ESGการลงทุนในโลกยุคใหม่

การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีที่ถูกโควิด-19 กระตุ้นให้มีการเปลี่ยนแปลงเร็วขึ้น ทั้งการดำเนินชีวิตและการดำเนินธุรกิจ ประกอบกับ ปัญหาโลกร้อนที่ทำให้สภาพอากาศโลกที่แปรปรวนอย่างรุนแรงอยู่ตลอดเวลา แถมยังมีแนวโน้มที่จะยกระดับความรุนแรงมากขึ้น และทำให้โลกต้องเจอกับวิกฤตสภาพภูมิอากาศครั้งใหญ่ที่มนุษย์เองก็ไม่อาจจินตนาการได้ ซึ่งที่ผ่านมานั้นหลายประเทศทั่วโลกต่างก็ให้ความสำคัญกับ 3 มิติที่สำคัญ ได้แก่ มิติสิ่งแวดล้อม (Environmental: E) มิติสังคม (Social: S) และมิติธรรมาภิบาล (Governance: G) หรือที่เรียกสั้นๆ ว่า ESG

ปัจจุบัน นานาประเทศรวมถึงประเทศไทยเองทั้งภาครัฐและเอกชน ต่างก็หันมาให้ความสำคัญและตระหนักถึงผลกระทบจากปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม และดูเหมือนจะกลายเป็นเทรนด์ของภาคเอกชนไปแล้ว โดยเฉพาะในกลุ่มอุตสาหกรรมก่อสร้าง เทรนด์ ESG เป็นแรงกดดันให้ผู้รับเหมาก่อสร้างต้องเร่งเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้ทรัพยากรและปรับกระบวนการดำเนินงาน ดังนี้

1) ด้านสิ่งแวดล้อม เช่น ใช้วัสดุก่อสร้างที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ลดการก่อมลภาวะ ลดการใช้ทรัพยากรและพลังงาน บริหารจัดการของเหลือและขยะจากงานก่อสร้าง 2) ด้านสังคม เช่น มีความปลอดภัยในการทำงานก่อสร้าง มีความเป็นอยู่และสวัสดิการที่ดีสำหรับแรงงาน และ 3) ด้านบรรษัทภิบาล เช่น จัดซื้อจัดจ้างอย่างโปร่งใส ใช้วัสดุก่อสร้างที่ได้มาตรฐาน

อย่างไรก็ตาม SCB EIC หรือ ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ ธนาคารไทยพาณิชย์ มองว่า การใช้เทคโนโลยีก่อสร้างจะเข้ามาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ และตอบโจทย์เทรนด์ ESG โดยการส่งเสริมให้มีการใช้ BIM อย่างแพร่หลายมากขึ้น จะเป็นจุดเริ่มต้นของภาคก่อสร้างในการเปลี่ยนผ่านไปสู่ยุค Digital transformation สำหรับในระยะต่อไป การนำ Building Information Modeling (BIM) มาเชื่อมต่อกับ Internet of Things (IoTs) เป็นเทคโนโลยี Digital twins ซึ่งเป็นแบบจำลองทางดิจิทัลที่เหมือนกับข้อมูลการก่อสร้างทางกายภาพอย่างสมบูรณ์

อย่างไรก็ตาม ภาครัฐอาจสนับสนุนการใช้เทคโนโลยีก่อสร้างผ่านมาตรการต่างๆ อย่าง การกำหนดมาตรฐานการใช้ BIM ในการประมูลโครงการภาครัฐที่มีมูลค่าโครงการสูง การส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี ควบคู่ไปกับการออกมาตรการส่งเสริมการลงทุน อีกทั้งยังจำเป็นต้องยกระดับทักษะบุคลากรในการใช้เทคโนโลยีก่อสร้าง และจำเป็นต้องพัฒนาทักษะแรงงานให้มีความยืดหยุ่นในการปรับเปลี่ยน ซึ่งการยกระดับทักษะแรงงานให้สูงขึ้นจะช่วยเพิ่มค่าแรง อีกทั้งจะนำไปสู่การยกระดับประสิทธิภาพในภาคก่อสร้างได้อย่างยั่งยืน

นอกจากนี้ยังมีภาคธุรกิจอื่นที่พยายามปรับตัวเช่นกัน อย่าง AIS และ บมจ.พีทีที โกลบอล เคมิคอล หรือ GC ร่วมมือกันสร้างต้นแบบองค์กรที่ดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนในทุกมิติ ตั้งแต่การนำโครงข่ายอัจฉริยะด้วยระบบ IoT และ 5G โซลูชัน มาเพิ่มขีดความสามารถยกระดับกระบวนการทำงาน เพื่อประหยัดพลังงานและลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก สู่การเป็นระบบปฏิบัติการและโรงงานอัจฉริยะที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม หรือแม้แต่การแบ่งปันองค์ความรู้การบริหารจัดการขยะ ทั้งขยะอิเล็กทรอนิกส์และพลาสติกใช้แล้ว ผ่านแพลตฟอร์มที่จะทำให้การสร้างการตระหนักรู้กับผู้บริโภค รวมถึงกระบวนการจัดการขยะมีประสิทธิภาพและสร้างมูลค่าเพิ่มได้ในอนาคต

ซึ่ง คงกระพัน อินทรแจ้ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ GC กล่าวว่า GC มุ่งดำเนินธุรกิจอย่างสมดุล ESG มาอย่างต่อเนื่อง และยังร่วมกันต่อยอดธุรกิจและพัฒนาด้านความยั่งยืน ภายใต้การศึกษาการดำเนินงานร่วมกันในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อประหยัดพลังงานและลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

เช่นเดียวกับ พร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค ร่วมกับ เอสซีจี ขับเคลื่อนนวัตกรรมที่อยู่อาศัยเพื่อสิ่งแวดล้อม สานต่อแนวคิด Green Neighbor ด้วยการใช้วัสดุประหยัดพลังงาน ประหยัดทรัพยากรธรรมชาติ เพื่อการสร้างสิ่งแวดล้อมที่ดีให้กับชุมชนอย่างยั่งยืนได้รับการรับรองฉลาก SCG Green Choice ซึ่งปีที่ผ่านมาช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากกระบวนการผลิตได้ถึง 830 ตัน หรือคิดเป็นปริมาณเทียบเท่าการดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ของต้นไม้จำนวน 69,202 ต้น ตอกย้ำความมุ่งมั่นเพื่อส่งมอบคุณภาพชีวิตที่ดี นำไปสู่การสร้างชุมชนสีเขียวอย่างยั่งยืน.

 

บุญช่วย ค้ายาดี

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เร่งเครื่องดึงนักท่องเที่ยว

จากสถานการณ์การท่องเที่ยวไทยในปัจจุบัน กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาได้ให้ข้อมูลพบว่า ประเทศไทยมีจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติสะสมในช่วงเกือบ 7 เดือนเต็ม ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.-28 ก.ค.2567 ทั้งสิ้น 20,335,107 คน

ต้องเร่งแก้ปัญหาปากท้อง

หลังจากนายกรัฐมนตรีหญิง แพรทองธาร ชินวัตร รับตำแหน่งอย่างชัดเจน ทำให้ภาคเอกชนต่างก็ดีใจ เพราะไม่ทำให้ประเทศเป็นสุญญากาศในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ และสิ่งแรกที่ภาคเอกชนอย่าง

แนะเจาะใจผู้บริโภคด้วย‘ความยั่งยืน’

คงต้องยอมรับว่าประเด็นเรื่องสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืนได้รับความสนใจมากขึ้นทั้งจากผู้บริโภค ภาคเอกชน และภาครัฐ ส่งผลให้ผู้ประกอบการในภาคธุรกิจจำเป็นต้องมีการปรับตัว

รัฐบาลงัดทุกทางพยุงตลาดหุ้น

หลังจากปล่อยให้ตลาดหุ้นซึมมาอย่างช้านาน จนปัจจุบันอยู่ต่ำกว่า 1,300 จุด เรียกได้ว่าสำหรับนักลงทุนถือเป็นความเจ็บปวด เพราะดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาไม่ได้ไปไหน

ดันอุตฯไทยไปอวกาศ

แน่นอนว่าในยุคที่โลกต้องก้าวหน้าไปสู่อุตสาหกรรมที่ทันสมัยมากขึ้น และต่อไปไม่ได้มองแค่ในประเทศหรือในโลกแล้ว แต่มองไปถึงนอกโลกเลยด้วยซ้ำ เพราะจะเป็นหนึ่งในกลไกในการพัฒนาอุตสาหกรรมภาคพื้นที่มีความแข็งแกร่งส่งผ่านไปยังอุตสาหกรรมอวกาศได้

แบงก์มอง ASEAN ยังมาเหนือ

ยังคงมีอีกหลายประเด็นที่ต้องจับตามองกันอย่างต่อเนื่อง ทั้งในสถานการณ์โลกและภายในประเทศ ที่จะส่งผลต่อเศรษฐกิจและการค้า โดยมุมมองของ อมรเทพ จาวะลา ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสำนักวิจัย ธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย ระบุว่า