หลังจากประเทศไทยมีการผ่อนคลายมาตรการหลายอย่าง ก็ทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจในหลายกลุ่มเริ่มกลับมาคึกคักอีกครั้ง หลังจากต้องเผชิญกับการปรับตัวและเอาตัวรอดท่ามกลางการแพร่ระบาดโควิด-19 โดยวิจัยกรุงศรีประเมินว่า เศรษฐกิจในปี 2564 จะขยายตัว 1.2% จากเดิมคาดการณ์ไว้ที่ 0.6% เป็นผลมาจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในไตรมาสสุดท้ายที่คาดว่าจะกลับมาเติบโตได้ 1.5% จะเห็นได้ว่าในช่วงไตรมาส 3 ติดลบอยู่ประมาณ 1.1% หรือบวกที่ 0.8% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
แน่นอนว่าปัจจัยหนุนจากการปรับดีขึ้นของกิจกรรมทางเศรษฐกิจในประเทศ ก็คงเป็นไปตามการผ่อนคลายมาตรการควบคุมการระบาดและการฉีดวัคซีนที่เร่งขึ้น
ขณะเดียวกันยังมีมาตรการภาครัฐที่เข้ามาช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ การใช้จ่ายและท่องเที่ยวในประเทศ รวมถึงการเปิดประเทศรับนักท่องเที่ยวต่างชาติที่มีนักเดินทางเข้ามาอย่างต่อเนื่อง โดยตัวเลขของวันที่ 1-20 พฤศจิกายนที่ผ่านมา อยู่ที่ 80,017 คน ทำให้ทั้งปีคาดว่าจะมีนักท่องเที่ยวต่างชาติรวม 0.35 ล้านคน เดิมคาดการณ์ไว้ที่ 0.15 ล้านคน ส่วนการส่งออกยังเติบโตดีต่อเนื่องตามการฟื้นตัวของอุปสงค์ประเทศคู่ค้า และการผ่อนคลายลงของภาวะชะงักงันของห่วงโซ่อุปทานในภูมิภาค ส่งผลให้การส่งออกในปีนี้คาดว่าจะขยายตัวสูงที่ 16.5% เดิมคาดไว้ 15%
สมประวิณ มันประเสริฐ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสายงานวิจัย บมจ.ธนาคารกรุงศรีอยุธยา ระบุว่า ได้มีการปรับคาดการณ์เศรษฐกิจปี 2565 มองว่าน่าจะเติบโตได้ที่ 3.7% เดิมคาด 3% และมีแนวโน้มที่ของจีดีพีจะกลับมาอยู่ในระดับก่อนเกิดการระบาดได้ในช่วงครึ่งหลังของปีอีกด้วย โดยแรงขับเคลื่อนเศรษฐกิจสำคัญมาจากทั้งภายในและภายนอกประเทศ
ขณะเดียวกันยังจะเห็นว่าการบริโภคภาคเอกชนมีแนวโน้มปรับดีขึ้น คาดว่าในปี 2565 จะเติบโต 3.6% มาจากการฟื้นตัวของกิจกรรมทางเศรษฐกิจในประเทศ ตามการผ่อนคลายมาตรการควบคุม การฉีดวัคซีนที่เพิ่มมากขึ้น และมาตรการภาครัฐที่อาจเป็นปัจจัยหนุนในระยะสั้นอยู่บ้าง แต่การใช้จ่ายอาจขยายตัวได้จำกัด เนื่องจากยังมีความเปราะบางในตลาดแรงงาน และคาดว่าค่าจ้างเฉลี่ยโดยรวมในปี 2565 จะเพิ่มขึ้น แต่ยังอยู่ต่ำกว่าระดับก่อนเกิดการระบาด
นอกจากนี้ การฟื้นตัวที่ยังไม่กระจายไปในทุกพื้นที่ ทุกกลุ่มรายได้ และทุกสาขา จะส่งผลต่อค่าจ้างและการใช้จ่ายของแรงงานในกลุ่มที่ได้รับผลกระทบหนักจากวิกฤตการระบาด โดยเฉพาะกลุ่มที่เกี่ยวข้องกับภาคท่องเที่ยวเป็นสำคัญ
สิ่งสำคัญคงเป็นการลงทุนภาคเอกชนที่คาดว่าเติบโตดีขึ้นมากถึง 4.6% จะช่วยหนุนให้เศรษฐกิจหมุนไปได้อย่างต่อเนื่อง จะเห็นได้ว่าสัญญาณเชิงบวกจากเงินลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศที่ไหลเข้าไทยเพิ่มขึ้นในช่วงครึ่งแรกของปี 2564 ซึ่งมีมูลค่าสูงกว่าทั้งปี 2562 ที่เป็นช่วงก่อนเกิดการระบาดอีกด้วย
การส่งออกแม้จะชะลอลงบ้าง แต่คาดว่ายังเติบโตได้ 5.0% ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยในช่วงทศวรรษที่ผ่านมาที่ขยายตัว 2.9% แรงหนุนจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกหลังจากมีการฉีดวัคซีนมากขึ้น และผลบวกจากการรวมกลุ่มระหว่างประเทศภายในภูมิภาคเดียวกัน โดยเฉพาะ RCEP ซึ่งจะมีผลบังคับใช้ต้นปี 2565 น่าจะมีส่วนเสริมภาคการค้าในระยะถัดไป จากผลการศึกษาของ ADB ประเมินว่า RCEP จะช่วยหนุนให้มูลค่าส่งออกของไทยเพิ่มขึ้น 4.9% ภายในปี 2573 ซึ่งแม้เป็นรองญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ แต่สูงสุดเมื่อเทียบในกลุ่มอาเซียน
สำหรับภาคท่องเที่ยวที่ได้รับผลกระทบอย่างสาหัสช่วงที่ผ่านมา ก็ยังมีแนวโน้มฟื้นตัวอย่างช้าๆ แม้ไทยจะมีนโยบายเปิดประเทศรับนักท่องเที่ยวต่างชาติกว่า 60 ประเทศแบบไม่ต้องกักตัวมาตั้งแต่ต้นเดือนพฤศจิกายน 2564 แต่การฟื้นตัวของนักท่องเที่ยวต่างชาติอาจยังมีข้อจำกัดบางอย่าง ทำให้ตลาดหลักยังไม่สามารถเข้ามาไทยได้ มองว่านักท่องเที่ยวต่างชาติปี 2565 จะอยู่ที่ 7.5 ล้านคน และกว่าจะกลับมาสู่ระดับก่อนเกิดการระบาดได้ที่ 40 ล้านคนอาจต้องใช้เวลาถึงปี 2568
ดูเหมือนเศรษฐกิจไทยจะเริ่มไต่ระดับขึ้นไป และดูเหมือนจะเห็นแสงสว่างอยู่ แต่ก็ยังมีบางเซ็กเมนต์ที่ยังต้องใช้ระยะเวลาการฟื้นตัวสักหน่อย คงต้องจับตาดูว่าจะมีสถานการณ์หรือปัจจัยลบอะไรที่เข้ามาดับแสงสว่างนี้หรือไม่!.
รุ่งนภา สารพิน
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ดันSMEอีอีซีบุกตลาดตปท.
ที่ผ่านมารัฐบาลอาจจะยังไม่ได้พูดถึงโครงการพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรืออีอีซี มากนัก เนื่องจากคงจะยุ่งกับการบริหารงานในแนวทางอื่นๆ อยู่ แต่กับหน่วยงานอย่างสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก
โรงไฟฟ้าฟอสซิลต้นทุนพุ่งโตช้า
ความต้องการใช้ไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นตามอัตราการเติบโตของเศรษฐกิจ ส่งผลให้ธุรกิจโรงไฟฟ้าฟอสซิลยังคงมีทิศทางเติบโตต่อเนื่อง ซึ่ง ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่าในปี 2568 ความต้องการใช้ไฟฟ้าภาคธุรกิจจะโต 1% ชะลอลงจาก 2.8% ในปี 2567 จากการใช้ไฟฟ้าในภาคการผลิตและภาคบริการที่เพิ่ม
เคลียร์ปมสถานีอยุธยา
เมื่อพูดถึงโครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน (ไฮสปีดเทรนไทย-จีน) ช่วงกรุงเทพมหานคร-หนองคาย (ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพมหานคร-นครราชสีมา) พบว่าปัจจุบันงานโยธาทั้ง 14 สัญญาคืบหน้าไม่สอดคล้องกัน รวมทั้งปัจจุบันยังมีอีก 2
แจกเงินหวังคะแนน
เก็บตกการประชุม ครม.ในสัปดาห์นี้ ตอนแรกก็รอลุ้นโครงการแจกเงินหมื่นเฟส 2 ที่ช่วงเช้า นายเผ่าภูมิ โรจนสกุล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ออกมาให้ข่าวว่า จะให้ที่ประชุมอนุมัติในวันนี้ แต่สุดท้ายก็กลายเป็นรอเก้อ เพราะ ครม.ไม่ได้มีการพิจารณาในเรื่องนี้ เนื่องจากยังติดขัดปัญหาบางประการ
เทรนด์Pet Parentบูมไม่หยุด
คงต้องยอมรับว่า Pet Parent ยังคงเป็นกระแสนิยมในปัจจุบัน สะท้อนแนวโน้มและรูปแบบการเลี้ยงสัตว์ของคนรุ่นใหม่ที่ให้ความสำคัญกับสัตว์เลี้ยงสมือนคนในครอบครัว ยิ่งกว่านั้น
ปี 67 ตลาดอสังหาริมทรัพย์ไทยหืดจับ!!
ปี 2567 เป็นอีกปีที่มีความท้าทายอย่างมากสำหรับ “ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์” ที่ยังคงเผชิญความท้าทายจากภาวะเศรษฐกิจทั้งภายในและนอกประเทศ ซึ่งส่วนใหญ่ล้วนเป็นปัจจัยที่กดดันการเติบโตของธุรกิจ ซึ่ง KKP Research