธาร ชินวัตร รับตำแหน่งอย่างชัดเจน ทำให้ภาคเอกชนต่างก็ดีใจ เพราะไม่ทำให้ประเทศเป็นสุญญากาศในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ และสิ่งแรกที่ภาคเอกชนอย่าง

แนะเจาะใจผู้บริโภคด้วย‘ความยั่งยืน’

คงต้องยอมรับว่าประเด็นเรื่องสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืนได้รับความสนใจมากขึ้นทั้งจากผู้บริโภค ภาคเอกชน และภาครัฐ ส่งผลให้ผู้ประกอบการในภาคธุรกิจจำเป็นต้องมีการปรับตัว

รัฐบาลงัดทุกทางพยุงตลาดหุ้น

หลังจากปล่อยให้ตลาดหุ้นซึมมาอย่างช้านาน จนปัจจุบันอยู่ต่ำกว่า 1,300 จุด เรียกได้ว่าสำหรับนักลงทุนถือเป็นความเจ็บปวด เพราะดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาไม่ได้ไปไหน

ดันอุตฯไทยไปอวกาศ

แน่นอนว่าในยุคที่โลกต้องก้าวหน้าไปสู่อุตสาหกรรมที่ทันสมัยมากขึ้น และต่อไปไม่ได้มองแค่ในประเทศหรือในโลกแล้ว แต่มองไปถึงนอกโลกเลยด้วยซ้ำ เพราะจะเป็นหนึ่งในกลไกในการพัฒนาอุตสาหกรรมภาคพื้นที่มีความแข็งแกร่งส่งผ่านไปยังอุตสาหกรรมอวกาศได้

แบงก์มอง ASEAN ยังมาเหนือ

ยังคงมีอีกหลายประเด็นที่ต้องจับตามองกันอย่างต่อเนื่อง ทั้งในสถานการณ์โลกและภายในประเทศ ที่จะส่งผลต่อเศรษฐกิจและการค้า โดยมุมมองของ อมรเทพ จาวะลา ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสำนักวิจัย ธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย ระบุว่า