สงครามยูเครนทำให้จีน-รัสเซีย ยิ่งต้องขยับเข้าใกล้กันมากขึ้น

ความสัมพันธ์ระหว่างจีนกับรัสเซียเคยถูกเรียกขานว่า “ไร้ขีดจำกัด” ในคำแถลงการณ์ร่วมเมื่อต้นปี 2022 ระหว่างการไปเยือนปักกิ่งของปูติน...ก่อนมอสโกเปิดสงครามยูเครน

คำนี้ไม่ปรากฏในคำแถลงการณ์ร่วมระหว่างสี จิ้นผิงที่ไปเยือนรัสเซียกับปูตินเมื่อสัปดาห์ก่อน

เปลี่ยนเป็น “การทำให้ความสัมพันธ์ลุ่มลึกกว่าเดิมในโลกยุคใหม่”

แต่สะท้อนว่ารัสเซียต้องพึ่งพาจีนมากขึ้นหลังปูตินตัดสินใจทำสงครามกับยูเครนที่ลากยาวมาเกินหนึ่งปีแล้ว

ปูตินยอมรับว่าแอบอิจฉาจีนอยู่เหมือนกันเพราะโมเดลเศรษฐกิจจีน “มีประสิทธิภาพมากกว่าของประเทศอื่นเยอะ”

ยิ่งพอเกิดสงครามยูเครน รัสเซียก็ยิ่งต้องการคบกับจีนทางการค้ามากขึ้นเพราะเป็นการต่อต่อหายใจให้เศรษฐกิจของรัสเซียในยามที่ต้องเผชิญกับการใช้ทรัพยากรเพื่อสงครามอย่างหนัก

ประกอบกับการที่ตะวันตกคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจรัสเซียเพิ่มขึ้นด้วย ก็ยิ่งต้องการให้ “สหายรัก” มาอุ้มชูให้หนักขึ้นกว่าเดิม

นั่นคือสาเหตุที่ทำให้การค้าขายระหว่างจีนกับรัสเซียพุ่งขึ้นไปที่ $190,000 ล้านเมื่อปีที่แล้ว

นักวิชาการตะวันคนหนึ่งบอกว่าเมื่อรัสเซียต้องพึ่งพาจีนมากขึ้นอย่างนี้ มอสโกก็กลายเป็น “หุ้นส่วนผู้น้อง” หรือ “junior partner” ของจีนที่กลายเป็น “ผู้พี่” ในความสัมพันธ์ของสองประเทศขึ้นมาทันที

ปีที่แล้ว การส่งออกน้ำมันดิบและก๊าซของรัสเซียไปยังจีนเพิ่มขึ้น 44% และถ้าตีค่าด้วยเงินดดล่าร์ก็จะเท่ากับเพิ่มขึ้นกว่า 100%

ขณะเดียวกันในปีที่ผ่านมาการส่งออกของจีนไปยังรัสเซียเพิ่มขึ้น 12.8%

การจัดส่งไมโครชิปของจีนเพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัว

แหล่งข่าวตะวันตกอ้างว่าบริษัทจีนบางแห่งได้จัดหาสิ่งของสำหรับการใช้งานทางการทหารโดยตรง เช่น ภาพถ่ายดาวเทียม เทคโนโลยีการรบกวน และชิ้นส่วนสำหรับเครื่องบินขับไล่ให้รัสเซีย แม้ว่าจะมีในปริมาณเล็กน้อยก็ตาม

ข้อตกลงเหล่านี้บางส่วนอาจเกิดขึ้นก่อนจึงไม่อาจจะบอกว่าจีนส่งอาวุธให้รัสเซียทำสงครามยูเครน

แต่ความสัมพันธ์ของสองประเทศทางด้านความมั่นคงยังเดินหน้าในรูปแบบที่ต่อเนื่อง

จีนยังคงเข้าร่วมการซ้อมรบร่วมกับรัสเซีย

ในเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา เครื่องบินทิ้งระเบิดทางยุทธศาสตร์ของจีนและรัสเซียบินลาดตระเวนร่วมกันเหนือทะเลญี่ปุ่นและทะเลจีนตะวันออก

และลงจอดที่สนามบินของกันและกันเป็นครั้งแรก

ณ วันครบรอบปีแรกของการรุกรานยูเครนของรัสเซียในเดือนกุมภาพันธ์ เรือรบของรัสเซีย จีน และแอฟริกาใต้ซ้อมรบร่วมกันในมหาสมุทรอินเดีย

ต่อมาในวันที่ 15 มีนาคม รัสเซีย จีน และอิหร่านได้เริ่มการฝึกซ้อมทางเรือร่วมกันในอ่าวโอมาน

จึงเชื่อได้ว่าแทนที่จะลดระดับความสัมพันธ์ สีจิ้นผิงดูเหมือนจะยิ่งเดินหน้ากระชับความสัมพันธ์

หากเชื่อว่ารัสเซียประเมินผิดในการบุกยูเครน แต่จีนก็อาจจะใช้ประโยชน์จากความอ่อนแอของรัสเซียในช่วงนี้เพื่อเสริมอำนาจต่อรองของตน

จีนได้ประโยชน์ชัดเจนในการซื้อพลังงานราคาถูกจากรัสเซีย

และในขณะเดียวกัน สี จิ้นผิงก็ค่อนข้างมั่นใจได้ว่าในยามนี้ปูตินจะต้องยืนเคียงข้างเขาทางด้านการทูตกรณีไต้หวัน

และยังได้รับประโยชน์จากการแสวงหาเทคโนโลยีทางทหารระดับสูงของรัสเซีย

เช่น ระบบขีปนาวุธพื้นสู่อากาศ และเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ที่ออกแบบมาเพื่อจ่ายไฟให้กับเรือดำน้ำ

และอาจจะกดดันทางอ้อมให้ปูตินระงับหรือชะลอการส่งสิ่งของที่คล้ายคลึงกันให้กับลูกค้ารัสเซียรายอื่นที่มีข้อพิพาทเรื่องกับจีน เช่น อินเดียและเวียดนาม

ไม่แต่เท่านั้นรัสเซียยังสามารถช่วยอัพเกรดคลังแสงนิวเคลียร์ของจีน หรือทำงานเกี่ยวกับระบบเตือนภัยขีปนาวุธร่วมกัน

ดูเหมือน สี จิ้นผิงจะเร่งฝีเท้าเรื่องการทูตกับรัสเซียในช่วงหลังนี้

สองวันก่อนวันครบรอบสงครรมยูเครน สีได้ส่งหวัง อี้ นักการทูตระดับแนวหน้าของเขาไปพบปูตินที่กรุงมอสโก ที่หวัง อี้พูดตามสคริปท์ของผู้นำจีนเกือบจะคำต่อคำเลยทีเดียว

เขาบอกว่าความเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ของจีนกับรัสเซีย “แข็งแกร่งดั่งภูผา”

และให้คำมั่นว่าจะทำงานร่วมกับรัสเซียเพื่อ “เสริมสร้างการประสานงานเชิงกลยุทธ์ ขยายความร่วมมือเชิงปฏิบัติ และปกป้องผลประโยชน์ที่ชอบด้วยกฎหมายของทั้งสองประเทศ”

ยิ่งวันรัสเซียก็ยิ่งจะต้องกระชับความสัมพันธ์กับจีนในเกือบทุก ๆ ด้าน

รัสเซียใช้เซอร์เวอร์จาก Huawei และรถยนต์ยี่ห้อจีนก็เข้ามาแทนที่แบรนด์ตะวันตกหลังจากการคว่ำบาตร

เมื่อมีการสร้างท่อก๊าซเพิ่มระหว่างสองประเทศก็จะทำให้จีนได้พลังงานจากรัสเซียเป็นส่วนใหญ่

ภายในสิ้นปีนี้ก็เชื่อว่าการค้าระหว่างสองประเทศจะใช้เงินสกุลหยวนเป็นหลัก

เพราะการคว่ำบาตรของตะวันกตกทำให้รัฐบาลรัสเซียเผชิญกับการขาดดุลงบประมาณ $34,000 ล้านในสองเดือนแรกของปีนี้

เหตุหนึ่งก็เพราะต้องใช้เงินสำหรับทำสงครามหนักขึ้นเพราะการสู้รบถูกลากยาวมาเกินกว่าที่คาดการณ์ไว้เดิมมาก

ปีที่แล้วจีนสั่งพลังงานรัสเซีย (ซึ่งเท่ากับ 40% ของรายได้ทั้งหมดของประเทศ) เพิ่มจาก  $52.8 พันล้านเป็น $81.3 พันล้าน

รัสเซียเป็นแหล่งน้ำมันดิบและถ่านหินใหญ่อันดับสอง

ข้อมูลชุดนี้สะท้อนว่าความสัมพันธ์ของทั้งสองประเทศยิ่งวันจะยิ่งมีความผูกพันกันมากขึ้น

ตามสถิติของศุลกากรจีน เมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมารัสเซียแซงหน้ากาต้าร์, เตอร์กเมนนิสสถาน,และออสเตรเลียในฐานะผู้ขายก๊าซให้กับจีน

เดือนนั้นเดือนเดียว รัสเซียส่งมอบก๊าชให้จีน 2.7 พันล้านลูกบาศ์กเมตรทีเดียว

ขณะเดียวกันรัสเวียก็หันไปหาจีนเพื่อซื้อไมโครชิป, อุปกรณ์ 5G และเครื่องจักรหนักสำหรับอุตสาหกรรมเพราะถูกตะวันตกคว่ำบาตร ไม่ขายสิ้นค้า “ยุทธศาสตร์” เหล่านี้ให้

ปีที่แล้ว มอสโกสั่งเข้าเครื่องจักรไฟฟ้าและชิ้นส่วนจากจีนรวมมูลค่า $4.8 พันล้านเพราะไม่อาจจะหาซื้อได้จากแหล่งประเทศตะวันตกอย่างที่เคยทำได้ก่อนสงครามยูเครน

เมื่อได้เห็นสถิติอย่างนี้แล้วคงจะพอเข้าใจได้แล้วว่าทำไมสีและปูตินจะเน้นคำว่า “ความสัมพันธ์อันลึกซึ้ง” ระหว่างกัน

จีนอาจจะไม่สบายใจที่ถูกมองว่าเข้าข้างรัสเซียในสงครามยูเครน

แต่สงครามเปิดบาดแผลและจุดอ่อนของรัสเซียที่หันไปหาใครไม่ดีเท่าจีนอย่างนี้ ปักกิ่งจะต้องรับรู้ซึ้งถึง “วิกฤตของเพื่อนอาจจะเป็นโอกาสของเรา” ได้เช่นกัน

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ประเทศเดียวในโลก ‘นายกฯทับซ้อน’ มหันตภัยปี 2568

นายสุทธิชัย หยุ่น สื่อมวลชนอาวุโส โพสต์เฟซบุ๊กว่าสำนักวิจัยต่าง ๆ กำลังวิเคราะห์เพื่อพยากรณ์ว่าประเทศไทยจะต้องเผชิญกับความท้าทายสาหัสอะไรบ้างใน

บิ๊กเซอร์ไพรส์ 'สุทธิชัย หยุ่น' เล่นซีรีส์ 'The White Lotus ซีซั่น 3'

เรียกว่าสร้างความเซอร์ไพรส์อย่างต่อเนื่อง สำหรับซีรีส์ The White Lotus ซีซั่น 3 ซึ่งจะสตรีมผ่าน Max ในวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2025 เพราะนอกจากจะมี ลิซ่า-ลลิษา มโนบาล หรือ ลิซ่า BLACKPINK ไอดอลเกาหลีสัญชาติไทย ที่กระโดดลงมาชิมลางงานแสดงเป็นครั้งแรก ในบทของ มุก สาวพนักงานโรงแรม

ถามแสกหน้า 'ทักษิณ' จะพลิกเศรษฐกิจไทยยังไง ทุกซอกมุมในสังคมยังเต็มไปด้วยทุจริตโกงกิน

นายสุทธิชัย หยุ่น นักวิเคราะห์ข่าวและผู้ดำเนินรายการข่าวชื่อดัง โพสต์เฟซบุ๊ก ถึงกรณีนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ว่า “เขาจะพลิกประเทศไทยให้เศรษฐกิจล้ำโลกได้หรือ

เขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดนที่กลายเป็น ที่ซ่องสุมของอาชญากรรมข้ามชาติ

เมื่อวานเขียนถึงรายงานในสำนักข่าวชายขอบที่สำนักจะได้รับความสนใจของรัฐบาลไทยว่าด้วยกิจกรรมอาชญากรรมข้ามชาติในบริเวณ “เขตเศรษฐกิจพิเศษ” ที่สามเหลี่ยมทองคำ