เราเรียนรู้อะไรจาก 1 ปีสงครามยูเครน?

หัวข้อสำคัญระดับโลกคือเราเรียนรู้อะไรบ้างจากสงครามรัสเซีย-ยูเครนในรอบ 1 ปีที่ผ่านมา?

สัปดาห์ที่ผ่านมาในรายการ “ตอบโจทย์” ทางไทยพีบีเอสผมเชิญ “กูรู” 3 ท่านมาตั้งวงวิเคราะห์สงครามยูเครนทั้งที่ผ่านมาและที่มองไปในอนาคต

กูรู 3 ท่านนั้นคือ

คุณสีหศักดิ์ พวงเกตุแก้ว

เลขาธิการคณะมนตรีเพื่อสันติภาพ และความปรองดองแห่งเอเชีย (APRC)

กับ รศ.ดร.ปณิธาน วัฒนายากร

ประธานคณะกรรมการที่ปรึกษาด้านความมั่นคงและ

คุณเกรียงไกร เธียรนุกุล

ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.)

เมื่อวานในคอลัมน์นี้ได้แนววิเคราะห์ของนักการทูตอาชีพอย่างคุณสีหศักดิ์แล้ว

วันนี้ ผมนำเสนอที่ ดร. ปณิธานสรุป “สิ่งที่เราเรียนรู้จากสงครามยูเครน” ถึงวันนี้ว่าอย่างนี้

1.ได้เห็นฉากใหม่ของสงครามสมัยใหม่ ซึ่งน้อยคนที่จะคาดเดาล่วงหน้าได้ถูก และทำให้เราเห็นได้ว่าประเทศส่วนใหญ่ ก็ไม่พร้อมที่จะรองรับหรือแก้ไขสถานการณ์เช่นนี้ รวมทั้งรัสเซียด้วยที่น่าจะประเมินสถานการณ์จริงต่ำเกินไป

2.โลกต้องเผชิญกับสงครามใหญ่ที่สุดในยุโรปนับตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่สองสิ้นสุดลง และเห็นได้ว่าแนวโน้มที่จะยุติลงได้ง่ายๆ ในเวลาอันสั้นนั้น คงเป็นไปได้ยาก

ทั้งนี้เพราะสงครามครั้งนี้ไปเกี่ยวข้องกับความขัดแย้งของมหาอำนาจที่กำลังแย่งชิงความเป็นเจ้า และผลประโยชน์ที่สำคัญของอีกหลายประเทศ นอกเหนือไปจากเรื่องชาตินิยมและความมั่นคงปลอดภัยของตนเอง

3.ผู้อพยพหนีภัยการสู้รบที่ทะลักออกมาจากยูเครน (และรัสเซียด้วย) ไปยังประเทศต่างๆ มีจำนวนมากมายหลายล้านคน

มีผู้เสียชีวิตแล้วนับหมื่นราย บาดเจ็บหรือพิการอีกนับแสนคน

ทั้งนี้ยังไม่รวมถึงความเสียหายทางเศรษฐกิจและสังคม ต่อบ้านเมืองและต่อทรัพย์สินของประชาชน

ทั้งหมดนี้ คิดเป็นมูลค่ามหาศาลและยากที่จะทดแทนหรือฟื้นฟูได้ โดยเฉพาะความสูญเสียที่ประเมินมูลค่าไม่ได้ เช่น ชีวิตของผู้คน หรือโอกาสต่างๆ ในการพัฒนาหากบ้านเมืองสงบสุข ที่สำคัญความสูญเสียทั้งหลายเหล่านี้หรือการทำลายกันนั้น เกิดขึ้นภายในเวลาอันสั้น อีกทั้งยังมีแนวโน้มว่าจะเพิ่มมากขึ้นในอนาคตอีกด้วย

4.การบุกรุกและยึดครองยูเครน เป็นการทำผิดกติกาสากลและละเมิดกฎบัตรสหประชาชาติ ซึ่งทำให้สมาชิกส่วนใหญ่ รวมทั้งประเทศไทย ต้องลงมติคัดค้าน พร้อมทั้งประณามการกระทำดังกล่าว และบางประเทศก็ยังคว่ำบาตรรัสเซียทางเศรษฐกิจหรือทางการเมืองเพิ่มด้วย

สถานการณ์เช่นนี้ ก็คงดำรงอยู่ต่อไปอีกหลายปีจนกว่าสงครามจะยุติลง และถึงแม้ว่าสงครามยุติลงได้ ก็คงจะมีความพยายามของบางฝ่ายที่จะดำเนินการกับรัสเซียกับพวกที่ถูกมองว่าเป็นอาชญากรสงคราม ซึ่งก็คงทำให้ความขัดแย้งไม่ยุติลงทั้งหมด

  1. ในโอกาสครบรอบ 1 ปีของสงคราม สหประชาชาติก็ได้มีมติยืนยันคัดค้านและประณามการกระทำของรัสเซียอีกครั้งด้วยเสียง 141 ต่อ 7 (งดออกเสียง 32 ประเทศ) ซึ่งในครั้งนี้ ประเทศไทยก็ได้ลงมติสนับสนุนร่วมกับ 140 ประเทศด้วย

ทั้งนี้ เพื่อสะท้อนหลักการสำคัญในการเคารพบูรณภาพของดินแดนและการเคารพอธิปไตยของประเทศสมาชิก (แตกต่างจากครั้งที่สอง ไทยงดออกเสียง

กระทรวงการต่างประเทศของเราชี้แจงว่า เหตุเพราะเกี่ยวข้องกับการลงประชามติภายในประเทศ และจะทำให้เกิดความขัดแย้งเพิ่มขึ้น

โดยไทยเห็นว่านานาชาติควรหันไปให้ความสำคัญกับการช่วยเหลือชาวยูเครนทางด้านมนุษยธรรมให้มากขึ้นมากกว่า

ซึ่งการงดออกเสียงในครั้งนั้น ก็ถูกตั้งข้อสังเกตจากหลายฝ่ายว่าถูกต้องหรือไม่

โดยทั่วไปแล้ว ประเทศเล็กๆ หรืออ่อนแอ จะให้ความสำคัญในเรื่องกติกาสากลหรือกฎบัตรสหประชาชาตินี้มาก เหตุเพราะกลัวประเทศใหญ่หรือที่มีกำลังทหารมากกว่าจะรุกรานหรือรังแก

  1. สงครามที่เกิดขึ้นทำให้หลายประเทศต้องปรับเปลี่ยนนโยบายทางการเมือง การทหาร การค้า การลงทุน รวมทั้งนโยบายด้านพลังงาน ด้านการเกษตร และอื่นๆ อีกหลายด้านอย่างที่ไม่เคยทำมาก่อน

เช่น เยอรมัน อังกฤษ นอร์เวย์ สวีเดน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ สิงคโปร์ เป็นต้น

โดยมีลักษณะที่เป็นนโยบายเลือกข้างเลือกขั้วที่ชัดเจนขึ้น สนับสนุนสงครามหรือในทางการทหารอย่างแข็งขัน ส่งอาวุธยุทโธปกรณ์ที่ทันสมัยอย่างที่ไม่เคยส่งให้ใครให้มาก่อน หรือคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจที่เข้มข้นขึ้นจากมติของสหประชาชาติ

ซึ่งหากการแบ่งขั้วเลือกข้างหรือการเผชิญหน้ากันในเวทีโลกแทบทุกเวทีอย่างที่เกิดขึ้นในรอบปีที่ผ่านมาดำรงอยู่ต่อไปอีก เราอาจจะเห็นโลกแบ่งออกเป็นสองขั้วแบบเข้มข้นจริงๆ ก็ได้ นั่นก็หมายความว่าทางเลือกของหลายประเทศรวมทั้งของประเทศไทย ก็จะถูกจำกัดเพิ่มขึ้น และเส้นทางสันติภาพของโลกก็จะแคบลงอีก

ในวงเสวนาวันนั้น ทุกคนเห็นพ้องว่ายังไม่มีใครบอกได้ว่าสงครามนี้จะยุติเมื่อไหร่

หรือแผนสันติภาพของจีนที่นำเสนอนั้นจะมีการยอมรับมากน้อยเพียงใด

แต่อย่างน้อยข้อเสนอของปักกิ่งก็น่าจะเป็นจุดเริ่มต้นของการใช้การทูตคู่ขนานกับการทหาร

แม้ว่าข้อเสนอของจีนยังมีเนื้อหากว้าง ๆ ที่ไม่ได้ระบุรายละเอียดที่เปราะบาง และคู่กรณียังไม่ยอมรับเงื่อนไขของอีกฝ่ายหนึ่ง แต่อย่างน้อยหากนำไปสู่การหารือของทุก ๆ ฝ่ายที่เกี่ยวข้องว่าจะปูทางสำหรับการ “หยุดยิงชั่วคราว” และค่อย ๆ ลดความรุนแรงของการสู้รบ ก็อาจจะเป็นก้าวเล็ก ๆ แต่เป็นก้าวสำคัญที่จะนำไปสู่การเปิดทางสำหรับการต่อรองของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องได้

คุณสีหศักดิ์ตั้งคำถามว่าจีนจะเป็น “honest broker” หรือ “คนกลางที่ไร้ผลประโยชน์ทับซ้อน” ได้หรือไม่นั้นก็ย่อมอยู่ที่ว่าสหรัฐฯ, รัสเซีย, ยุโรป, และยูเครนจะมีความไว้เนื้อเชื่อใจปักกิ่งมากน้อยเพียงใด

แต่เมื่อประธานาธิบดีเซเลนสกีของยูเครนแสดงความสนใจในข้อเสนอของจีนถึงขั้นขอนัดพบประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ของจีนเพื่อหารือรายละเอียดของข้อเสนอ

และรัสเซียออกมาต้อนรับข้อเสนอของจีนในภาพกว้าง

ก็ย่อมจะเป็นแสงสว่างเล็ก ๆ ที่ปลายอุโมงค์อันมืดมิดและเต็มไปด้วยเสียงระเบิดตูมตามมาเป็นปีได้บ้าง

ผมหวังเช่นนั้นจริง ๆ

(พรุ่งนี้: ใครได้ใครเสียจากสงครามนี้?)

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ประเทศเดียวในโลก ‘นายกฯทับซ้อน’ มหันตภัยปี 2568

นายสุทธิชัย หยุ่น สื่อมวลชนอาวุโส โพสต์เฟซบุ๊กว่าสำนักวิจัยต่าง ๆ กำลังวิเคราะห์เพื่อพยากรณ์ว่าประเทศไทยจะต้องเผชิญกับความท้าทายสาหัสอะไรบ้างใน

บิ๊กเซอร์ไพรส์ 'สุทธิชัย หยุ่น' เล่นซีรีส์ 'The White Lotus ซีซั่น 3'

เรียกว่าสร้างความเซอร์ไพรส์อย่างต่อเนื่อง สำหรับซีรีส์ The White Lotus ซีซั่น 3 ซึ่งจะสตรีมผ่าน Max ในวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2025 เพราะนอกจากจะมี ลิซ่า-ลลิษา มโนบาล หรือ ลิซ่า BLACKPINK ไอดอลเกาหลีสัญชาติไทย ที่กระโดดลงมาชิมลางงานแสดงเป็นครั้งแรก ในบทของ มุก สาวพนักงานโรงแรม

ถามแสกหน้า 'ทักษิณ' จะพลิกเศรษฐกิจไทยยังไง ทุกซอกมุมในสังคมยังเต็มไปด้วยทุจริตโกงกิน

นายสุทธิชัย หยุ่น นักวิเคราะห์ข่าวและผู้ดำเนินรายการข่าวชื่อดัง โพสต์เฟซบุ๊ก ถึงกรณีนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ว่า “เขาจะพลิกประเทศไทยให้เศรษฐกิจล้ำโลกได้หรือ

เขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดนที่กลายเป็น ที่ซ่องสุมของอาชญากรรมข้ามชาติ

เมื่อวานเขียนถึงรายงานในสำนักข่าวชายขอบที่สำนักจะได้รับความสนใจของรัฐบาลไทยว่าด้วยกิจกรรมอาชญากรรมข้ามชาติในบริเวณ “เขตเศรษฐกิจพิเศษ” ที่สามเหลี่ยมทองคำ