ฉายแววเทรนด์ BCG ปี 66

ที่ผ่านมาได้มีการพูดถึงการดำเนินงานหรือการพัฒนาอุตสาหกรรมในรูปแบบ BCG มาโดยตลอด จนทำให้ในปี 2566 นี้ถือเป็นปีแห่งการเปลี่ยนแปลง หรือการปรับเปลี่ยนสู่ BCG และหากใครยังไม่เปลี่ยนแปลงก็จะถือว่าใกล้ตกขบวนแล้วจริงๆ จึงทำให้เห็นว่าองค์กรขนาดใหญ่หลายแห่งเริ่มมีการประกาศเจตนารมณ์อย่างจริงจังแล้ว

และมีแผนงานชัดเจนว่าในปีนี้ ปีหน้า และปีต่อๆ ไปจะทำอะไร เพื่อให้เกิดอะไร ซึ่งแน่นอนว่าคนบางกลุ่มยังไม่เข้าใจว่าการเปลี่ยนรูปแบบไปสู่ภาคอุตสาหกรรม หรือบริการแบบ BCG จะช่วยอะไร...?

จึงอยากเล่าให้ฟังคร่าวๆ ว่า ตัว BCG นั้นเป็นหนึ่งในแผนงานที่จะช่วยโลก ในทางที่จะทำให้โลกดีขึ้น และไม่ใช่เรื่องไกลตัวหรือเรื่องของคนใดคนหนึ่งเท่านั้น ซึ่ง BCG จะเข้ามาช่วยปกป้องสิ่งแวดล้อม การลดปัญหาโลกร้อนผ่านเศรษฐกิจชีวภาพ, เศรษฐกิจหมุนเวียนและเศรษฐกิจสีเขียว (Green Economy)

ข้อมูลจากกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศสรุปไว้ว่า BCG จะช่วยก่อให้เกิดการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศในหลายมิติ และหลายด้าน โดยมีรายละเอียดดังนี้ ด้านเศรษฐกิจจะทำให้คนตกงานเริ่มหันกลับมาสนใจการทำงานในภาคการเกษตร ช่วยลดภาวะการว่างงาน และทำให้เกิดความก้าวหน้าด้านเกษตรอาหาร ด้านความมั่นคงทางอาหาร จะผลักดันให้มีการเปลี่ยนแปลงจากการผลิตอาหารส่วนเกินพวกกลุ่มแป้ง น้ำตาล มาผลิตเป็นกลุ่มโปรตีน จนเกิดเป็นความมั่นคงด้านอาหาร

ด้านพลังงาน จะทำให้ลดการพึ่งพาก๊าซธรรมชาติลง จากเดิมที่นำมาใช้ในการผลิตไฟฟ้าถึง 60% และมีแนวโน้มว่าจะต้องนำเข้าจากต่างประเทศเพิ่มขึ้นมากในอนาคต ซึ่ง BCG จะเข้ามาช่วยให้ไทยเพิ่มสัดส่วนการใช้พลังงานทดแทน ด้านความยั่งยืน จะทำให้สามารถลดการใช้ทรัพยากรธรรมชาติลงไป ส่วนด้านการท่องเที่ยว ในรูปแบบเดิมอาจทำให้ธรรมชาติสึกหรอ แต่เมื่อมีการวางแผนการท่องเที่ยวควบคู่ไปกับการดูแลธรรมชาติ จะทำให้รูปแบบการท่องเที่ยวเกิดความยั่งยืนมากยิ่งขึ้น

และองค์กรขนาดใหญ่อย่าง การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ก็เดินหน้าเรื่อง BCG เช่นกัน ตามนโยบาย หรือเทรนด์ของการดำเนินงาน โดยการผสานพลังระหว่าง 5 บริษัทชั้นนำของญี่ปุ่น ลงนามความร่วมมือ (MOU) กับนายโทโมอากิ อิชิดะ เจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท มิตซุย โอ.เอส.เค ไลน์ จำกัด, นายคิมิโฮะ ซากุราอิ รองผู้อำนวยการบริษัท ชิโยดะ คอร์ปอเรชั่น และนายโชอิจิ โอกิวาระ ประธานบริษัท มิตซูบิชิ (ประเทศไทย) จำกัด เพื่อศึกษาและพัฒนาโครงการไฮโดรเจนและแอมโมเนียสะอาดครบวงจร

รวมถึง MOU เพื่อศึกษาและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพ กับนายฮิโรโนบุ อิริยะ ประธานคณะกรรมการบริษัท ทีทีซีแอล จำกัด (มหาชน) และ MOU เพื่อพัฒนาเทคโนโลยีระบบแบตเตอรี่กักเก็บพลังงาน (BESS) กับนายโคจิ ทาเคดะ เจ้าหน้าที่บริหารระดับสูง บริษัท IHI Corporation ในการประชุม 1st Asia Zero Emission Community Ministerial Meeting โดยมีนายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน และนายนิชิมุระ ยาสึโทชิ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐกิจ การค้า และอุตสาหกรรม ประเทศญี่ปุ่น ร่วมเป็นสักขีพยาน

ซึ่งความร่วมมือใน MOU ทั้ง 3 ฉบับจะช่วยให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางเทคโนโลยีจากบริษัทชั้นนำในระดับสากล นำไปสู่การขับเคลื่อนเทคโนโลยีพลังงานสะอาด เพิ่มโอกาสทางธุรกิจ การนำมาใช้ในการผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย ทั้งยังช่วยสร้างความมั่นคงด้านพลังงาน ควบคู่กับสิ่งแวดล้อมที่ดีและความยั่งยืนด้านสภาพภูมิอากาศโลกในอนาคต นับเป็นก้าวสำคัญของการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงานของประเทศไทย

ด้าน นิทัศน์ วรพนพิพัฒน์ รองผู้ว่าการเชื้อเพลิง กฟผ. ได้กล่าวว่า ความสำคัญของเทรนด์พลังงานโลกที่เปลี่ยนไปสู่พลังงานสะอาด กฟผ.จึงได้แสวงหาเชื้อเพลิงทางเลือกใหม่สำหรับใช้ในการผลิตไฟฟ้าที่ลดการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ โดยไฮโดรเจนและแอมโมเนียเป็นเชื้อเพลิงแห่งอนาคตที่ไม่ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ระหว่างเผาไหม้ ขณะที่เชื้อเพลิงชีวภาพเป็นพลังงานหมุนเวียนที่สะอาด เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และ BESS เป็นเทคโนโลยีที่เข้ามาช่วยบริหารจัดการกักเก็บพลังงานไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนให้มีเสถียรภาพมากยิ่งขึ้น

แน่นอนว่า หลังจากนี้ในปี 66 เราจะได้เห็นอีกหลายองค์กรเปิดฉากการดำเนินงาน รวมถึงความร่วมมือในด้านของ BCG ที่ชัดเจนมากกว่านี้แน่นอน เพราะเป็นเทรนด์สำคัญที่จะทั้งสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับองค์กร แล้วยังดูแลโลกอย่างจริงจังด้วย.

 

ณัฐวัฒน์ หาญกล้า

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ปี68สินเชื่อระบบแบงก์ไทยหืดจับ

ปี 2568 ยังเป็นอีกปีที่ต้องจับตากับทิศทางของเศรษฐกิจไทย เพราะยังมีปัจจัยหลายอย่าง ทั้งบวกและลบ ที่จะเข้ามามีผลกับภาคเศรษฐกิจ โดยเฉพาะสถานการณ์กดดันจากปัญหาหนี้ครัวเรือน

แผนดัน ‘เกษตรครบวงจร’

อุตสาหกรรมเกษตร เป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมหลักของประเทศไทย และที่ผ่านมาเศรษฐกิจถูกขับเคลื่อนไปได้ด้วยสินค้าเกษตร แต่ก็มีบางช่วงที่ติดขัดและไม่สามารถเดินหน้าต่อได้ จากปัจจัยกระทบต่างๆ

เคาต์ดาวน์ปลอดภัยส่งท้ายปี

เทศกาลส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ 2568 เป็นช่วงเวลาแห่งความสุข เป็นวาระแห่งการเริ่มต้นใหม่ที่เปี่ยมไปด้วยพลังและความหวัง โดยในปีนี้สถานที่จัดงาน Countdown ทั่วประเทศไทยหลายหน่วยงานได้เตรียมกิจกรรมไว้ให้ทุกคนได้ร่วมสนุกและสัมผัสความงดงาม

แชร์มุมมอง‘อินฟลูเอนเซอร์’ในตลาดอาเซียน

การตลาดอินฟลูเอนเซอร์ถือได้ว่าเป็นกลยุทธ์สำคัญในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มายาวนาน แต่กลยุทธ์การทำการตลาดของแต่ละแบรนด์นั้นล้วนแตกต่างกันไป ล่าสุด วีโร่ ได้เปิดตัวเอกสารไวต์เปเปอร์ฉบับใหม่ในหัวข้อ “ผลกระทบ

ของขวัญรัฐบาล

อีกไม่ถึง 2 สัปดาห์ก็จะเข้าสู่ช่วงส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่แล้ว ก็เป็นธรรมเนียมของรัฐบาลและ ครม.ที่จะมีมาตรการเป็นของขวัญมอบให้กับประชาชน ซึ่งการประชุม ครม.ล่าสุดเริ่มมีการเคาะมาตรการต่างๆ ออกมาช่วยเหลือประชาชนกันแล้ว

ยกระดับธุรกิจไทยแข่งขันเวทีโลก

ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย หรือ EXIM BANK คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจไทยปี 2568 มีแนวโน้มขยายตัวที่ 3% ด้วยแรงขับเคลื่อนจากอุปสงค์ในประเทศที่ฟื้นตัวต่อเนื่องจากการใช้จ่ายภาครัฐ