จับตาทิศทางดอกเบี้ยไทย

เสถียรภาพทางการเงินโลกขณะนี้ถือว่าอยู่ในจุดสุ่มเสี่ยง หลังจากเริ่มเห็นสถาบันการเงินหลายแห่งเข้าสู่ภาวะล้มละลายและต้องปิดตัวลง ไล่มาตั้งแต่สหรัฐอเมริกาจนถึงยุโรป

อย่างล่าสุด นางคริสตาลินา จอร์จีวา กรรมการผู้จัดการกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) ออกมาเตือนว่า ขณะนี้ความเสี่ยงต่อเสถียรภาพทางการเงินกำลังเพิ่มสูงขึ้น และจำเป็นในการเฝ้าระวังหลังจากความวุ่นวายที่เกิดขึ้นกับภาคการธนาคาร

 “ความไม่แน่นอนนั้นสูงเป็นพิเศษ แนวโน้มเศรษฐกิจโลกที่ยังคงอ่อนแอในระยะกลาง เป็นที่ชัดเจนว่าความเสี่ยงต่อเสถียรภาพทางการเงินเพิ่มขึ้น ในช่วงเวลาที่ระดับหนี้สูงขึ้น การเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของอัตราดอกเบี้ยต่ำเป็นเวลานานนำไปสู่อัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้นมาก ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นในการต่อสู้กับอัตราเงินเฟ้อ แต่มันก็สร้างความตึงเครียดและความเปราะบางอย่างเลี่ยงไม่ได้ เห็นได้จากพัฒนาการที่เกิดขึ้นในภาคการธนาคารในประเทศที่เศรษฐกิจพัฒนาแล้ว” จอร์จีวากล่าว

จากสถานการณ์ที่เกิดขึ้น ทำให้คณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงิน (FOMC) ของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) เริ่มทบทวน ส่งสัญญาณการชะลอการขึ้นอัตราดอกเบี้ย โดยเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาเฟดเพิ่งมีมติเป็นเอกฉันท์ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยระยะสั้น 0.25% สู่ระดับ 4.75-5.00% ในการประชุม ซึ่งเป็นไปตามที่ตลาดคาดการณ์ไว้ และเป็นการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเป็นครั้งที่ 9 ติดต่อกัน นับตั้งแต่ที่เฟดเริ่มวัฏจักรปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเดือน มี.ค.2565

อย่างไรก็ดี เฟดส่งสัญญาณใกล้ยุติวงจรปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย ขณะที่แสดงความเชื่อมั่นต่อระบบธนาคารสหรัฐ ในการคาดการณ์อัตราดอกเบี้ยนโยบาย (Dot Plot) เจ้าหน้าที่เฟดคาดว่าเฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยสูงสุดสู่ระดับ 5.1% ในปีนี้ ซึ่งบ่งชี้ว่าเฟดจะปรับขึ้นอีกเพียง 1 ครั้งเท่านั้น

ตัดมาที่บ้านเราในการประชุม กนง.ที่จะจัดขึ้นในวันที่ 29 มี.ค.ก็ได้จับตาเรื่องการปรับขึ้นดอกเบี้ยเช่นเดียวกัน โดยมีการแสดงความเห็นในหลากหลายด้าน

อย่างทาง ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมินว่า กนง.จะปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายอีกร้อยละ 0.25 มาอยู่ที่ระดับ 1.75% อย่างไรก็ดีการปรับขึ้นดอกเบี้ยครั้งนี้อาจเป็นการปรับขึ้นดอกเบี้ยครั้งสุดท้ายในรอบวัฏจักรดอกเบี้ยขาขึ้นนี้ ท่ามกลางแรงกดดันด้านเงินเฟ้อที่ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ ประกอบกับแรงกดดันจากแนวโน้มนโยบายการเงินแบบตึงตัวของธนาคารกลางต่างๆ ทั่วโลกเริ่มลดลง เนื่องจากธนาคารกลางหลักอย่าง Fed เริ่มส่งสัญญาณเตรียมหยุดขึ้นดอกเบี้ยในระยะอันใกล้

ขณะที่ทางด้าน อนุสรณ์ ธรรมใจ อดีตกรรมการและกรรมการตรวจสอบ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) โดยมองว่า ธปท.ยังไม่มีความจำเป็นต้องเร่งรีบขึ้นอัตราดอกเบี้ย เนื่องจากไทยยังเจอกับปัญหาหนี้สินที่ยังอยู่ในระดับสูง ประกอบกับความเสี่ยงจากปัญหาวิกฤตสถาบันการเงินโลก ทำให้ กนง.ไม่มีความจำเป็นเร่งด่วนใดๆ ที่จะรีบปรับขึ้นดอกเบี้ยในเวลานี้

แต่สุดท้ายแล้วต้องวัดใจกับทางคณะกรรมการ กนง. ว่าจะวัดน้ำหนักการปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายในครั้งนี้อย่างไร ในเมื่อดูเหมือนว่า เงินเฟ้อที่เป็นปัญหาหลักของไทย เราก็คลี่คลายไปในทางที่ดีแล้ว.

 

ลลิตเทพ ทรัพย์เมือง

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เร่งเครื่องดึงนักท่องเที่ยว

จากสถานการณ์การท่องเที่ยวไทยในปัจจุบัน กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาได้ให้ข้อมูลพบว่า ประเทศไทยมีจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติสะสมในช่วงเกือบ 7 เดือนเต็ม ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.-28 ก.ค.2567 ทั้งสิ้น 20,335,107 คน

ต้องเร่งแก้ปัญหาปากท้อง

หลังจากนายกรัฐมนตรีหญิง แพรทองธาร ชินวัตร รับตำแหน่งอย่างชัดเจน ทำให้ภาคเอกชนต่างก็ดีใจ เพราะไม่ทำให้ประเทศเป็นสุญญากาศในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ และสิ่งแรกที่ภาคเอกชนอย่าง

แนะเจาะใจผู้บริโภคด้วย‘ความยั่งยืน’

คงต้องยอมรับว่าประเด็นเรื่องสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืนได้รับความสนใจมากขึ้นทั้งจากผู้บริโภค ภาคเอกชน และภาครัฐ ส่งผลให้ผู้ประกอบการในภาคธุรกิจจำเป็นต้องมีการปรับตัว

รัฐบาลงัดทุกทางพยุงตลาดหุ้น

หลังจากปล่อยให้ตลาดหุ้นซึมมาอย่างช้านาน จนปัจจุบันอยู่ต่ำกว่า 1,300 จุด เรียกได้ว่าสำหรับนักลงทุนถือเป็นความเจ็บปวด เพราะดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาไม่ได้ไปไหน

ดันอุตฯไทยไปอวกาศ

แน่นอนว่าในยุคที่โลกต้องก้าวหน้าไปสู่อุตสาหกรรมที่ทันสมัยมากขึ้น และต่อไปไม่ได้มองแค่ในประเทศหรือในโลกแล้ว แต่มองไปถึงนอกโลกเลยด้วยซ้ำ เพราะจะเป็นหนึ่งในกลไกในการพัฒนาอุตสาหกรรมภาคพื้นที่มีความแข็งแกร่งส่งผ่านไปยังอุตสาหกรรมอวกาศได้

แบงก์มอง ASEAN ยังมาเหนือ

ยังคงมีอีกหลายประเด็นที่ต้องจับตามองกันอย่างต่อเนื่อง ทั้งในสถานการณ์โลกและภายในประเทศ ที่จะส่งผลต่อเศรษฐกิจและการค้า โดยมุมมองของ อมรเทพ จาวะลา ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสำนักวิจัย ธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย ระบุว่า