นักลงทุนใส่ใจเรื่องภูมิอากาศ

ดูเหมือนว่าในปีนี้ยังคงมีหลายปัจจัยที่ทำให้เกิดความผันผวนทางเศรษฐกิจทั้งในและต่างประเทศ แต่ในขณะเดียวกันนักลงทุนก็เชื่อว่าการแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศควรเป็นภารกิจสำคัญห้าอันดับแรกสำหรับธุรกิจ

นายชาญชัย ชัยประสิทธิ์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท PwC ประเทศไทย กล่าวว่า จริงอยู่ว่านักลงทุนไทยเริ่มให้น้ำหนักกับรายงานความยั่งยืนกันมากขึ้น และถูกนำมาใช้เป็นหนึ่งในปัจจัยที่ประกอบการพิจารณาการลงทุนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ โดยปัจจุบันนักลงทุนส่วนใหญ่อยู่ในช่วงของการเรียนรู้และทำความเข้าใจกับรายงานความยั่งยืนของบริษัทจดทะเบียน แต่อย่างไรก็ดีรายงานความยั่งยืนของบริษัทไทยที่ได้มาตรฐานยังจำกัดอยู่เฉพาะในกลุ่มบริษัทจดทะเบียนขนาดใหญ่ที่ทำธุรกิจ หรือเป็นคู่ค้ากับต่างประเทศเท่านั้น ดังนั้นการได้รับการตรวจสอบ ESG Assurance จากหน่วยงานหรือผู้สอบบัญชีที่น่าเชื่อถือ จะเป็นกุญแจสำคัญในการสร้างความเชื่อมั่นให้กับรายการที่บริษัทได้ทำการเปิดเผยให้แก่นักลงทุน

นอกจากนี้ ข้อมูลจากสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือด้าน ESG ก็ไม่ได้เติมเต็มช่องว่างของความน่าเชื่อถือนี้ โดยมีเพียง 22% ของนักลงทุนที่ถูกสำรวจที่กล่าวว่า พวกเขาใช้สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือในระดับที่มาก หรืออย่างมาก

นักลงทุนที่ถูกสำรวจ เห็นว่าการจัดการกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ โดย 2 ใน 3 กล่าวว่า การมุ่งเน้นการลงทุนด้าน ESG นั้น มาจากความปรารถนาที่ต้องการเพิ่มผลตอบแทนจากการลงทุน และ 68% กล่าวว่า การปกป้องผลตอบแทนจากการลงทุนก็เป็นแรงจูงใจเช่นกัน ขณะที่นักลงทุนมากถึง 82% กล่าวว่า เป็นการตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้า

จะเห็นได้ว่า ตัวเลขเหล่านี้สะท้อนให้เห็นถึงการตระหนักเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ที่เพิ่มขึ้นในฐานะความเสี่ยงที่สำคัญที่อาจเกิดขึ้นกับธุรกิจ โดย 1 ใน 5 เชื่อว่าบริษัทต่างๆ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น หรือเพิ่มขึ้นอย่างมากที่จะเผชิญกับความเสี่ยงด้านสภาพภูมิอากาศในอีก 12 เดือนข้างหน้า และเมื่อมองไปในช่วงเวลา 5 ปีข้างหน้า ตัวเลขดังกล่าวยังสูงขึ้นเป็น 37% ซึ่งเท่ากับความกังวลเกี่ยวกับความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ และยังพบว่าในช่วงระยะเวลา 10 ปี การเปลี่ยนแปลงด้านพลังงานเกือบจะสัมพันธ์กับการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี เนื่องจากเป็นแนวโน้มที่จะส่งผลกระทบอย่างมีนัย หรือมีนัยอย่างมากต่อความสามารถในการทำกำไร

ขณะที่นักลงทุน 66% กล่าวว่า บริษัทต่างๆ ควรเปิดเผยมูลค่าทางการเงินของ "ผลกระทบจากการดำเนินงานหรือกิจกรรมอื่นๆ ที่มีต่อสิ่งแวดล้อม หรือสังคม" เนื่องจากจะช่วยให้บริษัทต่างๆ เข้าใจถึงผลทางเศรษฐกิจอย่างเต็มที่ของการตัดสินใจทางธุรกิจของพวกเขา และมีเพียง 13% เท่านั้นที่ไม่เห็นด้วย นอกจากนี้เกือบ 3 ใน 4 ของนักลงทุน ต้องการให้บริษัทต่างๆ รายงานต้นทุนเพื่อให้เป็นไปตามพันธสัญญาด้านความยั่งยืนที่พวกเขาได้ตั้งเป้าไว้

ส่วนความเห็นของนายวิล แจ็กสัน-มัวร์ หัวหน้ากลุ่มธุรกิจ ESG ทั่วโลก PwC ประเทศสหราชอาณาจักร กล่าวว่า แม้ในสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจที่ท้าทาย นักลงทุนเกือบครึ่งหนึ่งมองว่า การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นภารกิจที่มีความสำคัญสูงสุด 5 อันดับแรกสำหรับธุรกิจ การเปลี่ยนแปลงองค์กรสู่การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ ถือเป็นขั้นตอนสำคัญต่อการบรรลุความสำเร็จทางการค้าและการดึงดูดเงินทุน นักลงทุนคาดหวังให้ธุรกิจเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่จะช่วยเพิ่มผลกำไร สร้างความไว้วางใจ และส่งมอบผลลัพธ์ที่ยั่งยืนได้

ขณะเดียวกัน ความน่าเชื่อถือในการรายงานความยั่งยืน ถือเป็นสิ่งสำคัญสำหรับนักลงทุน ในเรื่องของการตรวจสอบและให้การรับรอง 3 ใน 4 ของนักลงทุนกล่าวว่า การให้การรับรองรายงานที่สมเหตุสมผลจะให้ความมั่นใจแก่พวกเขาในการรายงานความยั่งยืนขององค์กร นอกจากนี้นักลงทุนยังมีมุมมองที่ชัดเจนเกี่ยวกับสิ่งที่พวกเขาต้องการจากผู้ให้การรับรองรายงาน โดย 72% กล่าวว่า สิ่งสำคัญคือผู้ให้การรับรองจะต้องมีความเป็นอิสระและมีมาตรฐานทางจริยธรรม และ 73% เน้นย้ำถึงความสำคัญของการตั้งข้อสังเกตและสงสัยของผู้ประกอบวิชาชีพ โดยการมีความรู้เกี่ยวกับประเด็นเรื่องการตรวจสอบถือเป็นคุณสมบัติอันดับแรกที่นักลงทุนต้องการจากผู้ให้การรับรอง.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เร่งเครื่องดึงนักท่องเที่ยว

จากสถานการณ์การท่องเที่ยวไทยในปัจจุบัน กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาได้ให้ข้อมูลพบว่า ประเทศไทยมีจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติสะสมในช่วงเกือบ 7 เดือนเต็ม ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.-28 ก.ค.2567 ทั้งสิ้น 20,335,107 คน

ต้องเร่งแก้ปัญหาปากท้อง

หลังจากนายกรัฐมนตรีหญิง แพรทองธาร ชินวัตร รับตำแหน่งอย่างชัดเจน ทำให้ภาคเอกชนต่างก็ดีใจ เพราะไม่ทำให้ประเทศเป็นสุญญากาศในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ และสิ่งแรกที่ภาคเอกชนอย่าง

แนะเจาะใจผู้บริโภคด้วย‘ความยั่งยืน’

คงต้องยอมรับว่าประเด็นเรื่องสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืนได้รับความสนใจมากขึ้นทั้งจากผู้บริโภค ภาคเอกชน และภาครัฐ ส่งผลให้ผู้ประกอบการในภาคธุรกิจจำเป็นต้องมีการปรับตัว

รัฐบาลงัดทุกทางพยุงตลาดหุ้น

หลังจากปล่อยให้ตลาดหุ้นซึมมาอย่างช้านาน จนปัจจุบันอยู่ต่ำกว่า 1,300 จุด เรียกได้ว่าสำหรับนักลงทุนถือเป็นความเจ็บปวด เพราะดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาไม่ได้ไปไหน

ดันอุตฯไทยไปอวกาศ

แน่นอนว่าในยุคที่โลกต้องก้าวหน้าไปสู่อุตสาหกรรมที่ทันสมัยมากขึ้น และต่อไปไม่ได้มองแค่ในประเทศหรือในโลกแล้ว แต่มองไปถึงนอกโลกเลยด้วยซ้ำ เพราะจะเป็นหนึ่งในกลไกในการพัฒนาอุตสาหกรรมภาคพื้นที่มีความแข็งแกร่งส่งผ่านไปยังอุตสาหกรรมอวกาศได้

แบงก์มอง ASEAN ยังมาเหนือ

ยังคงมีอีกหลายประเด็นที่ต้องจับตามองกันอย่างต่อเนื่อง ทั้งในสถานการณ์โลกและภายในประเทศ ที่จะส่งผลต่อเศรษฐกิจและการค้า โดยมุมมองของ อมรเทพ จาวะลา ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสำนักวิจัย ธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย ระบุว่า