จากการที่ได้คลุกคลีทำข่าวในแวดวงเศรษฐกิจมาอย่างยาวนานพอสมควร ก็เห็นว่าเครื่องมือในการกระตุ้นเศรษฐกิจที่ทางภาครัฐใช้นั้น หลักๆ ก็มีอยู่ 2 ด้านด้วยกัน ก็คือ นโยบายการคลัง และนโยบายการเงิน
แน่นอน หากถามความเข้าใจของประชาชนแล้ว เชื่อว่าประชาชนจะเข้าใจเรื่องนโยบายการเงินมากกว่า เพราะเป็นเรื่องใกล้ตัว นั่นก็คือ เรื่องการปรับขึ้นและลดดอกเบี้ย โดยหากต้องการกระตุ้นเศรษฐกิจ แบงก์ชาติก็แค่มีมติลดดอกเบี้ยนโยบายลง ซึ่งเมื่อดอกเบี้ยถูกลง ต้นทุนทางเศรษฐกิจก็ถูกลง คนก็กล้าลงทุน จับจ่ายใช้สอย แต่หากเห็นว่าเศรษฐกิจร้อนแรง หรือมีเงินเฟ้อที่สูงเกินไป ก็ใช้การขึ้นดอกเบี้ยเป็นกลไกชะลอความร้อนแรง ดังที่เห็นและเกิดขึ้นในช่วงเวลาปัจจุบัน
ขณะที่ นโยบายการคลัง จะเป็นนโยบายเกี่ยวกับการใช้จ่ายและรายได้ของรัฐ ซึ่งรัฐบาลสามารถใช้กลไกเกี่ยวกับการใช้จ่ายนี้มาช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจได้ อาทิ การใช้งบประมาณอัดลงไปในระบบ การทำงบประมาณแบบขาดดุลการคลัง การลดหย่อนภาษี หรืองดจัดเก็บภาษี ซึ่งทั้งหมดนี้เพื่อกระตุ้นให้เงินไหลคืนกลับไปยังประชาชน ให้มีการใช้จ่าย
แน่นอน การกระตุ้นเศรษฐกิจของเครื่องมือทั้งสองมีความแตกต่างกันพอสมควร และมีข้อดีข้อเสียที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับการเลือกใช้เครื่องมือให้เหมาะสม
และในบรรยากาศการหาเสียงในช่วงนี้ หลายคนก็ได้เกาะติดนโยบายหาเสียงของแต่ละพรรคการเมือง ซึ่งหลักๆ ก็มาพร้อมกับการทำประชานิยม แจก-เพิ่มสวัสดิการนู่นนี่ให้ บางพรรคถึงขนาดบอกว่าจะแจกเงินดิจิทัลถึง 10,000 บาทให้คนที่มีอายุ 16 ปีขึ้นไป
จริงๆ ในเชิงการช่วงชิงกระแสก็เรียกได้ว่าสร้างเสียงฮือฮาและแรงกระเพื่อมต่อประชาชนจำนวนมาก ตอนนี้ก็มีการตั้งข้อสังเกตว่าการแจกในลักษณะนี้เป็นการซื้อเสียงล่วงหน้าหรือไม่ ซึ่งผู้เขียนไม่ใช่นักกฎหมายก็เลยไม่สามารถไปฟันธงตรงนี้ได้
แต่หากมองในแง่เศรษฐกิจแล้ว นโยบายนี้มันส่งผลดีต่อเศรษฐกิจและกำลังซื้อจริงๆ หรือไม่ และทำได้จริงหรือไม่
อันดับแรก วัตถุประสงค์ที่ทางพรรคการเมืองระบุว่าการแจกเงินดังกล่าวต้องการกระตุ้นเศรษฐกิจแบบฉุกเฉิน และกระตุ้นกำลังซื้อ
ซึ่งเมื่อมาดูในความเป็นจริง เศรษฐกิจไทยอยู่ในภาวะฝืดเคืองจริงหรือไม่ ซึ่งมองด้วยใจเป็นธรรมจริงๆ ต้องบอกว่าเศรษฐกิจไทยเองไม่ได้อยู่ในช่วงขาลง แต่เป็นช่วงขาขึ้นด้วยซ้ำ เห็นได้จากช่วงสงกรานต์ที่ผ่านมาการใช้จ่ายก็คึกคัก อย่างที่หอการค้าระบุว่า เมื่อรวมทุกกิจกรรมทางเศรษฐกิจก็จะมีเงินสะพัดกว่าแสนล้านบาท
ขณะที่ การท่องเที่ยวก็มีการฟื้นตัวแบบค่อยๆ เป็น ค่อยๆ ไป และปีนี้ก็คาดว่านักท่องเที่ยวต่างชาติจะทะลุ 25-26 ล้านคนด้วยซ้ำ ซึ่งนักท่องเที่ยวที่เข้ามาก็จับจ่ายใช้สอยเอาเงินเข้าประเทศอยู่แล้ว
จะมีติดขัดบ้างก็เรื่องของการผลิตเพื่อส่งออก เพราะในประเทศตะวันตกหลายแห่งเจอภาวะเงินเฟ้อ เศรษฐกิจฝืดเคือง ดังนั้นการส่งออกก็จะกระทบบ้าง แต่เรื่องส่งออกก็จะไปเกี่ยวข้องกับภาคธุรกิจขนาดใหญ่มากกว่าชาวบ้าน ร้านค้า ตลาดทั่วไป
ดังนั้น แค่ข้อแรกก็ยังไม่เห็นความจำเป็นในการต้องทุ่มเงินจำนวนมหาศาลถึง 550,000 ล้านบาท (นับ 55 ล้านคน) มาใช้กับโครงการที่เรียกว่าแจกให้ใช้กันฟรี ที่ดูแล้วน่าจะเป็นการตำน้ำพริกละลายแม่น้ำ แน่นอน มันอาจจะส่งผลต่อระบบเศรษฐกิจในระยะสั้น แต่ระยะยาวไม่ได้ประโยชน์อะไรเลย
ประการสำคัญ อันดับแรก จะหาเงินจากไหนกว่า 550,000 ล้านบาทมาใช้ดำเนินโครงการ ซึ่งทุกวันนี้รัฐบาลก็แบกหนี้สาธารณะจากการขาดดุลงบประมาณจำนวนมหาศาลอยู่แล้ว จากการกู้มาแจกช่วงโควิดที่ผ่านมา และเข้าใจว่างบ 67 มีวงเงินให้ปรับใช้เพียง 200,000 ล้านบาท ถ้ามีการกู้เพิ่มจริงก็จะดันหนี้สาธารณะทะลุไปถึง 64.16% ของจีดีพี ซึ่งก็เสียวินัยการเงิน การคลัง กระทบไปยังเรตติ้งต่างๆ ที่จะตามมาจากมุมมองต่างชาติ ซึ่งจะกระทบไปยังเสถียรภาพระยะยาวอีก และการปั๊มเงินลงไปในระบบ จะก่อให้เกิดเงินเฟ้อซ้ำอีกหรือไม่ ก็ยังเป็นคำถาม
และที่สำคัญเลย เมื่อแจกและใช้งบหมดแล้วใน 6 เดือน งบที่ละเลงไป 500,000 ล้านบาท ซึ่งนำมาพัฒนาโครงการ โครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจมากมาย ก็อาจจะทำพื้นฐานของประเทศชะงักงันได้ อันนี้ก็ต้องมาชั่งน้ำหนักกันดู
ที่สำคัญ การเพิ่มกำลังซื้อมีได้หลายแบบ ไม่จำเป็นต้องแจกเงิน แต่เป็นการสร้างแรงจูงใจให้ใช้เงิน ผ่านกระบวนการทางภาษี หรือการเพิ่มแรงจูงใจบางอย่างก็สามารถทำได้ นโยบายอย่าง ช้อปดีมีคืน หรือแม้กระทั่งหวย ใบเสร็จร้านค้าของบางพรรค ซึ่งก็กระตุ้นการจับจ่ายได้เช่นกัน นี่ก็ลองฝากไปคิดดูว่า แจกเงิน มันดีจริงๆ หรือไม่.
ลลิตเทพ ทรัพย์เมือง
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ปี68สินเชื่อระบบแบงก์ไทยหืดจับ
ปี 2568 ยังเป็นอีกปีที่ต้องจับตากับทิศทางของเศรษฐกิจไทย เพราะยังมีปัจจัยหลายอย่าง ทั้งบวกและลบ ที่จะเข้ามามีผลกับภาคเศรษฐกิจ โดยเฉพาะสถานการณ์กดดันจากปัญหาหนี้ครัวเรือน
แผนดัน ‘เกษตรครบวงจร’
อุตสาหกรรมเกษตร เป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมหลักของประเทศไทย และที่ผ่านมาเศรษฐกิจถูกขับเคลื่อนไปได้ด้วยสินค้าเกษตร แต่ก็มีบางช่วงที่ติดขัดและไม่สามารถเดินหน้าต่อได้ จากปัจจัยกระทบต่างๆ
เคาต์ดาวน์ปลอดภัยส่งท้ายปี
เทศกาลส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ 2568 เป็นช่วงเวลาแห่งความสุข เป็นวาระแห่งการเริ่มต้นใหม่ที่เปี่ยมไปด้วยพลังและความหวัง โดยในปีนี้สถานที่จัดงาน Countdown ทั่วประเทศไทยหลายหน่วยงานได้เตรียมกิจกรรมไว้ให้ทุกคนได้ร่วมสนุกและสัมผัสความงดงาม
แชร์มุมมอง‘อินฟลูเอนเซอร์’ในตลาดอาเซียน
การตลาดอินฟลูเอนเซอร์ถือได้ว่าเป็นกลยุทธ์สำคัญในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มายาวนาน แต่กลยุทธ์การทำการตลาดของแต่ละแบรนด์นั้นล้วนแตกต่างกันไป ล่าสุด วีโร่ ได้เปิดตัวเอกสารไวต์เปเปอร์ฉบับใหม่ในหัวข้อ “ผลกระทบ
ของขวัญรัฐบาล
อีกไม่ถึง 2 สัปดาห์ก็จะเข้าสู่ช่วงส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่แล้ว ก็เป็นธรรมเนียมของรัฐบาลและ ครม.ที่จะมีมาตรการเป็นของขวัญมอบให้กับประชาชน ซึ่งการประชุม ครม.ล่าสุดเริ่มมีการเคาะมาตรการต่างๆ ออกมาช่วยเหลือประชาชนกันแล้ว
ยกระดับธุรกิจไทยแข่งขันเวทีโลก
ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย หรือ EXIM BANK คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจไทยปี 2568 มีแนวโน้มขยายตัวที่ 3% ด้วยแรงขับเคลื่อนจากอุปสงค์ในประเทศที่ฟื้นตัวต่อเนื่องจากการใช้จ่ายภาครัฐ