ปีนี้ได้ใช้แน่รถไฟฟ้าสายใหม่

จะเห็นได้ว่า ปัจจุบันมีการก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าในเขตกรุงเทพฯ หลายสายทาง โดยเฉพาะฝั่งตะวันออกของกรุงเทพฯ เช่น โครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าโมโนเรลสายสีเหลืองช่วงลาดพร้าว-สำโรง และสายสีชมพูช่วงแคราย-มีนบุรี ถือเป็นโครงการพัฒนาโครงข่ายสาธารณะแก้ไขปัญหาการจราจรในกรุงเทพฯ และปริมณฑลที่ดูเหมือนว่าใกล้จะแล้วเสร็จ 100% แต่เนื่องจากที่ผ่านมาเจอกับวิกฤตการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ทำให้งานก่อสร้างต้องหยุดชะงักไปชั่วขณะนั้น ก็แน่นอนว่าทำให้แผนการเปิดเดินรถได้รับผลกระทบและดีเลย์ไปด้วย

ล่าสุด ถือเป็นข่าวดีของประชาชนที่อาศัยอยู่บริเวณเขตมีนบุรี บางกะปิ พัฒนาการ ซึ่งเป็นพื้นที่ชั้นนอกของกรุงเทพฯ จะได้มีโอกาสได้ใช้บริการรถไฟฟ้า หลังจากที่เฝ้ารอกันมานานหลายสิบปี และต้องทนกับการจราจรที่ติดขัดอย่างหนักหนาสาหัส ปัจจุบันได้เห็นการนำรถไฟฟ้าทั้งสองสายทางออกมาทดสอบวิ่งกันบ้างแล้ว ยังเหลือเคาะวันเวลาทยอยเปิดบริการเท่านั้นเอง

สำหรับความชัดเจนของ สายสีเหลือง จะเปิดบริการได้ก่อน โดยเตรียมจะเดินหน้าทดสอบเดินรถเสมือนจริง (Trial Run) ตลอดเส้นทางในต้นเดือนเมษายน 2566 นี้เพื่อประเมินความพร้อมของงานทุกระบบ จากนั้นภายในเดือนพฤษภาคม 2566 จะเปิดให้ประชาชนใช้บริการแบบเฉพาะกลุ่มและเปิดบริการเชิงพาณิชย์เก็บค่าโดยสารในต้นเดือนมิถุนายนนี้ ปัจจุบันงานก่อสร้างโดยรวมคืบหน้า 98.55% และรับมอบขบวนรถไฟฟ้าครบแล้ว 30 ขบวน มีระยะทางรวม 30.4 กิโลเมตร จำนวน 23 สถานี

ขณะที่ สายสีชมพู ขณะนี้ไทม์ไลน์อาจต้องขยับใหม่ จากเดิมตั้งเป้าจะเปิดเดินรถเชิงพาณิชย์เก็บค่าโดยสารในเดือนสิงหาคม 2566 อาจจะต้องปรับแผนเป็นเปิดไม่เกินปลายปีนี้ หลังเคลียร์ปัญหาการก่อสร้างทับซ้อนกับโครงการฟลัดเวย์บนถนนแจ้งวัฒนะกับกรมทางหลวง (ทล.) ยังไม่จบ จึงทำให้กำหนดการเปิดบริการของสายสีชมพูยังไม่แน่ไม่นอน แต่ได้ตั้งเป้าจะเปิดให้บริการภายในปีนี้ ปัจจุบันงานก่อสร้างมีความก้าวหน้าโดยรวม 95.56% และรับมอบขบวนรถไฟฟ้าครบแล้ว 42 ขบวน โดยที่ระยะทาง 34.5 กิโลเมตร จำนวน 30 สถานี

ส่วนค่าโดยสารทั้ง สายสีเหลือง และ สายสีชมพู คำนวณตามค่าดัชนีผู้บริโภค (CPI) ค่าโดยสารจะอยู่ที่ 15-45 บาท โดยจะใช้ระบบบัตรแรบบิท ขณะที่ตามเงื่อนไขสัญญาสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเหลือง และรถไฟฟ้าสายสีชมพู กำหนดให้มีระบบตั๋วร่วม MRT เพื่อเชื่อมต่อการเดินทางโครงข่ายรถไฟฟ้า MRT แต่ละสาย โดยคิดค่าแรกเข้าครั้งเดียว ซึ่งขณะนี้ได้ตกลงกับธนาคารกรุงไทยเรียบร้อยแล้วเพื่อเร่งติดตั้งระบบรองรับบัตร EMV โดยช่วงแรกของสายสีเหลืองเนื่องจากมีเวลาน้อย จะติดตั้ง 1 ช่องทางเข้าพิเศษ ก่อน จากนั้นระยะ 2 จะขยายไปทุกช่องทางเข้า ส่วนสีชมพูจะมีการติดตั้งรองรับบัตร EMV ได้ครบทุกช่องทางได้ทันก่อนเปิดให้บริการ

ทั้งนี้ หากบริษัท อีสเทิร์น บางกอกโมโนเรล จำกัด (EBM) ผู้รับสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเหลือง และบริษัท นอร์ทเทิร์น บางกอกโมโนเรล จำกัด (NBM) ผู้รับสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีชมพู หากภายในปีนี้สามารถเปิดให้บริการรถไฟฟ้าสายสีเหลืองและสีชมพูได้ตามแผน จะทำให้บริษัทมีรายได้จากค่าโดยสารทั้งสองสาย รวมประมาณ 2,000 ล้านบาทต่อปี และมีรายได้ในส่วนที่รัฐจ่ายคืนเงินอุดหนุนค่าลงทุนงานโยธาตามสัญญาของทั้งสองสาย รวมประมาณ 4,700 ล้านบาท/ปี

โดยตามสัญญาสัมปทาน รัฐจ่ายคืนค่างานโยธาเป็นเวลา 10 งวด (ปี) นับจากจากเปิดให้บริการ โดยงวดแรกจะจ่ายหลังเปิดให้บริการ 45 วัน สำหรับสัญญาสัมปทานสายสีชมพู รัฐอุดหนุนค่างานโยธา ที่ 19,975 ล้านบาท สายสีเหลือง รัฐอุดหนุนค่างานโยธา 22,239 ล้านบาท

ซึ่งเมื่อทั้งสองโครงการแล้วเสร็จ จะทำให้ประชาชนหันมาใช้บริการรถไฟฟ้าแทนการขับรถยนต์ส่วนตัว จะช่วยลดมลพิษให้กับสิ่งแวดล้อมในตัวเมือง รวมถึงลดความหนาแน่นของการจราจรบนท้องถนน ช่วยประหยัดเวลาในการเดินทาง และไม่ต้องเจอปัญหารถติดให้เสียเวลา ในแต่ละสถานีจะใช้เวลาประมาณไม่กี่นาทีในการเดินทางแต่ละครั้ง ที่สำคัญยังสามารถกำหนดเวลาและยังประหยัดเวลาในการเดินทาง โดยไม่ต้องเสียเวลาเจอกับปัญหารถติดอีกด้วย.

 

กัลยา ยืนยง

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เร่งเครื่องดึงนักท่องเที่ยว

จากสถานการณ์การท่องเที่ยวไทยในปัจจุบัน กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาได้ให้ข้อมูลพบว่า ประเทศไทยมีจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติสะสมในช่วงเกือบ 7 เดือนเต็ม ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.-28 ก.ค.2567 ทั้งสิ้น 20,335,107 คน

ต้องเร่งแก้ปัญหาปากท้อง

หลังจากนายกรัฐมนตรีหญิง แพรทองธาร ชินวัตร รับตำแหน่งอย่างชัดเจน ทำให้ภาคเอกชนต่างก็ดีใจ เพราะไม่ทำให้ประเทศเป็นสุญญากาศในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ และสิ่งแรกที่ภาคเอกชนอย่าง

แนะเจาะใจผู้บริโภคด้วย‘ความยั่งยืน’

คงต้องยอมรับว่าประเด็นเรื่องสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืนได้รับความสนใจมากขึ้นทั้งจากผู้บริโภค ภาคเอกชน และภาครัฐ ส่งผลให้ผู้ประกอบการในภาคธุรกิจจำเป็นต้องมีการปรับตัว

รัฐบาลงัดทุกทางพยุงตลาดหุ้น

หลังจากปล่อยให้ตลาดหุ้นซึมมาอย่างช้านาน จนปัจจุบันอยู่ต่ำกว่า 1,300 จุด เรียกได้ว่าสำหรับนักลงทุนถือเป็นความเจ็บปวด เพราะดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาไม่ได้ไปไหน

ดันอุตฯไทยไปอวกาศ

แน่นอนว่าในยุคที่โลกต้องก้าวหน้าไปสู่อุตสาหกรรมที่ทันสมัยมากขึ้น และต่อไปไม่ได้มองแค่ในประเทศหรือในโลกแล้ว แต่มองไปถึงนอกโลกเลยด้วยซ้ำ เพราะจะเป็นหนึ่งในกลไกในการพัฒนาอุตสาหกรรมภาคพื้นที่มีความแข็งแกร่งส่งผ่านไปยังอุตสาหกรรมอวกาศได้

แบงก์มอง ASEAN ยังมาเหนือ

ยังคงมีอีกหลายประเด็นที่ต้องจับตามองกันอย่างต่อเนื่อง ทั้งในสถานการณ์โลกและภายในประเทศ ที่จะส่งผลต่อเศรษฐกิจและการค้า โดยมุมมองของ อมรเทพ จาวะลา ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสำนักวิจัย ธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย ระบุว่า