หนึ่งใน “ฉากทัศน์” กรณีจีนส่งกองทัพบุกยึดไต้หวันในความเห็นของนักวิเคราะห์ต่างชาติ
สหรัฐฯเตรียมจะเพิ่มจำนวนทหารประจำการบนเกาะไต้หวัน...พอมีข่าวออกจากวอชิงตันอย่างนี้ อุณหภูมิความขัดแย้งระหว่างปักกิ่งกับวอชิงตันก็พุ่งขึ้นทันที
ข่าวบอกว่ากองทัพสหรัฐฯ กำลังเตรียมพร้อมเพิ่มจำนวนทหารที่ประจำการในไต้หวันมากกว่า 4 เท่าในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า
อีกด้านหนึ่ง มีรายงานว่าไต้หวันก็เตรียมจะส่งทหารของตนประมาณ 500 นายไปยังสหรัฐฯ ภายในปีนี้
เป็นการยกระดับความใกล้ชิดทางทหารระหว่างสหรัฐฯกับไต้หวันอย่าง “จงใจยั่วยุ” หรือไม่เป็นคำถามใหญ่อย่างฉับพลัน
เพราะหากเป็นจริงตามข่าวที่ออกมาจากทั้งสองฝ่ายย่อมเท่ากับเป็นการเพิ่มขึ้นอย่างมากจากระบบหมุนเวียนกองกำลังครั้งก่อนๆ
โดยทั้งสองฝ่ายมุ่งเน้นไปที่การสนับสนุนการฝึกทหารของไต้หวัน
แต่เป็นข่าวที่มาในช่วงเวลาที่ความขัดแย้งระหว่างสหรัฐฯ และจีนเพิ่มขึ้นอย่างร้อนแรงอยู่แล้ว
ข่าวนี้มีต้นตอมมาจากสื่อ Wall Street Journal (WSJ) ของสหรัฐฯที่อ้างแหล่งข่าวในกองทัพสหรัฐฯ ว่าในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้าจะเพิ่มจำนวนทหารที่ประจำการในไต้หวันอย่างมีนัยสำคัญ
ในอดีตการส่งทหารอเมริกันไปไต้หวันจะรวมถึงกองกำลังปฏิบัติการพิเศษ เช่น Green Berets และนาวิกโยธินด้วย
ถือว่าเป็น “หน่วยรบ” มิใช่ “หน่วยสนับสนุน”
WSJ ระบุว่าจำนวนบุคลากรอเมริกันที่วางแผนจะส่งไปยังไต้หวันในปัจจุบันจะอยู่ระหว่าง 100 ถึง 200
บทวิเคราะห์นั้นบอกว่าการเพิ่มกำลังทหารของสหรัฐฯ จะขยายออกไปตามโครงการฝึกอบรมที่กำลังดำเนินอยู่สำหรับกองกำลังไต้หวัน
ข่าวนี้กระทรวงกลาโหมพยายามจะยังไม่เปิดเผยเพื่อหลีกเลี่ยงการยั่วยุปักกิ่ง
แต่เรื่องอย่างนี้คงปิดเป็นความลับได้ไม่นาน
บทความนี้จึงวิเคราะห์ว่า “การเพิ่มตามแผนจะเป็นการส่งกำลังครั้งใหญ่ที่สุดในรอบหลายทศวรรษของสหรัฐฯ ในไต้หวัน เนื่องจากทั้งสองเริ่มเห็นพ้องต้องกันว่าจำเป็นต้องเสริมกำลังบนเกาะไต้หวันเพื่อตอบโต้กำลังทางทหารที่เพิ่มขึ้นของจีน”
ทหารอเมริกันที่เพิ่มขึ้นจะช่วยฝึกกองกำลังไต้หวันในด้านระบบอาวุธ
และทำความคุ้นเคยกับยุทธวิธีและการซ้อมรบทางทหารของสหรัฐ
ท้ายที่สุดหากกองทหารสหรัฐฯ ถูกส่งไปยังไต้หวันเป็นการถาวร จะเป็นการเพิ่มขึ้นอย่างมากจากจำนวนทหารอเมริกัน 39 นายที่ประจำการที่นั่น ณ เดือนกันยายนปีที่แล้ว
ศูนย์ข้อมูลกำลังคนด้านกลาโหมสหรัฐให้รายละเอียดว่าจำนวนนี้รวมทหารประจำการ 23 นายจากกองทัพทั้งทัพบก, เรือ, อากาศ
สำนักข่าวกลางของไต้หวัน (CNA) ซึ่งอ้างผู้เชี่ยวชาญด้านการทหารที่ไม่เปิดเผยชื่อและแหล่งข่าวที่คุ้นเคยกับเรื่องนี้ รายงานว่ากองทัพสาธารณรัฐจีนไต้หวัน (ROC) กำลังวางแผนที่จะส่งกองพันรวมอาวุธไปยังสหรัฐฯ เพื่อเข้าโครงการอบรมในช่วงครึ่งปีหลังนี้
“นี่นับเป็นครั้งแรกที่ทหารระดับกองพัน ซึ่งโดยทั่วไปประกอบด้วยทหารประมาณ 500 นาย จะเดินทางไปฝึกที่สหรัฐฯ แทนที่จะเป็นระดับหมวด (ทหาร 25-60 นาย) หรือระดับกองร้อย (80-150 นาย) เหมือนในอดีต” CNA ลงรายละเอียดในบทวิเคราะห์อย่างชัดเจน
และยังเสริมต่อว่าขนาดของหน่วยที่ส่งไปอเมริกานั้นเรียกอีกอย่างว่า “กองพันร่วม”
ซึ่งจะประกอบด้วยทหารจากกองพลทหารราบยานยนต์ที่ 333 ของกองทัพไต้หวันและกองพลยานเกราะที่ 542
ในขณะที่กองกำลังจากกองพลเหล่านี้จะเป็นทีมงานที่ประกอบด้วยเจ้าหน้าที่ประสานงานจากหน่วยทหารราบ ชุดเกราะ กองทัพเรือ กองทัพอากาศ และหน่วยบินกองทัพบก พร้อมด้วยผู้ปฏิบัติการพิเศษ
เมื่อปี 2019 ไต้หวันเริ่มกระบวนการปรับโครงสร้างกองพันรวมอาวุธเพื่อพยายามปฏิบัติงานอย่างเป็นอิสระมากขึ้นในการสู้รบ โดยได้รับคำแนะนำของสหรัฐฯ
เป็นที่รับรู้กันว่าฐานทัพอากาศลุคในรัฐแอริโซนาเป็นสถานที่ฝึกฝูงบินของเครื่องบินรบ F-16 จากไต้หวัน
แน่นอนว่ารัฐบาลจีนจะต้องเห็นว่าสหรัฐฯกำลังเข้ามาแทรกแซงกิจการภายในของจีนอย่างโจ๋งครึ่มมากขึ้นทุกที
ความจริง ข่าวเรื่องการเจรจาการผลิตอาวุธร่วมกันระหว่างสหรัฐฯกับไต้หวันมีกระเซ็นกระสายออกมาตั้งแต่ปลายปีที่แล้ว
ตอนนั้นมีข่าวว่าไต้หวันมีเทคโนโลยีที่จำเป็นสำหรับการผลิตอาวุธในประเทศมากขึ้น หรือผลิตอาวุธในสหรัฐฯ แต่ใช้อะไหล่ไต้หวัน
ไต้หวันเป็นลูกค้ารายสำคัญของระบบอาวุธที่ผลิตในสหรัฐฯ อยู่แล้ว
ไม่ว่าจะเป็นระบบจรวดปืนใหญ่เคลื่อนที่เร็ว (HIMARS) จรวดนำวิถี M30 ระบบป้องกันภัยทางอากาศแบบพกพาของมนุษย์สติงเงอร์ (MANPADS) และขีปนาวุธต่อต้านยานเกราะ Javelin
อาวุธเหล่านี้แหละที่สหรัฐฯส่งไปให้กับยูเครนในการทำสงครามกับรัสเซียด้วย
และเมื่ออเมริกาต้องส่งอาวุธประเภทเหล่านี้ไปสมรภูมิยูเครน ก็ทำให้เกิดการชะบอหรือหยุดการส่งมอบอาวุธเหล่านี้ไปให้กับไต้หวัน
ความร่วมมือที่เพิ่มขึ้นระหว่างสหรัฐฯ และไต้หวันส่วนใหญ่เกิดจากกฎหมายนโยบายไต้หวัน ซึ่งได้รับการอนุมัติอย่างท่วมท้นจากคณะกรรมการความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของวุฒิสภาเมื่อเดือนกันยายนปีที่แล้ว
ร่างกฎหมายจะจัดสรรเงิน 6.5 ล้านดอลลาร์สำหรับความช่วยเหลือทางทหารจากต่างประเทศแก่ไต้หวัน
และสนับสนุนการจัดตั้งกองกำลังเฉพาะกิจร่วมและโครงการฝึกอบรมร่วมกับสหรัฐฯ เพื่อจัดการกับความไม่มั่นคงในอินโดแปซิฟิกอย่างรอบด้านยิ่งขึ้น
ขณะที่เขียนอยู่นี้ก็มีข่าวแทรกเข้ามาว่าประธานสภาผู้แทนราษฎรคนใหม่ของสหรัฐฯ Kevin MacCathy จะเปลี่ยนแผนเดิมที่จะไปเยือนไต้หวัน
ปรับมาเป็นเชิญประธานาธิบดีไช่ อิงเหวินไต้หวันมาเยือนวอชิงตันแทน
นัยว่าเพื่อจะหลีกเลี่ยง “ความเดือดดาล” ของปักกิ่ง
แค่เปลี่ยนแผนอย่างนี้คงไม่มีผลทำให้จีนลดความโกรธเคืองน้อยลง
แต่อย่างน้อยก็จะสะท้อนว่ามีความ “เกรงใจ” เพิ่มขึ้นเล็กน้อย
แต่ก็น้อยเกินกว่าจะมีนัยสำคัญทางการเมืองอีกนั่นแหละ
(พรุ่งนี้: มีหรือที่จะจีนนิ่งเฉยเมื่อมะกันเสริมกำลังทหารบนเกาะไต้หวัน)
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ถามแสกหน้า 'ทักษิณ' จะพลิกเศรษฐกิจไทยยังไง ทุกซอกมุมในสังคมยังเต็มไปด้วยทุจริตโกงกิน
นายสุทธิชัย หยุ่น นักวิเคราะห์ข่าวและผู้ดำเนินรายการข่าวชื่อดัง โพสต์เฟซบุ๊ก ถึงกรณีนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ว่า “เขาจะพลิกประเทศไทยให้เศรษฐกิจล้ำโลกได้หรือ
เขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดนที่กลายเป็น ที่ซ่องสุมของอาชญากรรมข้ามชาติ
เมื่อวานเขียนถึงรายงานในสำนักข่าวชายขอบที่สำนักจะได้รับความสนใจของรัฐบาลไทยว่าด้วยกิจกรรมอาชญากรรมข้ามชาติในบริเวณ “เขตเศรษฐกิจพิเศษ” ที่สามเหลี่ยมทองคำ
แหล่งค้ามนุษย์ใน 3 เหลี่ยมทองคำ
เขตเศรษฐกิจพิเศษหรือ SEZ บริเวณสามเหลี่ยมทองคำที่โยงกับไทยนั้นกลายเป็นประเด็นเรื่องอาชญกรรมข้ามชาติที่สมควรจะได้รับความสนใจของรัฐบาลไทยอย่างจริงจัง
ไบเดนหรือทรัมป์? เอเชียน่าจะเลือกใครมากกว่า?
ผมค่อนข้างมั่นใจว่าการดีเบตระหว่างโจ ไบเดน กับโดนัลด์ ทรัมป์ วันนี้ (เวลาอเมริกา) จะไม่ให้ความสำคัญต่อเอเชียหรืออาเซียน
พรุ่งนี้ ลุ้นดีเบตรอบแรก โจ ไบเดนกับโดนัลด์ ทรัมป์
ผมลุ้นการโต้วาทีระหว่างโจ ไบเดน กับโดนัลด์ ทรัมป์ ที่จะมีขึ้นในวันพรุ่งนี้ (27 มิถุนายน) เพราะอยากรู้ว่า “ผู้เฒ่า” สองคนนี้จะมีความแหลมคมว่องไวในการแลกหมัดกันมากน้อยเพียงใด
เธอคือ ‘สหายร่วมรบ’ ผู้ร่วมก่อตั้งพรรค NLD คนสุดท้าย!
อองซาน ซูจีมีอายุ 79 ปีเมื่อวันที่ 19 มิถุนายนที่ผ่านมา...และยังถูกจำขังในฐานะจำเลยของกองทัพพม่าที่ก่อรัฐประหารเมื่อกว่า 3 ปีที่แล้ว