รวมกันเพื่อการพัฒนา

ข่าวเครือซีพีและกลุ่มเทเลนอร์ พิจารณาสร้างความร่วมมืออย่างเท่าเทียมกัน (Equal Partnership) เพื่อปรับโครงสร้างองค์กร (Transformation) สู่การเป็นบริษัทเทคโนโลยี หรือ Tech Company ภายใต้ยุทธศาสตร์ของการพัฒนาให้ประเทศไทยเป็นเทคโนโลยีฮับ เป็นข่าวที่น่ายินดี

แต่ก็มีคนมองไปว่าจะก่อให้เกิดการผูกขาด ซึ่งไม่ใช่เรื่องจริง ทั้งนี้เพราะ AIS ยังคงอยู่ และอาจจะมีการวางยุทธศาสตร์ในการแข่งขันที่เข้มข้นขึ้นกว่าเดิม เมื่อใดก็ตามที่ธุรกิจมีการแข่งขันกันอย่างเข้มข้น ย่อมมีการพัฒนาทั้งสินค้าและบริการที่จะเป็นประโยชน์สำหรับผู้บริโภค เมื่อเครือซีพีและกลุ่มเทเลนอร์ประกาศการพิจารณาสร้างความร่วมมืออย่างเท่าเทียมกัน (Equal Partnership)

โดยการสนับสนุนให้บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) (TRUE) และบริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) (DTAC) ตั้งเป้าปรับโครงสร้างธุรกิจสู่การเป็นบริษัทเทคโนโลยี (Technology Company) ภายใต้ยุทธศาสตร์เทคโนโลยีฮับ พร้อมเสริมธุรกิจเทคโนโลยีใหม่ การสร้างดิจิทัลอีโคซิสเต็ม และกองทุน สตาร์ทอัป เพื่อสอดรับยุทธศาสตร์ประเทศไทย 4.0 ในการผลักดันให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางด้านเทคโนโลยีระดับภูมิภาค

ความตั้งใจดังกล่าวนี้จะส่งผลทำให้ผู้บริโภคได้ใช้สินค้าที่ดีขึ้น ได้รับบริการที่ดีขึ้น ได้รับประสบการณ์ในการใช้บริการที่ดีขึ้น เมื่อผู้บริโภคได้ประโยชน์จากการดำเนินการของการควบรวมครั้งนี้ ย่อมเป็นผลดีสำหรับประเทศไทย เพราะประเทศไทย 4.0 ให้ความสำคัญกับ ICT (Innovation. Creativity, Technology) ดังนั้นการรวมกันครั้งนี้ย่อมมีส่วนในการทำให้ยุทธศาสตร์ของประเทศไทย 4.0 เป็นจริงได้ และการวางวิสัยทัศน์ให้ประเทศไทยเป็นประเทศดิจิทัลในระดับแนวหน้าของโลกก็จะสามารถเป็นจริงได้รวดเร็วกว่า มีประสิทธิภาพ และมีประสิทธิผลมากกว่าต่างคนต่างทำ เครือซีพีและกลุ่มเทเลนอร์จะร่วมมือกันในลักษณะของการถือหุ้นเท่าเทียมกันในบริษัทใหม่ที่จะร่วมกันสร้างขึ้น นอกจากนี้ทรูและดีแทคจะดำเนินการตามเงื่อนไขต่างๆ ทั้งการตรวจสอบกิจการของอีกฝ่ายหนึ่งแล้วเสร็จเป็นที่พอใจ จะมีการขออนุมัติที่เกี่ยวข้องจากที่ประชุม คณะกรรมการบริษัทและผู้ถือหุ้นของทั้งสองบริษัท และการที่บริษัททั้งสองเป็นบริษัทมหาชน ย่อมจะต้องดำเนินการทุกขั้นตอนตามกฎหมาย ตามกฎกติกาของตลาดหลักทรัพย์อย่างโปร่งใส และเป็นไปตามหลักธรรมาภิบาล การรวมกันครั้งนี้ย่อมเป็นการดำเนินการที่ประชาชนสามารถมั่นใจได้ว่าจะต้องเป็นไปตามข้อกำหนดของตลาดหลักทรัพย์และหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

สิ่งที่ประชาชนสามารถเชื่อได้ มั่นใจได้ก็คือ การดำเนินการใดๆ ของบริษัทที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ ไม่อาจจะทำอะไรที่บิดเบี้ยว ผิดกฎหมาย ผิดกฎกติกาอย่างแน่นอน การร่วมมือกันครั้งนี้นับได้ว่าเป็นการขานรับพลวัตของการพัฒนาด้านเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วในทศวรรษที่ผ่านมา ผู้ที่ติดตามพัฒนาการของเทคโนโลยีก็จะเห็นว่า ภาพรวมของอุตสาหกรรมโทรคมนาคม (Telecom Landscape) ได้เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว มีเทคโนโลยีใหม่ๆ เกิดขึ้นมาก มีทั้งเทคโนโลยีที่เป็นสิ่งอำนวยความสะดวก (facilitator) และเทคโนโลยีที่ทำให้หลายสิ่งอย่างที่เป็นไปไม่ได้ในอดีตกลายเป็นสิ่งที่เป็นไปได้ในปัจจุบัน (enablers) ผลของการพัฒนาของผู้ประกอบการหลายๆ องค์กรทำให้ตลาดของอุตสาหกรรมเทคโนโลยีโทรคมนาคมและเทคโนโลยีสารสนเทศเปิดกว้างขึ้น แข่งขันกันรุนแรงขึ้น ทั้งในระดับโลกาภิวัตน์ ระดับภูมิภาค และภายในแต่ละประเทศ เพื่อสร้างศักยภาพในการแข่งขัน ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมโทรคมนาคมและเทคโนโลยีสารสนเทศจะต้องมีความพยายามมากขึ้น ปรับตัวให้มากขึ้นอย่างรวดเร็ว ให้สอดคล้องกับพัฒนาการที่รวดเร็วมากขึ้น

ปัจจัยเหล่านี้ทำให้ผู้ประกอบการโทรคมนาคมต้องปรับตัวอย่างรวดเร็ว นอกเหนือจากการพัฒนาการบริการเครือข่าย (Connectivity) ให้เป็นอัจฉริยะแล้ว ยังต้องเสริมศักยภาพและความรวดเร็วในการสร้างมูลค่าเพิ่ม (Value Added) จากโครงข่ายการสื่อสารและส่งมอบเทคโนโลยีนวัตกรรมใหม่ให้แก่ผู้บริโภค จากการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวผู้ประกอบการที่มีวิสัยทัศน์ต้องปรับแนวทางในการทำงาน ปรับทั้งโครงสร้างองค์กร กระบวนการทำงานขององค์กร นวัตกรรมด้านสินค้าที่นำเสนอให้แก่ผู้บริโภค นวัตกรรมของการบริการ เพื่อประสบการณ์ที่ดีกว่าของผู้บริโภค เมื่อเทคโนโลยีมีปรากฏการณ์ Disruption ผู้ประกอบการก็ต้องขานรับด้วย Transformation การรวมตัวของทั้งสองกลุ่มธุรกิจนี้จะทำให้ประเทศไทยมีบริษัทเทคโนโลยีขนาดใหญ่ที่มีความพร้อมในด้านต่างๆ ทำให้สามารถแข่งขันกับคู่แข่งชั้นนำระดับโลกได้อย่างมีประสิทธิภาพ การสร้างศักยภาพในการแข่งขันระดับโลกาภิวัตน์ถือเป็นยุทธศาสตร์ที่มีความสำคัญอย่างยิ่งในยุคของการแข่งขันที่ไร้พรมแดน

การปรับโครงสร้างองค์กรของการรวมสองกลุ่มธุรกิจนี้เป็นพันธมิตรยุทธศาสตร์ (Strategic Alliance) ทำให้บริษัทใหม่ที่กำลังจะเกิดขึ้นจะเป็นบริษัทเทคโนโลยี สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ประเทศไทย 4.0 ที่จะพัฒนาประเทศไทยให้เป็นประเทศดิจิทัลชั้นนำของโลก ก้าวเป็นศูนย์กลางของเทคโนโลยี (Technology Hub) ในระดับภูมิภาค โดยโทรคมนาคม (Telecom) จะเป็นธุรกิจหนึ่งที่สำคัญของโครงสร้างประเทศไทยที่จะต้องพัฒนาธุรกิจต่างๆ เพิ่มเติมในส่วนที่มุ่งเน้นด้านเทคโนโลยี รวมไปถึงปัญญาประดิษฐ์ ระบบคลาวด์เทคโนโลยี IOT อุปกรณ์อัจฉริยะ เมืองอัจฉริยะ ดิจิทัลมีเดียโซลูชัน

นอกจากนั้นแล้ว การรวมตัวกันครั้งนี้จะนำไปสู่การปรับโครงสร้างเพื่อให้เกิดการสนับสนุนการลงทุนในบริษัทเทคโนโลยี (Tech Startup) โดยการจัดตั้งกองทุน (Venture Capital) เพื่อการพัฒนาธุรกิจ Start up ให้เป็นธุรกิจขนาดใหญ่ เป็นธุรกิจที่ตั้งอยู่ในในประเทศไทย และพร้อมที่จะขยายไปสู่สากลด้วยศักยภาพการแข่งขันที่เข้มแข็ง ด้วยการบูรณาการหลายอย่างที่เป็นปัจจัยของความสำเร็จในการแข่งขันเข้าด้วยกัน

  • มีการใช้ทรัพยากรร่วมกัน (shared resources)
  • มีการแบ่งปันข้อมูลกัน (shared information)
  • มีการผนึกความสามารถเข้าด้วยกัน (share competency)
  • มีการดำเนินยุทธศาสตร์ร่วมกัน (shared strategy)

ทั้งหมดนี้สร้างศักยภาพการแข่งขันที่แข็งแกร่งให้กับประเทศไทย จากข่าวที่ได้ยินมา หลังจากการรวมตัวแล้วบริษัทที่เกิดขึ้นใหม่ในคราวนี้ยังมีแผนที่จะศึกษาด้านเทคโนโลยีอวกาศ (Space Technology) เพื่อนำมาปรับใช้กับธุรกิจ ซึ่งถือว่าเป็นการเปิดกว้างกรอบความคิดในการทำนวัตกรรมใหม่เพิ่มเติมด้วยเช่นกัน การรวมตัวกันครั้งนี้เป็นการก้าวสู่ความเป็นบริษัทเทคโนโลยีเต็มรูปแบบ และเป็นกุญแจสำคัญที่จะทำให้ประเทศไทยสามารถพัฒนาแบบก้าวกระโดด และสร้างความเจริญรุ่งเรืองให้กระจายไปทั่วประเทศได้.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ประชาชนได้ประโยชน์อันใด

การอภิปรายไม่ไว้วางใจจบลงไปแล้ว การลงคะแนนไว้วางใจหรือไม่ไว้วางใจก็จบไปแล้ว หลายท่านบอกว่าผิดหวังกับการอภิปรายครั้งนี้

'กองทัพ' ในสมการบรรเทาสาธารณภัย

เสร็จสิ้นเรียบร้อยการแต่งตั้ง "นายพล" วาระเดือนเมษายน หรือ "นายพลแก้มลิง" ตำแหน่งที่ปรึกษาพิเศษ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ยศ พล.ต.อ., ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษ

คาดผลตรีเทพย้ายราศีต่อคนลัคนาสถิตกันย์

เดือนพฤษภาคมปี 2568 นี้ ดาวสำคัญทางโหรที่เรียกกันว่า ตรีเทพ อันได้แก่ พระราหูจร (8) เจ้าของความลุ่มหลงมัวเมา-ความมืด-อวิชชาหรือตัวแสบ-พระพฤหัสบดีจร (5) เจ้าแห่งปัญญาพิสุทธิ์หรือหัวหน้าดาวดีเทวดาประจำตัว

โปรดดูโพลก่อนด่า...ประชาพอใจ

ตลอดระยะเวลาที่แพทองธารดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเป็นเวลาประมาณครึ่งปี เธออาจจะได้ตำแหน่งนายกรัฐมนตรีที่มีคนวิพากษ์วิจารณ์ จนถึงระดับถูกด่าทอต่อว่ามากที่สุดของประเทศไทย