เหลียวหลังและหน้า 1 ปีสงครามยูเครน

พอครบรอบ 1 ปีของสงครามยูเครน ผมก็ขอตั้งวงวิเคราะห์กับ “กูรู” ด้านต่าง ๆ เพื่อประเมินสถานการณ์สู้รบและการทูตเพื่อวาดฉากทัศน์ในอนาคตให้เห็นมุมมองหลากหลายและสร้างสรรค์

ในรายการ “ตอบโจทย์” ทางไทยพีบีเอสเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา (24 กุมภาพันธ์ 2023 พอดี) ผมเชิญสามท่านมาตั้งวงเสวนา

คุณสีหศักดิ์ พวงเกตุแก้ว เลขาธิการคณะมนตรีเพื่อสันติภาพ และความปรองดองแห่งเอเชีย (APRC)

กับ รศ.ดร.ปณิธาน วัฒนายากร ประธานคณะกรรมการที่ปรึกษาด้านความมั่นคงและ

คุณเกรียงไกร เธียรนุกุล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.)

ในฐานะนักการทูต (อดีตปลัดกระทรวงต่างประเทศ) คุณสีหศักดิ์มองว่าสถานการณ์คงต้องยืดเยื้อไปอีกสักพัก

“แม้เราจะได้ยินเรื่องการเจรจาสันติภาพ แต่ผมคิดว่าตอนนี้ยังไม่ถึงจุดที่จะเจรจา เพราะเดิมพันในเกมนี้สูงมาก...”

ท่านบอกว่า “รัสเซียอยู่ในฐานะที่ชนะลำบาก แต่ก็แพ้ไม่ได้

ที่แพ้ไม่ได้เพราะมันหมายถึงสถานะของประธานาธิบดีปูติน

ส่วนยูเครนก็แพ้ไม่ได้เพราะเป็นเรื่องอธิปไตย บูรณภาพแห่งดินแดน และความอยู่รอดของเขา

ส่วนสหรัฐฯมองไกลไปกว่าเรื่องของยูเครน วอชิงตันมองในเรื่องของ “ระเบียบโลกใหม่” ที่เขายังต้องรักษาความเป็นผู้นำของตะวันตก

ล่าสุดที่ประธานาธิบดีโจ ไบเดนไปวอร์ซอของโปแลนด์และกรุงเคียฟของยูเครนก็พูดถึงว่านี่ยูเครนเป็นสมรภูมิของการต่อสู้ระหว่าง freedom-democracy (เสรีภาพ-ประชาธิปไตย) กับ authoritarianism (เผด็จการ-อำนาจนิยม)

“นั่นก็เท่ากับเพิ่มเดิมพันของสถานการณ์ยูเครนไปอีก...มันมีผลกระทบต่อความสัมพันธ์ของตะวันตกและนาโตกับรัสเซียและจีนด้วย...”

ดังนั้นในฐานะนักการทูตอาชีพ คุณสีหศักดิ์จึงบอกว่า

“ขณะนี้ผมยังมองไม่เห็นว่าสถานการณ์มันสุกงอมเพียงพอที่จะมีการเจรจา”

แม้จีนจะได้เสนอสูตรสันติภาพ 12 ข้อแต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะสงบสุขได้

“ที่จีนต้องเสนอแผนสันติภาพก็เพราะจีนเดือดร้อนด้วย ผมคิดว่าจีนไม่เห็นด้วยกับการรุกรานยูเครน เพราะผิดหลักการของการเคารพอธิปไตยและบูรณาภาพแห่งดินแดนของประเทศอื่น เพราะมันเกี่ยวกับเรื่องไต้หวันด้วย...”

แต่ขณะเดียวกันจีนก็ไม่สามารถจะสูญเสียพันธมิตรกับรัสเซียได้

“เพราะน้ำหนักของรัสเซียในเกมภูมิรัฐศาสตร์ระหว่างจีนกับสหรัฐฯนั้นมีความสำคัญมาก และสิ่งที่จีนเป็นห่วงก็คือหากรัสเซียแพ้ จะเกิดอะไรขึ้น...”

คุณสีหศักดิ์มองว่าในกรณียูเครนนั้นรัสเซียเป็นผู้รุกรานและรุกรานดินแดนบางส่วนของยูเครน ซึ่งเป็นการละเมิดกฎหมายระหว่างประเทศ

“แต่ขณะเดียวกันเราก็ต้องมองความเป็นจริง ว่าเหตุใดปูตินจึงตัดสินใจทำเช่นนั้น เพราะปูตินเห็นว่านักวันศักดิ์ศรีของรัสเซียก็ลดลงไป นี่จากมุมมองของปูติน...”

หากเราจะแก้ไขปัญหานี้ก็ต้องมองจากอีกฝ่ายหนึ่งด้วยเสมอ

“ปูตินมองว่ารัสเซียเคยมีศักดิ์ศรี เคยมีเกียรติภูมิ แต่นับวันก็ลดลงไป มีคำถามว่าบทบาทของรัสเซียในความสัมพันธ์ของระเบียบการเมืองในยุโรปอยู่ตรงไหน และทำไมนาโตยังมองว่ารัสเซียเป็นภัยต่อความมั่นคงของตน...”

คุณสีหศักดิ์บอกว่าต้องยอมรับความจริงว่าระหว่างรัสเซียกับยูเครนนั้นมีความสัมพันธ์พิเศษ ,,, เหมือนไทยกับลาว

“รัสเซียถือว่ายูเครนอยู่ในเขตอิทธิพลของตน จะผิดจะถูกก็อีกเรื่อง ในทำนองเดียวกับที่สหรัฐฯถือว่าคิวบาอยู่ในเขตอิทธิพลของตน...”

นี่คือ Red Line หรือ “เส้นแดงห้ามผ่าน” ที่รัสเซียขีดเอาไว้

คุณสีหศักดิ์บอกต่อว่า “มีคนชื่นชมเซเลนสกีมาก ผมก็ชื่นชมในฐานะผู้นำประเทศ แต่เมื่อเหตุการณ์เริ่มไม่ค่อยดี ผมว่าคนที่เป็นผู้นำประเทศที่มีสถานะทางภูมิศาสตร์ ระหว่างมหาอำนาจต้องดำเนินนโยบาย balancing คือรักษาดุลยภาพให้ดี”

ท่านทูตเชื่อว่าเซเลนสกีคงจะเข้าใจเรื่องนี้ดี แต่เขาก็มองว่าอนาคตของเขาอยู่กับทางตะวันตกคือนาโต เรื่องเศรษฐกิจก็กับอียู

จึงเห็นแนวทางของยูเครนภายใต้การนำของเซเลนสกีที่ออกมายืนหยัดต่อสู้โดยการเรียกร้องให้ตะวันตกส่งอาวุธมาช่วยรบอย่างต่อเนื่องและหนักขึ้นทุกที

คุณเกรียงไกรในฐานะดูแลเรื่องเศรษฐกิจและเป็นประธานสภาธุรกิจไทย-รัสเซียเสนอตัวเลขของการค้าขายระหว่างสองประเทศที่ได้รับผลกระทบจากสงครามอย่างชัดเจน

ยอดการค้าขายระหว่างไทยกับรัสเซียในปี 2564 อยู่ที่ 2,750 ล้านเหรียญสหรัฐฯ แต่พอถึงปี 2565 ลดลง 30 กว่าเปอร์เซ็นต์

การค้าขายของสองประเทศที่มียอดรวม 2,750 ล้านเหรียญนั้น ไทยเราเป็นฝ่ายส่งออก 1,032 ล้านเหรียญ นำเข้าประมาณ 1,700 ล้านเหรียญ เราเป็นฝ่ายขาดดุล

ปีที่แล้ว เราส่งออกเหลือเพียง 580 ล้านเหรียญ หรือลดไปประมาณ 43%

และการนำเข้าจากรัสเซียก็ลดลง 20 กว่าเปอร์เซ็นต์

ดังนั้นจึงเห็นได้ชัดว่าสงครามมีผลกระทบต่อการค้าขายระหว่างสองประเทศของเราอย่างมาก

“ผู้ส่งออกของเราก็ยังสาละวนอยู่กับปัญหาต่าง ๆ ที่มาพร้อมกับการคว่ำบาตรอันเกิดจากสงครามเช่นเปิด L/C ไม่ได้เพราะสหรัฐฯกับยุโรปก็ตัดรัสเซียออกจากระบบการโอนเงินระหว่างประเทศ SWIFT...”

ผู้ส่งออกจากจึงต้องหาทางออกโดยการไปเปิด L/C ช่องทางอื่นเช่นไปเปิด L/C ผ่านประเทศอื่นเช่นจีนหรือประเทศในตะวันออกกลางเป็นต้น

การขนส่งก็เป็นปัญหาเพราะการแซงชั่น

เรือขนสินค้าระหว่างไทยกับรัสเซียก็ต้องเปลี่ยนเส้นทางที่ต้องอ้อมมากขึ้น

จึงต้องมีการเปลี่ยนท่าเรือในประเทศอื่นเพื่อนำเข้ามาอีกทีหนึ่งซึ่งก็ทำให้ต้นทุนสูงขึ้น

“สิ่งที่เกิดขึ้นก็คือสินค้าในบางอุตสาหกรรมที่ยังพอมีมาร์จินหรือกำไรส่วนเกินก็ยังต้องดิ้นรน ยังคุ้มอยู่แม้ต้นทุนจะสูงขึ้น แต่ถ้าเป็นสินค้าที่มีมาร์จินต่อ ช่วงนี้ก็หยุดไปก่อน นั่นคือเหตุผลที่ทำให้ยอดการค้าขายระหว่างสองประเทศตกไปในปีที่แล้วถึง 43%”

แต่ก็ไม่ได้แย่ไปทั้งหมด ยังมีสินค้าบางตัวที่เห็นทิศทางเพิ่มขึ้น

ปีที่แล้ว ตัวเลขที่ดีขึ้นคือการส่งออกภาคอาหาร ไม่ว่าจะเป็นอาหารสำเร็จรูปหรืออาหารกระป๋อง

“และที่น่าแปลกใจคือการส่งข้าวออกไปรัสเซียเพิ่มขึ้นอย่างมาก ปีที่แล้ว เราส่งข้าวออกเพิ่มขึ้น 300 กว่าเปอร์เซ็นต์...”

ในวิกฤตก็ยังมีโอกาส แต่เป็นโอกาสที่ต้องบริหารความเสี่ยงและต้องปรับตัวอย่างรุนแรงเช่นกัน

(พรุ่งนี้: เราเรียนรู้อะไรจากสงครามยูเครน 1 ปี?)

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ประเทศเดียวในโลก ‘นายกฯทับซ้อน’ มหันตภัยปี 2568

นายสุทธิชัย หยุ่น สื่อมวลชนอาวุโส โพสต์เฟซบุ๊กว่าสำนักวิจัยต่าง ๆ กำลังวิเคราะห์เพื่อพยากรณ์ว่าประเทศไทยจะต้องเผชิญกับความท้าทายสาหัสอะไรบ้างใน

บิ๊กเซอร์ไพรส์ 'สุทธิชัย หยุ่น' เล่นซีรีส์ 'The White Lotus ซีซั่น 3'

เรียกว่าสร้างความเซอร์ไพรส์อย่างต่อเนื่อง สำหรับซีรีส์ The White Lotus ซีซั่น 3 ซึ่งจะสตรีมผ่าน Max ในวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2025 เพราะนอกจากจะมี ลิซ่า-ลลิษา มโนบาล หรือ ลิซ่า BLACKPINK ไอดอลเกาหลีสัญชาติไทย ที่กระโดดลงมาชิมลางงานแสดงเป็นครั้งแรก ในบทของ มุก สาวพนักงานโรงแรม

ถามแสกหน้า 'ทักษิณ' จะพลิกเศรษฐกิจไทยยังไง ทุกซอกมุมในสังคมยังเต็มไปด้วยทุจริตโกงกิน

นายสุทธิชัย หยุ่น นักวิเคราะห์ข่าวและผู้ดำเนินรายการข่าวชื่อดัง โพสต์เฟซบุ๊ก ถึงกรณีนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ว่า “เขาจะพลิกประเทศไทยให้เศรษฐกิจล้ำโลกได้หรือ

เขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดนที่กลายเป็น ที่ซ่องสุมของอาชญากรรมข้ามชาติ

เมื่อวานเขียนถึงรายงานในสำนักข่าวชายขอบที่สำนักจะได้รับความสนใจของรัฐบาลไทยว่าด้วยกิจกรรมอาชญากรรมข้ามชาติในบริเวณ “เขตเศรษฐกิจพิเศษ” ที่สามเหลี่ยมทองคำ