ดร. ปณิธาน วัฒนายากร หนึ่งใน “กูรู” ที่ผมชวนมาตั้งวงวิเคราะห์สงครามยูเครนครบ 1 ปีตอบคำถามสำคัญว่า: ใครได้ใครเสีย?
ในฐานะนักวิชาการด้านความมั่นคงมาตลอดชีวิต ดร. ปณิธานนำเสนอแนวคิดอย่างนี้
ทุกสงครามหรือความขัดแย้ง มีทั้งฝ่ายที่ได้ประโยชน์และฝ่ายที่เสียประโยชน์ ในสงครามระหว่างรัสเซียกับยูเครนในครั้งนี้ก็เช่นกัน ผู้ที่สูญเสียหรือเสียประโยชน์ คือ
1) ประชาชนชาวยูเครน นับได้ว่าเป็นผู้ที่สูญเสียหรือได้รับผลกระทบมากที่สุด ทั้งบาดเจ็บและล้มตายเป็นจำนวนมาก ซึ่งภาพความสูญเสียเหล่านี้สะเทือนใจผู้คนทั่วโลก ทั้งที่อยู่อาศัยถูกทำลาย สภาพบ้านเมืองแตกสาแหรกขาด เศรษฐกิจเสียหายร้ายแรง
และถึงแม้ว่าส่วนใหญ่จะได้รับการดูแลช่วยเหลือจากหลายประเทศ แต่ชีวิตและความเป็นอยู่ของชาวยูเครน รวมทั้งสภาพโดยทั่วไปของประเทศยูเครนเองโดยรวม ก็คงไม่สามารถกลับไปเช่นเดิมได้อีกแล้ว
2)ประชาชนชาวยุโรป ซึ่งก็รวมทั้งชาวรัสเซียบางส่วนด้วย เป็นผู้ที่ได้รับผลกระทบหลายประการจากสงคราม ทั้งเรื่องที่จะต้องอยู่ท่ามกลางความหวาดกลัวจากการถูกรุกราน ทั้งเรื่องผลกระทบทางด้านความเป็นอยู่ ค่าครองชีพที่สูงขึ้น ราคาอาหาร ราคาพลังงาน หรือราคาสินค้าอุปโภคบริโภคที่เพิ่มขึ้น รวมทั้งบางประเทศก็ยังต้องส่งอาวุธยุทโธปกรณ์หรือกำลังทหารไปช่วยสนับสนุนยูเครนในรูปแบบต่างๆ หรือรับภาระหนักในการดูแลผู้ลี้ภัยจำนวนมาก
ความหวังของชาวโลกที่ว่าประเทศในยุโรปทั้งหมด จะยุติความขัดแย้งที่มีมานานเป็นร้อยๆ ปี ที่เคยก่อสงครามโลกไปแล้วถึงสองครั้ง ซึ่งสร้างความหายนะให้กับประชากรโลกทั่วทุกทวีป มีผู้คนล้มตายไปกว่า 60 ล้านคน และจะไม่ทำให้ปัญหาของตนเป็นปัญหาของชาวโลกอีกนั้น บัดนี้ได้หมดไปแทบสิ้นแล้ว
3) ประชาชนในทวีปอื่นๆ โดยเฉพาะในประเทศที่มีขีดความสามารถในการรองรับผลกระทบจากสงครามได้น้อย เช่น ประเทศที่กำลังพัฒนาหรือยากจน ซึ่งจะอ่อนไหวต่อสถานการณ์สงครามหรือความขัดแย้งมากกว่าปกติ รวมทั้งไม่สามารถแก้ไขปัญหาด้านเศรษฐกิจ การเมือง สังคม รวมทั้งด้านพลังงานและอื่นๆ ได้ดีเท่าๆ กับประเทศที่ร่ำรวยหรือพัฒนาแล้ว ประเทศกำลังพัฒนาหรือด้อยพัฒนาเหล่านี้ ไม่สามารถอยู่ตามลำพังหรือเป็นอิสระโดยไม่ต้องเลือกขั้วเลือกข้างได้ บัดนี้ก็จำเป็นต้องเข้าพวกและกลับไปอยู่ภายใต้อิทธิพลของประเทศมหาอำนาจหรือเจ้าอาณานิคมเดิมอีก
แล้วใครได้ประโยชน์จากสงครามนี้?
ผู้ที่ได้ประโยชน์หรือฝ่ายที่ได้เปรียบเสมอ ในกรณีนี้ก็คือ
- สหรัฐอเมริกา สงครามนี้ทำให้สหรัฐฯ กลับมาเป็นผู้นำของชาติยุโรปตะวันตกที่มีเอกภาพมากขึ้น ภาพของความขัดแย้งระหว่างผู้นำสหรัฐฯ กับพันธมิตรของตนในสหภาพยุโรปหรือองค์การนาโต้ที่เคยเกิดขึ้นนั้น ได้หายไปภายในระยะเวลาอันสั้น
อีกทั้งสหรัฐฯ ในฐานะผู้นำโลกเสรีนิยมประชาธิปไตย ยังได้รับการสนับสนุนเพิ่มขึ้นในการต่อสู้กับกลุ่มประเทศ “เผด็จการ” ทั้งนี้ ยังไม่นับที่สหรัฐฯ ได้ประโยชน์จากราคาพลังงานที่เพิ่มขึ้น โดยส่งไปขายทดแทนการนำเข้าจากรัสเซียในหลายประเทศ หรือรายได้ที่เพิ่มขึ้นจากการขายอาวุธยุทโธปกรณ์ ความชำนาญที่ได้จากการ (ช่วย) รบในสมรภูมิสมัยใหม่ หรือกำไรที่ได้จากการค้าและอื่นๆ กับอีกหลายประเทศที่จำเป็นต้องเลือกขั้วเลือกข้าง หรือทำให้การเมืองภายในที่เคยแตกแยกรุนแรง บรรเทาเบาบางลงได้ และโอกาสของพรรคเดโมเครตที่จะได้เปรียบในการเลือกตั้งประธานาธิบดีก็มีมากขึ้นกว่าเดิม
2) จีน อินเดีย รวมทั้งประเทศที่ค้าขายกับรัสเซียได้มากขึ้น ต่างก็ได้รับประโยชน์กันเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะจีนนั้น น่าจะพอใจกับการที่สหรัฐฯ ต้องวุ่นวายอยู่กับสงครามและการจัดการกับรัสเซีย แทนที่จะต้องพุ่งเป้ามายังตนแต่เพียงอย่างเดียว
อีกทั้งยังสามารถช่วงชิงการนำในเวทีการเมืองระหว่างประเทศได้ด้วยการเสนอแผนการ 12 ประการที่จะยุติสงครามในโอกาสที่ครบรอบ 1 ปีของสงครามระหว่างรัสเซียกับยูเครน ซึ่งก็ถือว่าน่าสนใจมาก แต่แนวโน้มที่จะเป็นไปได้หรือไม่นั้น ก็ต้องขึ้นอยู่กับสหรัฐฯเป็นสำคัญ
และเช่นเดียวกับจีน อินเดียก็ได้ประโยชน์จากการนำเข้าพลังงานราคาถูกจากรัสเซีย และทำให้รัสเซียต้องพึ่งพาตนมากขึ้นในด้านต่างๆ ทั้งนี้ก็ยังมีอีกหลายประเทศที่ได้ประโยชน์ รวมทั้งไทยที่มีนักท่องเที่ยวจากรัสเซียเข้ามาจำนวนมากที่สุด และสามารถค้าขายได้กับรัสเซียได้เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในภาคการเกษตร และคาดกันว่าในอนาคตหากสามารถซื้อพลังงานราคาถูกหรืออื่นๆ จากรัสเซียได้มากขึ้น ก็จะดีกับคนไทยที่ได้รับผลกระทบในด้านต่างๆ
3) รัสเซีย ถึงแม้ว่าจะตกอยู่ในสภาพที่ยากลำบากและท้าทายมากในสมรภูมิรบกับยูเครนที่มีพันธมิตรตะวันตกสนับสนุนอย่างแข็งขัน อีกทั้งยังต้องเผชิญหน้ากับสหรัฐฯ และพันธมิตรในเวทีนานาชาติ รวมทั้งต้องแก้ไขผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการถูกคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจที่ทำให้ชาวรัสเซียจำนวนมากเดือดร้อนก็ตาม
แต่ก็ต้องถือว่าความพยายามในการกลับมายิ่งใหญ่ของ “จักรวรรดิรัสเซีย” โดยเฉพาะในสายตาของชาวรัสเซียชาตินิยมนั้น ได้ก้าวไปข้างหน้าในอีกระดับหนึ่งแล้ว คือยึดครองดินแดนบางส่วนของยูเครนได้และสามารถสถาปนาเป็นพื้นที่กันชนกับตะวันตกที่จะมียูเครนเป็นสมาชิกนาโต้ในอนาคตได้ ลบภาพจักรวรรดิที่เคยล่มสลายหรือประเทศอ่อนแอลงได้ในอีกระดับหนึ่ง อีกทั้งยังได้ประโยชน์จากการค้าขายที่เพิ่มขึ้นกับหลายประเทศที่ฉวยประโยชน์หรือต้องเลือกข้างเลือกขั้วมาอยู่กับตนและพันธมิตร
การผลักดันให้รัสเซียคืนดินแดนทั้งหมดที่ยึดครองอยู่ ก็หมายความว่ายูเครน ยุโรปเกือบทั้งหมด โดยเฉพาะสหรัฐฯ และพันธมิตรทั้งระบบ จะต้องรวมตัวกันทำสงครามใหญ่กับรัสเซีย ซึ่งมีพันธมิตรคือจีนและอีกหลายประเทศที่ประกาศไปแล้วว่าจะช่วยรัสเซียรบ ดังนั้นในขณะนี้ ก็ยังไม่มีใครทางฝั่งตะวันตกที่พร้อมจะทำเช่นนั้น ยกเว้นยูเครน
ดร. ปณิธานสรุปว่าในรอบ 1 ปีที่ผ่านมา เรารู้ในสิ่งที่ควรจะรู้น้อยมาก
คือทำอย่างไรจะให้สงครามยุติได้โดยเร็วเพื่อรักษาชีวิตของประชาชนทุกฝ่ายไว้ให้ได้มากที่สุด
แต่เราก็รู้มากขึ้นในสิ่งที่รู้อยู่แล้ว คือ ทุกความขัดแย้งและสงคราม มีฝ่ายที่ได้ประโยชน์และฝ่ายที่เสียประโยชน์เสมอ และในกรณีนี้ก็เช่นกัน ใครได้ใครเสียประโยชน์ ก็ปรากฎชัดเจนในรอบปีที่ผ่านมา
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
มีแม้วไม่มีเรา! วัดใจจุดยืน 'พรรคส้ม' หลังทักษิณขีดเส้นแบ่งข้างทุกเวทีแล้ว
นายสุทธิชัย หยุ่น สื่อมวลชนอาวุโส โพสต์เฟซบุ๊กว่า "พรรคส้มกล้าไหม? มีแม้วไม่มีเรา!
ประเทศเดียวในโลก ‘นายกฯทับซ้อน’ มหันตภัยปี 2568
นายสุทธิชัย หยุ่น สื่อมวลชนอาวุโส โพสต์เฟซบุ๊กว่าสำนักวิจัยต่าง ๆ กำลังวิเคราะห์เพื่อพยากรณ์ว่าประเทศไทยจะต้องเผชิญกับความท้าทายสาหัสอะไรบ้างใน
‘หยุ่น’ ฟันเปรี้ยงรอดยาก! ชั้น 14 ดิ้นอย่างไรก็ไม่หลุด
นายสุทธิชัย หยุ่น สื่อมวลชนอาวุโส โพสต์เฟซบุ๊กว่า เรื่องชั้น 14 จะดิ้นอย่างไรก็หลุดยาก จึงเห็นการเฉไฉ, ตีหน้าตาย
บิ๊กเซอร์ไพรส์ 'สุทธิชัย หยุ่น' เล่นซีรีส์ 'The White Lotus ซีซั่น 3'
เรียกว่าสร้างความเซอร์ไพรส์อย่างต่อเนื่อง สำหรับซีรีส์ The White Lotus ซีซั่น 3 ซึ่งจะสตรีมผ่าน Max ในวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2025 เพราะนอกจากจะมี ลิซ่า-ลลิษา มโนบาล หรือ ลิซ่า BLACKPINK ไอดอลเกาหลีสัญชาติไทย ที่กระโดดลงมาชิมลางงานแสดงเป็นครั้งแรก ในบทของ มุก สาวพนักงานโรงแรม
ถามแสกหน้า 'ทักษิณ' จะพลิกเศรษฐกิจไทยยังไง ทุกซอกมุมในสังคมยังเต็มไปด้วยทุจริตโกงกิน
นายสุทธิชัย หยุ่น นักวิเคราะห์ข่าวและผู้ดำเนินรายการข่าวชื่อดัง โพสต์เฟซบุ๊ก ถึงกรณีนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ว่า “เขาจะพลิกประเทศไทยให้เศรษฐกิจล้ำโลกได้หรือ
เขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดนที่กลายเป็น ที่ซ่องสุมของอาชญากรรมข้ามชาติ
เมื่อวานเขียนถึงรายงานในสำนักข่าวชายขอบที่สำนักจะได้รับความสนใจของรัฐบาลไทยว่าด้วยกิจกรรมอาชญากรรมข้ามชาติในบริเวณ “เขตเศรษฐกิจพิเศษ” ที่สามเหลี่ยมทองคำ