ESGกับเอสเอ็มอีบนอีคอมเมิร์ซ

พฤติกรรมการช็อปปิ้งออนไลน์กำลังได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นในหมู่ผู้บริโภค ขณะเดียวกันก็มาพร้อมกับความกังวลด้านสิ่งแวดล้อมที่เพิ่มสูงขึ้นเป็นปรากฏการณ์ อ้างอิงตามรายงานจากเฟดเอ็กซ์ พบว่า ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ที่เลือกดำเนินธุรกิจผ่านช่องทางออนไลน์ในระหว่างวิกฤตโควิด-19 นั้น ละเลยความสำคัญในเรื่องของความยั่งยืน ซึ่งมีผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้จ่ายของผู้บริโภคอย่างมาก แต่ในปัจจุบันกลุ่มธุรกิจเหล่านี้ได้เริ่มปรับตัวเพื่อตอบสนองต่อความต้องการของผู้บริโภคในประเด็นดังกล่าวแล้ว

คาวาล พรีท ประธานภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ตะวันออกกลาง และแอฟริกาของเฟดเอ็กซ์ เอ็กซ์เพรส ระบุว่า ร้านค้าออนไลน์หลายเจ้าเชื่อว่าราคาและการจัดส่งอย่างรวดเร็วเป็นเรื่องที่ผู้บริโภคให้ความสำคัญ โดยรายงานพบว่า 88% ของกลุ่มธุรกิจ SMEs ระบุว่าลูกค้าของพวกเขาสนใจว่าจะได้รับสินค้าโดยเร็วที่สุดหรือไม่มากกว่าการใส่ใจเรื่องของความยั่งยืนในการช็อปปิ้ง

อย่างไรก็ตาม เมื่อมาเจาะลึกถึงความรู้สึกของผู้บริโภค มุมมองกลับต่างออกไป สำหรับผู้บริโภคจำนวนมาก อนาคตของโลกเป็นเรื่องที่พวกเขาให้ความใส่ใจเป็นอย่างมาก และไม่ต้องการผ่อนปรน จากรายงานพบว่าในประเทศไทยผู้ตอบแบบสำรวจกว่า 70% เห็นตรงกันว่า เมื่อพูดถึงการช็อปปิ้งออนไลน์พวกเขาให้ความสำคัญกับเรื่องความรวดเร็วในการจัดส่งสินค้าเท่ากับประเด็นทางด้านความยั่งยืน

ธุรกิจขนาดกลางและย่อมรับรู้ว่า ผู้บริโภคคาดหวังให้มีการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน แต่มีธุรกิจมากถึง 85% ที่ยังกังวลในเรื่องต้นทุนที่เกี่ยวข้อง หรือไม่เชื่อว่าการลงทุนในเรื่องนี้จะทำให้พวกเขาได้รับผลตอบแทนที่คุ้มค่า แต่ข้อมูลชี้ให้เห็นถึงมุมมองที่ต่างออกไป รายงานของเฟดเอ็กซ์แสดงให้เห็นว่า 9 ใน 10 ของผู้บริโภคในประเทศไทยคาดหวังว่าบริษัทอีคอมเมิร์ซที่พวกเขาใช้บริการจะมุ่งมั่นดำเนินธุรกิจเพื่อความยั่งยืน ข้อมูลเหล่านี้ได้รับการรับรองโดยรายงานของ Bain & Company ซึ่งเปิดเผยว่า 90% ของผู้บริโภคในเอเชียแปซิฟิกยินดีจ่ายราคาพิเศษสำหรับสินค้าที่มีการพิสูจน์แล้วว่าสามารถสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อสิ่งแวดล้อมได้จริง

อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าผู้บริโภคในประเทศไทยส่วนใหญ่จะเลือกซื้อสินค้าจากบริษัทที่มีแนวทางการประกอบธุรกิจตามหลักความยั่งยืน (ESG) ที่เห็นผลจริง แต่จนถึงปัจจุบันมีเพียง 40% ของธุรกิจขนาดกลางและย่อมที่มีนโยบายดังกล่าว ดังนั้นการกำหนดนโยบาย ESG และการสื่อสารต่อสาธารณะว่าบริษัทมีการดำเนินนโยบายนี้ถือเป็นก้าวแรกของการให้ความสำคัญกับการคำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อชนะใจและมีโอกาสได้รับการสนับสนุนด้วยยอดขายที่เพิ่มสูงขึ้นจากลูกค้า

ตามรายงานจาก McKinsey พบว่า องค์กรที่ต้องติดต่อกับผู้บริโภคโดยตรงมีค่าใช้จ่ายทางสังคมและสิ่งแวดล้อมจากห่วงโซ่อุปทานมากกว่าค่าใช้จ่ายจากการดำเนินการภายในองค์กร โดยมีสัดส่วนการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสูงถึง 80% การลดการใช้บรรจุภัณฑ์และการกำจัดพลาสติกจากแหล่งผลิตอาจช่วยลดผลกระทบของห่วงโซ่อุปทานในขั้นต้นได้ แต่กระบวนการเหล่านี้ใช้เวลานาน

ธุรกิจขนาดกลางและย่อมสามารถลดค่าใช้จ่ายและสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อสิ่งแวดล้อมได้อย่างมีนัยสำคัญในเวลาอันรวดเร็ว โดยคำนึงถึงเรื่องการขนส่งสินค้าไปสู่มือผู้บริโภค ซึ่งมีผู้ให้บริการหลายเจ้าในตลาด อย่างเฟดเอ็กซ์เองที่กำลังศึกษาวิธีการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการขนส่งสินค้า การลงทุนในรถขนส่งที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้า การใช้บรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และการใช้ตู้รับพัสดุสาธารณะเพื่อลดจำนวนครั้งในการจัดส่ง

นอกจากนี้ เทคโนโลยียังมีส่วนสำคัญที่ช่วยให้ธุรกิจโลจิสติกส์สามารถออกแบบโซลูชันทางการขนส่งแบบผสมผสาน กับระบบอีคอมเมิร์ซได้อย่างไร้รอยต่อและสามารถปรับปรุงการบริการให้ดียิ่งขึ้นได้ การใช้ดิจิทัลโซลูชันช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานและลดการใช้เอกสาร และยังมีคุณสมบัติใหม่ที่ช่วยให้ลูกค้าสามารถตรวจสอบและจัดการการจัดส่งพัสดุของตนเองได้ โดยมีการแจ้งเตือนสถานะการจัดส่งแบบเรียลไทม์ ทั้งยังมีตัวเลือกให้สามารถเลื่อนวันจัดส่ง หรือเปลี่ยนเส้นทางของพัสดุตามความสะดวกของผู้ใช้ได้ด้วย

การดำเนินธุรกิจเพื่อความยั่งยืนไม่ได้เป็นเพียงแค่ทางเลือกสำหรับธุรกิจขนาดกลางและย่อมที่ต้องการขยายธุรกิจผ่านแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซอีกต่อไป ผู้บริโภคในประเทศไทยมองว่า ความยั่งยืนมีความสำคัญและเป็นสิ่งที่พวกเขาใช้เป็นเกณฑ์เพื่อตัดสินใจซื้อสินค้าและบริการ ดังนั้นสำหรับธุรกิจหรือร้านค้าออนไลน์แล้ว การตอบสนองต่อความคาดหวังและความต้องการในด้านความยั่งยืนเป็นปัจจัยสำคัญที่จะให้พวกเขาสามารถแข่งขันในตลาดอีคอมเมิร์ซได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ความสำเร็จของแบรนด์กับการใช้Meta

ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นตลาดที่เติบโตอย่างรวดเร็ว โดยมีประชากร 700 ล้านคน และมี GDP รวมประมาณ 4 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ทำให้เป็นตลาดที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 5 ของโลก

หวยเกษียณแก้ปัญหาแก่ก่อนรวย

เมื่อวันอังคารที่ผ่านมา คณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบโครงการสลากสะสมทรัพย์เพื่อเงินออมยามเกษียณ หรือหวยเกษียณ ของกองทุนการออมแห่งชาติ ซึ่งนี่ถือเป็นโครงการที่รัฐบาลพยายามส่งเสริมการออมของประชาชนในประเทศ

เจ็บแล้วจบ

หลังการบริหารงานของรัฐบาลเศรษฐาได้เข้ามาเดินหน้ามาตรการประชานิยมลด แลก แจก แถม จัดเต็ม ตามที่สัญญากันไว้ช่วงหาเสียงเลือกตั้ง โดยเฉพาะนโยบายด้านพลังงาน ลดค่าไฟฟ้า

3แผนกรีนดันอุตฯไทยรักษ์โลก

เทรนด์รักษ์โลกยังมีมาอย่างต่อเนื่อง และตลอดปี 2567 ที่ผ่านมานี้หลายหน่วยงาน หลายบริษัทก็ยังไม่ทิ้งอุดมการณ์อันแรงกล้านี้ และยังแห่ประกาศแผนดำเนินงานเพื่อดูแลสิ่งแวดล้อมกันอย่างคึกคัก

เร่ง“ปรับ”ก่อน(ถูก)“เปลี่ยน”

ยอดขายรถยนต์ในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2567 ที่ผ่านมา หลายคนคงตกใจ เพราะหดตัวลงถึง 23.8% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และมีแนวโน้มว่าทั้งปีจะหดตัวลงอย่างรุนแรงที่สุดในรอบ 15 ปี

เปิดไม้เด็ดธุรกิจขนาดเล็กสู้ในตลาด

หากย้อนเวลาไปเมื่อหลายปีก่อน ธุรกิจที่มีทุนหนาและมีส่วนแบ่งการตลาดมาก มักจะถูกมองว่าเป็น “ปลาใหญ่” ที่ได้เปรียบเหนือคู่แข่งที่ทุนน้อยกว่าซึ่งเปรียบเหมือน “ปลาเล็ก” จนเป็นที่มาของคำว่า “ปลาใหญ่กินปลาเล็ก” หนึ่งในข้อได้เปรียบที่เห็นชัดที่สุดคือ การมี Economy of Scale หรือ การประหยัดต่อขนาด ซึ่งหมายถึง การผลิตสินค้าหรือบริการในจำนวนที่มากพอที่จะทำให้ต้นทุนการผลิตต่อหน่วยต่ำลง พูดง่ายๆ ก็คือ “ยิ่งผลิตมากขึ้น ต้นทุนการผลิตยิ่งลดลง และยิ่งคุ้มค่ามากขึ้น” โดยต้นทุนในการผลิตสินค้าหรือบริการจะแบ่งออกเป็น ต้นทุนคงที่ (fixed cost) และต้นทุนผันแปร (variable cost) ต้นทุนคงที่ คือ ต้นทุนที่ธุรกิจต้องจ่ายเป็นจำนวนคงที่ ไม่ว่าจะผลิตสินค้าหรือบริการในปริมาณเท่าใดก็ตาม เช่น ค่าเช่าพื้นที่ ค่าเครื่องจักรอุปกรณ์ ค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการ ส่วนต้นทุนผันแปร