10 เทรนด์เทคโนโลยีเฮลท์แคร์ 2023

ปัจจุบันเทคโนโลยี โดยเฉพาะปัญญาประดิษฐ์เข้ามามีบทบาทสำคัญกับทุกภาคส่วน ทั้งการดำเนินชีวิต ภาคการผลิตและอุตสาหกรรม รวมไปถึงทางด้านสาธารณสุขและการแพทย์ ประกอบกับปัญหาการขาดแคลนบุคลากรและความผันผวนทางเศรษฐกิจ เป็นปัจจัยที่ท้าทายผู้ให้บริการทางสาธารณสุขทั่วโลกในการพัฒนาประสิทธิภาพการดำเนินงาน และคิดค้นรูปแบบการดูแลรักษาผู้ป่วยใหม่ๆ

ในขณะที่วงการเฮลท์แคร์ยังตระหนักถึงความรับผิดชอบต่อสังคมมากขึ้น จึงหันมาให้ความสำคัญกับการยกระดับความเท่าเทียมด้านการเข้าถึงระบบสาธารณสุข ตลอดจนความจำเป็นในการลดก๊าซคาร์บอนในอุตสาหกรรมเพื่อการรักษาสุขภาพของโลกเช่นกัน

เพื่อเป็นการตอบสนองต่อความท้าทายข้างต้น ฟิลิปส์จึงได้รวบรวม 10 เทรนด์เทคโนโลยีเฮลท์แคร์ที่คาดจะมาแรงในปี ค.ศ.2023 นี้ 1.การนำเทคโนโลยีด้านระบบการทำงานอัตโนมัติและปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI มาใช้เพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลนบุคลากรด้วย รายงานจาก Philips Future Health Index 2022 report พบว่า ปัญหาด้านบุคลากรเป็นเรื่องสำคัญอันดับแรกๆ ดังนั้นการได้นำ AI เข้ามาใช้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและขีดความสามารถของบุคลากรทางการแพทย์

2.การนำ AI มาใช้กับการพัฒนาและเพิ่มทักษะด้านดิจิทัลผ่านการฝึกอบรมและการศึกษาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งบุคลากรทางการแพทย์ยังจำเป็นต้องได้รับความรู้และการฝึกอบรมที่เหมาะสมเพื่อให้ทันกับความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ในอนาคตจะเห็นความต้องการบริการด้านการศึกษาเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง 3.ใช้ AI ในการปฏิบัติงานทางไกล หรือผ่านการทำงานร่วมกันแบบออนไลน์ ซึ่งหลังจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ทำให้เทคโนโลยีกลายเป็นปัจจัยหนึ่งในวงการเฮลท์แคร์ 4.โซลูชันด้านสารสนเทศ เพื่อเป็นสื่อกลางและทำให้สามารถทำงานร่วมกับหลากหลายเครื่องมือหรือหลายระบบ

5.เฮลท์แคร์กำลังย้ายไปอยู่บนคลาวด์ ซึ่งเป็นอีกหนึ่งเทคโนโลยีที่สำคัญในการเชื่อมต่อและบูรณาการโครงสร้างพื้นฐานไอทีด้านเฮลท์แคร์ โดยการประยุกต์ใช้คลาวด์ในวงการเฮลท์แคร์เติบโตอย่างรวดเร็ว และได้รับการยอมรับมากขึ้น ซึ่งน่าจะได้เห็นการนำคลาวด์ไปใช้ทั่วทุกมุมโลกในปี 2023 นี้ และน่าจะได้เห็นการเพิ่มขึ้นของโซลูชัน software-as-a-service (SaaS) ที่ส่งผ่านระบบคลาวด์ตามมา

6.การติดตามอาการผู้ป่วยอย่างไร้รอยต่อทั้งในและนอกโรงพยาบาล สร้างรากฐานของระบบสาธารณสุขที่สามารถเชื่อมต่อจากโรงพยาบาลไปสู่บ้านผู้ป่วยและชุมชน จากรายงาน Philips Future Health Index 2022 report ระบุว่า ในวงการเฮลท์แคร์เล็งเห็นว่า การดูแลรักษาผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลเป็นสิ่งที่ต้องหันมาให้ความสำคัญเป็นอันดับต้นๆ รองจากความพึงพอใจและการรักษาบุคลากรทางการแพทย์ในองค์กร การให้การดูแลรักษาอย่างถูกต้องในสถานที่และเวลาที่เหมาะสมเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยสร้างประสบการณ์แบบไร้รอยต่อให้กับผู้ป่วยได้

7.มุ่งเน้นการส่งมอบบริการทางสาธารณสุขที่ครอบคลุมและเท่าเทียมกันมากขึ้น การแพร่ระบาดของโควิด-19 เร่งให้เกิดการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลด้านเฮลท์แคร์เร็วขึ้น เพื่อเพิ่มการเข้าถึงด้านสาธารณสุข โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับประชาชนที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกลและพื้นที่ชนบท 8.การหมุนเวียน ในเทคโนโลยีเฮลท์แคร์นั้น 'การหมุนเวียน' เกี่ยวข้องกับกระบวนการใช้เครื่องมือแพทย์ การนำสมาร์ทดิจิทัลมาใช้ยังช่วยให้ระบบดูแลสุขภาพสามารถลดการใช้ทรัพยากรการผลิต

9.ลดคาร์บอนในวงการเฮลท์แคร์ให้สอดคล้องกับการตั้งเป้าตามหลัก Science-based ซึ่งผู้ประกอบการในวงการเฮลท์แคร์ตระหนักถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากการปล่อยก๊าซคาร์บอน โดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิโลก และพยายามลงมือทำบางอย่างเพื่อรับผิดชอบต่อปัญหาดังกล่าว โดยบริษัทเครื่องมือแพทย์และบริษัทเทคโนโลยีด้านเฮลท์แคร์มีการตั้งเป้ากำหนดเพื่อลดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนตามหลัก Science-based และ 10.สร้างความเข้าใจเกี่ยวกับผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม ที่มีต่อสุขภาพของประชากร.

 

บุญช่วย ค้ายาดี

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ความสำเร็จของแบรนด์กับการใช้Meta

ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นตลาดที่เติบโตอย่างรวดเร็ว โดยมีประชากร 700 ล้านคน และมี GDP รวมประมาณ 4 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ทำให้เป็นตลาดที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 5 ของโลก

หวยเกษียณแก้ปัญหาแก่ก่อนรวย

เมื่อวันอังคารที่ผ่านมา คณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบโครงการสลากสะสมทรัพย์เพื่อเงินออมยามเกษียณ หรือหวยเกษียณ ของกองทุนการออมแห่งชาติ ซึ่งนี่ถือเป็นโครงการที่รัฐบาลพยายามส่งเสริมการออมของประชาชนในประเทศ

เจ็บแล้วจบ

หลังการบริหารงานของรัฐบาลเศรษฐาได้เข้ามาเดินหน้ามาตรการประชานิยมลด แลก แจก แถม จัดเต็ม ตามที่สัญญากันไว้ช่วงหาเสียงเลือกตั้ง โดยเฉพาะนโยบายด้านพลังงาน ลดค่าไฟฟ้า

3แผนกรีนดันอุตฯไทยรักษ์โลก

เทรนด์รักษ์โลกยังมีมาอย่างต่อเนื่อง และตลอดปี 2567 ที่ผ่านมานี้หลายหน่วยงาน หลายบริษัทก็ยังไม่ทิ้งอุดมการณ์อันแรงกล้านี้ และยังแห่ประกาศแผนดำเนินงานเพื่อดูแลสิ่งแวดล้อมกันอย่างคึกคัก

เร่ง“ปรับ”ก่อน(ถูก)“เปลี่ยน”

ยอดขายรถยนต์ในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2567 ที่ผ่านมา หลายคนคงตกใจ เพราะหดตัวลงถึง 23.8% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และมีแนวโน้มว่าทั้งปีจะหดตัวลงอย่างรุนแรงที่สุดในรอบ 15 ปี

เปิดไม้เด็ดธุรกิจขนาดเล็กสู้ในตลาด

หากย้อนเวลาไปเมื่อหลายปีก่อน ธุรกิจที่มีทุนหนาและมีส่วนแบ่งการตลาดมาก มักจะถูกมองว่าเป็น “ปลาใหญ่” ที่ได้เปรียบเหนือคู่แข่งที่ทุนน้อยกว่าซึ่งเปรียบเหมือน “ปลาเล็ก” จนเป็นที่มาของคำว่า “ปลาใหญ่กินปลาเล็ก” หนึ่งในข้อได้เปรียบที่เห็นชัดที่สุดคือ การมี Economy of Scale หรือ การประหยัดต่อขนาด ซึ่งหมายถึง การผลิตสินค้าหรือบริการในจำนวนที่มากพอที่จะทำให้ต้นทุนการผลิตต่อหน่วยต่ำลง พูดง่ายๆ ก็คือ “ยิ่งผลิตมากขึ้น ต้นทุนการผลิตยิ่งลดลง และยิ่งคุ้มค่ามากขึ้น” โดยต้นทุนในการผลิตสินค้าหรือบริการจะแบ่งออกเป็น ต้นทุนคงที่ (fixed cost) และต้นทุนผันแปร (variable cost) ต้นทุนคงที่ คือ ต้นทุนที่ธุรกิจต้องจ่ายเป็นจำนวนคงที่ ไม่ว่าจะผลิตสินค้าหรือบริการในปริมาณเท่าใดก็ตาม เช่น ค่าเช่าพื้นที่ ค่าเครื่องจักรอุปกรณ์ ค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการ ส่วนต้นทุนผันแปร