พอจีนกลับมาเปิดประเทศอย่างฉับพลันและร้อนแรง ก็เกิดคำถามว่าจะเป็นประโยชน์หรือจะมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลกอย่างไร
สำหรับไทยเราเห็นชัดว่าการไหลกลับของนักท่องเที่ยวจีนเป็นผลที่สัมผัสได้ทันที
เป็นการกลับมาของนักท่องเที่ยวจีนที่เร็วกว่าที่เคยคาดกันมาก่อน
และทำให้เกิดการปรับตัวของทุกๆ ฝ่ายอย่างคึกคัก
ผลที่ตามมาอาจจะมีทั้งทางบวกและลบที่ย่อมจะทำให้เกิดการปรับเปลี่ยนครั้งสำคัญ ทั้งสำหรับประเทศต้นทางและปลายทางด้วยอย่างแน่นอน
แต่ในภาพใหญ่นั้น ในหลายเวทีก็มีการถกแถลงกันอย่างกว้างขวาง
หนึ่งในเวทีที่ว่านี้คือการประชุมประจำปีของ World Economic Forum (WEF) ที่เมืองดาวอสของสวิตเซอร์แลนด์ที่เพิ่งจะจบลง
มีการแสดงความเห็นในแนวทางที่ว่า การพลิกกลับของจีนอย่างฉับพลันจากนโยบาย “โควิดเป็นศูนย์” มาเป็น “โควิดเป็นโรคประจำถิ่น” ไปทั้งในแง่ที่ยินดีปรีดาว่าเศรษฐกิจโลกจะได้รับการกระตุ้นอย่างมีพลังอีกครั้ง
แต่ขณะเดียวกันก็มีการส่งสัญญาณเตือนว่าจะต้องเฝ้ามองผลที่ตามมาอย่าง “ระมัดระวังเป็นพิเศษ”
“ข้อเท็จจริงที่ว่าจีนกำลังเปิดรับและกลับมาเติบโต 4% บวกนั้น เป็นผลบวกที่แข็งแกร่งสำหรับเศรษฐกิจโลก” วิลเลียม ฟอร์ด ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ General Atlantic Partners บริษัทไพรเวทอิควิตี้ในนิวยอร์กกล่าว
ฟอร์ดมองว่า “การกลับตัวกลับใจ” ของปักกิ่งจากการล็อกดาวน์และการควบคุมโรคระบาดอื่นๆ เป็น "จุดเปลี่ยนที่ชัดเจนต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจ"
แม้ว่าตลาดหุ้นจีนร่วงลงตลอดสิ้นเดือนตุลาคม และนักลงทุนต่างชาติบางคนมองว่ามัน "ไม่น่าลงทุน" แต่ฟอร์ดยืนกรานว่ากองทุนของเขา "ไม่เคยมองว่าจีนไม่น่าลงทุน"
เขาไม่ใช่คนเดียวที่มองความเคลื่อนไหวของจีนครั้งนี้เป็นไปในทางบวก
นักธุรกิจที่เฝ้ามองเมืองจีนอย่างใกล้ชิดมองว่ายังมี “ผลทางอ้อม” ที่ต้องวิเคราะห์
เพราะเรื่องราวทั้งหมดต้องไม่มองเฉพาะการขายและการซื้อไปยังประเทศจีน แต่ต้องพิจารณาการซื้อขายผ่านประเทศจีน และผลกระทบและการแพร่กระจายไปยังภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกด้วย
นักวิเคราะห์อีกค่ายมองว่าเศรษฐกิจของจีนสามารถฟื้นตัวได้ "อย่างเร็วที่สุดในเดือนมีนาคม"
บางส่วนของสังคมจีนก็ยังกลัวความเสี่ยงที่อาจจะมาจากการกลับมาของโควิด-19 แต่เศรษฐกิจบางด้านก็คงจะเดินหน้าฟื้นตัวอย่างชัดเจน
การท่องเที่ยวเป็นอุตสาหกรรมที่ฟื้นขึ้นได้อย่างรวดเร็วและเร่งร้อนทั้งภายในและต่างประเทศ
แต่ก็มีคำเตือนจากนักวิเคราะห์อีกบางสำนักว่าอย่าเพิ่งมองทุกอย่างในลักษณะ “โลกสวย” เกินไป
เพราะความผันผวนของเศรษฐกิจโลกยังเป็นสิ่งที่มีผลกระทบต่อทั้งโลก
บางคนบอกว่ายังเร็วเกินไปที่จะบอกว่าการเปลี่ยนแปลงอย่างกะทันหันเช่นนี้จะมีผลอย่างไร
นักวิเคราะห์บนบางเวทีให้ความเห็นว่า "จีนกำลังทดลองกับสิ่งที่เราไม่เคยเห็นในหลายๆ ประเทศด้วยการเปิดใหม่อีกครั้ง" “เราต้องใช้เวลาสักหน่อย”
เหตุผลก็เป็นเพราะจีนอยู่ใน "สถานการณ์ที่ไม่เหมือนใคร"
ทั้งในเรื่องของรูปแบบการตัดสินใจของพรรคคอมมิวนิสต์จีน และภาวะของสังคมจีนที่มีความเปลี่ยนแปลงอันเกิดจากการระบาดของโควิด
นักวิเคราะห์บางสำนักเชื่อว่าการเติบโตทางเศรษฐกิจของจีนจะเป็นอย่างมีเสถียรภาพพอสมควร
ขณะที่ประเทศอื่นๆ ในโลกกำลังดิ้นรนที่จะฟันฝ่าปัญหาเศรษฐกิจในมิติต่างๆ ถ้าจีนยังสามารถเติบโตได้ 5%
หรือมากกว่านั้นในปีนี้ก็จะเป็นแรงหนุนเนื่องการเติบโตทั่วโลกอย่างมากในปีต่อๆ ไป
ตัวบ่งชี้ที่สำคัญคือการลงทุนภาคเอกชนในประเทศ
เพราะนั่นจะเป็นตัวกำหนดว่าเศรษฐกิจจีนจะฟื้นตัวจากความซบเซาในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาหรือไม่
และนักลงทุนเอกชนจะมีความมั่นใจในการลงทุนในโรงงานและอุปกรณ์ใหม่สำหรับอนาคตหรือไม่
แต่ก็ต้องไม่ลืมว่าปัจจัยทางภูมิรัฐศาสตร์อยู่เหนือแนวโน้มการเติบโตของจีนด้วยเช่นกัน
ถ้าจีนกับสหรัฐฯ สามารถประคับประคองความสัมพันธ์ไม่ให้แตกแหกได้ โลกก็ควรจะเห็นการเติบโตที่สมเหตุสมผล
แต่หากไม่เป็นเช่นนั้น ความตึงเครียดของความสัมพันธ์ของสองยักษ์ก็จะกลายเป็น “ลมต้าน” จากภายนอก
เพราะหากความขัดแย้งของวอชิงตันกับปักกิ่งไม่ลดลง ก็จะเกิดความเสี่ยงที่จะเกิดการแยกขั้วทางเทคโนโลยีในระดับสูง
ซึ่งก็จะไม่เอื้อต่อการเติบโตเศรษฐกิจของโลก
มองในระยะสั้น จีนเป็นเรื่องราวที่น่าสนใจมาก
นั่นคือการผสมผสานของการผ่อนคลายแรงกดดันด้านกฎระเบียบในภาคส่วนสำคัญ เช่น เทคโนโลยีและอสังหาริมทรัพย์
ควบคู่กับการเปิดประเทศสู่โลกอีกครั้ง
แต่ก็มีเสียงเตือนว่าอาจเกิดความตึงเครียดทางภูมิรัฐศาสตร์ หากสหรัฐฯ กับจีนลุกขึ้นมาคว่ำบาตรซึ่งกันและกันในประเด็นความขัดแย้งเดิมๆ ที่เกี่ยวกับไต้หวัน, ทะเลจีนใต้และความขัดแย้งด้านเทคโนโลยี
หนึ่งในการรับรู้ “ทางลบ” โยงกับภาคอสังหาริมทรัพย์ที่กำลังดิ้นรนผ่าทางตันของจีน
ซึ่งขณะนี้ได้รับการหนุนหลังด้วยการสนับสนุนจากรัฐหลังจากวิกฤตสินเชื่อที่เกิดจากหน่วยงานกำกับดูแล
นั่นเป็นประเด็นที่ได้จุดชนวนให้เกิดความสงสัยเกี่ยวกับศักยภาพทางเศรษฐกิจของประเทศ
เพราะคนที่ติดตามเรื่องนี้ไม่ได้คาดหวังการฟื้นตัวครั้งใหญ่ในภาคส่วนนี้
เพราะมีการตั้งข้อสังเกตว่าได้เกิดการเปลี่ยนแปลงจากสถานการณ์การขาดแคลนโครงสร้าง เนื่องจากการขยายตัวของเมืองในช่วงไม่กี่ทศวรรษที่ผ่านมาไปสู่ภาวะอุปทานล้นเกินที่อาจเกิดขึ้น
ประกอบกับการลดลงของประชากรครั้งแรกของจีนในรอบหกทศวรรษ ซึ่งก็จะเพิ่มปัญหาให้กับผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์
นั่นคือความเสียหายที่เกิดขึ้นกับการจ้างงานซึ่งส่งผลกระทบต่อกำลังซื้อในฝั่งผู้ซื้อ
บางสำนักประเมินว่าอัตราโตทางเศรษฐกิจของจีนจะลดลงจากระดับก่อนโควิดที่ 6% หรือ 6.5% เป็นประมาณ 3% ถึง 4%
ดังนั้นการชะลอตัวของการเติบโตเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้เมื่อขนาดของเศรษฐกิจเพิ่มขึ้น
แต่กระบวนการดังกล่าวถูก "เร่ง" ด้วยปัจจัยต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการตกต่ำอย่างรวดเร็วในภาคอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งเป็นหนึ่งในกลไกขับเคลื่อนการเติบโตที่สำคัญของจีนในช่วงสองทศวรรษที่ผ่านมา
คำถามใหญ่คือจีนจะไม่เป็นผู้กอบกู้เศรษฐกิจโลกหรือไม่
คำตอบคือยังมีปัจจัยแห่งความไม่แน่นอนที่ไม่อาจจะตอบได้ชัดเจนว่า การเปิดประเทศอีกครั้งของจีนในภาวะความผันผวนรุนแรงไปทั่วโลกนั้น จะเสริมหรือลดทอนบทบาทของจีนในเวทีระหว่างประเทศอย่างไร
เพราะแม้ผู้นำจีนเองก็ยังต้องคอยประเมินสถานการณ์อย่างระมัดระวังทุกย่างก้าว
ไม่แน่ หากพลาดท่าเสียทีก็จะได้กลับตัวทันอีกครั้ง!.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
มีแม้วไม่มีเรา! วัดใจจุดยืน 'พรรคส้ม' หลังทักษิณขีดเส้นแบ่งข้างทุกเวทีแล้ว
นายสุทธิชัย หยุ่น สื่อมวลชนอาวุโส โพสต์เฟซบุ๊กว่า "พรรคส้มกล้าไหม? มีแม้วไม่มีเรา!
ประเทศเดียวในโลก ‘นายกฯทับซ้อน’ มหันตภัยปี 2568
นายสุทธิชัย หยุ่น สื่อมวลชนอาวุโส โพสต์เฟซบุ๊กว่าสำนักวิจัยต่าง ๆ กำลังวิเคราะห์เพื่อพยากรณ์ว่าประเทศไทยจะต้องเผชิญกับความท้าทายสาหัสอะไรบ้างใน
‘หยุ่น’ ฟันเปรี้ยงรอดยาก! ชั้น 14 ดิ้นอย่างไรก็ไม่หลุด
นายสุทธิชัย หยุ่น สื่อมวลชนอาวุโส โพสต์เฟซบุ๊กว่า เรื่องชั้น 14 จะดิ้นอย่างไรก็หลุดยาก จึงเห็นการเฉไฉ, ตีหน้าตาย
บิ๊กเซอร์ไพรส์ 'สุทธิชัย หยุ่น' เล่นซีรีส์ 'The White Lotus ซีซั่น 3'
เรียกว่าสร้างความเซอร์ไพรส์อย่างต่อเนื่อง สำหรับซีรีส์ The White Lotus ซีซั่น 3 ซึ่งจะสตรีมผ่าน Max ในวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2025 เพราะนอกจากจะมี ลิซ่า-ลลิษา มโนบาล หรือ ลิซ่า BLACKPINK ไอดอลเกาหลีสัญชาติไทย ที่กระโดดลงมาชิมลางงานแสดงเป็นครั้งแรก ในบทของ มุก สาวพนักงานโรงแรม
ถามแสกหน้า 'ทักษิณ' จะพลิกเศรษฐกิจไทยยังไง ทุกซอกมุมในสังคมยังเต็มไปด้วยทุจริตโกงกิน
นายสุทธิชัย หยุ่น นักวิเคราะห์ข่าวและผู้ดำเนินรายการข่าวชื่อดัง โพสต์เฟซบุ๊ก ถึงกรณีนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ว่า “เขาจะพลิกประเทศไทยให้เศรษฐกิจล้ำโลกได้หรือ
เขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดนที่กลายเป็น ที่ซ่องสุมของอาชญากรรมข้ามชาติ
เมื่อวานเขียนถึงรายงานในสำนักข่าวชายขอบที่สำนักจะได้รับความสนใจของรัฐบาลไทยว่าด้วยกิจกรรมอาชญากรรมข้ามชาติในบริเวณ “เขตเศรษฐกิจพิเศษ” ที่สามเหลี่ยมทองคำ