บันทึกหน้า 4

ไทยโพสต์ "อิสรภาพแห่งความคิด" www.thaipost.net เรียกว่าเป็นการเลือกตั้งที่โหม "ประชานิยม" ครั้งใหญ่ในประวัติศาสตร์การเมืองไทย ลดแลกแจกแถมกันสะบัด แถมเกทับกันเป็นว่าเล่น ขายฝันหรือทำได้จริง ก็ต้องรอหลังเลือกตั้ง 14 พ.ค. ตอนนี้ก็ทำได้แค่สแกนกันคร่าวๆ หลังคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) เปิดนโยบายหาเสียงของ 70 พรรคการเมือง ในช่วงค่ำวันพุธที่ผ่านมา ต่อจากนี้ก็เป็นหน้าที่ของ กกต. ที่ต้องเร่งสปีดเช็กว่าแต่ละพรรคได้ชี้แจงครบตาม 3 เงื่อนไขที่กฎหมายกำหนด ทั้งวงเงินที่มาของเงินที่ต้องใช้ ความคุ้มค่าประโยชน์ในการดำเนินนโยบาย และผลกระทบความเสี่ยงที่เกิดขึ้น รวมถึงความเป็นไปได้ของนโยบาย โดยเฉพาะนโยบายคิดใหญ่สุดขั้วของ "เสี่ยนิด" เศรษฐา ทวีสิน "แจกเงินดิจิทัล 1 หมื่นบาท" 

เพื่อไทยระบุไว้ว่า วงเงินที่ต้องใช้ 5.6 แสนล้านบาท ส่วนที่มาของเงิน จะมาจากการบริหารระบบงบประมาณและภาษี ประกอบด้วย 1.ประมาณการรายได้รัฐที่เพิ่มขึ้นในปี 67 จำนวน 2.6 แสนล้าน 2.ภาษีที่ได้มาจากผลคูณต่อเศรษฐกิจจากนโยบาย 1 แสนล้าน 3.การบริหารจัดการงบประมาณ 1.1 แสนล้าน 4.การบริหารงบประมาณด้านสวัสดิการที่ซ้ำซ้อน 9 หมื่นล้าน แต่เหลือบเห็นหมายเหตุตอนท้าย "สามารถปรับเปลี่ยนตามความเหมาะสมตามสถานการณ์ด้านการคลังของประเทศ"  ไม่ทันไรก็ออกลายตั้งแต่ยื่นนโยบายซะแล้ว

๐ ส่วนอีกพรรคที่น่าสนใจ "รวมไทยสร้างชาติ" โดยเฉพาะ 3 โครงการ ที่หวังโดนใจประชาชน หนุน "พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา" นั่งเก้าอี้นายกฯ สมัย 3 เริ่มจาก "บัตรสวัสดิการพลัส" หรือบัตรลุงตู่ วงเงิน 1 พันบาทต่อคนต่อเดือน ใช้งบประมาณ 7.1 หมื่นล้านบาทต่อปี ส่วนที่มาของเงิน จะใช้เงินจากกองทุนประชารัฐสวัสดิการเพื่อเศรษฐกิจฐานรากและสังคม ซึ่งประกอบด้วยเงินอุดหนุนจากงบประมาณรายจ่ายของรัฐบาล ในวงเงิน 7.1 หมื่นล้านบาท รทสช. แจงว่าจะช่วยลดความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจและสังคม ยกระดับและพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนผู้มีรายได้น้อยอย่างยั่งยืน พร้อมการันตีว่าไม่มีความเสี่ยงในการดำเนินนโยบาย รวมทั้งมีความโปร่งใสตรวจสอบได้ มีความเสี่ยงทุจริตต่ำ ขณะที่ "คนละครึ่งภาค 2" 26 ล้านสิทธิ์ วงเงินปีละ 4 หมื่นล้านบาท เน้นร้านค้าขนาดเล็ก หาบเร่ แผงลอย โดยวงเงินที่ต้องใช้จะเป็นการดำเนินการต่อจากโครงการคนละครึ่งเฟส 5 ส่วนที่มาของเงินมาจากงบประมาณประจำปี โครงการนี้จะช่วยกระตุ้นการบริโภคและขยายกิจกรรมการใช้จ่ายของประชาชนกับผู้ค้ารายจ่าย แก้ไขผลกระทบและความเสี่ยงโครงการโดยการปรับเพิ่มระบบกำกับและระบบการยืนยันการใช้งานให้มีความรัดกุมมากขึ้น และ "เพิ่มเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ" ให้เท่ากันทุกช่วงอายุเป็น 1 พันบาทต่อคนต่อเดือน งบประมาณปีละ 4 หมื่นล้านบาท ใช้เงินงบประมาณประจำปี

๐ บ่นกันทั้งแผ่นดิน! เจอบิลค่าไฟเดือนนี้ร้องจ๊ากกันทุกราย มิเตอร์พุ่งปรี๊ดควักกระเป๋าจ่ายเพิ่มขึ้น 2-3 เท่า จากเดือนก่อน หลายพรรคสบช่องโหมตีปี๊บนโยบายพลังงาน แข่งลดแลกแจกแถม แรงสุดต้องยกให้พรรคพลังประชารัฐ "บิ๊กป้อม" พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ ประกาศบนเวทีปราศรัยเมืองแปดริ้ว "ผมอยากสื่อสารให้พี่น้องทราบว่าที่ผ่านมาประเทศพัฒนาได้ยาก พปชร.จึงนำเสนอนโยบายที่เป็นประโยชน์ต่อประชาชนมากมาย ทั้งบัตรสวัสดิการแห่งรัฐที่เพิ่มเป็น 700 บาทต่อเดือน ลดราคาน้ำมัน ราคาแก๊ส และค่าไฟฟ้าลงในทันทีที่เข้ามาเป็นรัฐบาล โดยจะลดราคาน้ำมันเบนซินลิตรละ 18 บาท น้ำมันดีเซลลดลิตรละ 6.30 บาท ซึ่งจะทำทันทีที่ พปชร. ได้เข้ามาเป็นรัฐบาล รวมทั้งยังมีมาตรการลดราคาแก๊ส ให้เหลือ 250 บาทต่อถัง ที่สำคัญคือ ลดค่าไฟฟ้าครัวเรือนให้เหลือ 2.50 บาทต่อหน่วย และลดค่าไฟฟ้าภาคอุตสาหกรรมเหลือ 2.70 บาทต่อหน่วย เพื่อมอบความสุขให้ประชาชนด้วยความจริงใจ พปชร.จะทำทุกอย่างเพื่อให้ประชาชนอยู่ดีกินดีขึ้น" ฟังทีแรกถึงกับเคลิ้ม แต่มาสะดุดตรงที่บอกว่าถ้าเป็นรัฐบาลจะทำทันที อ้าว แล้วตอนนี้ไม่ได้เป็นแกนนำรัฐบาลหรือ เล่นเอาสะดุ้งตื่นอยู่กับความจริงที่ค่าไฟแพง 4.72 บาท ถือคติ "กำขี้ดีกว่ากำตด" เลยขอลุงโชว์หั่นเป็นตัวอย่างตอนนี้สัก 1 บาทได้มั้ย ไม่ต้องถูกขนาดสองบาทห้าสิบ ถ้าทำได้ ใครๆ ก็เลือกลุงชัวร์.

 

ลี้คิมฮวง

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

บันทึกหน้า 4

วันนี้เห็นข่าว แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ดีอกดีใจกับ อันดับที่ 29 สตรีผู้ทรงอิทธิพลโลก จากจำนวน 100 คนทั่วโลก ของนิตยสาร Forbes ก็ให้รู้สึกอึนๆ มึนๆ เหมือนอากาศขมุกขมัวสลัวในกรุงเทพมหานคร ก็เพราะไม่แน่ใจว่า ในฐานะพลเมืองไทยแล้ว ควรจะจำนนกับสถานการณ์ ณ ปัจจุบันแล้วยินดีปรีดา หรือว่าปลงๆ เสียเถิดจะเกิดผล!!

บันทึกหน้า 4

ถึงกับว้าว! "อิ๊งค์" ทอล์กโชว์ อลังการงานสร้าง เวทีใหญ่สวยงาม จัดเต็มแสงสีเสียง ยกเว้นเรื่องเดียว "สาระ" เนื้อหาผลงาน 90 วัน รัฐบาลแพทองธาร

บันทึกหน้า 4

ต้องเรียกว่าตีปี๊บกันอย่างยิ่งกับการแถลงผลงาน 90 วัน พร้อมสานฝันอนาคตในธีม “2568 โอกาสไทย ทำได้จริง” ที่ “แพทองธาร ชินวัตร” นายกรัฐมนตรีจะเป็นคีย์แมนหลัก โดยถ่ายทอดสดผ่านสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย (เอ็นบีที) ในวันพฤหัสบดีที่ 12 ธ.ค.นี้

บันทึกหน้า 4

วันอังคารที่ 10 ธันวาคม ตรงกับ วันรัฐธรรมนูญ เป็นวันหยุดราชการ การประชุม ครม.จึงเลื่อนไปเป็นวันพุธ หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อวันที่ 24 มิ.ย.2475 ถึงปัจจุบัน มีรัฐธรรมนูญแล้ว 20 ฉบับ มีรัฐประหารถึง 13 ครั้ง

บันทึกหน้า 4

” จับตาว่า ม็อบจะจุดติดหรือไม่ หลัง สนธิ ลิ้มทองกุล อดีตแกนนำพันธมิตรฯ ยื่นหนังสือถึงนายกฯ จำนวน 6 ข้อ เพื่อยกเลิกเอ็มโอยู 44 รวมถึงยังยื่นข้อเรียกร้องดังกล่าวต่อสมาชิกรัฐสภา

บันทึกหน้า 4

พรุ่งนี้ 10 ธ.ค. วันรัฐธรรมนูญ บันทึกให้ระลึกรู้ว่า ประเทศไทยได้ประกาศใช้รัฐธรรมนูญมาแล้ว 20 ฉบับ ฉบับปัจจุบันคือรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ป