เมื่อ ChatGPT เขย่าโลกเกือบทุกวงการ

ทุกวันนี้ไปไหนก็มีแต่คนพูดถึงการใช้ ChatGPT ที่ทำท่าว่าจะเขย่าหลายๆ วงการ เพราะความสามารถของมันที่จะทำอะไรแทนมนุษย์ได้เกินกว่าที่คาดเอาไว้ก่อนหน้านี้

ผมลองเข้าไป “เล่นดู” ก็เห็นว่ามีความน่าสนใจอยู่ไม่น้อย...แม้ยังต้องคอยดูว่าจะสามารถพัฒนาให้เกิดความแม่นยำและ “ความฉลาด” เพิ่มระดับขึ้นได้อีกมากน้อยเพียงใด

แต่แค่ได้เห็น “ศักยภาพ” ของการตอบคำถามด้วยการเข้าถึงข้อมูลมหาศาลอย่างคล่องแคล่วและรวดเร็ว ก็ทำให้เกิดความน่าตื่นตาตื่นใจพอสมควร

แทนที่จะมองว่ามันเป็น “ภัยคุกคาม” ต่อมนุษย์ ก็อาจปรับวิธีคิดใช้ ChatGPT ให้เป็นประโยชน์

เช่นในกรณีช่วยเสริมการเรียนการสอนในห้องเรียน อย่างที่มีผู้รู้นำเสนอว่าจะมาช่วยอะไรได้บ้าง

เอาคำตอบของนักเรียนมาเปรียบเทียบกับคำตอบของ ChatGPT

ช่วยในการตอบโจทย์คณิตศาสตร์เป็นขั้นเป็นตอน

นักเรียนถามเพื่อให้ได้คำตอบเกี่ยวกับเรื่องที่เป็นข้อมูลพื้นฐานที่มีอยู่ในคลังมโหฬารของออนไลน์

ช่วยในการเขียนเรียงความ วางโครงสร้างของเรื่อง และแก้ไขภาษาให้ถูกต้อง

หรือใช้ในการแปลภาษาต่างชาติให้เป็นภาษาท้องถิ่นหรือสลับกัน

ใช้เล่นเกมหรือสร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างนักเรียนกับแหล่งข้อมูลทั้งหลาย

เป็นผู้ช่วยด้านการวิจัยหรือหาข้อมูลในการเขียนรายงาน

ใช้สรุปเนื้อหาให้กระชับและเข้าประเด็น

ทั้งหมดนี้คือบางบทบาทที่ ChatGPT สามารถช่วยในการเรียนการสอนอย่างเป็นรูปธรรม

แทนที่จะกลัวว่านักเรียนจะใช้มันไปในทางที่ผิด คือลอกมาทั้งดุ้นโดยไม่ได้ใช้ความรู้ความสามารถของตนเลย  ก็เปลี่ยนมาใช้มันเพื่อเสริมบทบาทของครูและการเรียนรู้ของนักเรียน

แน่นอนว่าทุกสถาบันการศึกษาในทุกระดับจะต้องปรับเปลี่ยนวิธีการเรียนการสอนครั้งใหญ่

โดยเน้นใช้เทคโนโลยี AI ในการช่วยงานพื้นฐาน ลดเวลาสำหรับการทำอะไรที่ซ้ำๆ 

หันมาใช้การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ถกแถลงระหว่างครูกับนักเรียน ในประเด็นที่สร้างสรรค์และใช้จินตนาการมากขึ้น

ต้องยอมรับว่า ChatGPT กลายเป็นหัวข้อร้อนแรงไปทั่วโลกวันนี้ ทั้งๆ ที่เพิ่งจะมีการเปิดตัวเมื่อปลายปีที่ผ่านมานี่เอง

แต่ก็ได้สร้างความสั่นสะเทือนในหลายๆ วงการ หลาย ๆ อาชีพอย่างร้อนแรง

ที่ตื่นตัวขึ้นมาอย่างฉับพลันคือ Search Engines ที่มีเจ้าตลาดคือ Google ต้องลุกขึ้นมาปรับตัวอย่างร้อนแรง

มีผลให้ Microsoft ซึ่งเป็นผู้ลงทุนรายใหญ่ที่สุดในบริษัท OpenAI ซึ่งเป็นผู้พัฒนา ChatGPT แสดงความสนใจและประกาศแผนการที่จะดึงระบบนี้มาใช้ให้เกิดประโยชน์

ตัดสินใจกระโดดเข้าหาช่องทางที่จะต่อยอดกับสิ่งที่ตนมีอยู่

อาจนำไปสู่การนำมาเสริม Bing ซึ่งเป็น Search  Engine ของตัวเอง

เป็นโปรแกรมที่เปิดตัวมานานพอสมควร แต่ก็ไม่ได้ติดตลาดเท่าที่ควร

เพราะไม่มีคุณสมบัติที่จะทำให้ผู้คนมีความตื่นตัวกับมันเท่าใดนัก

โดยพื้นฐานแล้ว ChatGPT คือ chatbot ที่ขับเคลื่อนโดย AI หรือปัญญาประดิษฐ์ ที่มีความโดดเด่นตรงที่สามารถสื่อสารผ่านข้อความกับมนุษย์ได้อย่างคล่องแคล่วว่องไวและดูเหมือนเป็นธรรมชาติ

ผมใช้คำว่า “ดูเหมือนเป็นธรรมชาติ” เพราะมันไม่ได้เป็นธรรมชาติด้วยตัวมันเอง

แต่เป็นการสร้างให้เกิดความ “ฉลาด” ที่ทำให้การตอบคำถามของมันดูเหมือนธรรมชาติ

เพราะเร็วและเหมือนเป็นภาษาตอบโต้ระหว่างมนุษย์ เป็นผลงานที่พัฒนาขึ้นโดยบริษัท OpenAI ที่ทุ่มเทวิจัยด้านปัญญาประดิษฐ์ (AI) เพื่อสร้างความฮือฮาด้วยการก้าวล้ำหน้ากว่า Search Engines ที่มีอยู่

มีการเปิดตัว ChatGPT ไปเมื่อเดือนพฤศจิกายนของปีที่ผ่านมา

โดยอ้างว่าสามารถหาคำตอบได้ “ทุกเรื่อง” แต่ความจริงยังไม่ใช่ “ทุกเรื่อง” เพราะเขายอมรับว่าฐานข้อมูลมีถึงก่อนปี 2022 

ดังนั้นอะไรที่เกิดหลังจากนั้นก็ยังไม่เข้าสู่ระบบ

แต่ที่ค่อนข้างแน่นอนคือ มันสามารถช่วยย่นเวลาในการหาข้อมูล 

ที่สร้างความน่าทึ่งคือ ความสามารถในการช่วยสร้างคอนเทนต์ได้อย่างค่อนข้างดี เช่น ช่วยเขียนสคริปต์การเรียนการสอนตามหัวข้อที่สั่งไป

หรือเขียนความเรียง รายงานในรูปแบบต่างๆ

หรือแม้กระทั่งเขียนโปรแกรมสำหรับคอมพิวเตอร์ได้อย่างน่ามหัศจรรย์

(ความจริงมันทำได้เพราะการเขียนโปรแกรมมีสูตรตายตัว ไม่ต้องใช้จินตนาการหรือการวิเคราะห์เหมือนเนื้อหาสาระด้านการเมือง สังคม หรือเศรษฐศาสตร์)

ผลกระทบก็คือการสร้าง “ความป่วน" หรือ disruption ต่อวงการ Search Engines อย่างทันที

นั่นย่อมแปลว่า จากนี้ไปจะเกิดการแข่งขันในการพัฒนาเสิร์ชเอนจินด้วยปัญญาประดิษฐ์กันอย่างดุเดือด

ผ่านมาไม่กี่เดือน Google ก็ประกาศเปิดตัวทางเลือกใหม่ชื่อ Bard (แปลว่านักแต่งกลอน, นักประพันธ์)

ดังนั้นเรากำลังจะเห็นการแข่งขันอย่างเข้มข้นในด้านนี้ระหว่าง Microsoft กับ Google 

นักวิเคราะห์มองว่าเรากำลังจะเห็น ChatGPT และ Bard เปลี่ยนเครื่องมือค้นหาเป็น "เครื่องมือถาม-ตอบ” ที่ชาญฉลาด

ถึงขั้นที่มองกันว่า ต่อแต่นี้ไปจะเห็นการแข่งม้า 2 ตัวที่มีทรัพยากรด้านเทคโนโลยีทรงพลังที่สุดขณะนี้

แต่ก็ไม่อาจจะมองข้ามจีนได้

เพราะ Baidu ของจีน และ Alibaba ก็ไม่ยอมถูกทิ้งห่างในด้านนี้

จึงมีคำประกาศจากสองบริษัทยักษ์ทางเทคโนโลยีของจีนว่า กำลังพัฒนาให้สามารถเข้ามาร่วมแข่งขันกับด้านตะวันตกในเรื่องของการสร้าง AI ที่ล้ำกว่าเพียงแค่ Search Engines อย่างคึกคักตามมาเช่นกัน

คนไทยเราคงต้องเกาะติดให้ทันกับความเปลี่ยนแปลง เพื่อนำ AI ที่ก้าวกระโดดไปข้างหน้าอย่างรวดเร็วและร้อนแรงมาต่อยอดให้เกิดประโยชน์สูงสุดสำหรับการยกระดับการพัฒนาของเราในทุกๆ ด้าน.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ประเทศเดียวในโลก ‘นายกฯทับซ้อน’ มหันตภัยปี 2568

นายสุทธิชัย หยุ่น สื่อมวลชนอาวุโส โพสต์เฟซบุ๊กว่าสำนักวิจัยต่าง ๆ กำลังวิเคราะห์เพื่อพยากรณ์ว่าประเทศไทยจะต้องเผชิญกับความท้าทายสาหัสอะไรบ้างใน

บิ๊กเซอร์ไพรส์ 'สุทธิชัย หยุ่น' เล่นซีรีส์ 'The White Lotus ซีซั่น 3'

เรียกว่าสร้างความเซอร์ไพรส์อย่างต่อเนื่อง สำหรับซีรีส์ The White Lotus ซีซั่น 3 ซึ่งจะสตรีมผ่าน Max ในวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2025 เพราะนอกจากจะมี ลิซ่า-ลลิษา มโนบาล หรือ ลิซ่า BLACKPINK ไอดอลเกาหลีสัญชาติไทย ที่กระโดดลงมาชิมลางงานแสดงเป็นครั้งแรก ในบทของ มุก สาวพนักงานโรงแรม

ถามแสกหน้า 'ทักษิณ' จะพลิกเศรษฐกิจไทยยังไง ทุกซอกมุมในสังคมยังเต็มไปด้วยทุจริตโกงกิน

นายสุทธิชัย หยุ่น นักวิเคราะห์ข่าวและผู้ดำเนินรายการข่าวชื่อดัง โพสต์เฟซบุ๊ก ถึงกรณีนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ว่า “เขาจะพลิกประเทศไทยให้เศรษฐกิจล้ำโลกได้หรือ

เขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดนที่กลายเป็น ที่ซ่องสุมของอาชญากรรมข้ามชาติ

เมื่อวานเขียนถึงรายงานในสำนักข่าวชายขอบที่สำนักจะได้รับความสนใจของรัฐบาลไทยว่าด้วยกิจกรรมอาชญากรรมข้ามชาติในบริเวณ “เขตเศรษฐกิจพิเศษ” ที่สามเหลี่ยมทองคำ