ตลาด“CLMV”โตสวนศก.โลก

เศรษฐกิจไทยในปีนี้ได้รับแรงขับเคลื่อนที่ดีจาก “ภาคการท่องเที่ยว” ซึ่งหลายฝ่ายมองว่าจะฟื้นตัวได้ดีกว่าคาดการณ์ ขณะเดียวกันการบริโภคภายในประเทศก็เป็นไปได้อย่างต่อเนื่อง ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากมาตรการกระตุ้นจากภาครัฐ โดยเฉพาะช็อปดีมีคืน ส่วน “ภาคการส่งออก” ที่เคยเป็นกำลังสำคัญที่สนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจตลอดช่วงที่ผ่านมาก็เริ่มส่งสัญญาณแผ่วลง ตามแนวโน้มเศรษฐกิจโลกที่เริ่มชะลอตัวลง โดยเริ่มเห็นทิศทางการชะลอลงของภาคการส่งออกไทยตั้งแต่ช่วงไตรมาส 3-4/2565 ที่ผ่านมา

ทั้งนี้ หนึ่งในแนวทางเพื่อบรรเทาผลกระทบของภาคการส่งออกที่ชะลอตัวลงนั้น รัฐบาลให้ความสำคัญกับการมองหาตลาดส่งออกใหม่ๆ โดยเฉพาะ “ตลาดเพื่อนบ้าน” เนื่องจากยังมีโอกาสและแนวโน้มการเติบโตที่ค่อนข้างสูง

สอดคล้องกับมุมมองของ ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ Economic Intelligence Center (EIC) ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB) ที่คาดว่าเศรษฐกิจประเทศเพื่อนบ้านอย่าง CLMV (กัมพูชา, สปป.ลาว, เมียนมาและเวียดนาม) ในปี 2566 จะขยายตัวแข็งแกร่งขึ้น สวนกระแสเศรษฐกิจโลกชะลอตัว แม้ว่าการเติบโตจะยังต่ำกว่าศักยภาพเมื่อเทียบกับช่วงก่อนโควิด-19 ก็ตาม

โดยมีแนวโน้มฟื้นตัวจากอุปสงค์ภายในประเทศและการท่องเที่ยว การบริโภคภายในประเทศ มีปัจจัยบวกจากตลาดแรงงานที่ฟื้นตัวต่อเนื่อง ขณะเดียวกันภาคบริการจะได้อานิสงส์จากจำนวนนักท่องเที่ยวที่เพิ่มขึ้นในปีนี้ โดยเฉพาะจากนักท่องเที่ยวจีนซึ่งมีความสำคัญต่อ CLMV คิดเป็นสัดส่วนประมาณ 30-35% ของนักท่องเที่ยวทั้งหมดในปี 2562

 “คาดว่าเศรษฐกิจ CLMV ในปี 2566 ขยายตัวแข็งแกร่งขึ้น แต่ยังต่ำกว่าศักยภาพการเติบโตในช่วงก่อนการระบาดของโควิด-19 โดยมีอัตราการเติบโตที่แตกต่างกันในแต่ละประเทศ ขึ้นอยู่กับโครงสร้างเศรษฐกิจและปัจจัยเสี่ยงรายประเทศ โดยประเมินว่าในปีนี้กัมพูชาจะขยายตัวได้ 5.5%, สปป.ลาว และเมียนมา ขยายตัวได้ 3% และเวียดนาม ขยายตัวได้ 6.2%”

ในทางกลับกัน อุปสงค์จากต่างประเทศมีแนวโน้มชะลอตัวตามเศรษฐกิจโลกที่ขยายตัวต่ำ ซึ่งจะกระทบเศรษฐกิจ CLMV ผ่านช่องทางการส่งออกและการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ โดยเวียดนามจะได้รับผลกระทบมากที่สุด เนื่องจากมีความสัมพันธ์กับห่วงโซ่อุปทานโลกสูงมาก และเป็นปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้ SCB EIC ประเมินว่าเวียดนามเป็นประเทศเดียวในกลุ่ม CLMV ที่เศรษฐกิจจะชะลอตัวในปีนี้ หลังขยายตัวสูงถึง 8% ในปีก่อน

อย่างไรก็ตาม การเปิดประเทศของจีนอาจช่วยพยุงการส่งออกและการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศไม่ชะลอตัวมากนัก แต่ต้องจับตาความเสี่ยงหากอุปสงค์จากต่างประเทศซบเซา อาจส่งผลกระทบต่อเนื่องถึงอุปสงค์ภายในประเทศ ภาคการผลิตและการจ้างงาน

ขณะที่ สปป.ลาวและเมียนมามีแนวโน้มฟื้นตัวช้ากว่าประเทศอื่นๆ จากปัจจัยความเสี่ยงเฉพาะประเทศ โดย สปป.ลาวนั้นมีเสถียรภาพค่อนข้างเปราะบางในด้านราคา ด้านการคลัง และด้านต่างประเทศ ซึ่งจะเป็นปัจจัยกดดันให้เศรษฐกิจขยายตัวได้ต่ำกว่าศักยภาพในระยะต่อไป โดย สปป.ลาวเผชิญเงินเฟ้อสูง ซึ่งกระทบต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจในประเทศ ส่วนเมียนมาสถานการณ์ความไม่แน่นอนทางการเมืองที่ยืดเยื้อเป็นปัจจัยกดดันเศรษฐกิจในระยะปานกลาง และกระทบต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุน ส่งผลให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจในประเทศซบเซาต่อเนื่อง แม้เมียนมาได้วางแผนที่จะจัดการเลือกตั้งในปีนี้ โดย SCB EIC ประเมินว่า ความไม่แน่นอนทางการเมืองจะไม่ปรับลดลงมากนัก ซึ่งจะเป็นปัจจัยกดดันให้เศรษฐกิจเมียนมาขยายตัวต่ำกว่าศักยภาพต่อไป

นอกจากนี้ แม้จะมีปัจจัยเรื่องความเสี่ยงด้านภูมิรัฐศาสตร์ที่เป็นประเด็นต้องจับตาในระยะต่อไป เพราะมีทั้งผลกระทบด้านบวกและด้านลบต่อ CLMV รวมถึงคาดการณ์ว่าการลงทุนจากไทยไป CLMV จะขยายตัวได้แต่อยู่ในระดับต่ำในปีนี้ เนื่องจากปัจจัยกดดันทั้งเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวอย่างเปราะบางและมีความไม่แน่นอนสูง เงินเฟ้อ และความเสี่ยงรายประเทศ แต่ SCB EIC ก็ยังมองว่า CLMV เป็นกลุ่มประเทศที่น่าสนใจต่อนักลงทุนไทยและต่างชาติ เนื่องจากมีค่าแรงค่อนข้างต่ำ ตลาดในประเทศขยายตัวต่อเนื่อง และมีสนธิสัญญาการค้าเสรีต่างๆ กับประเทศคู่ค้าสำคัญ อีกทั้งยังสามารถเป็นฐานการผลิตไปตลาดใหญ่ เช่น จีนและอินเดียได้อีกด้วย.

ครองขวัญ รอดหมวน

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

จับตา “AI” เปลี่ยนตลาดแรงงานทั่วโลก

ปัจจุบันต้องยอมรับว่า AI เข้ามามีบทบาท และมีประโยชน์ในภาคธุรกิจหลากหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นด้านการตลาดที่ช่วยให้ผู้ประกอบการเข้าใจพฤติกรรมลูกค้ามากขึ้น หรือแม้กระทั่งการใช้ AI เพื่อวิเคราะห์ธุรกิจในหลากหลายมิติ ถือเป็นอีกหนึ่งความก้าวหน้าของเทคโนโลยีที่เข้ามาช่วยเสริมประสิทธิภาพการทำงานของภาคธุรกิจในยุคที่โลกมีการเปลี่ยนแปลงไปสู่ความทันสมัยมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง

จุดเปลี่ยนผ่านอุตฯยานยนต์

จากสถานการณ์โควิด-19 ทำให้ประเทศไทยเริ่มเห็นทิศทางอุตสาหกรรมใหม่ๆ มากขึ้น และเห็นถึงความสำคัญในการพัฒนากลุ่มธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการแพทย์ ทั้งเครื่องมือแพทย์

บี้เร่งสปีดแหลมฉบังเฟส 3

เมื่อพูดถึงโครงการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบัง ระยะที่ 3 เป็นโครงการเพิ่มขีดความสามารถของท่าเรือแหลมฉบัง เพื่อรองรับความต้องการขนส่งสินค้าทางทะเลระหว่างประเทศที่เพิ่มขึ้นในอนาคต

“ความยั่งยืน” โอกาสการเติบโตทางธุรกิจ

สภาวะโลกร้อนส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศที่แปรปรวน เป็นตัวเร่งที่ทำให้ทั้งโลกต้องหันมาให้ความสนใจการไปต่อของโลกอย่างยั่งยืนมากขึ้น

เจาะกลยุทธ์“อาร์ตทอย”ตัวท็อปสุดแรร์

กระแสความนิยม “อาร์ตทอย” (Art Toy) เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วในไทยซึ่ง “อาร์ตทอย” ไม่ได้เป็นเพียงแค่ของเล่นสำหรับเด็กเท่านั้น แต่กลายเป็นของเล่นและของสะสมที่มีการออกแบบสะท้อนถึงตัวตนและความคิดสร้างสรรค์ของศิลปินผู้สร้างสรรค์

รณรงค์ใช้สินค้าไทย

ข่าวการปิดตัวโรงงานการผลิตของรถยนต์ ซูบารุ และซูซูกิ ในประเทศไทย เป็นการสะท้อนให้เห็นว่าภาคอุตสาหกรรมของประเทศไทยในขณะนี้อยู่ในช่วงที่อ่อนแอ เพราะไม่เพียงอุตสาหกรรมรถยนต์สันดาปเท่านั้นที่กำลังสั่นคลอน แต่อีกหลายอุตสาหกรรมของไทยก็กำลังประสบปัญหา