คุมเข้มดูแล PM 2.5

สุขภาพเป็นสิ่งสำคัญ ยิ่งในยุคที่การแพร่ระบาดโควิดยังไม่หมดไปทั้ง 100% นั้น ยิ่งต้องดูแลเอาใจใส่เป็นอย่างมาก และยิ่งไปกว่านั้น ในสังคมเมืองอย่างกรุงเทพฯ หรือในจังหวัดอื่นๆ ของประเทศไทยที่กำลังประสบกับปัญหาของมลพิษ โดยเฉพาะ PM 2.5 อันเป็นปัญหาที่แก้ไม่หายสักที ประชาชนคนไทยก็ยิ่งต้องดูแลตัวเองอย่างมากขึ้นไปอีก ซึ่งเรื่องดังกล่าวไม่สามารถโยนความรับผิดชอบไปที่ใครคนใดคนหนึ่งได้ แต่อาจจะมีบางส่วนงานที่จำเป็นต้องดูแลอย่างเข้มข้น

โดยเฉพาะภาคเกษตรกรรม อุตสาหกรรม และคมนาคม ที่จะเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญหากมีการดูแลในเรื่องดังกล่าวอย่างเต็มที่ เพราะใน 3 ส่วนนี้เป็นกลุ่มใหญ่ที่ถือว่าทำให้เกิดมลภาวะได้ง่ายและกระจายเป็นวงกว้างอยู่ทั่วประเทศ แน่นอนว่าหากยังไม่มีการจำกัด ควบคุมหรือดูแล ก็จะยิ่งส่งผลให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้นไปอีก!

แต่ที่ผ่านมาเรามักจะเห็นโครงการของหลายๆ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องตบเท้าเดินหน้าแก้ปัญหา PM 2.5 กันมารัวๆ บ้างก็ได้รับผลดี บ้างก็ยังไม่เห็นเป็นรูปธรรม ก็อาจจะต้องรอความคืบหน้าและความชัดเจนต่อไป ที่แน่ๆ เรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องที่ทำครั้งเดียวแล้วจบ แต่ต้องทำอย่างต่อเนื่องและขยายวงกว้างให้มากขึ้นและครอบคลุมไปยังหลายๆ งานที่เกิดขึ้นในทุกกิจกรรม

ซึ่งล่าสุดนี้มีอีกหนึ่งหน่วยงานสำคัญที่ถือว่าเป็นผู้กำกับ ดูแล และจัดการกลุ่มอุตสาหกรรมกว่าครึ่งในประเทศไทย อย่างการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) ก็ยังให้ความสำคัญกับเรื่องการดูแลสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง และก็ได้ออกมาย้ำเตือนถึงมาตรฐานตามแผนปฏิบัติการลดและขจัดมลพิษมาตั้งแต่ปี 2549 พร้อมทั้งจัดตั้งศูนย์เฝ้าระวังและควบคุมคุณภาพสิ่งแวดล้อม (EMCC) ในพื้นที่มาบตาพุด เพื่อการบริหารจัดการ เฝ้าระวัง ติดตามตรวจสอบคุณภาพสิ่งแวดล้อม และประชาสัมพันธ์ด้านสิ่งแวดล้อม

โดยเน้นย้ำไปที่การจัดการสารอินทรีย์ระเหย (Volatile Organic Compounds: VOCs) โดย กนอ. ได้บูรณาการความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ภาควิชาการ และชุมชน โดยนำมาตรการหลักปฏิบัติที่ดี (Code of Practice) มาใช้กำกับดูแลการประกอบกิจการเกี่ยวกับการจัดการสารอินทรีย์ระเหย ซึ่งเป็นการใช้ร่วมกับกรมควบคุมมลพิษ กรมโรงงานอุตสาหกรรม สำนักนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สถาบันปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม และผู้เชี่ยวชาญการศึกษา

ทั้งนี้ในปี 2565 กระทรวงอุตสาหกรรมได้นำหลักปฏิบัติที่ดีประกาศใช้เป็นกฎหมาย จำนวน 3 ฉบับ โดย กนอ.ได้นำประกาศดังกล่าวมาใช้ในการบริหารจัดการโรงงานในพื้นที่กลุ่มนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุดคอมเพล็กซ์ ซึ่งประกอบด้วย 6 นิคมอุตสาหกรรม และ 1 ท่าเรืออุตสาหกรรม คือ นิคมอุตสาหกรรมสมาร์ทปาร์ค (Smart Park), นิคมอุตสาหกรรมเอเซีย, นิคมอุตสาหกรรมดับบลิวเอชเอตะวันออก (มาบตาพุด), นิคมอุตสาหกรรมผาแดง, นิคมอุตสาหกรรมอาร์ไอแอล (RIL), นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด และท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด มาอย่างต่อเนื่อง

ด้าน วีริศ อัมระปาล ผู้ว่าการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) ได้กล่าวว่า กนอ.เข้มงวดในการควบคุมคุณภาพสิ่งแวดล้อมในนิคมอุตสาหกรรมและท่าเรืออุตสาหกรรมในกำกับดูแล แต่เราก็ส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดการบริหารจัดการพื้นที่ สร้างความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาคอุตสาหกรรม และภาคประชาชน เพื่อป้องกันการเกิดซ้ำ ซึ่งไม่เฉพาะเรื่องของ VOCs เท่านั้น แต่ครอบคลุมถึงเรื่องของการปรับปรุงกฎหมายหรือกฎระเบียบเพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ รวมถึงการส่งเสริม ยกระดับ และสร้างแรงจูงใจให้กับโรงงาน เช่น การให้รางวัลธงขาวดาวเขียว และรางวัล Eco Factory เป็นต้น

แน่นอนว่า เรื่องดังกล่าวไม่ใช่แค่ใครจะทำเพียงคนเดียวได้ต้องร่วมมือกับทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงแบบก้าวหน้า รวมไปถึงประชาชนในพื้นที่ก็จะต้องดูแลตัวเองอย่างดีที่สุด ไม่นำตัวเองเข้าไปอยู่ในจุดเสี่ยง รวมทั้งประเมินสภาพแวดล้อมรอบตัว และหาแนวทางป้องกันฝุ่นละออง PM 2.5 รวมถึงไม่เอาตัวเองไปเกี่ยวข้องหรือเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดมลภาวะได้ เพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อมที่ดีในอนาคต.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ความสำเร็จของแบรนด์กับการใช้Meta

ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นตลาดที่เติบโตอย่างรวดเร็ว โดยมีประชากร 700 ล้านคน และมี GDP รวมประมาณ 4 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ทำให้เป็นตลาดที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 5 ของโลก

หวยเกษียณแก้ปัญหาแก่ก่อนรวย

เมื่อวันอังคารที่ผ่านมา คณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบโครงการสลากสะสมทรัพย์เพื่อเงินออมยามเกษียณ หรือหวยเกษียณ ของกองทุนการออมแห่งชาติ ซึ่งนี่ถือเป็นโครงการที่รัฐบาลพยายามส่งเสริมการออมของประชาชนในประเทศ

เจ็บแล้วจบ

หลังการบริหารงานของรัฐบาลเศรษฐาได้เข้ามาเดินหน้ามาตรการประชานิยมลด แลก แจก แถม จัดเต็ม ตามที่สัญญากันไว้ช่วงหาเสียงเลือกตั้ง โดยเฉพาะนโยบายด้านพลังงาน ลดค่าไฟฟ้า

3แผนกรีนดันอุตฯไทยรักษ์โลก

เทรนด์รักษ์โลกยังมีมาอย่างต่อเนื่อง และตลอดปี 2567 ที่ผ่านมานี้หลายหน่วยงาน หลายบริษัทก็ยังไม่ทิ้งอุดมการณ์อันแรงกล้านี้ และยังแห่ประกาศแผนดำเนินงานเพื่อดูแลสิ่งแวดล้อมกันอย่างคึกคัก

เร่ง“ปรับ”ก่อน(ถูก)“เปลี่ยน”

ยอดขายรถยนต์ในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2567 ที่ผ่านมา หลายคนคงตกใจ เพราะหดตัวลงถึง 23.8% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และมีแนวโน้มว่าทั้งปีจะหดตัวลงอย่างรุนแรงที่สุดในรอบ 15 ปี

เปิดไม้เด็ดธุรกิจขนาดเล็กสู้ในตลาด

หากย้อนเวลาไปเมื่อหลายปีก่อน ธุรกิจที่มีทุนหนาและมีส่วนแบ่งการตลาดมาก มักจะถูกมองว่าเป็น “ปลาใหญ่” ที่ได้เปรียบเหนือคู่แข่งที่ทุนน้อยกว่าซึ่งเปรียบเหมือน “ปลาเล็ก” จนเป็นที่มาของคำว่า “ปลาใหญ่กินปลาเล็ก” หนึ่งในข้อได้เปรียบที่เห็นชัดที่สุดคือ การมี Economy of Scale หรือ การประหยัดต่อขนาด ซึ่งหมายถึง การผลิตสินค้าหรือบริการในจำนวนที่มากพอที่จะทำให้ต้นทุนการผลิตต่อหน่วยต่ำลง พูดง่ายๆ ก็คือ “ยิ่งผลิตมากขึ้น ต้นทุนการผลิตยิ่งลดลง และยิ่งคุ้มค่ามากขึ้น” โดยต้นทุนในการผลิตสินค้าหรือบริการจะแบ่งออกเป็น ต้นทุนคงที่ (fixed cost) และต้นทุนผันแปร (variable cost) ต้นทุนคงที่ คือ ต้นทุนที่ธุรกิจต้องจ่ายเป็นจำนวนคงที่ ไม่ว่าจะผลิตสินค้าหรือบริการในปริมาณเท่าใดก็ตาม เช่น ค่าเช่าพื้นที่ ค่าเครื่องจักรอุปกรณ์ ค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการ ส่วนต้นทุนผันแปร